4.01.2558

MPLS

MPLS : Multiprotocol Label Switching

 
MPLS (Multiprotocol Label Switching)
เทคโนโลยี เอ็มพีแอลเอส (MPLS) หรือมีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Multiprotocol Label Switching เป็นเทคโนโลยีสำหรับ การบริหารจัดการเส้นทาง และควบคุมคุณภาพของสัญญาณเชื่อมต่อบนเครือข่าย ATM ด้วยกรaะบวนการในการเร่งการจัดส่ง IP-Packet และให้ความยืดหยุ่นสำหรับการจัดการ IP บนเครือข่าย
 
MPLS - Multiprotocol Label Switching เป็น
โปรโตคอลที่กำหนดขึ้นมาโดย The Internet Engineering Task Force (IETF) โดยปกติการรับส่งข้อมูลด้วยเราท์เตอร์ ที่ใช้ IP-Packet ในการรับส่งข้อมูล จะมีส่วนหัวของ packet ที่ระบุ ที่อยู่ของ ต้นทางและปลายทาง การส่งต่อ packet จากต้นทางไปยังปลายทาง อาจเกิดความล่าช้าขึ้นได้ ซึ่งปัญหาความล่าช้าอาจเกิดขึ้นได้จาก ความเร็วการค้นหาเส้นทางของ address ที่อยู่ปลายทางของเราท์เตอร์ ไปจนถึงขั้นตอนและวิธีการส่งต่อ packet จากอุปกรณ์ตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง
 
ซึ่งก่อนหน้าที่จะกำเนิดเทคโนโลยี MPLS เราจะสังเกตได้ว่าการส่งข้อมูลไปยังปลายทางโดยไม่ต้องจัดการ เรื่องการค้นหาเส้นทาง สามารถทำได้อย่างรวดเร็วด้วยการส่งผ่านระหว่างสวิตช์กับสวิตช์ แต่ข้อจำกัดคือ สวิตช์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ระดับล่าง สามารถทำได้เพียงแค่ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ติดกันเท่านั้น แต่การส่งข้อมูลโดยใช้ IP packet นั้น เป็นการส่งที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง โดยต้องเพิ่มขั้นตอน การจัดการหาเส้นทาง ก่อนที่จะมีการส่ง packet ต่อไปยังอุปกรณ์ที่ติดกัน
 
MPLS จึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้การส่งต่อข้อมูลโดย IP packet นั้น ลดกระบวนการต่างๆ ในการส่งข้อมูลลงให้คล้ายกับการส่งข้อมูลด้วยสวิตช์ และผลดีที่เกิดขึ้นตามมาคือทำให้หน่วยประมวลผล หรือ ซีพียู ของอุปกรณ์ทำงานลดลงตามไปด้วย สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้คือ การส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ไม่เกิดการ
ล่าช้า
 
กระบวนการของ MPLS นั้นได้เพิ่มขั้นตอนอย่างหนึ่ง คือการใส่ Label เข้าไปใน IP packet เพื่อให้การส่งต่อ packet เร็วขึ้น เนื่องจากการใส่ label ก็เปรียบเสมือนกับการใส่รหัสไปรษณีย์เพิ่มเข้าไปในหน้าซองจดหมาย ซึ่งผู้คัดแยกจดหมายไม่จำเป็นต้องดูว่า
ผู้รับ เป็นใครเพียงแต่แยกว่า รหัสไปรษณีย์ รหัสไหนจะส่งต่อไปภาคไหน หรือจังหวัดไหน เท่านั้น เช่น รหัสไปรษณีย์ที่มีหมายเลข 5 นำหน้า ให้ส่งขึ้นไปทางภาคเหนือหรือถ้ารหัสนำหน้าเป็นเลข 9 ให้ส่งต่อไปทางภาคไต้ ส่งต่อกันไปจนถึงที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง และที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางนี้ เท่านั้นที่จะเสียเวลามาดูที่อยู่ของผู้รับ หน้าซองจดหมาย ว่าผู้รับ อยู่ตำบล และอยู่บ้านเลขที่เท่าไร ในเขตที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางนั้น รับผิดชอบและส่งจดหมายนั้นไปยังผู้รับ 
 
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเพิ่มขั้นตอนบางอย่างเข้าไป แต่ไปทำให้ขั้นตอนหลายๆ อย่างลดลงได้ คือ แนวความคิดที่นำมาใช้กับ MPLS นั่นเอง ซึ่งในภายหลังได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมโดยนำเอาข้อดีของ MPLS มาสร้าง โครงข่าย VPN โดยอาศัยโครงข่ายของ MPLS จากต้นทางไปยังปลายทาง และข้อดีของ MPLS ที่ใช้ label ในการส่งต่อข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์ ทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายใน MPLS จึงไม่จำเป็นต้องเป็น IP ก็ได้ และ MPLS ยังจัดการเรื่อง Quality of Services (QoS) ได้ง่ายอีกและมีประสิทธิภาพอีกด้วย
 
ถึงแม้ว่าการให้บริการ MPLS นั้นค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหม่ และเพิ่งจะถูกใช้งานมาไม่ถึง 4 ปี และเพิ่งจะเริ่มให้บริการแก่ผู้ใช้ประมาณหนึ่งปีที่ผ่านมานี้เอง แต่มีแนวโน้มการให้บริการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยี MPLS ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของการสื่อสารระหว่างเครือข่ายสำหรับผู้ให้บริการได้มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยเองให้ความสนใจการให้บริการ MPLS เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการให้บริการแก่ลูกค้าระดับองค์กรขนาดใหญ่ ตลอดจนผู้ประกอบการที่ให้บริการทางด้านเครือข่าย เพราะว่าสามารถช่วยลดภาระในการดูแลระบบด้านไอทีภายในองค์กรลงได้นั่นเอง 

Credit : http://www.it.co.th/network.php?act=mpls
Credit : https://www.google.co.th/MPLS

-------------------------

แม้จะฟังดูยากและอาจจะออกในแนวเทคนิคไปนิดแต่ Multiprotocol Label Switching (MPLS) สามารถช่วยให้การต่อเชื่อมระหว่างสำนักงานนั้นง่ายขึ้น, มีประสิทธิภาพมากขึ้น, และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเสียจนผู้ใช้บริการหลายต่อหลายคน ร้องขอให้มีการใช้งาน หรือองค์กรของท่าน อาจได้มีการใช้งานอยู่แล้วก็เป็นได้


การให้บริการ MPLS นั้นนับเป็นหัวข้อในลำดับต้นๆ ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยเรา ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการให้บริการแก่ลูกค้าระดับองค์กร และในทางกลับกันการใช้งาน MPLS ก็เป็นที่สนใจของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากการใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายของผู้ให้บริการที่เพิ่มขึ้น ก็เท่ากับการลดภาระในการดูแลระบบด้านไอทีภายในองค์กรลง
ถ้าจะลองเปรียบเทียบการทำงานของ MPLS กับการส่งพัสดุ หรือการที่ท่านโหลดกระเป๋าสัมภาระขึ้นเครื่องบินนั้น เราทุกคนต้องการที่จะมั่นใจว่าสัมภาระหรือพัสดุของเรานั้น ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย ทันเวลา และอยู่ในสภาพที่ดีครบถ้วนเหมือนตอนที่ส่งไปจากเรา ทั้งนี้โดยมากแล้ว ก็จะมีการติดป้ายหรือสติกเกอร์ลงไปที่กล่องพัสดุ หรือกระเป๋าเราว่า “ห้ามทับ”, “ระวังแตก”, หรือ “ห้ามโยน” ซึ่งจะบอกกับทุกคนว่าต้องทำอย่างไรกับสิ่งของเหล่านั้น
Multiprotocol Label Switching (MPLS) ก็มีการทำงานในรูปแบบเดียวกันกับข้อมูลต่างๆ ที่มีการส่งผ่านไปมาในระบบเครือข่าย โดยจะมีการติดเครื่องหมาย (Label) ให้กับแต่ละหน่วยข้อมูลที่เรียกว่าแพ็คเก็ท (Packet) เพื่อที่จะบอกอุปกรณ์เครือข่าย อย่างเช่นเราเตอร์และสวิสท์ ให้ทำการส่งข้อมูลไปในทิศทาง และรูปแบบที่กำหนดไว้ และสำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญมาก ก็จะได้รับการส่งแบบพิเศษกว่าข้อมูลอื่นๆ
ดังที่ได้กล่าวมาในขั้นต้นว่าผู้ให้บริการด้านสื่อสารโทรคมนาคม ต่างก็ให้ความสนใจในการติดตั้งระบบ MPLS ซึ่งจะช่วยเพิ่มรูปแบบการให้บริการแก่ลูกค้า และการที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ต่างให้ความสนใจกับ MPLS นั้นเนื่องจากว่า มันสามารถทำให้ผู้ให้บริการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเดียวที่พวกเขามีอยู่ ในการให้บริการที่หลากหลายแทนที่จะต้อง ลงทุนในการสร้างระบบเครือข่ายที่แยกจากกันหลายๆ ระบบ เพื่อตอบสนองต่อรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ และยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเสนอการใช้แอพพิเคชัน และรูปแบบการให้บริการที่มากขึ้นแก่ลูกค้า โดยผ่านโครงสร้างระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการทั้งหมดได้ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนด้านอุปกรณ์สำหรับลูกค้า และเพิ่มมูลค่าให้กับการให้บริการที่หลากหลายยิ่งขึ้น สำหรับผู้ให้บริการเอง
MPLS สามารถให้ประโยชน์กับผู้ใช้งานได้เช่นเดียวกับผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม ยิ่งถ้ามีการเพิ่มมูลค่าให้กับบริการที่ใช้งานอยู่บนเครือข่ายของผู้ให้บริการเพิ่มขึ้น ก็หมายความว่าภาระในการดูแลระบบเครือข่าย ของฝั่งผู้ใช้นั้นก็น้อยลงตามไปด้วย และจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น เช่นถ้าผู้ให้บริการสร้างระบบเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network, VPN) ที่มีการรับรองคุณภาพในการให้บริการ (Quality of Service) ผ่าน MPLS ในการให้บริการแก่ลูกค้านั้น จะทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการใช้เครือข่ายในการสื่อสารทั้งภาพ เสียง และข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายเดียวกัน มากกว่าที่จะแยกการสื่อสารผ่านระบบเสียงและข้อมูลที่แยกจากกันเหมือนในอดีต สำหรับการใช้งาน MPLS ในปัจจุบันนั้น โดยมากจะใช้ควบคู่ไปกับเครือข่ายส่วนตัวเสมือน หรือ VPN ซึ่งผู้ใช้บริการที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย จากการเช่าสายวงจรสื่อสารที่เชื่อมต่อระหว่างสำนักงาน ก็สามารถมีทางเลือกใหม่ในการใช้ VPN ที่มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ หรืออินเทอร์เน็ต ได้โดยที่ MPLS จะเข้ามาช่วยในการ ทำให้ VPN นั้นเป็นเครือข่ายขององค์กร ที่ทำงานอยู่บนระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการ แทนที่จะต้องทำงานอยู่บนอุปกรณ์เครือข่ายของผู้ใช้ และด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ MPLS-based VPN สามารถช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีสำนักงานสาขาหลายแห่ง และมีการส่งข้อมูลถึงกันในแต่ละสาขาโดยตรง
ดูเหมือนกับว่า MPLS โดยทางเทคนิคแล้ว จะถูกสร้างมาเพื่อพัฒนา และก่อให้เกิดการใช้งานด้าน VPN ในองค์กรมากยิ่งขึ้น เพราะว่า MPLS-based VPN มีความคล่องตัว และสามารถขยายขนาดได้ง่ายกว่า VPN ชนิดอื่นๆ การสร้างและติด ตั้งการเชื่อมต่อ VPN ไปยังสำนักงานสาขาใหม่โดยใช้ MPLS นั้นมีความง่ายในการติดตั้งมากกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่นอกจากนี้ MPLS ยังสามารถให้บริการผ่านโครงข่าย ATM (Asynchronous Transfer Mode) หรือโครงข่าย Frame Relay ได้ซึ่งทำให้การปรับเปลี่ยนเป็นไปได้อย่างง่ายดาย
การให้บริการ MPLS นั้นค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหม่ และแนวโน้มเมื่อมีการให้บริการเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้อัตราค่าใช้บริการนั้นถูกลงในอนาคต ทั้งนี้เทคโนโลยี MPLS เพิ่งจะถูกใช้งานมาไม่ถึง 4 ปี และมีให้บริการแก่ผู้ใช้ประมาณหนึ่งปีที่ผ่านมานี้เอง โดยเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้บีบอัดและส่งข้อมูลจำนวนมาก เข้าไปในแบนด์วิธ หรือ ช่องสัญญาณที่มีอยู่เดิมได้ ซึ่งส่งผลให้สามารถเลื่อน หรือผลัดผ่อนการขยายช่องสัญญาณ (แบนด์วิธ) ออกไปได้ และเมื่อใช้บริการระบบ MPLS ด้วยแล้ว จะช่วยให้สามารถทำการบริหารจัดการระบบเครือข่าย โดยลดความซับซ้อนลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรที่ทำการบริหารจัดการการเชื่อมต่อ Frame Relay ด้วยตนเองจะยิ่งเห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจน
แนวโน้มในการใช้บริการต่างๆ จากภายนอกองค์กร หรือที่เรียกว่า Outsourcing นั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อมีการใช้ งาน MPLS เราก็สามารถที่จะ Outsource การดูแลการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายให้กับผู้ให้บริการได้มากยิ่งขึ้น และในบริการด้านโทรคมนาคมต่างๆ นั้น MPLS VPN นับเป็นบริการที่ได้รับความสนใจมากที่สุด โดยเป็นบริการการเชื่อมต่อความเร็วสูง ให้กับผู้ใช้ที่อยู่นอกสำนักงานในระยะไกล ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างเดินทาง ทำงานจากสำนักงานของบริษัทคู่ค้า หรือจะเป็นการทำงานจากที่บ้าน โดยไม่ขึ้นอยู่กับโครงข่ายของผู้ให้บริการแอสเสสรายใด ขอเพียงแค่สามารถต่อเชื่อมสู่อินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น DSL อีเทอร์เน็ต ไดอัล-อัพ หรือจะเป็นเคเบิลโมเด็ม
บริษัทและองค์กรควรจะมอง MPLS ในมุมของการใช้งานในภาพรวมของแผนพัฒนาระบบเครือข่าย ทั้งนี้เนื่องจากว่า เทคโนโลยีและแนวโน้มการใช้งานใหม่ๆ อย่างเช่น MPLS, IPv6, ระบบแลนไร้สาย 802.11, และ IP Mobility ล้วนแล้ว แต่ได้รับการพัฒนาโดยหน่วยงานด้านมาตรฐานต่างๆ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรด้านไอที ต้องเรียนรู้และพัฒนาแผนการดำเนินการ ให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้กล่าวมาด้วยเหตุผลที่ว่า เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้จะมีส่วนอย่างมาก ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาปัตยกรรมเครือข่ายขององค์กร ที่จะมีการใช้งานทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น