12.21.2558

VRRP

VRRP : Virtual Router Redundancy Protocol

 คือ Protocols ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดความล้มเหลวในการหาเส้นทางบนเน็ตเวิร์คที่ใช้ไอพี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ First Hop Router โดย Protocols ถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับ MultiAccess, Multicast หรือ Broadcast Capable LANs ซึ่ง VRRP Protocols ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้แทน Protocolsการหาเส้นทางแบบไดนามิกอย่าง Routing Information Protocol (RIP) หรือ Open Shortest Path First (OSPF) แต่จะถูกนำมาใช้งานกับโฮสต์ที่มีการค้นหาเส้นทางแบบ default route เพื่อ สนับสนุนการป้องกันความล้มเหลวในการค้นหาเส้นทาง การทำงานของ VRRP Protocols คือการทำงานร่วมกันของ IP Addressและ MAC Address ของ Router ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป โดยการจับกลุ่ม Router ให้มาทำงานอยู่ภายใต้ Virtual Router ซึ่งจะมี Router ตัวหนึ่งถูกเลือกขึ้นมาด้วยกลไกการเลือกอย่างมีเหตุผลเพื่อทำหน้าที่ส่งต่อไอพีแพ็คเกจเรียกว่า Virtual Router Master ส่วน Router ตัวอื่นภายในกลุ่มจะทำหน้าที่เป็นตัวสำรองเรียกว่า Virtual Router Backup ทั้งนี้Router ที่อยู่ภายในกลุ่ม จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานะกันอย่างต่อเนื่องเพื่อ ติดตามสถานะของ Router ที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม ในกรณีที่ Virtual Router Master ล้มเหลว Virtual Router Backup จะถูกเลือกมาทำหน้าที่ส่งต่อไอพีแพ็คเกจแทน ดังแสดงในรูปที่ 2.1 

โหมดการทำงานของ VRRP การทำงานของ VRRP สามารถแบ่งออกได้เป็น 3โหมดดังนี้
1. โหมด Master/Backup เฉพาะ Virtual Router Master เท่านั้นที่ทำหน้าที่ส่งต่อแพ็คเกจ ในกรณีที่ Master ล้มเหลว Router ที่เป็น Backup จะถูกเลือกขึ้นมาเป็น Master แทน ซึ่งเลือกจากค่า Priority โดย Router ที่มีค่า Priority ที่สูงกว่าจะถูกให้ความสำคัญก่อน สำหรับโหมดการทำงานนี้ใช้สำหรับ VRRP กลุ่มเดียวเท่านั้นดังแสดงในรูปที่ 2.2 



2. โหมด Load Sharing คือการสร้าง VRRP หลายกลุ่มบน Interface ของ Router เพื่อกำหนดให้ Router เป็น Master ของ VRRP กลุ่มแรก และเป็น Backup สำหรับกลุ่มอื่นในเวลาเดียวกัน โหมดการทำงาน นี้ต้องการ VRRP ตั้งแต่สองกลุ่มหรือมากกว่าขึ้นไปในการทำงานดังแสดงในรูปที่ 2.3



3. โหมด Load Balancing ทำการจับคู่ Virtual IP Address เข้ากับ Virtual MAC Address ของ Router ทุกตัวที่อยู่ภายในกลุ่ม เพื่อให้Router ทุกตัวภายในกลุ่มสามารถส่งต่อแพ็คเกจได้โดยไม่ต้องปล่อยให้ เราเตอร์ที่เป็น Virtual Router Master เพียงตัวเดียวทำหน้าที่ส่งต่อแพ็คเกจ ซึ่งการกำหนด Virtual MAC Address นั้นเป็นหน้าที่ของ Virtual Router Master ที่จะกำหนด Virtual MAC Address ให้กับ Router ทุกตัวภายในกลุ่ม และ Virtual Router Master ยังทำหน้าที่คอยตอบกลับการร้องขอ ARP เพื่อ เรียนรู้ MAC Address ของ Gateway ที่โฮสต์ได้ร้องขอมายัง Virtual IP Address ของ Virtual Router โดยที่ Virtual Router Master จะตอบกลับการร้องขอ ARP ของโฮสต์โดยใช้ Virtual MAC Address ของ Router ภายในกลุ่มดังแสดงในรูปที่ 2.4



Credit : http://www.sit.kmutt.ac.th/tqf/is_report/pdf56/55432008.pdf
มีผู้ชมแล้ว.. ..ครั้ง

11.27.2558

LiFi

LiFi : Light Fidelity




นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการพิสูจน์ Li-Fi หรือระบบ Wi-Fi ที่รับส่งข้อมูลผ่านทางหลอดไฟ LED ในการทดลองใช้งานจริงแล้ว พบว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเทคโนโลยี Wi-Fi ในปัจจุบันกว่า 100 เท่า โดยสามารถรับส่งข้อมูลขนาด 1 GB ได้ภายในเวลาเพียงแค่วินาทีเดียว

Li-Fi คืออะไร

Li-Fi เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบใหม่ ที่รับส่งข้อมูลผ่านการเปลี่ยนแปลงค่าความสว่างหรือ Amplitude ของแสง แทนที่จะใช้คลื่นสัญญาณวิทยุดังเช่นเทคโนโลยี 802.11ac หรือ 4G ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้มีการทดสอบความเร็วของการใช้ Li-Fi ในห้องแล็บ พบว่าสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 224 Gbps และเมื่อไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์ Harald Haas ผู้นำเสนอเทคโนโลยี Li-Fi ก็ได้จัดแสดงระบบต้นแบบขนาดเล็กที่สามารถใช้งานได้จริงผ่านหลอดไฟ LED และแผงเซลล์พลังงานแสดงอาทิตย์ จึงคาดว่าเทคโนโลยี Li-Fi นี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนโฉมหน้าของการใช้งานเทคโนโลยีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ตามบ้าน Gadget ที่ใช้งานกันทั่วไป และอุปกรณ์ Internet of Things

ผลการใช้งานจริงชี้ Li-Fi เร็วกว่า Wi-Fi ถึง 100 เท่า

Velmenni บริษัท Startup ชาวเอสโตเนีย ได้นำเทคโนโลยี Li-Fi มาทดลองติดตั้ง ใช้งานจริงเป็นครั้งแรกในออฟฟิสที่เมืองทาลลินน์ (เมืองหลวงของเอสโตเนีย) โดยทำการติดตั้งระบบไฟ LED อัจฉริยะที่เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับส่งข้อมูลผ่านแสง ผลลัพธ์ที่ได้ คือ พนักกงานในออฟฟิสสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 1 GB ต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าการใช้งาน Wi-Fi ในปัจจุบันถึง 100 เท่า

นอกจากนี้ จากการที่ Li-Fi ส่งสัญญาณผ่านแสงซึ่งไม่สามารถทะลุกำแพงได้ จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากการถูกดักฟังสัญญาณมากกว่าการใช้ Wi-Fi ที่ส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุ รวมทั้งยังเกิดการกวนกันของสัญญาณต่ำ แต่ก็ต้องแลกกับระยะทางที่สั้นลง และแหล่งกำเนิดสัญญาณ (หลอด LED) ที่ต้องมีจำนวนมากขึ้นนั่นเอง
---------------------------------------
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จากการลากสายแลน สู่เทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi ที่เราใช้จนคุ้นเคยมาหลายปีแล้ว จริงอยู่ว่าสะดวกในการเชื่อมต่อและใช้งานง่าย แต่ความต้องการของผู้ใช้อย่างเราๆก็อยากได้เน็ตแรง เน็ตความเร็วสูง (หลอด)​ ไฟแรงเฟร่อ Li-Fi จึงเป็นอีกเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

เทคโนโลยี Li-Fi ถูกขนานนามว่า "แรงกว่า Wi-Fi เป็นร้อยเท่า" พาดหัวแบบนี้ ส่วนใหญ่สนใจ เพราะใครๆก็ต้องการความแรง ความเร็ว ยิ่งการดาวน์โหลด อัพโหลด ยิ่งไว ยิ่งใช้เวลาน้อย ตอนนี้อะไรก็ไวไปหมด เทคโนโลยี Li-Fi ที่คิดค้นในห้องแล็ป กำลังจะกลายเป็นความจริง โดยเฉพาะการใช้งานในออฟฟิศ และอุตสาหกรรมต่างๆ ใน Estonia ทุกที่ต้องการความแรงจริงๆ
Li-Fi ใช้หลักการถ่ายโอนข้อมูลโดยใช้หลอดไฟ LED ซึ่งปกติมีการกระพริบตลอดเวลาระดับ  nanoseconds อันนี้ไม่แน่ใจว่าถ้าเทียบหน่วย น่าจะไวกว่า ถี่กว่า มิลลิวินาที มากๆ ซึ่งแน่นอนว่า สายตาเรา มองไม่ทันสังเกตการกระพริบอยู่แล้ว จริงๆไม่ใช่ของใหม่ แต่คิดค้นขึ้นในปี 2011 ในห้องแล็ป และมีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลไวถึง 224 Gbps.
ซึ่งนับว่าเป็นการฉีกข้อจำกัดของสัญญาณ​ Wi-Fi ที่ดรอปความสามารถในการรับส่งสัญญาณลงเมื่อเจอกำแพง เพดาน โดย Li-Fi นั้นใช้หลอดไฟ  แถมการใช้หลอดไฟก็ลดความเสี่ยงจากการถูกดักจับข้อมูล เพราะส่งผ่านข้อมูลด้วยหลอดไฟโดยตรง 
ดูภาพแล้วนึกถึงการส่งรหัสมอร์สเลยทีเดียว หลักการประมาณนี้แหล่ะครับ
อ่านถึงตรงนี้ ก็อาจจะสงสัย เอ๊ะ งั้นใช้นอกอาคารก็ไม่ได้น่ะสิ จริงๆมันใช้ได้นะ แต่กลางแจ้งแบบสนามเลย ก็คงไม่ได้ ถึงตอนนั้น Wi-Fi ก็ยังมีการให้บริการอยู่ เราก็จะมี Wi-Fi, 3G, 4G ให้เลือกใช้หลากหลายช่องทางเชื่อมต่อ
สำหรับ Li-Fi นั้น ถือเป็นความสามารถในยุค smart home ต่อไปหลอด LED ให้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง ทั้งให้แสงสว่าง และสร้างเครือข่ายในบ้าน เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สื่อสารพูดคุยกันได้  
ส่วนข้อแตกต่าง ระหว่าง Li-Fi กับ Wi-Fi ก็คงจะเป็นเรื่อง การรับส่งข้อมูลที่น่าจะถูกรบกวนและลดทอนที่น้อยกว่า และความปลอดภัยที่ดีกว่า
นอกจากนี้ Velmenni บริษัท Startup พร้อมแล้วที่จะผลักดันแนวคิด Li-Fi จากห้องแล็ป สู่ลูกค้าจริงๆ  ตอนนี้มีทั้ง Oledcomm และ pureLiFi ซึ่งผลักดันโดย Harald Haas
ตัวอย่าง Kit ที่ขาย
ซึ่งทั้ง 2 บริษัท นำเสนอชุดติดตั้งเครือข่าย Li-Fi ในสำนักงานและบ้าน และทาง pureLiFi ยังอ้างว่า ตอนนี้ให้บริการบนความเร็ว 10 Mbps ได้แล้ว
ข้อมูลเพิ่มเติม Pure Li-Fi oledcomm


9.25.2558

USSD

USSD : Unstructured Supplementary Service Data

คือ บริการข้อความสั้นแบบ Interactive โดยใช้เทคโนโลยี USSD (Unstructured Supplementary Service Data) นำมาประยุกต์ใช้กับการให้บริการหลายรูปแบบเช่น การขอรหัสผ่าน, การเช็คแต้มสะสม, การโหวต, การลงทะเบียน หรือการส่งรหัสเพื่อชิงโชค เป็นต้น ซึ่งสามารถให้บริการส่งข้อมูลได้ทั้งในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว หรือการสื่อสารแบบ 2 ทางที่สามารถโต้ตอบกันได้ระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับ องค์กรจึงสามารถใช้บริการนี้เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์รับส่งข้อมูลสู่ลูกค้าได้โดยสะดวก โดยบริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจทุกประเภท และองค์กรทุกขนาดที่ต้องการช่องทางสื่อสารเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

ประโยชน์ของ USSD
- สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน เพราะสามารถกดรหัสเพื่อรับข้อมูลได้โดยตรงจากโทรศัพท์เคลื่อนที่
- ง่ายต่อการเข้าถึงของผู้รับ แสดงผลแบบ Pop Up ขึ้นหน้าจอโทรศัพท์ทันที
- มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากข้อความที่ส่งออก หรือได้รับจากระบบบริการ ไม่สามารถส่งต่อหรือบันทึกไว้ในกล่องข้อความ
- สามารถใช้เป็นเมนูโต้ตอบ ระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับได้
ใช้ในการขยายช่องทางการให้บริการได้หลากหลายรูปแบบในทุกธุรกิจ

การนำ  USSD ไปใช้ในธุรกิจ
ปฏิวัติการทำ Interactive Marketing ขององค์กรด้วยบริการ USSD ข้อความสั้นที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งเมื่อองค์กรสมัครใช้บริการของ USSD เรียบร้อยแล้ว

Credit : http://www.dtac.co.th/business/products/view/4




















9.23.2558

MOS

MOS : Mean Opinion Score

เรื่องของการวัดคุณภาพเสียงที่ผ่านเครือข่ายการสื่อสารมา ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแม้แต่ที่กำลังอินเทรนด์อย่างเครือข่าย VoIP เป็นต้น   คำว่าคุณภาพเสียงที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่คุณภาพเสียงแบบที่เราพูดคุยกันถึงนักร้อง นักพูดแต่อย่างใดนะครับ เพราะเรากำลังพูดถึงเรื่องเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ซึ่งในกรณีนี้ ข้อมูลที่ว่าก็คือเสียงนั่นเอง ดังนั้น คุณภาพเสียงที่ดีในที่นี้ ก็คือ เสียงจะต้องออกมาใกล้เคียงหรือเหมือนกับต้นฉบับให้มากที่สุด เสียงแหบๆ หรือเสียงใสๆ ก็ตาม เมื่อเข้าสู่เครือข่ายไป และออกมาที่อีกด้านหนึ่งนั้น ก็จะต้องได้เสียงแหบหรือเสียงใสเช่นเดิม จังหวะจะโคนเดิมๆ จึงจะนับว่ามีคุณภาพเสียงที่ดี ถ้าเสียงใสๆ เข้าไปแล้วกลายเป็นเสียงแหบๆ บี้ๆ ออกมา ก็ต้องถือว่า เครือข่ายนั้นให้คุณภาพเสียงไม่ดีพอ หรือคุณภาพของการสื่อสารใช้ไม่ได้นั่นเอง (แต่ถ้าเสียงแหบๆ เข้าไป แล้วมีเสียงใสๆ ออกมา ก็น่าจะขายได้นะครับ) ในเครือข่ายการสื่อสารสนทนา ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอนาล็อก ดิจิตอล หรือเครือข่ายไอพีที่เราใช้ VoIP ก็ตาม

การวัดคุณภาพของเครือข่ายการสื่อสารที่ว่านั้นสามารถจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทก็คือ

1. คุณภาพเสียงที่ได้รับฟัง เป็นคุณภาพที่วัดจากเสียงที่ได้ฟังหลังจากผ่านเครือข่ายการสื่อสารออกมาแล้ว ผู้ฟังจะเป็นคนที่บอกได้ว่าคุณภาพเสียงที่ได้นั้นเป็นอย่างไร ชัดเจน เหมือนเสียงต้นฉบับหรือไม่อย่างไร ซึ่งแน่นอนว่า คุณภาพเสียงนี้แหละที่เป็นประเด็นของหัวข้อของเราในวันนี้

 2. คุณภาพในการสนทนา ซึ่งคุณภาพตัวนี้นั้น จะรวมถึงคุณภาพเสียงที่ได้รับฟังและความสามารถในการตอบโต้สนทนาระหว่างการสื่อสารนั้น ดังนั้น เรื่องของเสียงสะท้อน ดีเลย์ หรือปัญหาอื่นใดที่ทำให้รำคาญใจในการสนทนาก็มีผลทั้งสิ้น แต่เรื่องนี้เราสามารถที่จะทำการวัดได้ในเรื่องของ latency หรือวิธีการทั่วไปในเครือข่ายการสื่อสาร และจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้นะครับ

3. คุณภาพการเชื่อมต่อของเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเชื่อมต่อนั้นเสถียรเพียงใด มีการหลุดมากน้อยเพียงใด เป็นต้น เราจำเป็นที่จะต้องทำการวัดคุณภาพเสียงที่ได้รับฟังนั้นเพื่อที่จะทำการประเมินคุณภาพเครือข่าย เทคโนโลยีที่ใช้ Codec เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าการวัดคุณภาพของ VoIP ก็รวมอยู่ด้วย แต่มีวิธีการอะไรบ้างล่ะ ที่จะช่วยทำการวัดคุณภาพเสียงที่ได้นั้นได้อย่างถูกต้อง เป็นมาตรฐาน เพื่อที่จะทำการเปรียบเทียบได้ ก็จะว่ากันไปแต่ละวิธีเลยนะครับ Mean Opinion Score (MOS)เป็นวิธีการแรกสุดที่เกิดขึ้นและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายก็คือ Mean Opinion Score หรือ MOS ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งได้มีการกำหนดเป็นมาตรฐานโดย ITU-T เรียกว่า ITU-T P.800 ส่วนวิธีการหรือครับ ลองเดาดูสิครับ ใบ้นิดอยู่ในชื่อของมันอยู่แล้ว            ครับ วิธีการนั้นก็เข้าใจง่ายๆ ครับ ในเมื่อมันเป็น Opinion หรือความเห็น ก็ต้องใช้คนสิครับ แต่ เอ... ใช้คนเหรอ แล้วจะเชื่อถือได้ไหมเนี่ย เชื่อถือได้ครับ เพราะไม่ใช่แค่การจะเอาใครสักคนก็ได้มานั่งฟังแล้วก็บอกว่า คุณภาพเป็นอย่างไร ให้คะแนนเท่าไรเท่านั้นนะครับ มันมีการกำหนดวิธีการเอาไว้ด้วยใน P.800 นั้น            วิธีการก็คือ เอาคนหลายๆ คน ซึ่งก็แน่นอนว่า ต้องเอาคนที่มีทักษะในการฟัง การแยกแยะพอสมควร และความเชื่อถือได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นกับจำนวนคนที่นำมาทดสอบนั้น ยิ่งมากเท่าไร ก็ยิ่งเชื่อถือได้มากขึ้นเท่านั้น โดยให้ฟังไฟล์ออดิโอต่างๆ ในสภาพที่เงียบที่สุด และให้ผู้ฟังแต่ละคนให้คะแนนซึ่งมีตั้งแต่ 1 ถึง 5 โดย 1 ถึง 5 นั้นจะมีความหมายดังนี้  

MOS        คุณภาพ                         ลักษณะ
5          Excellent ยอดเยี่ยม        คาดไม่ถึง (Imperceptible)
4          Good ดี                          ใช้ได้ดี (Perceptible)
3          Fair พอใช้                      น่าหงุดหงิดเล็กน้อย (Slightly annoying)
2          Poor ไม่ดี                       ไม่น่าพอใจ (Annoying)
1          Bad แย่                          ไม่พอใจ (Very annoying)

ค่า MOS และระดับคุณภาพของเสียง  หลังจากที่ได้คะแนนของแต่ละคนมา ก็จะทำการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ซึ่งแน่นอนว่าโอกาสที่จะได้คะแนนเต็มนั้นยากเหลือเกิน ถ้าไม่ยอดเยี่ยมประเสริฐศรีจริงๆ ก็คงจะไม่ได้ 5 หรอกครับ ตัวอย่างของคะแนนที่ได้ในแต่ละเทคโนโลยีก็ได้แสดงไว้ เช่น G.711 ก็จะได้คะแนน 4.3โดยเฉลี่ย ซึ่งถือว่าเป็นคะแนนที่ดีมากทีเดียว และการเข้า Codec แบบอื่นๆ ก็จะได้คะแนนแตกต่างกันไปตามคุณภาพเสียงที่ประเมินออกมา ซึ่งเราจะสังเกตกันว่า การทดสอบและประเมินคุณภาพเสียงเช่นนี้นั้น เป็น Subjective ขึ้นกับตัวบุคคลมาก มีความแตกต่างกันได้มากทีเดียว จึงทำให้ต้องมีการใช้จำนวนคนมากๆ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและลดประเด็นที่เป็น Subjective นี้ลงไป  

ชนิดของ CODEC      Data Rate MOS
G.711 (ISDN)           64 kbps          4.3
AMR                         12.2 kbps 4.14
GSM EFR                 12.2 kbps 3.8
G.726 ADPCM          32 kbps         3.8
G.729                        8 kbps           3.92
GSM FR                    12.2 kbps  3.5

ของ CODEC และค่า MOS ที่ได้และเพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการวัดคุณภาพเสียงด้วยวิธีนี้ ทาง ITU-T ก็ได้กำหนดวิธีการทดสอบเพิ่มเติม โดยมีการกำหนดข้อความที่ใช้ทดสอบนั้น ซึ่งเป็นข้อความที่เรียกว่า Harvard Sentences ที่ในการออกเสียงจะช่วงความถี่เสียงทั้งหมดที่พบในคำพูดคำสนทนาทั่วไป ทำการบันทึกด้วยความละเอียดสูงแบบ 16 บิต ตัวอย่างของข้อความดังกล่าว ก็ได้แก่

You will have to be very quiet.
There was nothing to be seen.
They worshipped wooden idols.
I want a minute with the inspector.
Did he need any money?

เนื่องจากวิธีการดังกล่าวนั้น จะเน้นที่คุณภาพเสียงที่ได้รับฟัง จึงมักใช้ในการทดสอบ Codec กันมาก และเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับกันมากที่สุด และใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบวิธีการอื่นๆ ว่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด แต่วิธีการนี้ จะค่อนข้างยุ่งยาก สิ้นเปลืองทีเดียว ทั้งการหาผู้ที่มีทักษะมาจำนวนมากๆ เวลาที่ใช้ทดสอบ เป็นต้น จึงทำให้มีการคิดค้นวิธีการอื่นๆ ที่จะช่วยให้การวัดคุณภาพเสียงนั้นง่ายขึ้น เรามาดูวิธีการต่างๆ ที่ว่ากันต่อไปเลยนะครับ วิธีการแบบ Active Testingอย่างที่เราได้เกริ่นนำไปก่อนหน้านี้นะครับ คุณภาพของเสียงที่ได้จากการสื่อสารผ่านเครือข่ายนั้น จะวัดที่ความใกล้เคียงหรือเหมือนกับต้นฉบับที่เข้ามาสู่เครือข่าย ดังนั้น จึงได้มีการนำเอาแนวคิดนี้มาใช้ในการวัดคุณภาพเสียงของเครือข่ายกัน นั่นก็คือ ใช้การเปรียบเทียบกับต้นฉบับนั่นเอง มาตรฐานที่ใช้วิธีการนี้ ก็ได้แก่ Perception Speech Quality Measure (PSQM: ITU-T P.861), Perceptual Evaluation of Speech Quality (PESQ: ITU-T P.862), Perceptual Analysis Measurement System (British Telecom) เป็นต้น            วิธีการน่ะหรือครับ ก็เริ่มจากการนำเอาออดิโอไฟล์ต้นฉบับ มาแบ่งออกเป็นบล็อกเล็กๆ ที่เหลื่อมกันอยู่ จากนั้นก็ทำการคำนวณค่า Fourier Transform Coefficient ของแต่ละบล็อกเก็บไว้ และเมื่อเสียงนั้นได้ผ่านเครือข่ายออกมาแล้ว ก็ทำวิธีเดียวกันเพื่อให้ได้ชุดค่าของ Fourier Transform Coefficient มาเพื่อทำการเปรียบเทียบ และทำการให้คะแนน ซึ่งถึงแม้ว่าคะแนนที่ได้จะไม่ตรงกับคะแนน MOS เสียทีเดียว แต่ก็มีความน่าเชื่อถือและเปรียบเทียบได้มาก โดยจะมีค่าของ Correlation สูงถึง 0.95 ทีเดียว (หากเป็นค่าเดียวกัน จะมีค่าสูงเท่ากับ 1) จึงนับว่าเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือมากทีเดียว            อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ก็ยังมีข้อเสียใหญ่ๆ อยู่หลายข้อทีเดียว ข้อแรกก็คือ เนื่องจากเป็นการเปรียบเทียบกับไฟล์ออดิโออ้างอิง จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างไฟล์เสียงอ้างอิงนั้นแล้วส่งเข้าไปในเครือข่าย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโหลดหรือทราฟฟิกให้กับเครือข่ายเพิ่มขึ้น หากเราต้องการที่จะวัดคุณภาพเสียงของเครือข่ายนั้นๆ ข้อที่สองก็คือ การที่จะต้องวัดเปรียบเทียบไฟล์อ้างอิงที่จะต้องทำการส่งเข้าไปในเครือข่ายนั้น จะต้องมีการวัดทั้งที่ต้นทางและปลายทาง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่กับคนละที่ จึงทำให้ลำบากต่อการติดตั้งอุปกรณ์วัดและการทำการวัดจริงๆ และยากที่จะทำการวัดนอกเครือข่ายของตนเองได้ จึงทำให้ขอบเขตการวัดค่อนข้างจำกัด ด้วยข้อเสียทั้งสองข้อนี้ จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ยกเว้นในกรณีของการทดสอบในห้องทดลองเป็นต้นวิธีการแบบ Passive Monitoringวิธีการแบบนี้จะตรงกันข้ามกับวิธีการแรก นั่นก็คือ ไม่มีการเปรียบเทียบแต่อย่างใด จึงทำให้คล่องตัวและสะดวกต่อการวัดคุณภาพเสียงมากขึ้น วิธีการที่ว่านี้ก็คือ มาตรฐาน ITU-T P.563 หรือ 3SQM (Single Sided Speech Quality Measure)             วิธีนี้ จะเริ่มจากการที่นำเอาเสียงที่ผ่านเครือข่ายมาแล้วนั้น ผ่านกระบวนการ Pre-Processing ซึ่งได้แก่การทำ Filtering, ปรับระดับเสียง และแยกเสียง Voice กับ Non-Voice ออกจากกัน (Voice Activity Detection) เพื่อให้เหมาะสมกับการประมวลผลต่อไป             จากนั้น ก็จะนำมาประมวลผลเพื่อแยกเอาค่าพารามิเตอร์ของเสียงและค่าความเพี้ยนต่างๆ ออกมา ซึ่งค่าความเพี้ยนต่างๆ นั้นก็ได้แก่
Unnatural Speech เช่นเสียงหุ่นยนต์ เสียงประหลาดๆ เช่นเสียงบี๊บ ที่ไม่ใช่เสียงที่จะพบได้ทั่วไป
Noise เสียงรบกวนต่างๆ ที่เข้ามา รวมทั้งเจ้า Background Noise
Interruptions, Mute ซึ่งเป็นเสียงที่หายไป เงียบ หรือการ clipping ของเสียงที่เกิดขึ้น เป็นต้น
เมื่อได้ค่าพารามิเตอร์ของเสียงและค่าความเพี้ยนต่างๆ ออกมาแล้ว ก็จะนำมาสร้างเป็นค่า MOS ที่มีตั้งแต่ 1 ถึง 5 ซึ่งมีค่า Correlation เท่ากับ 0.89 – 0.9 อาจจะไม่ดีเท่ากับวิธีที่แล้ว แต่ก็นับว่าใช้ได้ทีเดียว อีกทั้งสะดวกต่อการวัดมากกว่า และสามารถที่จะใช้วัดสัญญาณที่ได้จริงจากเครือข่ายได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องไฟล์ออดิโออ้างอิงแต่อย่างไร ทำให้วิธีการนี้ค่อนข้างที่จะเหมาะสมกับการวัดคุณภาพเสียงได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะกับเครือข่ายที่ใช้งานอยู่จริงนอกจากวิธีต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผู้ผลิตบางรายได้ค้นคิดวิธีต่างๆ ที่จะใช้วัดคุณภาพเสียงขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ดีเท่ากับวิธีที่กล่าวมา แต่ก็ถือว่าใช้งานได้ เช่น ได้มีการนำเอาวิธีการในการวางแผนเครือข่ายหรือ E-Model (ITU-T G.107) มาปรับแต่งเพื่อใช้ในการวัดคุณภาพเสียง และมีต้นทุนที่ต่ำกว่า เป็นต้น            หากจะเรียงลำดับกันถึงความถูกต้องเชื่อถือได้ในการวัดคุณภาพของเสียงนั้น ก็คงต้องยกให้ MOS เป็นวิธีการที่ดีที่สุด รองลงมาก็คือ วิธี Active Testing เช่น PESQ จากนั้นก็คือ P.563 และที่ใช้ได้ก็คือวิธีต่างๆ ของผู้ผลิตที่แม้จะไม่เทียบเท่า แต่ก็จะได้วิธีที่ประหยัดเงินและพอที่จะใช้อ้างอิงได้ แต่ต้องอ้างอิงกับผู้ผลิตเดียวกันเท่านั้น ดังนั้นในความเห็นของผู้เขียน วิธี P.563 จึงน่าจะเหมาะสมที่สุดที่จะใช้ในการอ้างอิงเปรียบเทียบ เพราะสะดวกต่อการวัดและสามารถอ้างอิงได้เพราะเป็นมาตรฐานที่ชัดเจน แต่หากไม่ได้ต้องการที่จะใช้อ้างอิงกับเครือข่ายหรือมาตรฐานใดๆ มากนัก การใช้งาน E-model ก็ถือว่าใช้ได้พอสมควรทีเดียว และยังอาจจะเปรียบเทียบกับค่า MOS มาตรฐานได้ แม้จะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว            ครับ เป็นอย่างไรกันบ้างครับ มาถึงตรงนี้ ก็คงพอจะมีไอเดียในการวัดคุณภาพเสียงในการสื่อสารกันพอสมควรนะครับ หวังว่าคงจะให้ความรู้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ แหล่งที่มา : นิตยสาร Windows ITPro

8.25.2558

DDoS

DDoS : Distributed Denial of Service


DDoS คืออะไร ก่อนที่เราจะทราบว่า DDoS คืออะไรก็ต้องไปดูว่าชื่อเต็มคืออะไรกันก่อนนะ “Distributed Denial of Service” นี่คือชื่อเต็ม เป็นการประกอบกันสองคำคือ Distributed + Denial of Service
นั่นไงมีการรวมร่างกันเกิดขึ้น แสดงว่าก็ต้องมีร่างต้น ร่างต้นคือ Denial of Service ชื่อบอกตรงตัวครับคือการทำให้ใช้บริการไม่ได้แต่เวลาผมไปคุยกับใครเขามักจะเรียกกันอยู่ว่า “โดนยิง” หรือ “โดนบอม” ซึ่งเป็นกริยาที่แสดงถึงกำลังโดนโจมตีหรือโดนสอยอยู่นั่นเองแหละครับ แต่ DoS เป็นการโจมตีด้วยการใช้แค่ 1 เครื่องโจมตี แน่นอนมันไม่ค่อยร้ายแรงเท่าไหร่หรอก เดี๋ยวจะมีอธิบายในบทต่อไป
ดังนั้น DDoS ที่มีคำว่า Distributed ประกอบอยู่ด้วยก็แทนที่จะเป็นการยิงโดยใช้แค่เครื่องเดียวแบบ DoS ก็เป็นการใช้หลายเครื่องช่วยกันยิงเพื่อให้ระบบร่วง โดยส่งผลทำให้เกิดขนาดในการโจมตีที่ใหญ่และป้องกันได้ยากมากกว่าเดิมมากกกกกกกกกก อธิบายมาพอสมควรและเกี่ยวกับ DDoS ยังไงผมจะขอเริ่มเข้าสู่การอธิบาย infographic ดังด้านล่างนะครับ
1) Protocol ที่นิยมใช้ในการทำ DDoS มากที่สุดคือ UDP เหตุเพราะมันปลอมได้ ไม่จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ตัวตนแบบ TCP เช่นเทคนิคพวก Amplification/Reflection กับช่องโหว่ของ Service พวก NTP, DNS, SNMP, SSDP, etc… พวกที่บอกมาเป็น UDP ทั้งนั้น รุนแรงและจับตัวยาก ไม่จำเป็นต้องมี botnet ด้วยนะขอบอก
2) อันนี้เป็นข้อมูลที่ทางเอสน็อครวบรวมจากเคสที่มี DDoS ที่มีต้นทางจากภายในประเทศ ตั้งแต่ Q4 2014 – Q1 2015 พบว่าเฉลี่ยที่เกิดการยิงจะอยู่ที่ 1.5Gbps และมากสุดที่พบคือ 7Gbps ถามว่าแรงไหม คงตอบว่ายังไม่เทียบเท่าต่างประเทศ แต่ขนาดการยิงแบบนี้ก็หวังผลได้ง่ายและเพราะส่วนใหญ่ระบบในไทยเชื่อมต่อกันแค่ 1Gbps เท่านั้น
3) เข้ามาสู่ชนิดของ DDoS แล้วทางผมอยากจะแบ่งการโจมตีออกมาเป็นสองประเภทใหญ่ๆ นั่นคือการยิงด้วยขนาดแบนวิดขนาดใหญ่หรือ Volumetric base Attack ซึ่งมีการพบว่าขนาดใหญ่ที่สุดก็ราวๆ 300-400Gbps เลยทีเดียวและการโจมตีด้วยจุดอ่อนของแอพพลีเคชั่นหรือ Application base Attack ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และตัวที่เป็นเป้าหมายเยอะสุดก็คือ Web Application นั่นแหละ ง่ายๆก็ทำการส่ง HTTP request flood เข้าไปจนทำให้ connection เต็มจน CPU/Memory 100% กันเลยทีเดียว
4) ข้อมูลจาก State of Internet 2014 พบการโจมตีขนาดใหญ่สุดคือ 361 Gbps ลองมองภาพกันนะ ถ้าเราโดนขนาดนี้จะเป็นยังไง บรื๋อออออ
5) ข้อมูลจาก neustar 2014 พบว่ากว่า 87% ของผู้ที่โดน DDoS โจมตีจะโดนมากกว่า 1 ครั้งเสมอ พูดง่ายๆคือกลับมายิงอีกจนกว่าจะสะใจ ใครที่เคยลิ้มรสชาติของการโดนยิงคงจะพอทราบกันว่า มันมาเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจกันเลยแหละ ทนได้ก็ทน ทนไม่ได้ก็ต้องทนฟิ้ววววววว
6) เฮ้ย! Smart Phone, Tablet, Smart Device เอามายิง DDoS ได้ด้วยเหรอ… อันนี้ไม่แปลกเลย อุปกรณ์สมาร์ททั้งหลายเนี่ยก็เหมือนคอมพิวเตอร์ดีๆนี่แหละ พอติดไวรัส ก็อยู่ที่แฮคเกอร์และว่าจะสั่งให้อุปกรณ์ของคุณทำอะไรก็ได้ และแน่นอนสั่งให้สิ่งที่อยู่ในมือของคุณไปโจมตีใครก็ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีกรณีทำให้เครือข่ายมือถือล่มกันเลยทีเดียว
7) ค่าความเสียหายเฉลี่ยที่เกิดขึ้นกับการโดน DDoS จนระบบมีปัญหามากกว่า 40% เสียชั่วโมงละ 1 ล้านบาท ซึ่งค่าความเสียหายนี้ประกอบไปด้วย โอกาสทางการขาย การให้บริการ ค่าล่วงเวลา ค่าเสียหายทางการตลาดเป็นต้น เป็นเงินไม่น้อยเลยนะหากเกิดมาเพียงแค่ครั้งเดียว…
สุดท้ายหากท่านใดมีข้อเสนอแนะหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ sales@snoc.co.th หรือช่องทาง https://www.facebook.com/securenoc ก็ได้และมีการทดสอบให้ฟรีไม่มีเงื่อนไข วันนี้ขอลาไปก่อนสวัสดีครับ

8.12.2558

IMPI / IMPU

IMPI / IMPU : IP Multimedia Private Identity / IP Multimedia Public Identity

IP Multimedia Private Identity หรือ IMS Private Identity
IP มัลติมีเดีย ประจำตัวแบบส่วนตัว (IMPI) อ่านเก๋ๆว่า อิมปี้ เป็นตัวตนที่จัดสรรแบบไม่ซ้ำกันถาวรทั่วโลก เพราะค่าตัวเลขถึง15ตัว นั้นบ่งบอก ประเทศ3ตัว+เครือข่าย2ตัว+เบอร์อีก10ตัว ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการเครือข่ายภายในบ้านและนำมาใช้ตัวอย่างเช่นการลงทะเบียน, การอนุมัติการบริหารและวัตถุประสงค์การบัญชี ผู้ใช้ IMS Subscriber จะมีเพียงหนึ่งค่า IMPI เมื่อเปรียบกับยุค2G/3G มันคือ IMSI นั้นเอง ตัวอย่าง IMPI  =  52005xxxxxxxxxx@ims.mnc005.mcc520.3gppnetwork.org : จะเห็นได้ว่า 520 ประเทศไทย 05dtac xxxxxxxxxxเป็นค่าตัวเลขขอเบอร์ ตามด้วย@โดเมนของผู้ให้บริการ

IP Multimedia Public Identity หรือ IMS Public Identity
IP มัลติมีเดีย ประจำตัวแบบสาธารณะ (IMPU) อ่านเก๋ๆว่า อิมปู้ จะถูกใช้โดยผู้ใช้ใด ๆ สำหรับการร้องขอการสื่อสารกับผู้ใช้อื่น ๆ (เช่นนี้อาจจะรวมอยู่ในแบบธุรกิจ) สามารถมีได้หลาย IMPU ต่อ IMPI ,IMPU นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับโทรศัพท์เครื่องอื่นเพื่อให้ทั้งสองสามารถเข้าถึงได้ด้วยตัวตนเดียวกัน (เช่นหมายเลขโทรศัพท์เดียวสำหรับทั้งครอบครัว) เช่น ในการทำมัลติซิม ใส่ทั้งโทรศัพท์ ทั้งipad เพื่อให้ง่ายในการเรียกเก็บค่าบริการ ใช้หลายเครื่องจ่ายในเบอร์เดียว เมื่อเปรียบกับยุค2G/3G มันคือ MSISDN นั้นเอง ตัวอย่าง IMPU  =  sip:+66909999999@ims.mnc005.mcc520.3gppnetwork.org : จะเห็นได้ว่า ค่าแบบSIP +66รหัสประเทศไทย เบอร์ตัด0ตัวหน้าทิ้ง ตาม@โดเมนของผู้ให้บริการ

Credit : https://en.wikipedia.org/wiki/IP_Multimedia_Subsystem

8.04.2558

Erlang

Erlang 

(เออร์แลงหรือหน่วยวัดปริมาณการใช้งานวงจรโทรศัพท์) ความหมาย : การวัดปริมาณการใช้งานของระบบโทรศัพท์ (1 Erlang เท่ากับ 3,600 วินาทีของการใช้งานในระยะเวลา 1 ชั่วโมง)

Credit : http://www.callcentermaster.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539616661&Ntype=1
Credit : http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Principle_of_Traffic_Engineering_in_Circuit_Switching_and_the_Numbering_System/index.php

8.03.2558

BHCA

BHCA : Busy Hour Call Attempts

คือ ซอฟต์สวิตซ์ที่สามารถรองรับและจัดการการใช้โทรศัพท์ได้มากหลายล้านเลขหมายต่อชั่วโมง
หรือเป็นหน่วยของ ความจุ ความหนาแน่น ของการใช้สายโทรศัพท์ เช่น Traffic Handing Capacity ได้เท่ากับ 2540 BHCA/BHCC

“BSS Vendor of the Year”แอมด็อคส์ เทอร์โบ ชาร์จจิ้ง (Amdocs Turbo Charging) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชาร์จจิ้งแบบเรียลไทม์ที่ทำงานเบ็ดเสร็จในตัว ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถนำเสนอบริการแบบผสมระหว่างระบบพรีเพด (prepaid) และระบบโพสท์เพด (postpaid) ได้โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ที่ถูกลง ทั้งนี้เทคโนโลยี เทอร์โบ ชาร์จจิ้ง ดังกล่าวได้สร้างสถิติใหม่ในอุตสาหกรรมนี้ในส่วนของขีดความสามารถแบบเรียลไทม์ ชาร์จิ้ง (real-time charging performance) โดยเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการใช้โทรศัพท์มากถึง 276 ล้านสาย ในช่วงชั่วโมงที่มีการใช้โทรศัพท์สูงสุด หรือที่เรียกว่า busy hour call attempts (BHCA)

Credit : http://www.ptt.co.th/blog/?p=196
Credit : http://47032rbacgroup11.blogspot.com/2007/08/ibm.html
Credit : http://www2.se-ed.com/technology/viewcontent.aspx?IDtopic=1888

7.31.2558

KPI

KPI : Key Performance Indicator 

หมายถึง ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน โดยจะแสดงให้เห็นรายละเอียดในความสำเร็จหรือล้มเหลวของงานนั้นๆ

KPI เป็นเทคนิควิธีการหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
KPI เกิดจากการรวมกันของคำ 3 คำที่มีความหมายในตัวเอง คือ Key, Performance และ Indicator
Key หมายถึง จุดหลัก หัวข้อหลัก หรือ เป้าหมายหลัก
Performance หมายถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือ ผลของการกระทำ
Indicator หมายถึง ตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัด

เมื่อรวมกันแล้วสามารถกล่าวได้ว่า KPI คือดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของการทำงานโดยการวัดผลตามหัวข้อต่างๆที่กำหนด

หลักการนำ KPI มาใช้งานประเมินผลงาน
สมัยก่อนการประเมินผลงานอาจจะประเมินกันแบบลวกๆ ไม่ละเอียด ทำให้เกิดคำถามขึ้นมามากมายว่าผู้บังคับบัญชาเอาเกณฑ์อะไรมาตัดสิน ทั้งเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลและประสิทธิผลขององค์กรหรือหน่วยงาน ทุกอย่างจะอยู่ที่การประเมินและตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาเพียงอย่างเดียว ซึ่งแน่นอนว่าเกิดปัญหาตามมามากมาย

ด้วยปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงต้องค้นหาดัชนีชี้วัดแบบละเอียดมาใช้งานแทนการตัดสินใจแบบลวกๆของคนเพียงคนเดียว ซึ่งปัจจุบันนิยมนำระบบ KPI มาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการใช้ KPI ในการวัดประสิทธิภาพของบุคคลและประสิทธิผลขององค์กรนั้น จะต้องจัดทำรายละเอียดของหัวข้อที่จะทำการประเมินผลไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดคะแนนของแต่ละหัวข้อเหล่านั้นไว้ด้วย เมื่อถึงเวลาประเมินผู้บังคับบัญชาต้องประเมินตามหัวข้อนั้นๆพร้อมให้คะแนน เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยจะต้องนำผลการประเมินนั้นมาแจ้งให้ผู้ถูกประเมินทราบ และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกประเมินได้คัดค้านในหัวข้อที่ตนเองไม่เห็นด้วยกับผลการประเมิน

ด้วยวิธีการนี้จะเห็นว่าการประเมินจะเป็นไปอย่างโปร่งใสและเปิดเผย มีความยุติธรรมทั้งต่อตัวผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน

สำหรับการนำ KPI มาวัดประสิทธิผลขององค์กรก็เช่นเดียวกับการใช้ KPI ประเมินบุคคล คือต้องจัดทำหัวหลักและหัวข้อย่อยที่ต้องการประเมิน พร้อมน้ำหนักหรือคะแนนในแต่ละหัวข้อ เมื่อถึงรอบระยะเวลาก็ทำการประเมิน และเปิดโอกาสให้ผู้ทำงานในองค์กรมีโอกาสได้รับรู้รายละเอียดการประเมินและมีโอกาสได้สนับสนุนหรือคัดค้านผลการประเมินนั้นด้วย

ข้อควรระวังในการนำระบบ KPI มาใช้งาน
เนื่องจาก KPI เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยตรงและแบบละเอียด ดังนั้นอาจจะโดนต่อต้านจากผู้ปฏิบัติงานในระยะแรก ดังนั้นผู้ประเมินต้องมีความอดทนและกล้าที่จะประเมินแบบตรงไปตรงมา ไม่มีความลำเอียง แต่เมื่อทุกคนในองค์กรยอมรับการประเมินแบบนี้แล้ว ประสิทธิผลโดยรวมขององค์กรจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

Credit : http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/kpi/

7.23.2558

Numbering Plan

Numbering Plan

Numbering Plan คือรูปแบบของกลุ่มตัวเลขใดๆ เพื่อระบุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น numbering plan for
IMSI,IMEI,SIM,ISPC เป็นต้น ยกตัวอย่าง IMEI เช่น IMEI ผมหมายเลข
Information on IMEI 35152100XXXXXXX ก็จะรู้ได้ว่า
เป็น IMEI ของ โทรศัพท์ยี่ห้อ Nokia รุ่น N-Gage ซึ่ง implement GSM Phase 2/2+
ซึ่ง IMEI นี้ออกโดย BABT (British Approvals Board of Telecommunications) จาก UK


Telephone Numbering Plan คือการจัดแบ่ง/รูปแบบ สำหรับระบบโทรศัพท์

Numbering Plan Indicator (NPI) เป็นกลุ่มข้อกำหนด ITU (International Telecommunication Union) ในการกำหนดหมายเลข ประกอบไปด้วย
 NPI Description Standard
 0 unknown   
 1 ISDN Telephony E.164
 2 generic 
 3 data X.121
 4 telex F.69
 5 maritime mobile E.210 & E.211
 6 land mobile E.212
 7 ISDN/mobile E.214

โดยส่วนใหญ่ การจัดแบ่งหมายเลขโทรศัพท์ เรามักใช้ตาม E.164 แต่ในบางพื้นที่ จะใช้ตามรูปแบบของตนเอง เช่น
NANP(North American Numbering Plan) ซึ่งผู้ดูแลคือ NANPA((North American Numbering Plan Administration) ใช้ในแถบอเมริกาเหนือเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้
Anguilla, Antigua and Barbuda, Bahamas, Barbados, Bermuda, British Virgin,Islands, Canada, Cayman Islands, Dominica, Dominican Republic, Grenada, Jamaica, Montserrat, Saint Kitts และ Nevis, Saint Lucia, Saint Vincent และ the Grenadines, Trinidad and Tobago, Turks and Caicos Islands,
United States - รวมไปถึง Guam, Northern Mariana Islands, Puerto Rico, U.S. Virgin Islands และ American Samoa

Country Codeปัจจุบันเราแบ่งหมายเลขโทรศัพท์ออกเป็น 9 โซน ดังนี้
Zone 1 – North American Numbering Plan Area
Zone 2 – Mostly Africa
Zone 3 – Europe
Zone 4 – Europe
Zone 5 – Mexico, Central and South America, West Indies
Zone 6 – South Pacific and Oceania
Zone 7 – Russia and its vicinity (former Soviet Union)
Zone 8 – East Asia and Special Services
Zone 9 – West, South and Central Asia, Middle East

รูปแบบของหมายเลขโทรศัพท์ (ตาม E.164) จะประกอบไปด้วย

cc=1-3 หลัก
National Destination Code (optional) และ Subscriber Number 12 หลัก
ดังนั้นเลขหมายจะไม่เกิน 15 หลัก

ตัวอย่างหมายเลขในไทย
Area Code:            1-3 digits
Subscriber Number:    6-7 digits
Trunk Prefix:         0
International Prefix: 001

       [Thailand mobile numbers are 1 + 7D]
       121 cellular mobile - Bangkok area
       131 cellular mobile - west of Bangkok area
       132 cellular mobile - east of Bangkok area
       141 cellular mobile - northeast area
       142 cellular mobile - east area
       151 cellular mobile - northern area
       152 cellular mobile - west area
       171 cellular mobile - far southern area
       172 cellular mobile - southern area
       2   Bangkok, Nonthaburi, Pathum Thani, Samut Prakan
       3x  Central Region
       32  Ban Pong, Bang Saphan, Cha-Am, Chom Bung, Damnoen Saduak, Hua Hin
       32  Phetchaburi, Prachuap Khiri Khan, Pran Buri, Pak Tho, Photharam
       32  Ratchaburi, Tha Yang, Thap Sakae
       34  Amphawa, Ayuthaya, Ban Phaeo, Ban Phraek, Bang Ban, Bang Pa-Han
       34  Bang Pa-In, Bang Pla Ma, Bang Sai, Bang Shai, Dan Chang, Don Chedi
       34  Duambangnangbuach, Kamphaeng Saen, Kanchanaburi, Krathum Baen
       34  Lat Bua Luang, Maharat, Nakhon Chaisi, Nakhon Pathom, Saeng Choo To
       34  Sai Yok, Sam Phran, Samut Sakhon, Samut Songkhram, Phachi, Phak Hai
       34  Phra-In Racha, Sam Chuk, Sena, Song Phi Nong, Sri Prachan
       34  Sungkhla Buri
       34  Suphan Buri [incorrectly listed/different from Suphanburi 35?]
       34  Tha Maka, Tha Muang, Tha Rua, Thong Pha Phum, U Thong, Wang Noi
       34  Wiset Chai Chan
       35  Suphanburi
       36  Ban Mi, Ban Mo, Kaeng Khoi, Khok Samrong, Lam Narai, Lop Buri
       36  Muak Lek, Nongkhae, Phra Phutthabat, Saraburi, Sing Buri
       37  Ban Nai, Nakhon Nayok, Sa Kaeo, Ta Phraya, Wang Nam Yen
       37  Watthana Nakhon
       38  Ao Udom, Ban Chang, Ban Khai, Bang Bung, Bang Khla, Bang Pakong
       38  Bang Saen, Chachoengsao, Chon Buri, Klaeng, Mabtaput, Na-Glua
       38  Na-Jomtien, Nong Yai, Pattaya, Phan Thong, Phanat Nikhom
       38  Phanom Sarakham, Pluak Daeng, Rayong, Sattahip, Si Racha
       39  Chanthaburi, Khlung, Tha Mai, Trat
       4x  Northeastern Region
       42  Chiangkhan, Khumphawapi, Kudbak, Kusuma, Loei, Mukdahan
       42  Nakhon Phanom, Non Bua Lam Phu, Phang Khon, Phon Phisai
       42  Sakon Nakhon, Sawang Daen Din, Toa-Ngoi, Udon Thani, Wangsaphung
       42  Wanon Niwet
       43  Ban Phai, Chonnabot, Chum Phae, Kalasin, Khao Suan Kwang, Khon Kaen
       43  Kosum Phisai, Kra Nuan, Maha Sarakham, Mancha Khiri, Nam Phong
       43  Nongrua, Phon, Phu Wiang, Prayeah, Roi Et
       44  Ban Gruad, Buri Ram, Chaiyaphum, Chatturat, Huy Raj, Klang Dong
       44  Lam Plai Mat, Nahkhon, Nang Rong, Non Sung, Nongki, Pak Chong
       44  Pak Thong Chai, Phimai, Phu Khieo, Phutaisong, Ratchasima, Satuk
       44  Sikhiu, Soeng Sang
       45  Amnat Charoen, Chom Phra, Det Udom, Kantharalak, Khong Chiam
       45  Phibun Mangsahan, Prasat, Rattanaburi, Samrongtab, Si Sa Ket
       45  Sikhoraphum, Surin, Tha Tum, Trakanphutphon, Ubon Ratchathani
       45  Warin Chamrap, Yaso Thon
       5x  Northern Region
       53  Chiang Mai, Chiang Rai, Chom Thong, Doi Tung, Fang, Mae Chan
       53  Mae Hong Son, Mae Rim, Mae Sai, Mae Suai, Mai Sa Riang, Pa Sang
       53  San Kamphaeng, San Pa Tong, San Sai, Saraphi
       54  Den Chai, Ko-Kha, Lampang, Nan, Phayao, Phrae, Sungmen, Thoen
       54  Wangnua
       55  Bang Rakam, Kamphaeng Phet, Krathum Ban, Lankrabua, Laplae
       55  Mae Sot, Phichai, Phitsanulok, Samngao, Sawankhalok, Sukhothai
       55  Tak, Tron, Uttaradit, Wang Thong
       56  Banphot Phisai, Chai Nat, Chumsaeng, Hankha, Lanyao, Nahkon Sawan
       56  Non Chang, Phayuha Khiri, Phetchabun, Takhli, Uthai Thani
       7x  Southern Region
       73  Betong, Khok Pho, Narathiwat, Pattani, Ruso, Sai Buri, Sungai Kolok
       73  Sungai Padi, Tak Bai, Tanyongmat, Yala
       74  Chana, Hat Yai, Khao Chaison, Khlong Ngae, Khuan Khanun, Langu
       74  Na Thawi, Padang Besar, Phatthalung, Sadao, Sathingphra, Satun
       74  Songkhla, Tanhot, Tha Rua Nam Luk
       75  Chawang, Chien Yai, Huai Yot, Kantang, Krabi, Lan Saka, Na Bon
       75  Nakhon Si Thammarat, Pak Phanang, Trang, Yan Ta Khao
       76  Ao Makham, Chalong, Kathu, Phangnga, Phuket, Takua Pa, Thalang
       77  Ban Na San, Chaiya, Chumphon, Ko Samui, Lang Suan, Phunphin
       77  Ranong, Sawi, Surat Thani, Thung Tako
       88  toll free
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/18764

7.22.2558

SRVCC-IWF

SRVCC-IWF : Single Radio Voice Call Continuity-Interworking Function

ทำหน้าที่เป็น Mobile Soft switch และเลือก MSCว่าจะใช้งานตัวไหน เพราะ UE ต้องการทำ Handover ขอไปที่ MME แต่ UE รู้ว่าต่อไปจะไปจับ Call ID ไหนสัญญาณแรงกว่า ก็จะส่งคำขอไป
SRVCC-IWF เพื่อความแน่ใจในการใช้สายอย่างต่อเนื่อง เมื่อ UE ย้ายจากเครือข่าย LTE ไปเครือข่าย 2G/3G ว่าได้รับการขอทำ Location Update จาก UE ตัว SRVCC-IWF ก็จะเปลี่ยนการ access location ที่มาจาก MME ไปเป็น MSC server ตามคำขอที่ระบุ Call ID มาจาก UE

7.21.2558

Anchor AS

Anchor AS : Anchor Application Server
อังเคิล เอเอส ทำหน้าที่ Routing Call ของหมายเลขที่เป็น VoLTE Subscriber ให้สามารถโทรออก-รับสาย ได้ระหว่าง CS/3G กับ IMS/4G 

แบบที่1 หาเส้นทาง VoLTE Subscriber ทำการโทรไปยัง IMS domain โดยVoLTE Subscriber ยังอยู่ในระบบ CS/3G อยู่ IN ก็จะเรียกไปยัง Anchor AS เพื่อส่งไปยัง IMS เมื่อVoLTE Subscriber ทำการโทรออก หรือ รับสายในระบบCS/3Gเอง

แบบที่2 หาเส้นทาง VoLTE Subscriber โดย IMS domain ถูกเรียกเข้ามาโดย IN CS/3G ก็จะเรียกไปยัง Anchor AS เพื่อส่งมายัง IMS เมื่อVoLTE Subscriber รับสายการโทรเข้ามาจาก CS Subscriber/3G

IP-SM-GW

IP-SM-GW : IP Short Message Gateway

IP-SM-GW เป็น Application ใน ATS คือจัดเตรียม short message ระหว่างระบบ IMS/4G และ CS/3G ให้สามารถสื่อสารกันได้ เพราะรูปแบบ SMS คนละแบบกัน โดยทำหน้าที่แก้ไขรูปแบบ SMS ใน IMS/4G ที่เป็น SIP Message ให้เปลี่ยนเป็น Text Message ในระบบ CS/3G