1.29.2558

LTE

LTE : Long Term Evolution

LTE มีความเป็นมาอย่างไร
LTE หรือในชื่อเต็ม ๆ ว่า Long Term Evolution เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่พัฒนาในเส้นทางการพัฒนาของระบบ GMS-UMTS ซึ่งมุ่งเป้าที่จะพัฒนาไปสู่ยุค 4G ที่มีการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง กลุ่มที่พัฒนาเทคโนโลยี 3G ในสายนี้ก็คือ 3GPP นั่นเองครับ เริ่มต้นที่การพัฒนาระบบ GSM ที่เป็นยุค 2G ที่เน้นการสื่อสารด้วยเสียงเป็นหลัก และเป็นระบบดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมาในกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปที่พัฒนาขึ้นจากเดิมที่ใช้เป็นแบบอะนาล็อก
จากนั้นเมื่อยุคอินเทอร์เน็ตเริ่มเฟื่องฟูขึ้น มีการใช้โมเด็มอย่างแพร่หลาย ก็เริ่มมีคำถามถึงเทคโนโลยีไร้สายที่จะนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งระบบ GSM นั้นก็สามารถที่จะใช้ในการสื่อสารข้อมูลได้ในลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Circuit Switched ที่ความเร็ว 9.6-14.4 Kbps เท่านั้น ไม่ได้ความเร็วที่มากมายเทียบเท่ากับโมเด็มสักเท่าไร ซึ่งต้องถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่จะพัฒนาการสื่อสารข้อมูลไร้สายกันแล้ว
จากนั้นก็มีการพัฒนาขึ้นเป็นระบบ 2.5G หรือ GPRS (Geneal Packet Radio Service) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ Packet Switched ซึ่งจะช่วยประหยัดทรัพยากรมากกว่า
ความเร็วที่ได้จากระบบ GPRS อยู่ที่ประมาณ 32-48 Kbps พอจะเทียบเคียงได้กับโมเด็มที่ต่อผ่านสายโทรศัพท์ยุคเก่า ความเร็วระดับนี้ก็ได้เริ่มทำให้การสื่อสารข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นความจริงขึ้นมา ต่อมาก็มีการพัฒนาเป็นระบบ EDGE (Enhanced Data Rate for GSM Evolution) ซึ่งถือว่าเป็นยุค 2.9G โดยได้พัฒนาจนได้ความเร็วสูงสุดที่ประมาณ 236 Kbps และประเทศไทยได้ติดตั้งบนพื้นที่ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และยังคงใช้งานจนทุกวันนี้ (เพราะเราเองก็ยังไม่มีระบบ 3G จริงจังสักเท่าไร)
จากนั้นก็มีการพัฒนาขึ้นเป็นระบบ 3G ซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นประมาณปี 2001 ในตอนนั้นความเร็วของระบบ UMTS (universal Mobile Telecommunication System) หรือ 3G ตัวแรกมีความเร็วไม่มากเท่าไร ความเร็วจะอยู่ที่ประมาณ 384 Kbps ซึ่งไม่แตกต่างกับ EDGE เท่าไรนัก ทำให้ 3G ยุคแรก ๆ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร (เทคโนโลยีนี้จะเป็นมาตรฐาน 3GPP รีลีส 99)
แต่ด้วยแรงกดดันของความต้องการการสื่อสารข้อมูลไร้สาย จึงทำให้เกิดเทคโนโลยีทางเลือกต่าง ๆ ขึ้นในช่วงนั้น นั่นคือ ไวไฟ (WiFi) และทำให้เทคโนโลยีที่เป็นที่สนใจกันมากเกิดขึ้นมาตัวหนึ่งคือ ไวแมกซ์ (WiMAX) ได้กลายเป็นแรงกดดันให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี 3G ขึ้นไปอีก โดยกลายเป็น 3.5G ที่เรียกกันว่า HSPA (High Speed Packet Access) โดยแบ่งออกเป็น HSDPA และ HSUPA ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่เทคโนโลยีหนึ่งเน้นด้านดาวน์ลิงก์หรือด้านส่งข้อมูลถึงผู้รับ และเทคโนโลยีอีกตัวหนึ่งเน้นด้านอัพลิงก์หรือการส่งข้อมูลขึ้นไปแสดงผล
HSDPA (High Speed Downlink Packet Access, 3GPP Rel-5) นั้น มีการพัฒนาขึ้นมาก่อนและพัฒนาต่อมาตามลำดับ ตั้งแต่ 1.8 Mbps, 3.6 Mbps ไปถึง 7.2 Mbps ซึ่งความเร็วของทั้ง 2 ตัวหลังนี้มีอุปกรณ์รองรับมากมายและเป็นที่นิยมทั่วโลกดังที่เราจะเห็นได้จากจำนวนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รองรับความเร็วเหล่านี้ ซึ่งอุปกรณ์ที่รองรับความเร็ว 3.6 Mbps นั้นมีจำนวน 1,167 ตัว ความเร็ว 7.2 Mbps ก็มีถึง 657 อุปกรณ์ที่รองรับ ทำให้ความเร็ว 7.2 Mbps เป็นมาตรฐานการให้บริการ HSPA ในปัจจุบัน เพราะมีความเร็วที่ดีกว่า บริการที่ได้ก็มากกว่า และทำให้ลูกค้ายินดีที่จะใช้บริการมากขึ้น
เมื่อมีการพัฒนาความเร็วด้านขาลงก็ต้องมีการพัฒนาด้านขาขึ้นด้วยเช่นกัน นั่นคือ HSUPA (High Speed Uplink Packet Access, 3GPP Rel-6) ซึ่งมีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนล่าสุดได้ความเร็วสูงสุดที่ 5.76 Mbps ซึ่งก็ถือว่าเร็วมาก มีอุปกรณ์รองรับจำนวน 344 อุปกรณ์ในตลาด มีเครือข่ายรองรับ 92 เครือข่าย นับว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยเลยทีเดียว
HSPA+ ที่พัฒนาต่อมานั้นเริ่มแรกสามารถที่จะให้ความเร็วได้ถึง 21 Mbps และ 28 Mbps ในด้านดาวน์ลิงก์ และให้ความเร็วด้านอัพลิงก์ที่ 11 Mbps ซึ่ง 21 และ 28 Mbps แตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อยในเรื่องของการเข้าโค๊ด (16QAM vs. 64QAM) และการใช้เทคนิค MIMO (Multiple Input Multiple Output) ที่ใช้อย่างแพร่หลายในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เคยได้กล่าวถึงกันไปแล้ว ซึ่งในปัจจุบันเองก็มีประเทศที่เปิดให้บริการแล้ว โดยความเร็ว 21 Mbps มี 25 เครือข่าย และ 28 Mbps อีก 1 เครือข่าย
อย่างไรก็ตามการพัฒนาก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป จึงทำให้ต้องมีการพัฒนาไปสู่เทคโนโลยี Beyond 3G นั่นคือเทคโนโลยี LTE นี่เอง ซึ่งคาดว่าจะใช้ชื่อมาตรฐานเป็น 3GPP Rel-8 โดยได้เริ่มงานศึกษากันตั้งแต่ปี 2004
หลังจากที่ได้ศึกษาก็ได้มีการเริ่มต้นกำหนดรายละเอียดมาตรฐานส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งได้มีการกำหนดปรับปรุงแก้ไขกันมาตลอดจนกระทั่งมาเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคมปี 2008 ที่ผ่านมา และก็ได้มีการทดสอบกันในประเทศชั้นนำอย่างประเทศญี่ปุ่น มุ่งเน้นกับการทำ Trial การทดสอบต่าง ๆ การพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของเครือข่ายเพื่อให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจน
อาจจะแปลกใจเล็ก ๆ ว่าผู้ที่เป็นโต้โผผลักดันหลักของมาตรฐานตัวนี้เพื่อให้เกิด LTE ขึ้นมานั้นไม่ใช่ฝั่งผู้ผลิตหรือผู้สร้างมาตรฐานดังที่ผ่าน ๆ มา หากแต่เป็นผู้ให้บริการเองครับ โดยทางผู้ให้บริการรายใหญ่ต่าง ๆ ได้แก่ Sprint Nextel จากสหรัฐอเมริกา, China Mobile, Vodafone, Orange, KPN Mobile, T-Mobile International และ NTT DoCoMo ได้ร่วมมือกันผลักดัน โดยจัดตั้งเป็นบริษัทที่ชื่อว่า Next Generation Mobile Networks (NGMN) ขึ้นมาในเดือนกันยายน 2006 ซึ่งได้กำหนดความต้องการเป็นภาพคร่าว ๆ ไว้สำหรับเครือข่ายบรอดแบนด์ไร้สายยุคอนาคต ไม่เพียงแค่ LTE ยังมีส่วนอื่น ๆ ทั้งเครือข่ายด้วย อย่างเช่น SAE (Service Architecture Evolution) ซึ่งเป็นส่วนของ Core Network เป็นต้น และกำหนดให้มันกลายเป็นมาตรฐานขึ้นมา ซึ่งข้อดีของการที่มีผู้ให้บริการผลักดันก็คือเป็นผู้ที่ใช้งานเทคโนโลยีและให้บริการแก่ลูกค้าจริง ๆ จึงเป็นผู้ที่ตอบโจทย์ได้ชัดเจนที่สุดว่าต้องการอะไร และอยากให้เป็นอย่างไร นับว่าเริ่มต้นได้ดีทีเดียวนะครับ
นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้งกลุ่ม LTE/SAE Trial Initiative (LSTI) ขึ้นจากทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์และผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อทำการทดสอบระบบ LTE ในระหว่างการพัฒนา เรียกว่าคุมกันทั้งกระบวนการเลยทีเดียว นับว่าพอจะเห็นอนาคตที่สดใสเป็นลาง ๆ แล้วครับ
ในขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบกันที่ประเทศญี่ปุ่นกับ NTT DoCoMo และโอเปอเรเตอร์อื่น ๆ คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2010 ซึ่งไม่เพียงแต่ NTT DoCoMo เท่านั้น แต่รวมถึง AT&T และอีกหลายโอเปอเรเตอร์ที่จดจ้องกันอยู่

ทำไมต้อง LTE

สาเหตุที่เป็นแรงผลักดันที่สำคัญของระบบ LTE นี้ก็คือการเติบโตอย่างรวดเร็วของระบบอินเทอร์เน็ตนั่นเอง เป็นเพราะเทคโนโลยีบรอดแบนด์ในขณะนี้ได้เป็นที่นิยมและเติบโตอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก แม้แต่ในประเทศไทยเองก็มีการแข่งขันด้านบรอดแบนด์กันดุเดือดมากขึ้น ทั้งทรู แม็กซ์เน็ต และทีโอที เป็นต้น ส่วนเรื่องความเร็วก็พัฒนามากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย เช่น โมบายล์บรอดแบนด์จะประสบความสำเร็จไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้เกิดเทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูงอย่าง LTE ขึ้นมาเพื่อให้มีประสิทธิภาพของสเปกตรัม (Spectrum) ที่ดีกว่า มี Latency ต่ำกว่า เพื่อที่จะทำให้ได้แบนด์วิดธ์และ Latency ในการบริการที่ดีกว่า นอกจากนี้ทางผู้ให้บริการทางสาย CDMA ก็เริ่มจะมีประเด็นในเรื่องอนาคตที่จะก้าวต่อไป เนื่องจากว่าในปัจจุบันนั้นไม่ได้พัฒนาไปยัง EV-DO Rev.B หรือ UMB อย่างชัดเจน ซึ่งหากจะต้องแข่งขันกับผู้ให้บริการสาย GSM ซึ่งไปยัง WCDMA และ HSPA ในปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาต่อไป ดังนั้นจึงได้หันทิศทางมาผลักดันเทคโนโลยีนี้ด้วย จึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เทคโนโลยีนี้มีอนาคตที่สดใสไม่น้อยทีเดียว
และด้วยแรงผลักดันต่อเทคโนโลยีดังกล่าว เทคโนโลยีนี้จึงต้องให้แบนด์วิดธ์ได้สูงถึง 100 Mbps ทางด้านดาวน์ลิงก์ และประมาณ 50 Mbps ทางด้านอัพลิงก์ การให้บริการได้ถึง 200 Active Users ในเซลล์เดียวกัน มีความยืดหยุ่นของสเปกตรัมความถี่ที่ให้บริการทำได้ตั้งแต่ 1.25-20 เมกะเฮิรตซ์แบบไม่ตายตัว เช่น WCDMA ที่มีแค่ 5 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น และยังให้ Latency น้อยกว่า 5 ms ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้ทำให้ต้องมีการกำหนด Air Interface ใหม่ มีสถาปัตยกรรมเครือข่ายซับซ้อนน้อยลง แบนราบมากขึ้น
ด้วยความต้องการเหล่านี้จึงทำให้เทคโนโลยี LTE พัฒนาตามแนวทางนี้ โดยมีโครงสร้างและสถาปัตยกรรมหรือ Architecture ที่แบนราบ ลักษณะเป็นแบบ 2 Node เท่านั้น ก็คือ EPS (Evolved Packet System) และ eNodeB ใช้เทคโนโลยีทางด้านความถี่ใหม่ ๆ อย่าง OFDMA ซึ่งทำให้ได้ประสิทธิภาพทางความถี่ที่ดีขึ้น สามารถที่จะำได้แบนด์วิดธ์เพิ่มขึ้นจากสเปกตรัมที่ใช้งานเดิม และเพื่อให้ได้แบนด์วิดธ์ใช้งานสูงขึ้นได้กำหนดให้มีแบนด์วิดธ์ของสเปกตรัมที่ใช้งานได้กว้างถึง 20 เมกะเฮิรตซ์ แต่ก็ไม่ลืมที่จะเพิ่มเติมความยืดหยุ่นในการใช้งานให้เลือกได้ตั้งแต่ 1.25 ไปจนถึง 20 เมกะเฮิรตซ์นั่นเอง แต่จะทำได้อย่างไรเรามาดูรายละเอียดกันในตารางที่ 1 นะครับ
ตารางที่ 1 ความเร็วของ LTE ที่ Configuration ต่าง ๆ (ที่มา: ABI Research)



สถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีของ LTE

คงต้องบอกกล่าวกันสักนิดหนึ่งว่าไม่ได้ตั้งใจที่จะมาเจาะลึกเทคโนโลยี LTE ในที่นี้ เพียงแต่จะแนะนำเทคโนโลยี LTE ให้เป็นที่รู้จักในระดับหนึ่งเท่านั้น
เอาล่ะครับมาว่ากันต่อ เริ่มต้นที่สถาปัตยกรรมของ LTE ก่อน เนื่องจากจุดประสงค์ของการสร้าง LTE ส่วนหนึ่งก็คือการทำให้ Latency ลดลง ซึ่งวิธีที่ได้ผลที่สุดก็คือการทำให้สถาปัตยกรรมหรือ Architecture นั้นแบนราบที่สุด ซึ่งทำให้เทคโนโลยี LTE เป็นแบบง่าย ๆ มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ eNodeB และ EPS ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่จริง ๆ แล้วยังมีส่วนประกอบภายในเพื่อให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนแรกที่ขาดไม่ได้คือ HSS (Home Subscriber Server) ซึ่งเป็นส่วนที่เก็บข้อมูลลูกค้าเอาไว้ ส่วน PCRF (Policy and Charging Rule Function) แต่ส่วนที่สำคัญก็คือ MME (Mobility Management Entity) และ SAE (System Architecture Evolution) Gateway
ส่วน MME ทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุมของเครือข่าย LTE รวมทั้งสัญญาณ (Signaling) ต่าง ๆ การตรวจสอบต่าง ๆ ในระบบ และรวมถึงการทำงานร่วมกันของเครือข่าย 2G/3G กับ LTE ด้วย
ส่วน SAE Gateway จะำทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ให้กับข้อมูลในด้านการรับส่งออกจากเครือข่าย ซึ่งมันเองก็อาจจะทำหน้าที่เป็น PDN Gateway ที่จะรับส่งข้อมูลต่าง ๆ จากภายนอกเครือข่ายอีกด้วย ซึ่ง ณ จุดนี้จะมีการกำหนด Policy ต่าง ๆ เป็นต้น ดังรูปที่ 1 ที่มี 3GPP Anchor และ SAE Anchor ที่รวมเข้าเป็น SAE Gateway
รูปที่ 1 โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ LTE (ที่มา: 3GPP TR 23.882)
สำหรับเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถที่จะใช้ความถี่ที่ได้รับดีขึ้นมีอยู่หลายส่วน ซึ่งในส่วนแรกที่จะช่วยให้ประสิทธิภาพความถี่ดีขึ้นและมีความยืดหยุ่นในการใช้สเปกตรัมก็คือเทคโนโลยี OFDMA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีความถี่ยุคใหม่ในรุ่นใหม่ต่าง ๆ เช่น ไวแมกซ์ก็นำมาใช้งาน โดยทาง LTE ได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้งานด้านดาวน์ลิงก์และนำ SC-FDMA (Single Carrier Frequency Division Multiple Access) มาใช้งานทางด้านอัพลิงก์ ซึ่งนอกจากจะได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น สามารถที่จะให้บริการได้ที่ความเร็ว 100 Mbps ในด้านดาวน์ลิงก์ และ 50 Mbps ทางด้านอัพลิงก์แล้ว ยังมีความยืดหยุ่นตามสไตล์ของ OFDMA ซึ่งช่วยให้สามารถที่จะปรับเปลี่ยนใช้งานความถี่ได้ที่แบนด์วิดธ์ต่าง ๆ กันตั้งแต่ 1.25 ถึง 20 เมกะเฮิรตซ์ จึงไม่เป็นข้อจำกัดที่จะให้บริการเทคโนโลยี LTE นี้ทางด้านความถี่
นอกจากเทคโนโลยี OFDMA ที่ใช้แล้ว เพื่อที่จะเพิ่มแบนด์วิดธ์ที่ได้ก็ได้มีการนำเทคโนโลยีของ MIMO เข้ามาใช้งานด้วย ทำให้สามารถที่จะเพิ่มความเร็วของการให้บริการยิ่งขึ้นอีกดังตารางที่ 1 ซึ่งเทคโนโลยี LTE ได้ทำให้โลกการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายเข้าสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริงด้วยอัตราความเร็วที่สุด ๆ กันไปเลย
สำหรับความถี่สเปกตรัมที่เปิดใช้งาน ทาง LTE ก็เปิดมาตรฐานให้มีการใช้งานได้หลาย ๆ ความถี่ แต่สำหรับความถี่ที่น่าจับตามองหลัก ๆ ก็คือความถี่สำหรับให้บริการเทคโนโลยี 3G ในปัจจุบันนี้ เนื่องจาก License ที่มีราคาแพง ทำให้ต้องกินเวลาในการคืนทุน และสำหรับผู้ที่สนใจมาใช้งานเทคโนโลยี LTE ก็จะเน้นไปยังผู้ที่ให้บริการ 3G ในปัจจุบันเป็นหลัก และมีการคาดการณ์กันว่า NTT ที่เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยี LTE นี้ได้วางแผนที่จะใช้ความถี่นี้กับ LTE จึงทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ มีสิทธิ์ที่จะได้เห็นการใช้ความถี่ของ LTE กันละครับ
แต่สำหรับความถี่ที่น่าจับตามองอย่างมากก็คือความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ และ 2.6 กิกะเฮิรตซ์นั่นเอง สาเหตุก็คือทาง Verizon และ AT&T ซึ่งเป็นผู้ที่มุ่งมั่นอย่างมากที่จะใช้งานเทคโนโลยี LTE ประมูลความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์นี้มาได้ และประกาศอย่างชัดเจนที่จะผลักดันใช้งานความถี่นี้ในการให้บริการ LTE ในปี 2010 หรือภายในปีนี้ โดยจะใช้ร่วมกับความถี่ 1.7/2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นความถี่ในการให้บริการ 3G ดังนั้นเราเองก็น่าจะได้เห็นเทคโนโลยี LTE ที่ความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ค่อนข้างแน่นอน ถึงแม้ว่าทั้ง Verizon และ AT&T จะได้ความถี่มาไม่ครบถ้วนทั้ง 20 เมกะเฮิรตซ์ก็ตาม แต่สำหรับ Verizon ที่ได้ความถี่นี้มาประมาณ11 Mbps ก็เพียงพอที่จะแสดงความเร็วของ LTE ได้พอสมควร และด้าน AT&T ใช้วิธีเล่นแร่แปรธาตุจนได้ความถี่ถึง 24 เมกะเฮิรตซ์ที่จะใช้งานที่ 20 เมกะเฮิรตซ์ได้สบาย ๆ
สำหรับความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์นั้น ทางยุโรปก็ได้มุ่งมั่นที่จะเปิดให้บริการเทคโนโลยี 4G กันภายใต้ความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งรายละเอียดและเวลาที่แน่นอนก็จะขึ้นกับแต่ละประเทศ เช่น ในประเทศสวีเดนได้เปิดประมูลกันสำเร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2008 โดยผู้ชนะการประมูลที่ได้ความถี่นี้ไปก็คือ Telia Sonera, Telenor, Tele2, H3G และ Intel Capital ติดตามด้วยประเทศนอร์เวย์ และยังมีอิตาลี เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย ให้ความสนใจที่จะทำตามด้วย ซึ่งทาง Telia Sonera ที่ได้รับชัยชนะกับความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ก็ประกาศที่จะใช้ความถี่นี้กับเทคโนโลยี LTE นั่นเอง
ทางฟากเอเชียนี้ก็ไม่เบา จะว่าไปทาง NTT DoCoMo (เป็นผู้นำในการบุกเบิกเทคโนโลยี LTE เสียด้วยซ้ำ) ได้ประกาศที่จะให้บริการเทคโนโลยี LTE เป็นทางการในปี 2010 อย่างชัดเจน และขณะนี้ก็เป็นหัวเรือหลักในการทำการทดสอบเทคโนโลยีนี้บนความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ และทางด้านหน่วยงานรัฐที่จัดสรรความถี่ให้กับญี่ปุ่นก็ไม่รอช้าที่จะอนุมัติความถี่ 1.5 กิกะเฮิรตซ์ให้ใช้งานด้วย ถึงแม้ว่ายากที่จะได้ถึง 20 เมกะเฮิรตซ์ แต่ก็มากเพียงพอที่จะสร้างความแตกต่างได้ และทาง KDDI ก็คงจะไม่ปล่อยให้คู่แข่งทิ้งห่างอย่างแน่นอน ส่วนในเกาหลีใต้เองก็จะนำเทคโนโลยี LTE มาใช้งานบนความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์อีกด้วย

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ LTE

จากข้อมูล GSA ในปัจจุบันมีเครือข่ายหรือผู้ให้บริการที่ได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าจะใช้งาน LTE แน่นอนทั้งหมดมากกว่า 45 เครือข่ายใน 23 ประเทศ ซึ่งหากแจกแจงเป็นรายละเอียดออกมาแล้วจะมีทั้งหมด 16 เครือข่ายได้กำหนดแผนไว้ว่าจะให้บริการ LTE อย่างเป็นทางการในปี 2010 อีก 35 เครือข่ายคาดการณ์หรือกำหนดแผนการเอาไว้ในปี 2011-2012 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 กำหนดการของแต่ละเครือข่ายในการเปิดให้บริการ LTE (ที่มา: GSA)
ซึ่งแผนการของแต่ละเครือข่ายนั้นจะมีรายละเอียดหรือความถี่ที่ใช้งานแตกต่างกันไป เช่น Verizon ในสหรัฐอเมริกาจะใช้งานความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะทำการทดสอบในเมืองบอสตันและเมืองซีแอตเทิลเป็นจำนวน 20 สถานีฐาน และเปิดให้บริการจริงประมาณปลายปี 2010 และจะวางเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศในปี 2013 ส่วน Telia Sonera ในสวีเดนก็วางแผนที่จะใช้งานความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ โดยจะเปิดให้บริการในกรุงสต็อกโฮล์มในปี 2010
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งระบบ 3G ประสบความสำเร็จอย่างมากและอิ่มตัวแล้ว ก็จะมีทั้ง NTT DoCoMo, eMobile, Softbank และ KDDI จะเปิดให้บริการ LTE ทั้งหมด โดย DoCoMo และ Softbank จะใช้ความถี่ 1.5 กิกะเฮิรตซ์ ในขณะที่ KDDI จะใช้ทั้งความถี่ 1.5 กิกะเฮิรตซ์ และ 800 เมกะเฮิรตซ์ ส่วน eMobile จะใช้ความถี่ 1.7 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งการให้ข่าวก็มีการเกทับกันเล็กน้อยเมื่อ DoCoMo วางแผนที่จะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ในขณะที่ทาง eMobile ก็ประกาศที่จะให้บริการในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ก็คงจะต้องดูต่อไปละครับว่าจะได้เห็นโฉมหน้ากันจริง ๆ ในเดือนไหนแน่

ครับ...ผู้อ่านก็ได้รู้จักและรับทราบความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยี LTE กันไปแล้วนะครับ ถ้ามีโอกาสผู้เขียนจะนำความเคลื่อนไหวหรืออาจจะนำเทคโนโลยีเด่น ๆ ของ LTE มาเสนอในโอกาสต่อไปนะครับ ก็คงจะต้องมาลองจับตาดูกันว่าเทคโนโลยี 4G นี้จะไปได้ไกลเพียงใด

Credit : http://www.mvt.co.th/viewnews.php?cid=3&nid=380&page=4


1.28.2558

ViLTE

ViLTE : Video over LTE



หลักการก็คล้ายกับ VoLTE คือเอาวิดีโอ (Subscriber 4G)ไปส่งในระบบให้ได้ทั้งในเครือข่าย3Gและ4Gได้ เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งบนพื้นฐานของระบบและต้องใช้อุปกรณ์ IP Multimedia Subsystem (IMS) เครือข่ายที่มีโปรไฟล์ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการควบคุมและตัวกลางสื่อในการให้บริการวิดีโอบนเครือข่าย LTE ที่กำหนดโดยสมาคม GSM



Credit : http://en.wikipedia.org/wiki/ViLTE



VoLTE

VoLTE : Voice over LTE



    VoLTE บริการ 4G ในปัจจุบันรองรับเฉพาะดาต้า หากมีการโทรเข้าโทรออกเครื่องโทรศัพท์มือถือจะต้องไปจับสัญญาณ 3G แต่ที่จริงเทคโนโลยี 4G รองรับการโทรเข้าโทรออกมาเป็นปีแล้ว เรียกว่า Voice over LTE หรือ VoLTE (ออกเสียงว่าโวลเต้) แต่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ยังไม่ได้รีบอัพเกรดเครือข่ายให้รองรับ VoLTE เนื่องจากเครื่องโทรศัพท์มือถือ 4G ยังไม่รองรับ VoLTE จนกระทั่งแอปเปิลเปิดตัวไอโฟน 6 และ ไอโฟน 6 รองรับ VoLTE
ไอโฟน 6 จะเป็นตัวผลักดันให้ผู้ให้บริการ 4G รีบอัพเกรดเครือข่ายให้รองรับ VoLTE
เมื่อโทรศัพท์มือถือโทรเข้าโทรออกโดยใช้ VoLTE คุณภาพเสียงจะเป็น HD Voice (ปัจจุบัน เอไอเอส กับ ดีแทค มี HD Voice ใน 3G แล้ว แต่ทรูมูฟเอชยังไม่มี) การโทรออกจะใช้เวลาเพียง 1 วินาที (ระบบ 3G ใช้เวลา 5-6 วินาทีกว่าจะได้ยินเสียงริงโทน) นอกจากนี้ผู้โทรยังสามารถเปิดปิดกล้องของโทรศัพท์มือถือของตนเองในระหว่างโทรได้ ทำให้สามารถสลับไปมาระหว่าง voice call และ video call โดยไม่ต้องวางสาย และได้คุณภาพของสัญญาณ video call เป็นแบบ HD
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการ 4G จะต้องปรับจูนเครือข่ายให้ดีก่อนที่จะเปิดให้บริการ VoLTE มิฉะนั้นจะมีโอกาสเกิดสายหลุดได้ง่ายกว่าการโทรโดยใช้ 3G เพราะ 3G มี soft handover ซึ่งช่วยลดการเกิดสายหลุดในระหว่างเคลื่อนที่แต่ 4G ไม่มี
----------------------------
              ต้องกล่าวถึงเรื่องของ VoIPเพื่อความเข้าใจ  VoIP คือการสื่อสารทางเสียงผ่านระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่สัญญาณเสียงนั้นจะถูกตัดแบ่งเป็น Packet วิ่งผ่านไปบนโครงข่ายที่ใช้สื่อสารข้อมูลทั่วไป ตัวอย่างเช่น พวกโปรแกรมOTT การโทรผ่านโปรแกรม Skype ที่หลายๆ ท่านรู้จักกันดี ซึ่งข้อดีของมันก็อยู่ที่ความประหยัดในเรื่องค่าใช้จ่ายในการสื่อสารที่ถูกลง ไม่ต้องเสียเงินแพงๆ เพื่อโทรศัพท์หาลูกที่เรียนอยู่ต่างประเทศ หรืออยู่ต่างประเทศแต่เราสามารถที่จะคุยกันผ่านช่องทางนี้ได้ทุกที่ทั่วโลก แต่มีข้อแม้ข้อเดียวเท่านั้นว่าจะต้องมี Internet แต่ก็เป็นสัจธรรมเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียนั่นคืออาจมีการ delay ของเสียง เป็นต้น
             ทีนี้เรามาดูในส่วนของ VoLTE กันบ้างว่าคืออะไร VoLTE คือวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งที่เพิ่มประสิทธิภาพระบบโครงข่ายไร้สายในระบบ 4G ซึ่งวิวัฒนาการชิ้นนี้เองที่จะเป็นจุดจบของโครงสร้าง circuit switch (CS 2G/3G) เพราะการทำงานจะเป็น packet data ให้วิ่งบน IP ทั้งหมด ซึ่งก็แน่นอนว่าต้องมีประสิทธิภาพดีกว่าระบบ 2G/3G ซึ่งมาดูกันซิว่า VoLTE นี้จะมีประสิทธิภาพดีขนาดไหน         ข้อแรกเลยคือมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูง ท่านอยากทราบว่าเร็วแค่ไหน ก็เร็วขนาดที่ว่าสามารถถ่ายทอดสด ประชุมผ่าน Video conference หรือจะเป็น Live HD video ทั้งในระบบ2 มิติและ 3 มิติแบบไม่มีสะดุดโดยทั้งหมดนี้สามารถปฏิบัติการได้บนเฮลิคอปเตอร์ หาก VoLTE มีประสิทธิภาพดีขนาดนี้เราก็คงนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายและกว้างขวางในหลายๆ วงการ อาทิ การถ่ายทอดสดสภาพการจราจร การตรวจตราทางทะเล การถ่ายทอดสดกิจกรรมต่างๆ หรือแม้แต่ในวงการแพทย์ เป็นต้น

Credit : https://sites.google.com/site/contest2itmnida/volte-voice-over-long-term-evolution

----------------------------

LTE จะไม่มีข้อด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังลังเลๆ ตัดสินใจ จะลงทุนดีไม่ลงทุนดี (โดยเฉพาะประเทศที่แค่ความถี่ 3G ยังใช้เวลาประมูลกันเกือบจะ 10 ปี) คือ เจ้า LTE มันไม่รองรับการใช้โทรศัพท์แบบยุค 2G และ 3G อีกต่อไปน่ะสิ
ยุค 2G/3G นั้น เมื่อผู้ใช้ต้องการโทรศัพท์หรือส่ง SMS หาผู้รับนั้น สัญญาณเสียงจะเดินทางผ่านระบบโครงข่ายสัญญาณเรียกว่า circuit switch แต่เจ้าระบบ LTE อันใหม่นี้กลับไม่รองรับ circuit switch เพราะมันเป็นระบบ packet switch แบบเพียวๆ ไม่ผสม ดังนั้นหากผู้ให้บริการโครงข่ายฯ อยากลงทุนระบบ LTE เพื่อให้บริการ high speed Internet แล้ว ก็ต้องมองหาแผนสำหรับรองรับการใช้งานโทรศัพท์แบบธรรมดาๆ เหมือนยุค 2G/3G ด้วย โดยทั่วไปก็มี 2 วิธี คือ
1) Circuit Switch Fall Back (CSFB) คือ ถ้าจะคุยเสียงก็สั่งการให้โทรศัพท์มือถือ switch กลับไปใช้โครงข่าย 2G/3G แบบเก่าไป
2) เพิ่มระบบ Voice over LTE เข้าไป (ลงทุนเพิ่มอีกล่ะ) เพื่อให้โทรเสียง (และวีดีโอ) ผ่านโครงข่าย LTE ได้เลย โดยไม่ต้องมีโครงข่าย 2G/3G รองรับ
จะเห็นว่าจุดอ่อนของเทคโนโลยี LTE นี้ น่าจะทำให้ผู้ให้บริการฯ หลายเจ้าในประเทศไทย มอง LTE อย่างลังเลๆ จะเอายังไงดีนะ จะเอายังไงดีหนอ เพราะนอกจากจะต้องเร่งลงทุนโครงข่าย 3G แล้ว ถ้ามาเร่งลงทุนโครงข่าย LTE อีกก็เงินทั้งนั้น แล้วยังเรื่องข้อจำกัดของตัวเคร่ื่องโทรศัพท์เองอีกด้วย โทรศัพท์ที่รองรับเทคโนโลยี LTE อย่างเดียวยังไม่พอ ยังต้องรองรับทางเลือก 1 และ/หรือทางเลือก 2 สำหรับโทรเสียงอีกด้วย

นี่ยังไม่พูดถึง เทคโนโลยี LTE เองก็ยังรุดหน้าไปเรื่อยๆ ขนาดที่สามารถเอาความถี่ย่าน 700, 800, 900, 1800, 2100 MHz มาใช้เป็น LTE ได้ด้วย (ไม่ใช่แค่ย่าน 2600 MHz) ลงทุนอะไรเขาก็คงต้องการความคุ้มค่าอ่ะนะ ถ้าเอาย่าน 900 และ 1800 ที่กำลังจะกลับคืนเป็นสมบัติของชาติมาประมูลใหม่เป็น LTE

Credit : https://www.facebook.com/impoaround/posts/188498607999306

----------------------------

       Voice over LTE (VoLTE): ใช้พื้นฐานของ IP multimedia subsystem (IMS) เครือข่าย VoLTE ส่งเสียงในเครือข่าย LTE ในรูปแบบของการส่งข้อมูลและไม่ได้ใช้เครือข่ายแบบดั้งเดิม Circuit switched (CS) เครือข่ายแบบดั้งเดิม CS ค่อยๆขยายและถูกแทนที่เป็น VoLTE 
       Circuit switched fallback (CSFB): เครือข่าย LTE จะใช้เฉพาะในการส่งข้อมูล /เมื่อมีบริการเสียง อุปกรณ์ของผู้ใช้ (UE) อยู่กลับไปใช้ระบบเสียงในเครือข่าย CS เดิม
       บริการเสียงพร้อมกันกับdata (SVLTE): UE เชื่อมต่อกับทั้ง LTE เพื่อใช้ data และเครือข่าย CS เพื่อใช้เสียง การแก้ปัญหานี้ ไม่ได้มีความต้องการพิเศษเครือข่าย

       CSFB และ SVLTE ต้องการให้เครือข่าย CS ให้บริการเสียงและดังนั้นจึงอาจมีข้อจำกัด
ของเครือข่าย CS แต่พวกเขามีทางเลือกที่เหมาะสมในช่วงแรกของการ LTE VoLTE เป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารของรุ่นต่อไปของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่มีประสิทธิภาพดีกว่า CSFB และ SVLTE ในคุณภาพของบริการ (QoS) ประหยัดค่าใช้จ่ายและการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ไร้สาย VoLTE ได้กลายเป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับผู้ให้บริการทั่วโลก

Credit : http://www.huawei.com/mwc2014/en/articles/hw-326946.htm

----------------------------
 VoLTE ก็คล้ายๆ กับ VoIP แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือใช้การเชื่อมต่อข้อมูลผ่านช่วงคลื่น LTE แทนที่จะใช้ IP protocol และ VoLTE จะให้คุณภาพเสียงระดับเดียวกับการเปิดแผ่นซีดี ในขณะที่ Skype ให้คุณภาพเหมือนโทรหากันผ่านสายโทรศัพท์เท่านั้น ยุค 2G/3G ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จะแยกช่องสัญญาณเสียงกับข้อมูลออกจากกัน แต่พอเป็น 4G LTE จะคิดใหม่ทำใหม่ คือทุกอย่างที่ส่งกันบน LTE จะเป็นข้อมูลล้วนๆ (วิ่งบน IP ตามปกติ) ทำให้การโทรศัพท์ด้วยเสียงผ่าน LTE ตรงๆ ไม่สามารถทำได้ การใช้งานมือถือ LTE ในปัจจุบันจึงต้องใช้ทั้ง LTE และ 2G/3G ควบคู่กันไป ขึ้นกับว่าตอนนั้นสื่อสารด้วยอะไร)
ในขณะที่ยังไม่มีความแน่นนแนของการเปิดตัวในเชิงการค้าของ VoLTE หลายๆ ผู้ให้บริการมือถือเลือก solution CSFB (Called circuit switched feedback) มาแก้ปัญหาก่อน จากคำให้สัมภาษณ์ของ Mark Newman chief research officer at another research firm, Informa Telecoms & Media. นี่อาจเป็นผลมาจากทางผู้ให้บริการมือถือเกิดคำถามว่า VoLTE สามารถทำอะไรในเชิงการค้าได้บ้าง
CSFB มีฟังก์ชันที่ทำให้ Smart Phone ปิด GSM/3G radio ในขณะที่ผู้ใช้เข้าถึง internet ผ่านทาง LTE network และระบบจะเปิด GSM/3G radio อีกครั้งเมื่อมีสายโทรศัพท์เข้า ฟังก์ชันตัวนี้ออกแบบมาเพื่อ Save Battery
เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างมากจากการใช้ VoLTE ซึ่ง บุกเบิกโดย SK Telecoms มียอดผู้ใช้บริการกว่า 3.6 ล้านคน ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากการที่ประเทศเกาหลีใต้มี เครือข่าย LTE ครอบคลุมเกือบทุกพิ้นที่นั่นเอง
Market Research Firm ไม่ได้คิดไปคนเดียวที่มองว่าความสำเร็จของ VoLTE ในเกาหลีใต้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ประเทศอื่นๆ นำ VoLTE ไปใช้ จากการให้สัมภาษณ์ของ Navinger; header of equipment vendor Ericson LTE Product division ก็เห็นด้วย เขามองว่าความสำเร็จในเกาหลีใต้น่าสนใจมาก มนจะส่งแรงกระตุ้นไปในวงกว้าง
ในขณะที่ VoLTE ยังคงไม่มีข้อสรุปอย่างแน่ชัด service ประเภท internet-based voice (over-on-top หรือ OTP)ซึ่งประกอบไปด้วย Skype, Fring, KakaoTalk, Line, Nimbuzz, WeChat and Viber กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก จำนวนผุ้ขอใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือมากกว่า 660 ล้านคน หรือ คิดเป็น กว่า 550%
เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว และคาดการว่าจะแตะ 1000 ล้านคนก่อนสิ้นปี อย่างก็ตาม จากข้อมูลของ Infonetics รายได้ที่ service พวกนี้ได้รับกลับอยู่ในสัดส่วนที่น้อย โดย รายรับต่อหนึ่ง ผู้ใช้บริการอยู่ประมาณ US$7.13,
สิ่งที่ผู้ให้บริการมือถือคาดหวัง คือการรวมกันของ VoLTE, HD Voice and RCS (Rich Communications Suite) เพื่อดึงดูดใจกลุ่มลูกค้า แทนที่จะเป็นแค่ Voice เพียงอย่างเดียว
ในปีนี้ RCS service (ประกอบด้วย instant messaging, video chat and content sharing) ได้มีการเปิดตัวอย่างแพร่หลายที่ประเทศ France, Germany, Spain, South Korea and the U.S. จากผู้ให้บริการอย่าง Orange, Vodafone and Deutsche Telekom แต่ไม่ทุกคนที่ทำให้ RCS เป็นสะพานไปสู่ VoLTE และผลักดันให้เกิด online messaging application ที่สมบูรณ์
บทวิเคราะห์
VoLTE เป็นอีกหนึ่งบริการบนเครื่อช่าย LTE เป็นบริการที่ถูกวางให้เป็นคู่แข่งกับ internet-based voice (over-on-top หรือ OTP) บนเครือข่าย 2G/3G ซึ่งประกอบไปด้วย Skype, Fring, KakaoTalk, Line, Nimbuzz, WeChat and Viber เนื่องจาก VoLTE จะให้คุณภาพเสียงระดับเดียวกับการเปิดแผ่นซีดี ในขณะที่ Skype ให้คุณภาพเหมือนโทรหากันผ่านสายโทรศัพท์เท่านั้น อย่างไรก้ตาม VoLTE ยังคงอยู่ในช่วงการทดสอบ ปัญหาหลักที่ทำให้ผู้ให้บริการไม่ปล่อย VoLTE ออกมาคือ ปัญหาอีกว่าเครือข่าย LTE ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่มากนัก ดังนั้นถ้าคุยโทรศัพท์อยู่แล้วย้ายจากพื้นที่ที่เป็น LTE ไปยัง 3G จะมีปัญหาสายหลุดนั่นเอง อย่างไรก็ตาม มี หลาย ๆ solution ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็น CSFB หรือ SRVCC แต่ก็ยังไม่สร้างความมั่นใจที่มากพอให้กับตัวผุ้ให้บริการ
การวิเคราะห์ข้อดี และ ข้อเสีย สำหรับบริการ VoLTE สามารถสรุปได้ดังนี้
VoLTE น่าจะส่งผลดีกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการ หรือ ผู้ใช้บริการ เนื่องจากข้อดี 3 ด้าน หลักดังนี้
1. VoLTE ออกแบบมาบนพื้นฐานโครงสร้างเครือข่าย LTE ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายของวันนี้ และ อนาคต ค่าความเสี่ยงจากความล้าสมัยยังไม่น่าเป็นห่วง
2. VoLTE มาพร้อมกับคุณภาพเสียงระดับสูง ผู้ใช้บริการน่าจะมีประสบการณ์ที่ดี กับ service ตัวนี้
3. VoLTE ทำให้เกิดการใช้งานระบบเครือข่ายได้เต็มประสิทธิภาพ
ปัญหาที่ข่าวนำเสนอน่าจะเกิดขึ้น ในช่วงต้นของการ introduce ระบบ LTE ซึ่งเครือข่ายยังไม่ครอบคลุมพื้นที่มากนัก ยังคงต้องอาศัยเครือข่ายระบบเก่า อย่าง 2G/3G แต่ถ้าเครือข่าย LTE คลอบคลุมเมื่อใหร่ ความสำเร็จก้จะเป้นที่น่าชื่นชมอย่างที่ประเทศเกาหลีใต้ทำสำเร็จมาแล้ว

----------------------------
Voice over LTE

VoLTE on iPhone 6 plus

T-Mobile VoLTE Test

1.05.2558

ePDG

ePDG : Evolved Packet Data Gateway

หน้าที่หลักของ ePDG คือการรักษาความปลอดภัยของการส่งผ่านข้อมูลที่มี UE เชื่อมต่อกับ EPC กว่าที่ไม่น่าเชื่อถือnon-3GPP เข้าถึง เพื่อจุดประสงค์นี้ ePDG ทำหน้าที่เป็นโหนดสิ้นสุดของเส้นทาง IPsec จัดตั้งขึ้นโดยมี UE

Credit : http://en.wikipedia.org/wiki/System_Architecture_Evolution

HSS

HSS : Home Subscriber Server

HSSเป็นฐานข้อมูลกลางของผู้งานที่มีผู้ที่เกี่ยวข้องและข้อมูลการเป็นสมาชิกที่เกี่ยวข้องฟังก์ชั่นของHSSรวมถึงฟังก์ชันการทำงาน เช่น การจัดการร้องขอข้ามเครือข่ายและการสนับสนุนการจัดตั้งเซสชั่นตรวจสอบผู้ใช้และการอนุญาตการเข้าถึง The HSS is based on pre-Rel-4 Home Location Register (HLR) and Authentication Center (AuC).


--------------------------------

HSS จะทำหน้าที่เก็บโพรไฟล์ของยูสเซอร์ ทำหน้าที่ตรวจสอบยูสเซอร์ด้วยการทำ Authentication and Authorization และเก็บตำแหน่งที่อยู่ของยูสเซอร์ว่าขณะนั้นอยู่ที่ใด ใน S-CSCF ใด ซึ่งหลักการจะคล้ายคลึงกับ HLR/AUC (Home Location Register and Authentication Center) ในระบบ GSM

Credit : http://www.mvt.co.th/viewarticle.php?cid=3&nid=128&page=2

1.04.2558

P-GW

P-GW : Public Data Network Gateway

เกตเวย์ PDN ให้การเชื่อมต่อจาก UE กับเครือข่ายข้อมูลแพคเก็ตภายนอกโดยเป็นจุดที่ออกและรายการของการเข้าชม UE, A UE อาจมีการเชื่อมต่อพร้อมกันที่มีมากกว่าหนึ่งPGWสำหรับการเข้าถึง PDNs หลายPGWดำเนินการบังคับใช้นโยบายกรองแพ็คเก็ตสำหรับผู้ใช้แต่ละสนับสนุนชาร์จสกัดกั้นถูกต้องตามกฎหมายและการตรวจคัดกรองแพ็คเก็ต อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของPGWคือการทำหน้าที่เป็นจุดยึดสำหรับการเคลื่อนย้ายระหว่าง 3GPP และเทคโนโลยีที่ไม่ 3GPP เช่น WiMAX และ 3GPP2 (CDMA 1X และ EvDO)

Credit : http://en.wikipedia.org/wiki/System_Architecture_Evolution

S-GW

S-GW : Serving Gateway

เส้นทาง S-GW และส่งต่อแพ็กเก็ตข้อมูลของผู้ใช้ในขณะที่ยังทำหน้าที่เป็นผู้แจ้งการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ใช้ระหว่างการส่งมอบข้อมูลระหว่าง eNodeB และเป็นที่ยึดสำหรับการเคลื่อนย้ายระหว่าง LTE และเทคโนโลยีอื่น ๆ 3GPP (S4 ยกเลิกอินเตอร์เฟซและการถ่ายทอดการจราจรระหว่าง 2G / ระบบ 3G และP-GW) สำหรับ UEs รัฐไม่ได้ใช้งาน S-GW ยุติเส้นทางข้อมูล downlink และเรียกเพจจิ้งเมื่อข้อมูล downlink มาถึงสำหรับ UE จะจัดการและร้านค้าบริบท UE เช่น พารามิเตอร์ในการให้บริการผู้ถือ IP เครือข่ายข้อมูลเส้นทางภายใน นอกจากนี้ยังดำเนินการจำลองแบบของการจราจรของผู้ใช้ในกรณีที่มีการสกัดกั้นถูกต้องตามกฎหมาย

MME

MME : Mobility Management Entity




Mobility Management Entity (MME )ที่ทำหน้าที่ในการจัดการการเคลื่อนที่ของเครื่องมือถือผู้ใช้รวมถึงการตรวจสอบทำAuthenticationของผู้ใช้เข้ารหัสสัญญานควบคุมที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องผู้ใช้ อีกทั้งทำ Location Registration และ Handover เป็นต้น

MME นั้นจะทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุมของเครือข่าย LTE รวมทั้งสัญญาณ Signaling ต่าง ๆ การตรวจสอบต่าง ๆ ในระบบ รวมถึงการทำงานร่วมกันของเครือข่าย 2G/3G กับ LTE ด้วย


Credit : http://www.mvt.co.th/viewnews.php?cid=3&nid=383&page=3
Credit : http://pichaiyu.exteen.com/20100802/next-generation-network-ngn ------------------------------

MME เป็นกุญแจสำคัญที่ควบคุมโหนดเพื่อเข้าถึงเครือข่าย LTE มันเป็นความรับผิดชอบสำหรับโหมดไม่ได้ใช้งาน UE (ผู้ใช้งาน) เพจจิ้งและขั้นตอนการติดแท็กรวมทั้งการส่งใหม่ มันมีส่วนเกี่ยวข้องในการเปิดใช้งานผู้ถือ / กระบวนการเสื่อมและยังเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการเลือก SGW สำหรับ UE ที่แนบและเริ่มต้นช่วงเวลาของการส่งมอบภายใน LTE ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายหลัก (CN) การย้ายโหนด มันเป็นความรับผิดชอบในการตรวจสอบผู้ใช้ (โดยมีปฏิสัมพันธ์กับไฮสปีด)ไม่เข้าชั้น (NAS) การส่งสัญญาณยุติ MME และมันยังเป็นผู้รับผิดชอบในการผลิตและการจัดสรรอัตลักษณ์ชั่วคราวเพื่อ UEs มันจะตรวจสอบการอนุมัติของ UE ไปยังค่ายที่ให้บริการของที่ดินสาธารณะเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (PLMN) และบังคับใช้ UE โรมมิ่งข้อ จำกัดMME เป็นจุดการเลิกจ้างในเครือข่ายเพื่อป้องกันการเข้ารหัส / ความสมบูรณ์สำหรับการส่งสัญญาณ NAS และจัดการการจัดการที่สำคัญการรักษาความปลอดภัย การสกัดกั้นถูกต้องตามกฎหมายของการส่งสัญญาณที่ได้รับการสนับสนุนโดย MMEMME นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการควบคุมเครื่องบินสำหรับการเคลื่อนย้ายระหว่าง LTE และ 2G / การเข้าถึงเครือข่าย 3G กับอินเตอร์เฟซ S3 สายที่ MME จาก SGSNMME ยังยุติอินเตอร์เฟซ S6a ต่อไฮสปีดบ้านสำหรับโรมมิ่ง UEs

Credit : http://en.wikipedia.org/wiki/System_Architecture_Evolution




Credit : ExploreGate

EPC

EPC : Evolved Packet Core
ชื่อเรียกกลุ่มอุปกรณ์core network ซึ่งเป็น วิวัฒนาการของระบบ core network ในยุค 4G
ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่พัฒนาต่อมาจากยุค 3G มีลักษณะการทำงานคล้ายๆเดิม มีการลดบางอุปกรณ์ลงและรวมกันบางตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทำการทำงานที่ดียิ่งขึ้น 
MME : Mobility Management Entity
S-GW : Serving Gateway
P-GW : PDN Gateway
HSS : Home Subscriber Server
ePDG : Evolved Packet Data Gateway
AAA : Authentication, Authorization and Accounting