5.29.2558

NTP

NTP : Network Time Protocol

เป็นโปรโตคอลสำหรับใช้เทียบเวลา (Synchronize) ระหว่างอุปกรณ์ที่ให้บริการเทียบเวลา (Time Server) กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการเทียบเวลา (Time Client) ผ่านทางเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ โดยโปรโตคอลจำทำงานที่พอร์ต 123 และใช้โปรโตคอล UDP ในการให้บริการ ลักษณะการให้บริการเทียบเวลาของโปรโตคอล NTP จะแบ่งออกเป็นลำดับชั้น เรียกว่า Clock Strata โดยในแต่ละลำดับชั้นจะเรียกว่า Stratum โดยจะเริ่มต้นอยู่ที่ Stratum 0 ไปจนถึงลำดับชั้นที่ยอมรับว่ายังมีความเที่ยงตรง คือ Stratum 4 หากมากกว่านี้จะไม่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาจากหน่วยงาน ANSI (American National Standards Institute) สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เทียบเวลากับ Stratum 0 เรียกว่า Stratum 1 ถ้ามีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ ขอเทียบเวลากับ Stratum 1 จะเรียกว่า Stratum 2 ตามลำดับ จนถึง Stratum 4 นั่นหมาบถึงลำดับของ Stratum ที่มากขึ้นจะมีค่าเวลาที่มีความห่างกับเวลามาตรฐานสากล Stratum 0 มากขึ้นด้วย
Stratum 0 เป็นลำดับชั้นแรกในการเทียบเวลา ซึ่งใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ Synchronize เวลามาตรฐานสากล โดยไม่มีค่าหน่วงเวลาใดๆ โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ Atomic Clock, คลื่นยาว (Long wave radio), การส่งสัญญา GPS, เทคโนโลยี CDMA (เทคโนโลยีแบบที่ค่ายมือถือ) หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับเวลาอื่นๆ เช่น WWV, DCF77 ฯลฯ อุปกรณ์ที่เป็น Stratum 0 จะไม่ได้ต่อในระบบ Network แต่จะเชื่อมโดยตรงกับเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Stratum 1 ดังนั้นเซิร์ฟเวอร์ ที่ต่อโดยตรงกับ อุปกรณ์พวก Stratum-0 จะเรียกว่าเป็น Stratum-1 server ซึ่ง Stratum-1 server ถือว่าเป็น Time server ระดับต้น (Primary Time Server) ที่อยู่ในระบบ Network ที่ผู้ใช้บริการ Network Time Protocol (NTP) สามารถมาเชื่อมผ่าน Network มาอ้างอิงเวลาได้
Stratum 1 เป็นลำดับที่ใช้คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Stratum 0 เพื่อขอเทียบเวลา โดยใช้โปรโตคอล NTP ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ระดับ Stratum 1 ได้แก่ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และ กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ
Stratum 2 เป็นลำดับที่ขอเทียบเวลาจากเซิร์ฟเวอร์ในระดับ Stratum 1 โดยใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์เชื่อมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถร้องขอบริการเทียบเวลาได้มากกว่าหนึ่งแหล่ง Stratum เพื่อรองรับการทำงานกรณีที่ Stratum 1 เครื่องใดเครื่องหนึ่งไม่สามารถให้บริการได้
Note.
ระดับของ Stratum ที่สูงขึ้นจะหมายถึง NTP server จะมีระยะห่างจาก Stratum-1 server มากขึ้น เช่น Stratum-2 หมายถึง NTP Server ที่อ้างอิงเวลามาจาก NTP Server ระดับ Stratum-1, Stratum-3 Server หมายถึง NTP Server ที่อ้างอิงเวลามาจาก NTP Server ระดับ Stratum-2 เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ โดยเวลามาตรฐานโลก ที่เรียกว่า “Universal Time Clock (UTC) นับเริ่มต้นที่เมือง กรีนิช ประเทศอังกฤษ เป็น UTC+0 (ประเทศไทย UTC+7)

Q: แล้วเวลา Stratum แต่ละระดับจะมีความผิดเพี้ยนจาก UTC ได้มากน้อยเพียงใด?
- Stratum-1 มีค่าความผิดเพี้ยนไม่เกิน 1 มิลลิวินาที จาก UTC
- Stratum-2 มีค่าความผิดเพี้ยนประมาณ 10-100 มิลลิวินาที จาก UTC
เพื่อให้เครื่อง Endian Firewall ปฏิบัติให้สอดคล้องตามประกาศกระทรวงฯ ในเรื่องนี้ นัยสำคัญ คือ ทำอย่างไรไม่ให้ NTP มีความผิดพลาดเกิน 10 มิลลิวินาที โดยทั่วไปเรามักจะกำหนด Server หรืออุปกรณ์ Network ให้ไป Synchronize time กับ NTP Server ใน Internet ปัญหาคือ การออก Internet นั้นต้องผ่าน Firewall, ผ่านอุปกรณ์ Network ต่างๆ มากมาย ทำให้เกิดการหน่วงเวลา และเวลาที่ได้อาจมีความผิดเพี้ยนสูง อาจเกินกว่า 100 มิลลิวินาที

A:
1. แนวทางแรกคือ ตั้ง NTP Server Stratum-1 ขึ้นมาเองในองค์กร ซึ่งจะทำให้เวลาผิดเพี้ยนน้อยกว่า 10 มิลลิวินาที อย่างแน่นอน
2. แนวทางที่สองคือ ตั้ง NTP Server Straum-2 ขึ้นมา ซึ่งยอมให้เวลาผิดเพี้ยนได้ในระดับ 10-100 มิลลิวินาที แล้วให้ NTP Server ของเราไป Synchronize time กับ Stratum-1 Server จาก Internet และควรเลือก Stratum-1
NTP Server ในประเทศไทย NTP Server ที่เราตั้งขึ้นมาจะนับเป็น Stratum-2 Server จากนั้นก็กำหนดให้ อุปกรณ์ Network หรือ Servers ทุกชนิดในองค์กร Synchronize time มาจาก NTP Server ของเราเอง
3. แนวทางที่สามคือ ไม่ตั้ง NTP Server โดยยังคงกำหนดให้อุปกรณ์ Network หรือ Server ไป Synchronize time ผ่าน Internet โดยพยายามเลือก Stratum-1 Server ซึ่งเวลาก็อาจจะเพี้ยนไปบ้าง เกินกว่า 10 มิลลิวินาทีขึ้นไป ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

5.26.2558

RSSI

RSSI : Received Signal Strength Indication

เป็นการวัดความแรงหรือความเข้มของสัญญาณตัวรับ(พลังงานเป็นตัวสำคัญ) หน่วยเป็น dBm ยิ่งติดลบน้อยยิ่งดี
- สัญญาณมีความแรงระดับ -50 dBm. ลงมา แสดงว่าเราอยู่ใกล้เสาส่งสัญญาณมาก สัญญาณแรงมาก  เต็มทุกขีด
- สัญญาณมีความแรงระดับ -60 ถึง -75 dBm. แสดงว่าสัญญาณแรง เต็มทุกขีด
- สัญญาณมีความแรงระดับที่ตัวเลขค่า - เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ คุณภาพความแรงของสัญญาณก็จะลดลง จนถึงประมาณ -110 dBm เป็นต้นไป หมายความว่าคุณภาพสัญญาณต่ำมาก มีขีดเดียว จนถึงกระทั้งสัญญาณหายไปเลย

โดยทั่วไป RSSI เป็นเทคโนโลยีของเครื่องรับวิทยุปกติผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่จะสามารถรู้ได้จากเครือข่าย Wireless ของ IEEE 802.11

ตัวอย่าง
ผลการตรวจสอบในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2556 ปรากฏว่า 1. การให้บริการประเภทเสียงบนเครือข่าย 2G พบว่า การให้บริการทุกเครือข่ายมีอัตราการโทร.ออกสำเร็จและสายหลุดอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ระดับความแรงสัญญาณและคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
       
       1.1 เครือข่าย AIS โทร.ออกสำเร็จ 100% สายหลุด 0% ระดับความแรงสัญญาณมากกว่า -85 dBm อยู่ที่ 94.16% สัญญาณครอบคลุมดี โดยคุณภาพรวมของคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
       
       1.2 เครือข่าย DTAC โทร.ออกสำเร็จ 100% สายหลุด 0% ระดับความแรงสัญญาณมากกว่า-85 dBm อยู่ที่ 96.52% สัญญาณครอบคลุมดี โดยคุณภาพรวมของคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
       
       1.3 เครือข่าย TRUE โทร.ออกสำเร็จ 97.42% สายหลุด 0% ระดับความแรงสัญญาณมากกว่า-85 dBm อยู่ที่ 97.64% สัญญาณครอบคลุมดี โดยคุณภาพรวมของคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
       
       2. การให้บริการประเภทเสียงบนเครือข่าย 3G พบว่า การให้บริการทุกเครือข่ายมีอัตราสายหลุดที่ยังไม่เกินมาตรฐาน แต่คุณภาพสัญญาณไม่ค่อยดีซึ่งน่าจะมาจากการที่มีการปรับปรุงเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
       
       2.1 เครือข่าย AIS โทร.ออกสำเร็จ 98.71% สายหลุด 0.65% ระดับความแรงสัญญาณมากกว่า -90 dBm อยู่ที่ 88.44% ค่อนข้างต่ำ คุณภาพสัญญาณอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำที่ 76.80% เนื่องจากข้อจำกัดทางความถี่ 3G และมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก และการปรับปรุงเครือข่ายทำให้คุณภาพสัญญาณลดลง
       
       2.2 เครือข่าย DTAC โทร.ออกสำเร็จ 100% สายหลุด 0.65% ระดับความแรงสัญญาณมากกว่า-90 dBm อยู่ที่ 61.45% ค่อนข้างต่ำ คุณภาพสัญญาณอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำที่ 65.32% เนื่องจากผลการปรับปรุงเครือข่ายทำให้คุณภาพสัญญาณลดลง
       
       2.3 เครือข่าย TRUE โทร.ออกสำเร็จ 99.35% สายหลุด 1.30% ระดับความแรงสัญญาณมากกว่า-90 dBm อยู่ที่ 97.11% มีระดับความครอบคลุมสัญญาณ 3G มากที่สุด
       
       2.4 เครือข่าย TOT โทร.ออกสำเร็จ 98.06% สายหลุด 3.95% ระดับความแรงสัญญาณมากกว่า-90 dBm อยู่ที่ 55.69% การให้บริการอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงในส่วนพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณให้มากขึ้น
       
       สำนักงาน กสทช.เห็นว่าการให้บริการเครือข่าย 3G ในเขตกรุงเทพมหานครมีปัญหาการให้บริการเนื่องจากผู้ให้บริการอยู่ระหว่างการปรับปรุงเครือข่ายเพื่อการให้บริการ 3G ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก อันเป็นการให้บริการไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด สำนักงาน กสทช.จะได้แจ้งให้ผู้ให้บริการดำเนินการปรับปรุงการให้บริการเป็นไปตามมาตรฐานโดยเร็ว และหากยังไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานก็จะบังคับการตามกฎหมายเพื่อให้การให้บริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดต่อไป


Credit : http://pantip.com/topic/31501599
Credit : http://rssi-dist.blogspot.com/2007/08/rssi.html
Credit : http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000025903

RSCP

RSCP : Received Signal Code Power

คือ ความแรงของสัญญาณนั้นแหล่ะครับ ส่วนมากจะส่งมาเป็นหน่วย dBm แต่ไม่ได้รวมถึงความสมบูรณ์ของสัญญาณนะครับ บางทีสัญญาณแรง แต่ไม่ชัด ทำให้คุณภาพสัญญาณลดลงได้ มีประโยชน์ในการประเมินคุณภาพสัญญาณ และ ปรับกำลังส่งให้เหมาะสม

Credit : http://pantip.com/topic/30948527

SIR

SIR : Signal to Interference Ratio

คือ อัตราส่วนระหว่างความแรงสัญญาณที่ใช้งานจริงกับความแรงของสัญญาณรบกวน ของ connection ระหว่าง UE กับ Node-B ให้พอดี ไม่ต่ำหรือสูงเกินไป ค่า SIR ของการเชื่อมต่อแต่ละประเภทก็จะมีค่าแตกต่างกันไป มันก็จะมี SIR สำหรับช่องสัญญาณเสียง (AMR) หรือ SIR สำหรับช่องสัญญาณข้อมูล 64 kb/s หรือ SIR สำหรับฃ่องสัญญาณข้อมูล 384 kb/s อะไรอย่างนี้

แล้วระดับ SIR ที่พอดีนี่มันแปลว่าอะไร มันก็คือระดับอัตราส่วนฯที่จะทำให้ BER หรือ BLER มีค่าตามที่กำหนดไว้ (เช่น 10E-3 หรือ 10E-6 หรืออะไรก็แล้วแต่) ถ้า SIR ต่ำไปก็จะทำให้เกิด bit error หรือ block error ได้ ส่วนถ้า SIR สูงๆก็จะเป็นการเปลืองทรัพยากร (สมมุติเช่น SIR=10 ก็ไม่มี error แล้ว ก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะต้องใช้ SIR=20 เป็นต้น)

Credit : www.pantip.com

5.20.2558

UARFCN

UARFCN : UTRA Absolute Radio Frequency Channel Number

ก่อนอื่น UTRA : UMTS Terrestrial Radio Access ย่อของย่อมาอีกที UARFCN คือความถี่ในการใช้งานแต่ละ cell ซึ่งในระบบ UMTS เป็นความถี่ที่สามารถระบุ ว่าใช้ย่านความถี่ไหน จับสัญญาณ 3G คลื่น 850MHz 900MHz 1800MHz 2100MHz  โดยเราสามารถดูในมือถือของเราได้โดยเข้า Field Test แต่ละยี่ห้อก็จะเข้าไม่เหมือนกันด้วย

3G เดิม
AIS (900 MHz) ค่า UARFCN DL channel อยู่ระหว่าง 2937 – 3088
DTAC และ Truemove-H (850 MHz) ค่า UARFCN DL channel อยู่ระหว่าง 4357 – 4458

3G ใหม่ ทุกเครือข่าย (2,100 MHz หรือ 2.1 GHz)
ค่า UARFCN  DL channel อยู่ระหว่าง 10562 – 10838 DL channel

UARFCN ก็จะต่างไปตามย่านความถี่ต่างๆ ดังค่าตารางครับ
Credit : http://pantip.com/topic/30831407
Credit : http://en.wikipedia.org/wiki/UARFCN
Credit : http://en.wikipedia.org/wiki/UMTS_frequency_bands

ARFCN

ARFCN : Absolute Radio Frequency Channel Number
หมายเลขสถานีคลื่นความถี่วิทยุสัมบูรณ์ (ARFCN) เป็นสถานีที่มีใช้ในการระบุเฉพาะ RF สถานีในระบบวิทยุแบบ GSM โครงร่างลำดับเลข คือความถี่ในการใช้งานแต่ละ cell ซึ่งในระบบ GSM900 กำหนด Bandwidth แต่ละช่องสัญญาณ 200kHz และความถี่ Up link กับความถี่ Down link จะใช้ความถี่ต่างกัน โดยความถี่ Down link จะมากกว่าความถี่ Up link เพราะตัวมือถือสามารถส่ง Power ได้น้อย Up link ซึ่งมีความถี่น้อยกว่าจึงสามารถส่งได้ระยะทางไกลกว่าทดแทน ส่วน Down link มีความถี่มากกว่า ส่งได้ระยะทางใกล้เนื่องจากสามารถเพิ่ม Power ที่ส่งจาก Antenna ได้

ARFCN แบ่งออกเป็น ULและ DL ระหว่าง UL กับ DL จะเว้นห่างกันประมาณ 3 TS เพื่อให้ประมวลผล ใน 1 TS ใช้เวลาประมาณ 557 ไมโครวินาที ARFCN 1-124 มีความห่างของช่องสัญญาณ 200 kHz ความถี่ของ UL และ DL จะต้องตรงกันทุกครั้ง ความถี่ของ UL คือ 890-915 MHz ส่วนของ DL จะอยู่ที่ 935-960 MHz

Credit : http://en.termwiki.com/TH/absolute_radio_frequency_channel_numbers_(ARFCN)
Credit : http://ning-nong.blogspot.com/2008/04/blog-post_08.html
Credit : http://en.wikipedia.org/wiki/Absolute_radio-frequency_channel_number

5.19.2558

MCC MNC

MCC : Mobile Country Code / MNC : Mobile Network Code

     MCC หรือ Mobile Country Code จะมีความยาว 3 หลัก เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงประเทศ ว่าเครื่องนี้มาจากประเทศอะไร ซึ่งเป็นเจ้าของ SIM จดทะเบียนอยู่

     MNC หรือ Mobile Network Code มีความยาว 2 หลัก เป็นตัวเลขของผู้ให้บริการเครื่อข่าย ว่าเครื่องนี้ใช้ Sim อะไร AIS Dtac Truemove TOT


โดยค่า MMCและMNC ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในค่าของ PLMN, IMSI, IMEI

เรามาลองกดดู MCC MNC ในเครื่องเราเองดีกว่า ลองด้วย iPhone (all) : *3001#12345#* กดโทรออก
สำหรับ iOS เมื่อกดเสร็จแล้ว ตามภาพก็เข้าหน้า Field Test >> MM info >> Serving PLMN >> ก็จะเจอค่า MCC 520 ประเทศไทย / MNC 04 เป็นผู้ให้บริการเครื่อข่าย Truemove-H ครับ




Credit : http://www.k-boxteam.com/forum/index.php?topic=4410.0

PLMN

PLMN : Public land mobile network


ทุกวันนี้บริการสื่อสารระหว่างจุดกับหลายๆจุด (point to multipoint) ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลจากจุดกำเนิดหนึ่งไปยังปลายทางด้านรับ (endpoints) หลายๆแห่ง กำลังได้รับความนิยมใช้ในโครงข่ายสื่อสารไร้สาย โดยอาศัยความสามารถหรือสมรรถนะของ PLMN (public land mobile network) และมีการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า MBMS (Multimedia Broadcast/Multicast Service) เข้ามาใช้งานเพื่อให้บริการในรูปแบบบรอดคาสต์และมัลติคาสต์
ในทางโทรคมนาคม PLMN หมายถึงโครงข่ายที่ได้จัดหาหรือสร้างขึ้นมา และดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐ หรือ ROA (recognized operating agency) เพื่อให้บริการโทรคมนาคมไร้สายภาคพื้นดินแก่สาธารณะ ทั้งนี้ในการเข้าถึงบริการ PLMN ดังกล่าวอาศัย air interface ซึ่งเป็นการสื่อสารทางวิทยุระหว่างตัวเครื่องโทรศัพท์ลูกข่ายหรือเครื่องอุปกรณ์ของผู้ใช้ที่สื่อสารในแบบไร้สาย กับเครื่องส่งวิทยุภาคพื้นดินหรือสถานีฐาน โดย PLMN จะต่อเชื่อมกับ PLMN อื่นๆรวมทั้งโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน (PSTN) เพื่อให้สามารถใช้บริการโทรศัพท์หรือต่อเชื่อมกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสารข้อมูล
MBMS เป็นบริการบรอดคาสต์หรือ IP datacast (IPDC) ประเภทหนึ่งที่สามารถให้บริการผ่านทางโครงข่าย UMTS และ GSM ที่มีอยู่ได้ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบในการใช้บริการดังกล่าวได้โดยใช้ช่องสัญญาณอัพลิ้งค์ (uplink channel) โดยการใช้งานอาจมีความยุ่งยากบ้างเล็กน้อย เนื่องจากไม่เหมือนกับการรับชมรายการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลตามปกติซึ่งเป็นโครงข่ายบรอดคาสต์ กล่าวคือเป็นระบบสื่อสารทางเดียว (unidirectional) แต่ในกรณีของ MBMS นั้นจะใช้การส่งสัญญาณกระจายออกไปในลักษณะมัลติคาสต์บนโครงข่ายหลักหรือ core network แทนการส่งระหว่างจุดกับจุด (point-to-point) ไปยังอุปกรณ์ปลายทาง
หลายฝ่ายคาดหมายกันว่า MBMS จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในโลกของโครงข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นโอกาสทองของบรรดาผู้ให้บริการด้านการส่งรายการโทรทัศน์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ ผู้ให้บริการข่าวสาร และบริการสื่อในรูปแบบต่างๆ ที่จะส่งไปยังผู้รับชมได้โดยตรง
ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะได้รับประโยชน์จากการให้บริการใหม่เพิ่มขึ้นโดยใช้โครงข่ายที่มีอยู่เดิม โดยไม่ต้องสร้างโครงข่ายใหม่เพื่อให้บริการดังกล่าว และสามารถส่งไปถึงผู้ใช้บริการได้โดยไม่จำกัดจำนวนและมีโหลดต่อโครงข่ายคงที่ นอกจากนั้นแล้วยังใช้ประโยชน์ในการส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้โทรศัพท์ เคลื่อนที่ได้พร้อมๆกัน ดังเช่น กรณีการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน ได้อีกด้วย
ตามเป้าหมายของการพัฒนา MBMS ซึ่งเป็น UMTS release 6 มีคุณสมบัติและลูกเล่นที่ได้รับความนิยมจากผู้ให้บริการและผู้ผลิตเครื่องอุปกรณ์ นั้น ผู้ให้บริการจะปรับปรุงโครงข่ายเพื่อรองรับบริการ MBMS ได้พร้อมในไตรมาส 4 ปี 2550 และมีเครื่องลูกข่ายพร้อมใช้บริการ MBMS ในไตรมาส 2 ปี 2551 รวมทั้งตั้งเป้าให้ภายในปี 2553 จะมีเครื่องลูกข่ายที่สามารถใช้บริการ MBMS ได้ไม่น้อยกว่า 30% (สำหรับ Release 6 ได้รับการรับรองครั้งสุดท้ายเมื่อมิถุนายน 2548
อนึ่ง MBMS นี้มิใช่จะเป็นเพียงเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถประหยัดความจุของช่องสัญญาณ capacity) หรือลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อส่งเนื้อหา (content) ในรูปมัลติมีเดียไปบนโครงข่ายยุคที่ 3 (หรือ 3G) อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น หากแต่เปิดโอกาสแก่ผู้ให้บริการ 3G ในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการให้บริการข่าวสาร เนื้อหา และรายการต่างๆไปยังผู้ใช้บริการอีกด้วย
---------------------------------
วิธีตรวจสอบว่า 3G ที่เราใช้อยู่เป็นเครือข่ายใหม่หรือยัง
สำหรับ Android, iOS และ Windows Phone 8

สำหรับ Android และ iOS
สำหรับระบบ Android และ iOS  ให้ดูค่าเดียวกันนะครับ เพียงแต่เปลี่ยนหมายเลขที่กดในขั้นตอนแรก เป็นหมายเลขดังต่อไปนี้
Samsung (Android): *#*#197328640#*#* or *#0011#
iPhone (all): *3001#12345#*
Android(HTC) : *#*#7262626#*#*
สำหรับ iOS เมื่อกดเสร็จแล้ว ก็ให้เข้าไปที่คำว่า UMTS Cell Environment >> UMTS PR info >> UARFCN >> อ่านตัวเลขที่เห็น แล้วเปรียบเทียบ

สำหรับ Windows Phone 8
1. กด ##3282 แล้วกดโทรออก เพื่อเข้าสู่โหมด Field Test
2. เลือกที่ WCDMA
3. ดูค่า UARFCN ว่ามีค่าเท่าไหร่? แล้วเทียบค่า UARFCN ตามช่วงด้านล่าง

AIS (900 MHz) ค่า UARFCN อยู่ระหว่าง 2937 – 3088
DTAC และ Truemove-H (850 MHz) ค่า UARFCN อยู่ระหว่าง 4357 – 4458
3G ใหม่ ทุกเครือข่าย (2,100 MHz หรือ 2.1 GHz)
ค่า UARFCN อยู่ระหว่าง 10562 – 10838

ดู Reg PLMN (MCC-MNC)
AIS 900 = 520-01
AIS 3G2100 = 520-03
DTAC 1800 = 520-18
DTAC 3G2100 = 520-05
TRUE 3G2100 = 520-04
TOT3G = 520-15

5.14.2558

RTP

RTP : Real-time Transport Protocol

RTP ถูกใช้โดย SIP และ H.323 เพื่อทำงานด้านของการสื่อสารแบบเรียลไทม์ เช่น ออดิโอและวีดีโอบนเครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตชิง มีหน้าที่จัดการเรื่องข้อมูลประเภทเวลาไปยังผู้รับ โดยสามารถแก้ไขค่าดีเลย์ของสัญญาณได้ยอมให้ผู้รับสามารถค้นหาแพ็กเก็ตที่สูญหาย และประเมินเส้นทางในการส่งข้อมูลอีกด้วย
     นอกจากนี้แล้ว RTP จะมีหน้าที่จัดการในเรื่องของการส่งข้อมูลไปยังผู้รับ ซึ่งสามารถกู้คืนได้ในกรณีที่แพ็กเก็ตสูญหายหรือ jitter โดย RTP ได้รับการประกาศใช้จาก IETF ใน RFC 1889 ซึ่งหน้าที่หลักก็เพื่อให้บริการฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับ การกำหนด payload และ intra-media synchrinization กับ Real-time Transport Control Protocol (RTCP)

RTSP

RTSP : Real-time Streaming Protocol

 RTSP ประกาศโดย IETF ใน RFC 2326 เพื่อควบคุมการส่งข้อมูลประเภทมีเดียแบบเรียลไทม์ เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของ SIP
     Session Description Protocol (SDP) SDP เป็นโพรโตคอลที่ประกาศโดย IETF ใน RFC 2327 ให้ความช่วยเหลืออธิบายในเรื่อง multimedia session ซึ่งใช้สำหรับบอกให้รู้ถึง Session, session invitation

Credit : http://www.ckmit.com/summer/aek/VoIP/VoIP4.htm

SAP

SAP : Session Announcement Protocol

ใช้สร้างเซสซันโดยเฉพาะกรณีที่ส่งข้อมูลแบบมัลติแคส เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของ SIP

Credit : http://www.ckmit.com/summer/aek/VoIP/VoIP4.htm

MGCP

MGCP : Media Gateway Control Protocol

จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่าง Gateway กับโครงข่ายโทรศัพท์ PSTN เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของ SIP มีหน้าที่กำหนดการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ประเภท Call Agents และ Telephony Gateway Call Agentซึ่งเรารู้จักกันในชื่อ Media Gateway Controllers โดยเป็นศูนย์กลางประสานงานกับเครื่องตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบโทรศัพท์และเกตเวย์ รวมทั้งยังบอกเส้นทางเพื่อส่งข้อมูลเสียงไปยังปลายทาง MGCP ถูกพัฒนามาจาก Simple Gateway Control Protocol และ Internet Protocol Device Control

Credit : http://www.ckmit.com/summer/aek/VoIP/VoIP4.htm

SS7

SS7 : Signaling System No.7

      Signaling System No.7 (SS7) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Common Channal Signaling System No.7 (C7) คือมาตรฐานสำหรับการสื่อสารทางไกล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดย ITU-T (International Telecommunication Union - Telecommunication Standardization Sector) โดยมาตรฐานนี้จะมีการกำหนด Procedure และ Protocal ที่จะใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Information) ของอุปกรณ์ต่างๆในเครือข่ายผ่านทาง PSTN (Public Switched Telephone Network) โดยการส่งจะส่งผ่านเครือข่ายสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Signaling Network) เพื่อที่จะรองรับการทำ Wireless (Cellular), Wireless call setup, Routing และ Control ต่างๆ ตัวอย่างของ Application ที่SS7รองรับเช่น
- PSTN
- ISDN (Integrated Service Digital Network)
- Interaction กับ Network Database, Service Control Point สำหรับ Service เช่น IN (Inteligent Network), Service 800 (toll-free) , Service 900 (toll) เป็นต้น
- Mobile (Public Land Mobile Network, PLMN)
- เพิ่มคุณสมบัติของการโทรศัพท์เช่นการ Call Forwarding, การแสดงชื่อหรือหมายเลขเรียกเข้า, การคุยกันมากกว่า2สายเป็นต้น

ส่วนประกอบของเครือข่ายสัญญาณ SS7
 1. Signaling Point (SP) คือ Switching หรือ Processing โหนด ในเครือข่ายที่มีฟังก์ชั่นการทำงานของ SS7 อยู่ ซึ่งโหนดเหล่านี้จะติดต่อสื่อสารกันแบบ CCS โดยแต่ละ SP ในเครือข่ายจะถูก Identifiedด้วยหมายเลขประจำ(Unit Code) ซึ่งจะเรียกหมายเลขเหล่านี้ว่า Signaling Point Code (SPC) ซึ่งจะใช้ในการบอกต้นทางและปลายทางรวมทั้งใช้ในการหาเส้นทาง (Routing)ด้วย เราสามารถแบ่ง SP ออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ

   1.1 Service Switching Point (SSP) คือ Switchingใน Telecom Network ที่สามารถจะ access เข้าสู่ SS7 Service นั่นคือ SSP จะทำงานทั้ง Voice Switch และ SS7 Function
   1.2 Signal Transfer Point (STP) จัดการเตรียม Routing Service ให้กับ SSP หรือ SCP ใน SS7 Network โดยรับ Signaling message และส่งไปให้ยังปลายทางของ Signaling message นั้นๆ โดยปกติ STP จะต้องเป็น SP ที่มีความไว้วางใจได้สูงมากๆ
   1.3 Service Control Point (SCP) ทำหน้าที่เป็นอินเตอร์เฟสไปยังระบบฐานข้อมูลซึ่งฐานข้อมูลเหล่านี้จะต้องเก็บ Information เกี่ยวกับ Control Data และ Control Procedure เช่น Subscriber's service routing of special service number (service 800 หรือ 900), Calling card validation และ Intelligent Network (IN) service เป็นต้น

      SSP ทำหน้าที่เป็นชุมสายโทรศัพท์ มันจะส่งสัญญาณไปให้กับ SSP อื่นๆเพื่อที่จะขอการเชื่อมต่อ, การจัดการ, รวมทั้งการยกเลิกการติดต่อ บางครั้งSSPก็อาจจะติดต่อกับSCP เพื่อที่จะหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลออกไปให้ยัง ปลายทาง โดยดูจาก Routing Table ที่เก็บไว้ในตัว SCP การติดต่อระหว่าง SSP ต่างๆในเครือข่ายจะส่งในลักษณะของ Packet Switching ผ่านทาง STP โดยเจ้าตัว STP นี้จะทำหน้าที่หาเส้นทางเพื่อที่จะส่งข้อมูลนี้ต่อไปยัง ปลายทางที่ถูกต้อง โดยมันจะดูจาก Routing Information ซึ่งอยู่ในข้อมูลที่ส่งมานั่นเอง ถึงตอนนี้เราก็สามารถมองว่ามันทำหน้าที่คล้ายๆกับ Hub นั่นเอง แต่บางครั้งมันยังสามารถทำหน้าที่Screen message ที่จะรับหรือส่งออกไปยังเครือข่ายอื่นๆได้คล้ายๆกับ Firewall ได้อีกด้วย 

2. Signaling Link (SL)
        ใน CCS จะใช้ SL นี้เพื่อขนถ่ายส่งผ่าน Signaling message ระหว่างSP ซึ่งประกอบด้วย Signaling Data Link และ Transfer Control Function

3. Signaling Relation
        สอง SP ใดๆที่สามารถกระทำการติดต่อสื่อสารระหว่าง User Part Function ที่สัมพันธ์กันได้ เรียกว่า Signaling Relation

4. Link Set (LS)
        คือจำนวนของ SL ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยตรงของ SP หรือ STP

5. Signaling Route
        เส้นทางของ Signaling message ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าโดยตลอด Signaling Network (จากต้นทางไปยังปลายทาง) ซึ่งประกอบไปด้วย ลำดับต่อๆกันของ SP และ/หรือ STP และ SL ที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด จะเรียกว่า Signaling Route สำหรับ Signaling Relation นั้นๆ

Credit : http://reocities.com/siliconvalley/file/6856/ss7.html

H.248

H.248 / MEGACO

VoIP นั้นขึ้นอยู่ signaling protocol ที่ใช้ ถ้าเป็น protocol ล่าสุดที่ใช้กันและเป็นที่ตกลงกันทั้งฟากของ ITU และ IETF ก็คือ H.248/MEGACO(ITU เรียก H.248, IETF เรียก MEGACO) ซึ่งจะมีส่วนประกอบหลักๆคือ Media Gateway, Media Gateway Controller(บางทีเรียก Softswitch หรือ Call Agent) และ Signaling Gateway โดย Media Gateway นั้นก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ Trunk Gateway กับ Access Gateway โดยที่ Trunk Gateway ก็จะ interface เข้ากับ interface ระดับ E1 ที่ส่วนใหญ่มาจากชุมสายโทรศัพท์เดิม ส่วน Access Gateway ก็จะ interface ตรงกับ POTS หรือ IAD นั่นเอง ก่อนหน้าที่จะมี H.248 นี้ก็มี protocol ที่เรียกว่า MGCP(Media Gateway Control Protocol) ซึ่งเป็นของทางฟาก IETF แต่เป็นแค่ draft เท่านั้นและตอนนี้ก็หยุดพัฒนาต่อแล้ว

ส่วนถ้าใช้ signaling protocol แบบ SIP(Session Initiation Protocol) ก็จะประกอบไปด้วย SIP end points กับ SIP server โดย SIP end points จะมี intelligence อยู่ในตัวเยอะมากสามารถคุยกันระหว่าง end points ได้โดยตรง เป็น architecture ในลักษณะ peer-to-peer แต่มีข้ัอเสียก็คือถ้าจะต้องมีการ upgrade หรือเพิ่ม features จะต้องมีการเปลี่ยนที่ end points ด้วยไม่เหมือนกับแบบ H.248 ที่ intelligence ส่วนใหญ่อยู่ที่ MGC


Credit : http://www.greatnote.com/2006/07/voip-signaling-protocols-summary.html

-----------------------------------
H.248 Standards
H.248.2 Gateway control protocol: Facsimile, text conversation and call discrimination packages
H.248.3 Gateway control protocol: User interface elements and actions packages
H.248.4 Gateway control protocol: Transport over Stream Control Transmission Protocol (SCTP)
H.248.5 Gateway control protocol: Transport over ATM
H.248.6 Gateway control protocol: Dynamic Tone Definition package
H.248.7 Gateway control protocol: Generic Announcement package
H.248.8 Gateway control protocol: Error code and service change reason description
H.248.9 Gateway control protocol: Advanced media server packages
H.248.10 Gateway control protocol: Media gateway resource congestion handling package
H.248.11 Gateway control protocol: Media gateway overload control package
H.248.12 Gateway control protocol: H.248.1 packages for H.323 and H.324 interworking
H.248.13 Gateway control protocol: Quality Alert Ceasing package
H.248.14 Gateway control protocol: Inactivity timer package
H.248.15 Gateway control protocol: SDP H.248 package attribute
H.248.16 Gateway control protocol: Enhanced digit collection packages and procedures
H.248.17 Gateway control protocol: Line test packages
H.248.18 Gateway control protocol: Package for support of multiple profiles
H.248.19 Gateway control protocol: Decomposed multipoint control unit, audio, video and data conferencing packages
H.248.20 Gateway control protocol: The use of local and remote descriptors with H.221 and H.223 multiplexing
H.248.21 Gateway control protocol: Semi-permanent connection handling package
H.248.22 Gateway control protocol: Shared Risk Group package
H.248.23 Gateway control protocol: Enhanced Alerting packages
H.248.24 Gateway control protocol: Multi-frequency tone generation and detection packages
H.248.25 Gateway control protocol: Basic CAS packages
H.248.26 Gateway control protocol: Enhanced analog lines packages
H.248.27 Gateway control protocol: Supplemental tones packages
H.248.28 Gateway control protocol: International CAS packages
H.248.29 Gateway control protocol: International CAS compelled register signalling packages
H.248.30 Gateway control protocol: RTCP extended performance metrics packages
H.248.31 Gateway control protocol: Adaptive jitter buffer package
H.248.32 Gateway control protocol: Detailed congestion reporting package
H.248.33 Gateway control protocol: PCM frame spare bit package
H.248.34 Gateway control protocol: Stimulus analogue lines package
H.248.35 Gateway control protocol: Coin package
H.248.36 Gateway control protocol: Hanging Termination Detection package
H.248.37 Gateway control protocol: IP NAPT traversal package
H.248.38 Gateway control protocol: Base context package
H.248.39 Gateway control protocol: H.248 SDP parameter identification and wildcarding
H.248.40 Gateway control protocol: Application Data Inactivity Detection Package
H.248.41 Gateway control protocol: IP domain connection package
H.248.42 Gateway control protocol: DCME interworking package
H.248.43 Gateway control protocol: Packages for gate management and gate control
H.248.44 Gateway control protocol: Multi-level precedence and pre-emption package
H.248.45 Gateway control protocol: MGC information package
H.248.46 Gateway control protocol: Connection Capability Control Package
H.248.47 Gateway control protocol: Statistic conditional reporting package
H.248.48 Gateway control protocol: Statistic conditional reporting package
H.248.49 Gateway control protocol: RTCP XR block reporting package
H.248.50 Gateway control protocol: NAT traversal toolkit packages
H.248.51 Gateway control protocol: Termination connection model package
H.248.52 Gateway control protocol: QoS support packages
H.248.53 Gateway control protocol: Traffic management packages
H.248.54 Gateway control protocol: MPLS support package
H.248.55 Gateway control protocol: Generic pull mode package
H.248.56 Gateway control protocol: Packages for virtual private network support
H.248.57 Gateway control protocol: RTP control protocol package
H.248.58 Gateway control protocol: Packages for application level H.248 statistics
H.248.59 Gateway control protocol: Event timestamp notification package
H.248.60 Gateway control protocol: Identification of content of communication
H.248.61 Gateway control protocol: Packages for network level H.248 statistics
H.248.62 Gateway control protocol: Re-answer Package
H.248.63 Gateway control protocol: Resource Management Packages
H.248.64 Gateway control protocol: IP router packages
H.248.65 Gateway control protocol: Support of the resource reservation protocol
H.248.67 Gateway control protocol: Transport Mode Indication Package
H.248.68 Gateway control protocol: Removal of Digits and Tones Package
H.248.69 Gateway control protocol: Packages for MSRP and H.248 Interworking
H.248.70 Gateway control protocol: Dialling Method Information Packages
H.248.71 Gateway control protocol: RTCP Support Packages
H.248.72 Gateway control protocol: H.248 support for MONA
H.248.73 Gateway control protocol: Packages for media server control markup language and ITU-T H.248 interworking
H.248.75 Gateway control protocol: Package identifier publishing and application package
H.248.76 Gateway control protocol: Filter group package and guidelines
H.248.77 Gateway control protocol: Secure real-time transport protocol (SRTP) package and procedures
H.248.78 Gateway control protocol: Bearer-level application level gateway
H.248.79 Gateway control protocol: Guidelines for packet-based streams
H.248.80 Gateway control protocol: Usage of the revised SDP offer / answer model with H.248
H.248.81 Gateway Control Protocol: Guidelines on the Use of the International Emergency Preference Scheme (IEPS) Call Indicator and Priority Indicator in H.248 Profiles
H.248.82 Gateway control protocol: Explicit Congestion Notification Support
H.248.83 Gateway control protocol: Media gateway Instance Package
H.248.84 Gateway control protocol: NAT traversal for peer-to-peer services
H.248.85 Gateway control protocol: Usage of Loopback in H.248
H.248.86 Gateway control protocol: Deep Packet Inspection
H.248.87 Gateway control protocol: Guidelines on the use of H.248 capabilities for performance monitoring in RTP networks in H.248 Profiles
H.248.88 Gateway control protocol: H.248 IP-to-IP Gateways \x96 RTCP handling vs RTP topologies
H.248.89 Gateway control protocol: TCP support packages
H.248.90 Gateway control protocol: Transport Layer Security
H.248.91 Gateway control protocol: Guidelines on the use of H.248 capabilities for transport security in TLS networks in H.248 Profiles
H.248.92 Gateway control protocol: Stream endpoint interlinkage package
H.248.93 H.248 support for control of transport security using DTLS

H.248          Implementors' Guide for the H.248 Sub-series of Recommendations ("Media Gateway Control Protocol")

Credit : http://www.packetizer.com/ipmc/h248/standards.html

H.323

H.323

           H.323เป็น VoIP Signaling Protocols ชนิดหนึ่ง มาตรฐานที่อนุมัติโดย International Telecommunication Union (ITU) ในปี 1996 เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถนารส่งผ่าน video conference ข้ามเครือข่าย IP เริ่มแรก H.323 ได้รับการส่งเสริมวิธีการให้ความสอดคล้องกันของเสียง วิดีโอ และการส่งผ่านแพคเกตข้อมูลในเหตุการณ์นั้น ที่เครือข่ายท้องถิ่น (local area network หรือ LAN) ไม่ให้การประกันคุณภาพการบริการ ถึงแม้ว่า สิ่งนี้เป็นที่สงสัยในตอนแรก เมื่อผู้ผลิตปรับปรุง H.323 แต่เดี๋ยวนี้ได้รับการพิจารณาเป็นมาตรฐานสำหรับการทำงานภายในของเสียง วิดีโอ และการส่งผ่านข้อมูล รวมถึงโทรศัพท์อินเตอร์เน็ต และ voice-over-IP (VoIP) เพราะสิ่งนี้ควบคุมการเรียกและจัดการสำหรับทั้งการประชุมแบบ point-to-point และ multipoint รวมถึงการบริหาร gateway ของการจราจรสื่อ แถบความกว้าง (bandwidth) และการเข้าร่วมของผู้ใช้

            H.323 ซึ่งอธิบายการสื่อสารมัลติมีเดียเกิดขึ้นอย่างไรระหว่างจุดปลายคือ อุปกรณ์เครือและการบริการนั้น เป็นส่วนของกลุ่มขนาดใหญ่ของ ITU recommendation สำหรับการทำงานภายในมัลติมีเดียที่เรียกว่า H.3x 
          ชุดล่าสุดของ recommendation เหล่านี้ H.248 เป็น recommendation เพื่อให้มาตรฐานเดียวสำหรับการควบคุมอุปกรณ์ gateway ในการส่งผ่านแพคเกตมัลติมีเดียเพื่อยอมให้เชื่อมต่อจาก LAN ถึง Public Switched Telephone Network (PSTN) รวมถึงจุดปลายมาตรฐานอื่น recommendation นี้ได้รับการประกาศในเดือนสิงหาคม 2000 โดย ITU-TU Study Group 16 และ Megaco Working Group of the Internet Engineering Task Force (IETF)

Credit : http://streamsystems.blogspot.com/2014/02/session-initiation-protocol-sip-h323.html

------------------------

  สำหรับ signaling แบบ H.323 นั้นเป็น heavy weight protocol ที่ประกอบด้วย protocol ย่อยๆหลายอันเช่น H.225, H.245 โดยจะประกอบไปด้วย Terminal, Gateway, Gatekeeper และ Multipoint Controller Unit สำหรับ H.323 นั้นค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน ขั้นตอนเยอะ จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะ carrier แต่จะเหมาะกับ enterprise environment มากกว่า

Credit : http://www.greatnote.com/2006/07/voip-signaling-protocols-summary.html


------------------------

      H.323 เป็นโพรโตคอล มาตรฐานที่แสดงรายละเอียดส่วนประกอบต่าง ๆ รวมทั้งวิธีการที่จัดการเพื่อให้บริการการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย เช่น Real-time audio, Video และการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายแพ็กเก็ตรวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
     H.323 เป็นส่วนหนึ่งในโพรโตคอลมาตรฐานตระกูล H.32ซึ่งประกาศใช้โดย International
Telecommunication Union (ITU) เพื่อให้บริการด้านมัลติมีเดียบนเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยไม่รับ
ประกันคุณภาพของบริการ (Qos) ซึ่ง H.323 จะอยู่บนพื้นฐานของ Real-time protocol / Real-time
control protocol เพื่อใช้สำหรับจัดการสัญญาณออดิโอ โดยจุดประสงค์หลักของมาตรฐาน H.323 ก็คือ
เชื่อมระหว่างเครือข่ายและการให้บริการมัลติมีเดียอื่น ๆ นั่นเอง
     จากตาราง จะเห็นได้ว่าตามข้อกำหนดของ H.323 ที่สมบูรณ์นั้น เต็มไปด้วยมาตรฐานและโอเวอร์เฮดจำนวนมาก ซึ่งบางข้อกำหนดย่อย ๆ อาจไม่มีความจำเป็นในการใช้งาน

5.13.2558

PSTN

PSTN : Public Switched Telephone Network

PSTN (public switched telephone network) เป็นชุดของเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะแบบ interconnected voice-oriented ของโลก ทั้งเชิงพาณิชย์และรัฐบาลเป็นเจ้าของ สิ่งนี้หมายถึง Plain Old Telephone Service (POTS) ด้วย สิ่งนี้เป็นการรวมของเครือโทรศัพท์สับเปลี่ยนวงจรที่พัฒนาจากยุคของ Alexander Graham Bell วันนี้ นี่เกือบเป็นดิจิตอลทั้งหมดในเทคโนโลยี ยกเว้นการเชื่อมโยงสุดท้ายจากสถานีโทรศัพท์กลาง (ท้องถิ่น) ไปถึงผู้ใช้
ความสัมพันธ์กับอินเตอร์เน็ต PSTN ใช้โครงสร้างพื้นฐานทางไกลของอินเตอร์เน็ต เพราะผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) จ่ายให้ผู้บริการทางไกลสำหรับการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาและแบ่งวงจรท่ามกลางผู้ใช้ผ่าน packet-switching ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตหลีกเลี่ยงในการจ่ายกับผู้อื่นนอกจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตของเขา

NGN

NGN : Next Generation Network

Next Generation Network (NGN) ถือว่าเป็นการปฏิวัติสถาปัตยกรรมโครงข่ายโทรคมนาคมหลัก (Telecommunications Core network) ตลอดจนกระบวนวิธีเข้าถึงโครงข่าย (Access Network) ซึ่งจะค่อยเริ่มแปรขบวนเปลี่ยนแปลงโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วโลกจากระบบอนาลอกไปสู่โลกแห่งยุคดิจิทัล ใน 5-10 ปี ข้างหน้านี้

ย่อให้เข้าใจได้ง่ายว่า โครงข่ายโทรคมนาคมในอนาคต (NGN) จะไม่แยกเป็นโครงข่ายเทคโนโลยีนั้น เทคโนโลยีนี้ คือไม่เรียกกว่านั่นคือ โครงข่ายโทรศัพท์บ้าน นั่นคือโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ นั่นคือโครงข่ายวิทยุสื่อสาร แต่จะเรียกกันรวมเป็นหนึ่งโครงข่ายโทรคมนาคม


โดยข้อมูลที่ใช้สำหรับการสื่อสารทุกชนิดในโลก ทั้ง การสนทนาเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อมูล เป็นต้น จะถูกแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลในรูปชุดข้อมูลแพ็กเก็ต (Packet-Based Network) แบบ Internet Protocol (IP) 

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ลักษณะการส่งข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั่นเองหรือเรียกกันทั่วไปว่าเป็นการสื่อสารแบบ IP เมื่อข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต คนส่งและคนรับรู้ธรรมเนียมการแปลข้อมูลให้เข้าใจตรงกันได้แล้ว ไม่ว่าข้อมูลทุกประเภทส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ใยแก้วนำแสง วิทยุ หรือโทรทัศน์ก็ตามตลอดจนการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นในบ้าน จะสามารถสื่อสารเข้าใจข้อมูลร่วมกันได้ และเกิดเป็นการหลอมรวมทางเทคโนโลยีต่อไป (Convergence of Technology) ในอนาคต 

พูดเป็นภาษาชาวเทเลคอม ก็คือทุกอย่างเป็น ไอพี อุปกรณ์โทรคมนาคมใดเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ก็จบครับ

มาดู นิยาม NGN ของ ITU กัน
Next Generation Network (NGN) 
ถูกนิยาม โดย ITU-T ว่า คือ เครือข่ายแบบ Packet-based ที่สามารถรองรับบริการอันหลากหลายในการสื่อสารโทรคมนาคมได้ และสามารถเชื่อมต่อใช้โครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงได้หลากหลาย


โดยมีคุณภาพของข้อมูลการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Qos; Quality of Service) อย่างดี ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมประเภทต่างๆ โดยไม่มีข้อจำกัด ในการเข้าถึงเครือข่ายของผู้ให้บริการที่มีความแตกต่างๆ ทั้งยังรองรับการใช้งานแบบ เคลื่อนที่ซึ่งรองรับให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้โครงข่ายได้ทุกหนแห่ง


คาดว่าย่อคร่าวๆ ผู้อ่านคงพอเข้าใจบ้างนะครับ สรุปว่า NGN คือโลกการหลอมรวมโครงข่ายโทรคมนาคมเข้าสู่รูปแบบ IP เพื่อรองรับบริการ และอุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้น ในอนาคตเท่านั้นแหละครับ 

Credit : http://www.beenets.com/bee_link_ngn.html
ผู้เขียน : ปรเมศวร์ กุมารบุญ
ที่มา :    www.torakom.com