12.21.2558

VRRP

VRRP : Virtual Router Redundancy Protocol

 คือ Protocols ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดความล้มเหลวในการหาเส้นทางบนเน็ตเวิร์คที่ใช้ไอพี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ First Hop Router โดย Protocols ถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับ MultiAccess, Multicast หรือ Broadcast Capable LANs ซึ่ง VRRP Protocols ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้แทน Protocolsการหาเส้นทางแบบไดนามิกอย่าง Routing Information Protocol (RIP) หรือ Open Shortest Path First (OSPF) แต่จะถูกนำมาใช้งานกับโฮสต์ที่มีการค้นหาเส้นทางแบบ default route เพื่อ สนับสนุนการป้องกันความล้มเหลวในการค้นหาเส้นทาง การทำงานของ VRRP Protocols คือการทำงานร่วมกันของ IP Addressและ MAC Address ของ Router ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป โดยการจับกลุ่ม Router ให้มาทำงานอยู่ภายใต้ Virtual Router ซึ่งจะมี Router ตัวหนึ่งถูกเลือกขึ้นมาด้วยกลไกการเลือกอย่างมีเหตุผลเพื่อทำหน้าที่ส่งต่อไอพีแพ็คเกจเรียกว่า Virtual Router Master ส่วน Router ตัวอื่นภายในกลุ่มจะทำหน้าที่เป็นตัวสำรองเรียกว่า Virtual Router Backup ทั้งนี้Router ที่อยู่ภายในกลุ่ม จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานะกันอย่างต่อเนื่องเพื่อ ติดตามสถานะของ Router ที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม ในกรณีที่ Virtual Router Master ล้มเหลว Virtual Router Backup จะถูกเลือกมาทำหน้าที่ส่งต่อไอพีแพ็คเกจแทน ดังแสดงในรูปที่ 2.1 

โหมดการทำงานของ VRRP การทำงานของ VRRP สามารถแบ่งออกได้เป็น 3โหมดดังนี้
1. โหมด Master/Backup เฉพาะ Virtual Router Master เท่านั้นที่ทำหน้าที่ส่งต่อแพ็คเกจ ในกรณีที่ Master ล้มเหลว Router ที่เป็น Backup จะถูกเลือกขึ้นมาเป็น Master แทน ซึ่งเลือกจากค่า Priority โดย Router ที่มีค่า Priority ที่สูงกว่าจะถูกให้ความสำคัญก่อน สำหรับโหมดการทำงานนี้ใช้สำหรับ VRRP กลุ่มเดียวเท่านั้นดังแสดงในรูปที่ 2.2 



2. โหมด Load Sharing คือการสร้าง VRRP หลายกลุ่มบน Interface ของ Router เพื่อกำหนดให้ Router เป็น Master ของ VRRP กลุ่มแรก และเป็น Backup สำหรับกลุ่มอื่นในเวลาเดียวกัน โหมดการทำงาน นี้ต้องการ VRRP ตั้งแต่สองกลุ่มหรือมากกว่าขึ้นไปในการทำงานดังแสดงในรูปที่ 2.3



3. โหมด Load Balancing ทำการจับคู่ Virtual IP Address เข้ากับ Virtual MAC Address ของ Router ทุกตัวที่อยู่ภายในกลุ่ม เพื่อให้Router ทุกตัวภายในกลุ่มสามารถส่งต่อแพ็คเกจได้โดยไม่ต้องปล่อยให้ เราเตอร์ที่เป็น Virtual Router Master เพียงตัวเดียวทำหน้าที่ส่งต่อแพ็คเกจ ซึ่งการกำหนด Virtual MAC Address นั้นเป็นหน้าที่ของ Virtual Router Master ที่จะกำหนด Virtual MAC Address ให้กับ Router ทุกตัวภายในกลุ่ม และ Virtual Router Master ยังทำหน้าที่คอยตอบกลับการร้องขอ ARP เพื่อ เรียนรู้ MAC Address ของ Gateway ที่โฮสต์ได้ร้องขอมายัง Virtual IP Address ของ Virtual Router โดยที่ Virtual Router Master จะตอบกลับการร้องขอ ARP ของโฮสต์โดยใช้ Virtual MAC Address ของ Router ภายในกลุ่มดังแสดงในรูปที่ 2.4



Credit : http://www.sit.kmutt.ac.th/tqf/is_report/pdf56/55432008.pdf
มีผู้ชมแล้ว.. ..ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น