คราวนี้เรามาดูทางด้านอัพลิงก์บ้าง หากจะว่ากันไปแล้ว เทคโนโลยี SC-FDMA (Single Carrier - FDMA) ก็ได้ปรับขึ้นมาจากเทคโนโลยี OFDMA อีกทีเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น จะขออธิบายกับแบบง่าย ๆ เลยนะครับ
รูปที่ 8 หลักการ OFDMA(ที่มา: http://mobilesociety.typepad.com/mobile_life/2007/05/an_introduction.html)
จากรูปที่ 8 นั้นจะเห็นว่าหลักการของ OFDMA จะแยกบิตสตรีมออกเป็นส่วน ๆ เพื่อป้อนเข้าไปยัง IFFT เพื่อที่จะกระจายบิตเหล่านี้ไปยังความถี่ต่าง ๆ ที่จะจัดให้ Orthogonal กันด้วย IFFT นั้นตามหลักการที่เราได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งเมื่อส่งมาถึงด้านรับ ก็จะเข้า FFT และนำเอาบิตสตรีมเหล่านั้นมาใช้งานอีก
คราวนี้เมื่อเราำจำเป็นต้องลดข้อเสียเรื่อง PAPR ก็ได้มีการปรับวิธีโดยเพิ่มเติมกระบวนการ FFT ขึ้นมาก่อนที่จะส่งบิตสตรีมเหล่านั้นเข้าไปยัง IFFT นั่นคือ แทนที่จะกระจายข้อมูลเหล่านี้เป็นบิต ๆ ไปยังแต่ละความถี่หรือ Sub-carrier ตรง ๆ ก็มาใช้วิธีการกระจายข้อมูลเข้าไปยังแต่ละ Sub-carrier ด้วย FFT ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะส่งเข้าไปยัง IFFT และไม่จำเป็นที่จะต้องใช้งานทุก Sub-carrier ตามแต่ผลลัพธ์ที่ได้จาก FFT จากนั้นก็เข้ากระบวนการเช่นเดียวกับ OFDMA ที่ผ่าน IFFT ออกไป
สำหรับด้านรับนั้นก็จะส่งเข้าไปยัง FFT เช่นเดียวกับ OFDMA จนกระทั่งก่อนที่จะแยกบิตสตรีมเช่นเดิมก็มาผ่านเข้าไปยัง IFFT เพื่อดึงข้อมูลกลับมาโดยที่ไม่ต้องทำการแยกข้อมูลออกจากกันและใช้อุปกรณ์ด้านรับที่น้อยกว่าอีกด้วย
รูปที่ 9 หลัการของ SC-FDMA(ที่มา: http://mobilesociety.typepad.com/mobile_life/2007/05/an_introduction.html)
ข้อดีของ SC-FDMA ก็คือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพเดิมจากที่ใช้ OFDMA ที่มีค่า PAPR มาก ทำให้เปลืองพลังงาน โดย SC-FDMA ให้ค่า PAPR ที่ต่ำกว่า และให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น แต่ก็จะมีกระบวนการมากขึ้น ทำให้อุปกรณ์หรือการออกแบบนั้นซับซ้อนมากขึ้น ใช้ความสามารถที่อุปกรณ์มากขึ้นด้วย แต่ด้วยข้อดีของมันที่ใช้พลังงานลดลง จึงทำให้ LTE ได้เลือกที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ทางด้านอัพลิงก์ที่อุปกรณ์ของยูสเซอร์เพื่อให้ใช้งานพลังงานลดลง ใช้งานได้นานขึ้นนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น