2.27.2558

DRA

DRA : Diameter Routing Agent

Diameter Routing Agent คือ ตัวแทนในการกำหนดเส้นทาง (DRA) สอดคล้องกับร่างข้อกำหนดมาตรฐานหลัก และมันให้เป็นโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพ สามารถปรับการจัดการได้ในที่เดียวและลดความซับซ้อนของการกำหนดเส้นทางระหว่างจุดสิ้นสุดการส่งสัญญาณใด ๆ ในเครือยข่ายได้ดี

DRA มีการใช้งานต่างๆ หนึ่งในกรณีที่ใช้งานที่มีสำคัญ คือใช้การกำหนดเส้นทางการส่งสัญญาณของการจราจรระหว่าง Policy Charging and Control (PCC)/ PRCF กับอุปกรณ์เครือข่าย

DRA เชื่อมต่อไปยัง PCRF ด้วยอินเตอร์เฟส Diameter Gx, Rx และ S9

DRA นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องเครือข่ายบรอดแบนด์มือถือจากการโอเวอร์โหลดในการใช้บริการ ยกตัวอย่างเช่น จากการใช้บริการของผู้ให้บริการที่เป็นที่นิยม OTT (Skype) กินแบนด์วิท มากก็จะโดนจำกัดไว้ในระดับที่เหมาะสม

ยังง่ายในการต่อการซ่อมบำรุง ง่ายทั้งเพิ่มหรือลดขนาดการต่อใช้งาน

หน้าที่หลัก
-เป็นศูนย์กลาง การบำรุงรักษาและจัดการกำหนดเส้นทางของการส่งสัญญาณ และจัดการความผิดพลาด
-ใช้การรวมกันของ AVPS การกำหนดค่าการกำหนดเส้นทางการส่งสัญญาณ
-ซ่อนโครงสร้างเครือข่าย
-ลดเวลาที่ต้องใช้ในการส่งสัญญาณเครือข่ายใหม่

Credit : http://www.jinnysoftware.com/operator-challenges/managing-the-transition-to-4g-networks/diameter-signalling-management/diameter-routing-agent-dra/

Femtocell

Femtocell คือ เครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับสถานีฐานขนาดเล็ก 

Credit : http://www.nbtc.go.th/wps/wcm/connect

------------------------------------

มารู้จัก Femtocell สถานีฐานมือถือขนาดเล็ก ตัวช่วยสำหรับบ้าน สำนักงานและอาคารสูง
อาจกล่าวได้ว่ายุคสมัยนี้ เป็นยุคที่การใช้งานอุปกรณ์สื่อสารจำพวกมือถือ แท็บเล็ตในการสื่อสารข้อมูลหรือดาต้า (data) สูงขึ้นจนแทบจะเรียกว่า ผู้คนใช้ดาต้าเดือนๆนึงจะมากกว่าการใช้การสื่อสารด้วยการโทรออกรับสายแบบวอยส์ (Voice) เข้าไปทุกที ยิ่งความต้องการการใช้งานดาต้ายิ่งมาก ความหนาแน่นในการใช้เครือข่ายของระบบมือถือก็ยิ่งมากขึ้น
พื้นฐานระบบมือถือ
โทรศัพท์มือถือที่เราๆใช้งานกันในปัจจุบัน ทั้ง 2G (GSM), 3G (WCDMA,UMTS,HSPA) หรือจะ 4G (LTE) มีการใช้งานพื้นฐานแบบเซลลูล่าร์ (Cellular) หรือแบ่งพื้นที่ให้บริการออกเป็นพื้นที่เล็กๆ (Cell) มีสถานีฐาน (Base Station) ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลด้วยสัญญาณวิทยุ (Radio Frequency) ที่แบ่งความถี่ออกเป็นช่องๆหรือช่วงคลื่นและมีการนำความถี่กลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ในเซลล์อื่นๆ เพื่อให้การใช้งานความถี่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการออกแบบและให้บริการนั้น ในระบบๆหนึ่งจะประกอบไปด้วยสถานีฐานมากมาย และมีหลายขนาดตั้งแต่มีพื้นที่ครอบคลุมมากๆในย่านชานเมือง หรือแค่ไม่กี่ร้อยเมตรในย่านเขตเมืองที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่น
ปัญหาการใช้มือถือในเขตเมืองและอาคารสูง
 
แม้ผู้ให้บริการ (Operator) จะมีการออกแบบและติดตั้งสถานีฐานให้ครอบคลุมและมากที่สุดแล้ว แต่การใช้งานมือถือในเขตเมืองใหญ่ที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่นหรือในอาคารสูง ก็ยังอาจเจอปัญหา กล่าวคือ ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่มีผู้ใช้มากระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่น อาทิ ย่านธุรกิจ สำนักงาน ย่านที่มีกิจกรรมแล้วคนมารวมตัวเป็นจำนวนมาก จนทำให้เกิดการแย่งใช้ช่องสัญญาณ (2G,3G) หรือการกวนกันของสัญญาณ (3G) ในแบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ซึ่งเป็นข้อจำกัดทางเทคนิคของการส่งสัญญาณด้วยวิธีนี้ จนส่งผลให้การรับ-ส่งข้อมูลติดขัด หรือผู้ใช้ในอาคารสูงที่ไม่มีการติดตั้งสถานีฐานในอาคาร (In-building Base Station) หรือแม้มีการติดตั้ง แต่ความสูงของอาคาร ทำให้เครื่องมือถือเกิดสามารถรับสัญญาณได้จากสถานีฐานที่ห่างไกลกว่าปรกติหลายสถานีพร้อมๆกัน จนกวนกัน ก็จะพบการติดขัดในการใช้งานได้เช่นกัน แม้วิธีแก้ไขอาจทำได้โดยการเพิ่มสถานีในย่านหนาแน่น หรือติดตั้งสถานีฐานในอาคารแล้ว แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างปัญหาอาจยังมีอยู่
Femtocell สถานีฐานขนาดเล็ก
 
ทางออกสำหรับเรื่องนี้ เมื่อการแก้ปัญหาจากการตั้งและส่งสัญญาณจากสถานีฐานขนาดใหญ่เข้าไปอาจไม่ใช่คำตอบ และความต้องการเพิ่มการรองรับการใช้งานโดยเฉพาะการรับส่งข้อมูลในพื้นที่ๆหนึ่งนั้น จึงเป็นที่มาของแนวคิดการใช้สถานีฐานขนาดเล็กมากลงไปอีกกว่าสถานีฐานระดับ picocell หรือ smallcell จึงใช้ชื่อว่า Femtocell
Femtocell หรือสถานีฐานขนาดเล็กนี้ ใช้แนวคิดการรับส่งสัญญาณด้วยกำลังส่งต่ำๆ ครอบคลุมแค่ในบริเวณไม่มาก ซึ่งอาจจะเป็นแค่ที่พักอาศัย หรือสำนักงาน ห้องในคอนโด หรือมุมอับๆของอาคารที่สัญญาณจากสถานีฐานภายนอกส่งไปไม่ถึง ถ้าจะพูดให้นึกภาพออกก็คงไม่พ้นต้องยกตัวอย่างแบบ Wifi AP ครับ เพียงแต่ใช้ความถี่และเทคนิคการทำงานแบบระบบมือถือที่ผู้ให้บริการนั้นๆให้บริการ
Femtocell จะสามารถติดตั้งและทำงานได้โดยสะดวกผ่านการเชื่อมโยงกับเครือข่ายสาธารณะต่างๆ หรือพูดง่ายๆคือเน็ตบ้านเรานี่หล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อด้วย ADSL FTTx หรือ Cable โดยทำการเชื่อมโยงสัญญาณกับผู้ให้บริการที่เราใช้งาน การตั้งค่าไม่ยุ่งยาก ที่สำคัญหลังๆมีผู้ผลิต Femtocell หลายเจ้าในตลาด ทำให้มีการพัฒนาลูกลักษณ์และฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่ม อาทิ เป็นทั้ง Femtocell มือถือและ Wifi AP ในตัวเดียวกันก็มี
 
หลังติดตั้ง Femtocell ในบ้านหรือที่ทำงานของตัวเองแล้ว ผู้ใช้บริการก็จะสามารถใช้งานมือถือได้อย่างสะดวกสบาย สัญญาณชัดและส่งผ่านข้อมูลไม่ติดขัด เพราะเครื่องมือถือจะทำการรับ-ส่งข้อมูลกับ Femtocell ใกล้เคียงโดยไม่ต้องส่งออกไปยังสถานีฐานภายนอกที่แออัดและต้องส่งด้วยกำลังส่งสูง ให้เครื่องร้อนและเปลืองแบตเตอรี่ ทั้งนี้ผู้ใช้ยังสามารถกำหนดได้ว่าใครบ้าง (มือถือเครื่องไหนบ้าง) ที่จะจับใช้งาน Femtocell ของเราได้ หรือเปิดเป็น Public ให้ๆบริการได้กับทุกเครื่องที่อยู่ใกล้ๆ
ในแง่ของผู้ให้บริการ การมี Femtocell ก็สามารถแก้ปัญหาเรื่องการให้บริการข้างต้นได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นการถ่ายโอนความหนาแน่นบนโครงข่าย (Off-load) ในจุดที่มีการติดตั้งและใช้งาน Femtocell ออกไปให้ไปใช้และให้ข้อมูลวิ่งบนเครือข่ายชนิดอื่น และจะได้มีช่องสัญญาณเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้รายอื่นๆได้มากและคล่องตัวขึ้น จึงถือว่าเป็นผลดีทั้งสองฝ่าย เรียกว่า วิน-วิน ก็ว่าได้
รูปแบบการทำตลาดและใช้งาน Femtocell ของผู้ให้บริการต่างประเทศ
รูปแบบการทำตลาดและการนำ Femtocell มาใช้งานนั้นมีหลายรูปแบบ หลักๆมองได้สองแบบคือ ผู้ให้บริการเป็นผู้ลงทุนและติดตั้ง Femtocell เองในจุดต่างๆ อันนี้ก็จะเหมือนการติดตั้งสถานีฐานทั่วไป ที่ตรงไหนบอดผู้ให้บริการก็เลือกรูปแบบและขนาดของสถานีฐานที่เหมาะสมไปลงและให้บริการ กับอีกแบบหนึ่งคือให้ผู้ใช้เป็นผู้ซื้ออุปกรณ์ Femtocell Set จากผู้ให้บริการ แล้วเอาไปติดตั้งเอง (ซึ่งไม่ยากเลยครับ แค่มีเน็ตเสียบสายและตั้งค่า ลงทะเบียนนิดหน่อย) โดยกรณีหลังนี้จะเห็นว่าการสร้างแรงจูงใจให้คนมาออกเงินซื้อไปติดต้องมี ที่สำคัญจะเป็นการขยายจำนวน Femtocell ได้มากและรวดเร็วกว่าการที่ผู้ให้บริการจะไปติดตั้งเองด้วย
ในต่างประเทศ ผู้ให้บริการจึงมีวิธีจูงใจ อาทิ ออกโปรฯให้กับผู้ซื้อ Femtocell ไปติดที่บ้านหรือสำนักงาน จะได้ค่า Air Time หรือค่าโทรถูก ดาต้าถูกกว่าปรกติ หรือแม้แต่โทรฟรีไม่อั้นถ้าโทรผ่าน Femtocell ของตัวเองก็มี ซึ่งน่าสนใจมากครับ ยิ่งในผู้ให้บริการที่มีบริการหลากหลาย อาทิ เป็นทั้ง Operator มือถือ เป็น ISP อินเทอร์เน็ต หรือเป็นผู้ให้บริการเคเบิลทีวีด้วยแล้ว ยิ่งสามารถสร้างรูปแบบบริการแบบหลายบริการเป็นแรงจูงใจได้อีก
แล้วในประเทศไทยใช้งาน Femtocell ได้หรือยัง?
แน่นอนเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อแน่ว่าต้องเกิดคำถามนี้แน่ๆ เพราะจริงๆปัญหาเรื่องคุณภาพสัญญาณมือถือและความแออัดต่างๆนั้น ในบ้านเราก็กำลังประสบอยู่ การที่ผู้ให้บริการจะนำ Femtocell เข้ามาใช้งานได้หรือไม่นั้นต้องผ่าน กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลในบ้านเรา โดยตอนนี้ กสทช. ได้อนุญาตให้ผู้ให้บริการในบ้านเรา นำ Femtocell มาใช้ได้แล้ว เพียงแต่การนำมาใช้และติดตั้งนั้นยังต้องทำโดยผู้ให้บริการ ยังไม่อนุญาตมีการเปิดจำหน่ายกับผู้ใช้บริการโดยตรง หรือยังไม่ให้เราๆท่านๆไปหาซื้อมาติดตั้งเองนั่นเองครับ โดยตอนนี้ผู้ให้บริการเองก็ได้มีการติดตั้ง Femtocell ไปแล้วไม่น้อย ในพื้นที่ๆการใช้งานมีปัญหาและคุณสมบัติจะเหมาะกับการใช้ Femtocell
ที่เหลือคือคงต้องรอเวลาที่การใช้งานโมบายดาต้าในบ้านเราจะยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และ กสทช. อนุญาตให้มีการจำหน่ายและผู้ใช้ซื้อไปติดตั้งได้เองโดยเสรีแบบ wifi AP เมื่อนั้นคงมีลูกเล่นทางการตลาดของค่ายมือถือต่างๆในบ้านเราออกมา รวมถึงเราจะได้ใช้งานเครือข่ายที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าทุกวันนี้ครับ
ตอนนี้ถือว่ามาปูพื้นเรื่องสถานีฐานขนาดเล็กไว้ก่อน โอกาสหน้าจะมาเล่าขยายความต่อถึงความสำคัญอย่างมากในอนาคตของเจ้า สถานีฐานขนาดเล็กนี้ต่อแนวคิดการขยายความจุของระบบ เพื่อรองรับการเติบโตแบบก้าวกระโดดของโมบายดาต้าครับ


-------------------------------

แก้ปัญหาอยู่คอนโดสูงแล้วไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ด้วย AIS 3G Femtocell

เนื่องจากว่าช่วงนี้ต้องทำงานอยู่ที่คอนโด แล้วจำเป็นต้องรับสายลูกค้าอยู่ตลอด แต่ปัญหาของคอนโดชั้นสูงๆ คือสัญญาณโทรศัพท์จะอ่อนมากบางครั้งถึงขั้นที่คุยไม่รู้เรื่องเลย โดนลูกค้าบ่นแทบทุกราย  แจ้งไปทางฝ่ายนิติ ที่ดูแลคอนโดอยู่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า ลองถามเพื่อนๆ ที่อยู่คอนโดด้วยกันก็เจอปัญหานี้ทุกคน ทุกค่ายมือถือ ทั้ง AIS, DTAC และ TrueMove
ลองกูเกิ้ลดูก็พบว่า AIS มีอุปกรณ์ที่แก้ปัญหานี้อยู่ ซึ่งจำเป็นต้องต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา และเนื่องจากที่ห้องใช้ ADSL อยู่แล้วก็เลยไม่ใช่ปัญหาอะไร เจ้าอุปกรณ์ตัวนั้นก็คือ Femtocell ซึ่งทาง AIS ให้เอามาใช้ได้ฟรี  ก็เลยโทรเข้าไปทาง Call Center เพื่อแจ้งปัญหานี้ไป จากนั้นก็จะมีวิศวกรของทาง AIS ติดต่อกลับมาว่าปัญหามันคืออะไร สอบถามข้อมูลส่วนตัว และแจ้งเงื่อนไขในการขออุปกรณ์ Femtocell มาใช้งาน
ตอนนั้นที่เขาเสนอมาก็คือ
  1. ถ้าเป็นเบอร์แบบรายเดือน และต้องสมัครแพกเกจเสริมอะไรซักอย่างนี่แหละจำชื่อไม่ได้ละ เดือนนึงตกประมาณ 500 บาท (แต่ของเพื่อนที่เป็นเบอร์แบบ Serenade กลับสามารถขออุปกรณ์มาใช้ได้เลย ไม่ต้องสมัครแพกเกจเสริม)
  2. ถ้าเป็นเบอร์แบบเติมเงิน ต้องเติมเงินเข้าระบบ 4,500 บาท (เราเลือกเงื่อนไขนี้)
เนื่องจากเบอร์ที่ใช้อยู่เป็นแบบเติมเงิน และไม่อยากเปลี่ยนเป็นรายเดือนเพราะต้องติดสัญญาอีกนานก็เลยเลือกที่จะเติมเงิน 4,500 บาท จากนั้นโทรไปหา Call Center เพื่อขอรับอุปกรณ์ที่ AIS Shop สาขาใกล้บ้าน ของเราอยู่ปากเกร็ด แต่ได้ไปรับที่ฟิวเจอร์รังสิต ทีแรกนึกว่าจะไปรับได้ที่ เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ซะอีก ส่วนรูปร่างของเจ้า AIS 3G Femtocell ก็อย่างในรูปเลย เสียบอแดปเตอร์ ต่อสายแลน รอเครื่องบู๊ตแป๊ปนึงก็ใช้ได้แล้ว ตอนนี้สัญาณโทรศัพท์ชัดแจ๋วเลย
ตอนแรกที่รับเครื่องนี้เข้าใจว่ามันจะขยายสัญญาณได้ทุกค่ายซะอีก แต่เบอร์หลักที่ใช้อยู่เป็นของ DTAC ก็ยังสัญญาณอ่อนอยู่เหมือนเดิม คงต้องย้ายกันละทีนี้
AIS 3G Femtocell
AIS 3G Femtocell และ Adapter
AIS 3G Femtocell
ขนาดเมื่อเทียบกับ Nexus 4
AIS 3G iSmart
ตอนนี้ AIS ออกโปรย้ายค่ายเบอร์เดิม ลด 50% โทร 1,000 นาที จ่ายเพียง 650 บาท สมัครก่อน 31 ตุลาคม 2557

2.26.2558

DSC

DSC : Diameter Signaling Controller

     ตัวควบคุมสัญญาณโปรโตคอลแบบไดมิเตอร์ โปรโตคอลที่อยู่ในกลุ่มนี้จะเน้นไปที่งาน Authorization, Authentication and Accounting ตามชื่อเรียก สำหรับโปรโตคอลกลุ่มนี้ IMS เลือกใช้งานโปรโตคอลที่ชื่อว่า Diameter ที่พัฒนามาจากโปรโตคอล Radius เพื่อใช้ในการตรวจสอบผู้ใช้งานว่าเป็นยูสเซอร์จริงหรือไม่อย่างไร มีสิทธิ์ในการใช้งานอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นการติดต่อกับ HSS และ SLF เป็นส่วนใหญ่
    
      DSC ยังมีประโยชน์ในการรวบรวมสัญญาณ เพื่อลดความยุ่งยากของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างในระบบ LTE และยังสามารถเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายอื่นได้อีกด้วย ทำให้ง่ายต่อการขยายระบบเครือข่ายต่อไป

     DSC สามารถให้บริการผสมผสานความสามารถหลายอย่าง Diameter Interworking Function (IWF), Diameter Edge Agent (DEA), และ Diameter Routing Agent (DRA) ให้บริการทั้ง Routing, Security, Load Balancing อย่างครบคันเลยทีเดียว

--------------------------

Diameter and LTE Roaming







------------------------------------

Diameter Signaling Control for LTE Networks



Diameter (protocol)



EPS

EPS : Evolved Packet System
ระบบที่ถูกพัฒนามาเพื่อรองรับระบบ LTE ประกอบไปด้วย UE + e-UTRAN + EPC 


LTE 4G Evolved Packet System


EPS Architecture Overview


EPS Attach Procedure


HO

HO : Hand Over // Hand Off

Hand Over หมายถึงขณะที่กำลังสนทนา โทรศัพท์เคลื่อนที่จากCell หนึ่ง ไปยังอีกCell หนึ่ง หรือเปลี่ยนTC แต่อยู่ภายในCell เดิม โดยไม่ขัดจังหวะ การสนทนาสามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบSignal Strength กับS/N ว่าอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนดหรือไม่

Credit : https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_computer/wiki/a9c45/7.html

----------------------------

Handover คือ การย้ายข้าม cell ของ mobile จาก cell หนึ่งไปอีก cell หนึ่ง

Hard Handover คือ การย้ายข้ามผ่าน cell จาก cell A ไป cell อื่น โดยการตัด cell เดิมทิ้งไปก่อน แล้วจึงติดต่อกับ cell ใหม่ ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้มีโอกาสเกิด call drop ได้สูง

Soft Handover คือ การย้ายข้ามผ่าน cell โดยติดต่อกับ cell ที่จะไปก่อน แล้วจึงตัด cell เก่าทิ้ง 

Softer Handover คือ การย้ายข้ามระหว่าง sector ภายใน cell


Credit : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=727fb09512955d7f

------------------------


Basic Types of Handoff / Handover


LTE Handover


2.25.2558

QCI

QCI : QoS class identifier

QoS class identifier (QCI) คือระดับเพื่อประกันคุณภาพของสัญญาณ เป็นการจองช่องสัญญาณโดย MME เป็นตัวกำหนดค่ามาให้จะแบ่งตามช่องของการทำไปใช้งานต่างๆตามตาราง ทั้งแบบ GBR (Guaranteed bit rate) และ Non-GBR (Non-Guaranteed bit rate)

ตำอย่างของ QCI ในการใช้บริการในเครือข่าย LTE
Default bearer 1: เริ่มการจองช่องด้วยการส่งสัญญาณ (SIP signaling) ในส่วนระบบIMS. โดยใช้ QCI 5 *ต้องใช้ QCI5 ก่อนเสมอ
Dedicated bearer: เกิดใช้สายโทร VoLTE VoIP traffic. ก็จะใช้ QCI 1 เชื่อมต่อไปยัง Default bearer 1
Default bearer 2: เพื่อใช้งานต่างๆ smartphone (video, chat, email, browser etc), ก็จะใช้ QCI 9


QoS

QoS : Quality of Service
Quality of Service (QoS) หรือ แปลตรงตัวแล้วนั่นก็คือคุณภาพการให้บริการนั่นเอง แต่ในที่นี้เราจะหมายความถึง บริการที่ได้รับจากโครงข่ายการสื่อสารจะเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เราใช้งานได้ดี หรือสามารถใช้งานเครือข่ายนั้นได้คุณภาพที่ดีนั่นเอง โดยสิ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพดังกล่าว สำหรับในเครือข่ายการสื่อสารแบบแพ็กเกตหรือ packet network นั้น สิ่งต่างๆดังกล่าวจะได้แก่ Bandwidth, Packet loss, Delay
Credit : cpe.rmutt.ac.th

---------------------------------

Quality-of-Service (QoS)
QoS เป็นตัวกำหนดชุดของคุณสมบัติของประสิทธิภาพของการติดต่อ หรือเรียกว่าเป็นการส่งข้อมูลในเครือข่ายโดยรับประกันว่าการส่งข้อมูลจะเป็นไปตามคุณภาพหรือเงื่อนไขที่ต้องการ เช่น ดีเลย์ แบนด์วิดธ์ การเปลี่ยนแปลงของดีเลย์ (jitter) อัตราการสูญหายของข้อมูล (loss) หลักการทั่วไปของ QoS Routing จึงเป็นการตรวจวัดและควบคุมการไหลของข้อมูลให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยวิธีการพื้นฐานของ QoS มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ Reservation และ Prioritization

Reservation หลักการคือการรับประกันด้วยวิธีจองทรัพยากรของเครือข่าย ก่อนที่จะเริ่มส่งข้อมูล ทรัพยากรที่จำเป็นต้องจองก็คือ บัฟเฟอร์ , แบนด์วิดธ์ และ ดีเลย์ ในส่วนของการคำนวณนั้นจะเน้นไปที่การหาขนาดของบัฟเฟอร์และแบนด์วิดธ์ที่เหมาะสมที่จะรักษาดีเลย์ระหว่างต้นทางไปยังปลายทางไม่ให้เกินที่กำหนด ในแต่ละ hop สามารถแยกดีเลย์ออกมาได้ 4 ส่วน คือ
Queueing Delay คือดีเลย์ที่เกิดจากการรอคิวส่ง สำหรับในเราท์เตอร์นั้น คือ ช่วงเวลาที่ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำสามารถเก็บได้มากหรือน้อยขึ้นกับการจัดคิว และขนาดของคิว ถ้าคิวขนาดใหญ่จะมีโอกาสที่หน่วยความจำจะเก็บข้อมูลได้มากทำให้ค่าเฉลี่ยของดีเลย์สูง ถ้าคิวสั้นค่าเฉลี่ยของดีเลย์จะน้อยกว่าแต่ทำให้อัตรการสูญเสียมีมากขึ้นเนื่องจากแพ็คเกตถูกละทิ้งจากระบบ
Processing Delay คือดีเลย์ที่เกิดจากการประมวลผลของเราท์เตอร์ เช่น การ lookup routing table การ load/transfer memory การติดต่อ I/O ระหว่างซีพียู กับ network interface
Transmission Delay คือดีเลย์ที่เกิดจากอัตราการส่งข้อมูล ค่านี้จะมีความสัมพันธ์กับแบนด์วิดธ์ ถ้าแบนด์วิดธ์กว้างดีเลย์จะน้อย
Propagation Delay คือดีเลย์ของสื่อที่ใช้ส่งข้อมูล เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสื่อนั้น ๆ
ปัจจุบันมีเฟรมเวิร์กที่ใช้หลักการของ Reservation ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่า Integrated Services ซึ่งใช้ Resource Reservation Protocol (RSVP) ในการจองทรัพยากรเครือข่าย เส้นทางของการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางไปยังปลายทางจะไม่แตกต่างจากการส่งข้อมูลแบบ Best Effort แต่ Integrated Services สามารถรับประกันได้ว่าดีเลย์ในการส่งจากต้นทางไปถึงปลายทางจะไม่เกินค่า ๆ หนึ่งแน่นอน ยกเว้นกรณีที่เส้นทางมีการเปลี่ยนแปลง ปัญหาใหญ่ของ Integrated Services คือ Scalability เพราะเครือข่ายต้องแบ่งทรัพยากรบางส่วนไปใช้กับ QoS Routing โดยเฉพาะถ้าใช้งาน QoS Routing มาก ทรัพยากรจะหมดไป นอกจากนี้ การจองทรัพยากรด้วย RSVP ไม่ได้กระทำอย่างถาวร จึงต้องมีการส่งแพ็คเกตของ RSVP ไปยังเราท์เตอร์เพื่อรีเฟรชการจองทรัพยากรตลอดเวลา จึงมี processing overhead สูง ปกติแล้ว Integrated Services จึงจำกัดให้ใช้งานเฉพาะใน Autonomous System (AS) เดียวกันเท่านั้น 

Prioritization เป็นการจัดลำดับความสำคัญ คือข้อมูลที่มีความสำคัญมากจะได้รับการส่งก่อน หรือให้การเซอร์วิสก่อน การเลือกระดับความสำคัญจะเป็นไปตามชนิดของข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งการส่งข้อมูลที่ต้องการดีเลย์น้อย ๆ จะมีระดับความสำคัญสูง ข้อดีของวิธีการนี้คือ ไม่ต้องมีการจองทรัพยากรของเครือข่าย จึงสามารถใช้งานได้ในวงกว้าง บางครั้งการทำงานแบบ Prioritization จะเรียกว่าเป็น Class-of-Service Routing (CoS Routing) เพราะแพ็คเกตจะถูกแบ่งออกเป็นคลาส หรือระดับความสำคัญ ข้อมูลในคลาสเดียวกันจะมีความสำคัญเท่ากัน ใช้ทรัพยากรทั้งหมดร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อเสีย เนื่องจากวิธีนี้ไม่สามารถรับประกันได้แน่นอนว่าการจัดส่งจะเป็นไปตามเงื่อนไข


Credit : http://www.boarddev.com/forum/index.php?topic=4396.0

CSFB

CSFB : Circuit Switched fallback // CS Fallback

    Circuit Switch Fall Back (CSFB) คือ ถ้าจะคุยเสียงก็สั่งการให้โทรศัพท์มือถือ switch กลับไปใช้โครงข่าย 2G/3G แบบเก่าไป โดยยุค 2G/3G นั้น เมื่อผู้ใช้ต้องการโทรศัพท์หรือส่ง SMS หาผู้รับนั้น สัญญาณเสียงจะเดินทางผ่านระบบโครงข่ายสัญญาณเรียกว่า circuit switch แต่เจ้าระบบ LTE อันใหม่นี้กลับไม่รองรับ circuit switch เพราะมันเป็นระบบ packet switch แบบเพียวๆ ไม่ผสม ดังนั้นหากผู้ให้บริการโครงข่ายฯ อยากลงทุนระบบ LTE เพื่อให้บริการ high speed Internet แล้ว ก็ต้องมองหาแผนสำหรับรองรับการใช้งานโทรศัพท์แบบธรรมดาๆ เหมือนยุค 2G/3G ด้วย

Credit : https://www.facebook.com/impoaround/posts/188498607999306

---------------------------


LTE เป็นระบบที่สนับสนุนการใช้งานข้อมูลความเร็วสูงผ่าน PS(Packet Switch) Core Network ล้วนๆ ซึ่ง ณ ขณะปัจจุบัน LTE Network ที่ใช้กันอยู่ ก็จะอยู่บนมาตรฐานของ 3GPP Rel8 หรือ Rel9 เป็นส่วนใหญ่
ซึ่งโทรศัพท์มือถือที่มีออกมารองรับตัวอย่างเช่น Samsung Galaxy SII ในบางประเทศที่มีระบบ LTE แล้ว เจ้าโทรศัพท์รุ่นนี้ก็จะรองรับ LTE ด้วย
ปัญหามันก็คือ มันไม่ใช่ Aircard ที่ใช้งานดาต้าเพียงอย่างเดียว มันมีการใช้งานด้านเสียงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งระบบ LTE ที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ก็จะมี EPC (Evolved Packet Core Network) เท่านั้นเป็นตัวควบคุม แต่การใช้งานด้านเสียงส่วนใหญ่ในวันนี้ ยังอยู่บน CS (Circuit Switch) Core
การแก้ปัญหาในขั้นต้นของระบบ LTE ก็จะทำโดยกระบวนการที่เรียกว่า CSFB (Circuit Swith Fall Back) คือ ตัดระบบเรดิโอบน LTE ไปก่อน แล้วทำการต่อสัญญาณใหม่บนระบบเดิมอย่าง 2G หรือ 3G อัตโนมัติ ซึ่ง User Experience จะสามารถรู้สึกได้ถึงการดีเลย์
ใน 3GPP Rel10 และหลังจากนี้ ซึ่งน่าจะมีการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบช่วงปลายปี 2012 นี้เป็นต้นไป ก็จะมีระบบสนับสนุนเข้ามาใหม่อย่าง IMS (IP Multimedia Subsystem) ที่สามารถ map protocol ของ CS voice call ลงบน PS ได้ ทำให้การดีเลย์นั้น แทบจะไม่รู้สึก และไม่ต้องเปลือง Signaling ในการตัดต่อสัญญาณออกไปได้อีกด้วย โดยเจ้า IMS นี้ จะสามารถทำการ Anchoring call (เหมือนการ Handover ปกติ บน 2G/3G) ของเราบน LTE ลงไปบน CS Core Network ของ 2G/3G ได้เลย รวมถึงเวลาที่โทรศัพท์มือถือเคลื่อนออกจากพื้นที่ที่มีสัญญาณ LTE ก็จะทำการ Handover ลงไปยังระบบ 2G/3G ได้อย่างปกติอีกด้วย (ณ ปัจจุบัน ยังต้องพึ่งพา CSFB เพื่อลง 2G/3G ในการเริ่มต้น Voice Call อย่างเดียว Voice Call + Data ไม่สามารถอยู่บน LTE ได้)
*** จริงๆ IMS มีการเปิดตัวมาตั้งแต่สมัย Rel5 ที่เริ่มมี HSDPA แล้วแหละ เพียงแต่มันจะทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม กับ Voice Call บน LTE โดยเฉพาะ Feature ที่มีเพิ่มมาใน Rel10 เหมือนเป็นเทวดามาโปรดยังงัยยังงั้น :)
แล้วทำไมต้อง Rel10?
ใน 3GPP Rel10 นี้ จะมีหนึ่งฟังก์ชั่นที่เข้ามาช่วยในการทำหน้าที่ นั่นก็คือ Single Radio Voice Call Continuity – SRVCC (Enhancement) ที่จะมาทำให้ Inter-RAT Handover จาก LTE สู่ระบบเดิมอย่าง 2G/3G เป็นได้อย่างดียิ่งขึ้นนั่นเอง
  
ปล. ไม่เคยแงะ Samsung Galaxy SIII มาดู Qualcomm Shipset ข้างในแฮะ แต่ถ้าเจอชิพ MDM9600 ก็คุ้มที่จะซื้อกัน เพราะว่าซัพพอร์ต Rel10 เรียบร้อย

2.23.2558

2100MHz

2100MHz

การประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 จบลงด้วยความประหลาดใจ เมื่อบริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (บริษัทลูกของ AIS) ซึ่งเคาะราคาประมูลสูงที่สุดและมีสิทธิได้เลือกย่านความถี่ก่อน ไม่ได้เลือกย่านความถี่ที่เคยเชื่อว่าเป็นย่านที่ดีที่สุดคือ 1920-1935 MHz คู่กับ 2110-2125 MHz แต่กลับไปเลือกย่านความถี่ 1950-1965 MHz คู่กับ 2140-2155 MHz ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ติดกับทีโอที
และยิ่งประหลาดใจเมื่อบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (บริษัทลูกของทรู) ซึ่งเคาะราคาประมูลเท่ากับบริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด แต่จับฉลากชนะจึงมีสิทธิเลือกย่านความถี่ก่อน ก็ได้เลือกย่านความถี่ 1935-1950 MHz คู่กับ 2125-2140 MHz ปล่อยให้บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด ได้ย่านความถี่ที่เชื่อว่าเป็นย่านที่ดีที่สุดไปอย่างส้มหล่น
เกิดอะไรขึ้น
ก่อนการประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz กทค.เชื่อว่าผู้ให้บริการจะประมูลเลือกย่านความถี่ที่ดีที่สุด โดยย่านที่ดีที่สุดนั้นเชื่อกันว่าน่าจะเป็นย่าน1920-1935 MHz คู่กับ  2110-2125 MHz เพราะเป็นย่านความถี่ต่ำที่สุดที่มีให้ประมูล น่าจะส่งสัญญาณได้ไกลกว่าย่านอื่น และเป็นย่านความถี่ที่อยู่ริมสุด ไม่ถูกขนาบข้างโดยคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการรายอื่น จึงมีสัญญาณรบกวนน้อยกว่าย่านอื่น
การที่บริษัทลูก AIS เลือกย่านความถี่ตรงกลางที่ติดกับทีโอที ทำให้เกิดข้อสงสัยกันว่า AIS กำลังคิดจะจับมือทำธุรกิจกับทีโอที ซึ่งคุณวิเชียร CEO AIS ได้ให้คำตอบแล้วว่า AIS สนใจจับมือทำธุรกิจกับทีโอทีอยู่แล้ว เพราะ AIS เป็นพันธมิตรเก่าแก่ของทีโอที แต่นั่นเป็นเรื่องในอนาคตอีกยาวไกล
การจับมือกันทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องเลือกย่านความถี่ติดกัน ทุกวันนี้ AIS ก็จับมือโรมมิ่งกับทีโอทีอยู่แล้ว โดยใช้ย่านความถี่ 900 MHz ในขณะที่ทีโอทีใช้ 2100 MHz การที่บริษัทลูกของ AIS เลือกย่านความถี่ในตำแหน่งดังกล่าวน่าจะมีเหตุผลอื่น
ย่านความถี่ต่ำ ส่งสัญญาณได้ไกลกว่าจริงหรือ
ย่านความถี่ต่ำ ส่งสัญญาณได้ไกลกว่า และทะลุทลวงดีกว่าย่านความถี่สูง เป็นข้อเท็จจริงซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วในเครือข่าย 2G ย่าน 900 MHz ของ AIS ส่งสัญญาณได้ไกลกว่าย่าน 1800 MHz ของ dtac และ True Move ในต่างจังหวัด แต่นั่นเป็นเพราะย่าน 900 MHz กับ 1800 MHz มีความถี่แตกต่างกันมากถึงเท่าตัว ส่วนความถี่ 2100 MHz ทั้งสามย่านความถี่ที่ให้ประมูลแย่งกันนั้น มีความถี่แตกต่างกันน้อยมาก ความแรงของสัญญาณ และการส่งสัญญาณใกล้ไกลกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพงานติดตั้งมากกว่าผลของย่านความถี่
ย่านความถี่ที่อยู่ริมสุดมีสัญญาณรบกวนน้อยกว่าย่านความถี่ที่อยู่ตรงกลางจริงหรือ
มาตรฐาน 3G ที่ใช้เทคโนโลยี WCDMA ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้คลื่นความถี่ช่องละ 5 MHz โดยความถี่แต่ละช่องสามารถอยู่ติดกันได้โดยไม่ต้องมีการ์ดแบนด์ดังนั้นการที่ถูกขนาบข้างโดยคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการรายอื่นจึงไม่ใช่ปัญหา ในกรณีที่อุปกรณ์ 3G ของผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งขัดข้องส่งสัญญาณไปรบกวนผู้ให้บริการรายอื่น เราก็รู้ว่าสัญญาณรบกวนมาจากคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการรายใด สามารถประสานงานกับผู้ให้บริการรายนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาสัญญาณรบกวนได้โดยง่าย แต่การที่ได้ย่านความถี่อยู่ริมติดกับพื้นที่ว่างเปล่าหากถูกคลื่นรบกวนขึ้นมาคราวนี้ไม่รู้ว่าสัญญาณรบกวนนั้นเป็นของใคร ต้องร้องเรียนไปที่สำนักงานกสทช.ให้ช่วยหาที่มาของสัญญาณรบกวน ซึ่งการแก้ปัญหาแต่ละครั้งมีความยากลำบากและใช้เวลาพอสมควร
ย่านความถี่ 2100 MHz แต่เดิมนั้นเคยถูกใช้งานเป็น microwave link 2 GHz ซึ่งส่งสัญญาณได้ไกล แต่เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วคลื่นความถี่ดังกล่าวถูกกรมไปรษณีย์โทรเลขเรียกคืนเพื่อนำมาทำระบบโทรศัพท์ IMT-2000 ซึ่งก็คือ 3G ในวันนี้ ไมโครเวฟ 2 GHz จึงต้องถูกทดแทนด้วยไมโครเวฟในย่านอื่นซึ่งส่งสัญญาณได้ในระยะทางที่สั้นกว่า บางแห่งต้องใช้ไมโครเวฟย่านอื่นถึง 2 hop เพื่อทดแทนไมโครเวฟ 2 GHz เพียง hop เดียว  เป็นไปได้ว่ายังมีบางหน่วยงานยังแอบใช้ความถี่ย่าน 2 GHz อยู่ในต่างจังหวัด ซึ่งอาจส่งสัญญาณรบกวนระบบ 3G ได้ สัญญาณรบกวนนี้หาที่มาของสัญญาณได้ยากหากรบกวนมาจากริมซ้ายหรือริมขวาของย่านความถี่ 2100 MHz เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ
ความถี่ย่าน 1800 MHz สามารถรบกวนย่าน 2100 MHz ได้ในระบบสายอากาศร่วมในอาคาร
inbuilding antenna
ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีการติดตั้งระบบสายอากาศในตึกและห้างสรรพสินค้าต่างๆเพื่อปรับปรุงสัญญาณในอาคาร สายอากาศในอาคารเหล่านี้มักจะใช้ร่วมกันโดยผู้ให้บริการหลายรายเพื่อลดต้นทุน ในบางครั้งเจ้าของสถานที่ก็บังคับให้ใช้สายอากาศร่วมกันเพื่อความสวยงามของอาคาร ผู้ให้บริการแต่ละรายจะติดตั้งสถานีฐานของตนเองแต่ผสมสัญญาณมาออกสายอากาศร่วมในอาคารชุดเดียวกัน
ระบบสายอากาศร่วมในอาคารเหล่านี้ประกอบด้วยข้อต่อ (connector) และอุปกรณ์แยกสัญญาณ (splitter) จำนวนมากซ่อนอยู่ใต้ฝ้าเพดานและในช่อง shaft ของอาคาร หากข้อต่อเหล่านี้หลวมหรือเข้าสายไม่ดีจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนเรียกว่าอินเตอร์มอดูเลชั่น
dyn02อินเตอร์มอดูเลชั่น คือการที่คลื่นความถี่ f1 และ f2 มาผสมกันอย่างไม่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดสัญญาณรบกวนคลื่นความถี่ในย่านอื่น ซึ่งสัญญาณรบกวนจะแรงที่สุดที่ความถี่ (2 x f1) – f2 และ (2 x f2) – f1
ความถี่ย่าน 1800 MHz ที่ใช้งานอยู่โดย dtac, True Move และ DPC มีความถี่อัพลิงค์ 1710-1785 MHz คู่กับความถี่ดาวน์ลิงค์ 1805-1880 MHz ซึ่งความถี่ดาวน์ลิงค์สามารถทำให้เกิดอินเตอร์มอดูเลชั่นเป็นสัญญาณรบกวนขึ้นมาถึงย่าน 2100 MHz ได้
วิธีคำนวณว่าอินเตอร์มอดูเลชั่นจากย่าน 1800 สามารถสร้างสัญญาณรบกวนไปไกลที่สุดถึงความถี่ย่านใด ให้แทน f1 และ f2 ด้วยความถี่ที่อยู่ห่างกันที่สุด คือ f1 = 1880 MHz, f2 = 1805 MHz ดังนั้น (2 x f1) – f2 = 1955 MHz แสดงว่าย่านอัพลิงค์ของ 2100 MHz ตั้งแต่ขอบซ้ายสุดคือ 1920 MHz ไปจนถึง 1955 MHz มีโอกาสถูกกวนโดยอินเตอร์มอดูเลชั่นจากระบบ 1800 ในระบบสายอากาศร่วมในอาคาร ดังนั้นย่านความถี่ 2100 ที่มีการประมูลที่มีโอกาสถูกรบกวนโดยอินเตอร์มอดูเลชั่นของ 1800 น้อยที่สุดก็คือย่าน 1950-1965 MHz คู่กับ 2140-2155 MHz ซึ่งผู้ที่เคาะราคาประมูลสูงสุดเลือกไปนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การเลือกย่านความถี่ไม่ได้เป็นสิ่งที่กำหนดว่าเครือข่ายของผู้ให้บริการรายใดจะมีคุณภาพดีที่สุด เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอีกมาก โดยเฉพาะความรู้ความชำนาญของคนที่ดูแลเครือข่ายนั้นครับ

IMEI

IMEI : International Mobile Equipment Indentity



IMEI: คืออะไร? หลายคนที่มีโทรศัพท์มือถืออยู่ในมือตอนนี้ คงจะพอตอบได้ว่ามันคือส่วนใดใน
เครื่องโทรศัพท์มือถือ มันคือ SIM มั่ง ตอบอย่างนี้ก็ถูกครับ แต่ดูตามนี้แล้วกัน ครับ IMEI (อิมมี่)
คือ หมายเลขประจำเครื่องลูกข่ายมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า International Mobile Equipment Indentity (IMEI) ซึ่งไม่ใช่เลขเดียวกับเลข Serial Number เนื่องจาก IMEI เป็นเลขหมายมาตร
ฐาน ซึ่งระบุถึงบริษัทผู้ผลิต ประเทศผู้ผลิต และรหัสการตรวจอนุมัติ ของบริษัทผู้ผลิตนั่นเอง โดย
จะถูกโปรแกรมไว้อย่างถาวรใน SIM Card มีอยู่ 15 หลัก เราสามารถตรวจสอบเลขหมายดังกล่าว
โดยการกดปุ่ม *#06# บนเครื่องโทรศัพท์ของท่านเอง โดยกลุ่มตัวเลขดังกล่าวนั้นมีชื่อ เรียกว่า
IMSI (อิมซี่) โทรศัพท์ที่เป็นระบบ GSM จะอ้างถึงเลขหมายของผู้ใช้บริการแต่ละคน โดย IMSI เป็น
เลขหมายที่ถูกอ้างในการเรียกติดต่อโดยผู้ใช้บริการด้วยกัน ส่วนประกอบของ IMSI มีดังนี้

IMSI=MCC+MNC+MSIN
โดยที่ MCC หรือ Mobile Country Code มีความยาว 3 หลัก(Digit)เป็นตัวเลขที่บอกถึงประเทศ
ซึ่งเป็นเจ้าของ SIM จดทะเบียนอยู่MNC หรือMobile Network Code มีความยาว 2 หลัก เป็นตัวเลขของผู้ให้บริการเครื่อข่ายซึ่งเจ้าของSIM จดทะเบียนอยู่ MSIN หรือ Mobile Subscriber Indentification Number มีความยาว 10 หลักเป็นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสุดท้าย ของ IMSI ซึ่งบางเครื่องอาจมีไม่ถึง 10 หลักก็ได้ใช้กำกับผู้จดทะเบียนเครือข่ายแต่ละคน ยกตัวอย่าง การอ่านค่า IMSI ของเครือข่ายหนึ่ง โดยแบ่งตำแหน่งที่มีหมายเลข 262 02 4542750010 จะเห็นว่าเป็นหมายเลขของผู้ใช้บริการซึ่งจดทะเบียนในประเทศเยอรมัน (MCC=262) กับเครือข่าย D2 Private (MNC=02) โดยหมายเลขกำกับของผู้ใช้บริการรายนี้คือ4542750010 สำหรับการโทรเรียกผู้ใช้รายนี้ก็ต้องแล้วแต่ว่าคนผู้นี้ใช้เลขหมาย MSISDN ใด



ตัวอย่าง รายชื่อของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในตระกูล GSM เรียงตามระหัส MCC และ MNC
MCC
ประเทศ
MNC
ผู้ให้บริการ(Operator)
208
ประเทศฝรั่งเศส
01
F France Telekom


02
F SFR
234
ประเทศอังกฤษ
10
UK CellNet


15
UK Vodafone
240
ประเทศสวีเดน
01
S Tele Radio


07
S Comviq


08
S Nordictel
244
ประเทศฟินแลนด์
91
SF Tele Fin
262
ประเทศเยอรมัน
01
D1-Telekom


02
D2 pivat
505
ประเทศออสเตรเลีย
01
Telecom Australia


02
Optus Communication


03
Vodafone
520
ประเทศไทย
01
Advanced Info Service (AIS) "GSM Advance"


10
Wireless Communication Service (WCS)


18
Total Access Communication (TAC) "DTAC"


23
GSM 1800 "Hello1800" DPC


99
TA Orange (*เปลี่ยนเป็น TRUE)

Credit : http://adything.blogspot.com/2009/02/imsimccmncmsin.html

จะดูเลข IMEI ได้จากที่ไหนบ้าง?
Credit : http://www.advice.co.th/newsdetail.php?nid=683

-------------------------------------


เมื่อผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง 3 รายได้ใบอนุญาตจากกสทช.แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการขอใบอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์ 2100MHz และขอ MNC หรือ Mobile Network Code ซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวของ Mobile Network Operator (MNO) ในแต่ละประเทศ เป็นตัวเลขระหว่าง 00-99
MVNO เช่น i-mobile3GX และ TruemoveH ไม่มี Mobile Network Code เป็นของตัวเอง ต้องใช้ code เดียวกับเจ้าของเครือข่ายคือ TOT และ CAT โดย Mobile Network Code จะปรากฏให้เห็นเวลาสแกนหาเครือข่าย เป็นเลข 2 หลักที่เขียนต่อท้าย 520 (520 คือ Mobile Country Code ของประเทศไทย) ถ้ามือถือหรือซิมของเรารู้จัก Mobile Network Code นั้น มันจะไม่แสดงผลเป็น 520-xx แต่จะแสดงเป็นชื่อเครือข่ายแทน เช่น 520-18 จะแสดงชื่อเป็น dtac
Mobile Network Code ของผู้ให้บริการมือถือไทยมีดังนี้
00=CAT 3G850MHz
01=AIS
02=CAT CDMA
15=TOT3G
18=dtac
23=DPC GSM1800
99=Truemove
เมื่อกสทช.ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ให้เอกชน 3 บริษัท จึงถือว่ามี MNO เกิดใหม่ 3 ราย แต่ละรายจะมี Mobile Network Code เป็นของตัวเอง และถึงแม้ว่า 3 บริษัทนี้จะเป็นบริษัทลูกของ AIS dtac Truemove แต่จะใช้ Mobile Network Code เดิมไม่ได้ เพราะต้องแยกเครือข่ายใหม่ออกจากสัมปทาน
ซิมการ์ดแต่ละใบมีเลขประจำตัว 15 หลักที่ไม่ซ้ำกันเลย เรียกว่า IMSI ซึ่งของไทยมี format 520-xx-yyyyyyyyyy โดย xx คือ Mobile Network Code
หมายเลขประจำซิมมี Mobile Country Code และ Mobile Network Code เป็นส่วนประกอบเพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นซิมของผู้ให้บริการรายใด ในการใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย (ย้ายค่าย เบอร์เดิม) เราต้องเปลี่ยนซิมเพราะต้องเปลี่ยน Mobile Network Code ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของIMSI ในซิม ในการเปลี่ยนมาใช้ 3G 2100MHz เราก็ต้องเปลี่ยนซิมเช่นกัน เพราะ Network Code เปลี่ยน IMSI เปลี่ยน
ซิมรุ่นใหม่ๆรองรับการโปรแกรมเปลี่ยนรหัส IMSI ในซิมได้ ถ้าใช้ซิมใหม่ก็อาจไม่ต้องเปลี่ยนซิมครับ ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ให้บริการ
Credit : https://saran2530.wordpress.com/2012/12/13
-------------------------------------



  •      1. การใช้ IMEI ยืนยันตัวบุคคล
  •      2. ความเป็นมา•  IMEI ถูกออกแบบมาเมื่อ 20 ปีก่อน โดนหวังจะให้เป็นเลขหมาย “เฉพาะ ตัว” (Unique) เครื่องโทรศัพท์ในระบบ GSM เพื่อนําไปใช้แก้ปัญหาเครื่องถูก ขโมย (Stolen Handset)•  แต่เดิมเลขหมาย IMEI จะถูกบริหารโดยองค์กลางระหว่างประเทศด้าน โทรคมนาคม European Telecommunications Terminal Equipment (TTE) Directive ซึ่งจะทําหน้าที่ตรวจสอบและให้การรับรองมาตรฐานคุณภาพของ อุปกรณ์ จากนั้นจึงจะกําหนดเลขหมาย IMEI ให้แก่ผู้ผลิตราย ​ •  สมัยก่อน โทรศัพท์ GSM ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพ จะไม่ได้รับเลขหมาย IMEI และไม่สามารถใช้งานในเครือข่ายได้ •  หลังปี 2000 เป็นต้นมา การยื่นขอรับเลขหมาย IMEI ก็ไม่จําเป็นต้องเป็นผู้ผลิต ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยเสมอไป ปัจจุบัน องค์กรกลาง ระหว่างประเทศที่ควบคุมนโยบายคือ GSM Association และจะมีผู้บริหาร จัดการเลขหมายของแต่ละทวีปแยกย่อยกันลงไปอีกที
  •       3. International Mobile Equipment Identity (IMEI)•  มีทั้งหมด 14+1 หลัก N.N. X.X.X.X.Y.Y. Z.Z.Z.Z.Z.Z AType Allocation Code (TAC) Serial Number Check Digit DIGIT DESCRIPTION NOTES NN Reporting Body Identifier แสดงองค์กรกลางผู้กําหนดเลขหมายให้ XXXXYY Type Identifier แสดงตัวตนผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น กําหนดโดย องค์กรกลาง ZZZZZZ Serial Number กําหนดโดยองค์กลาง และใช้กับโทรศัพท์ แต่ละเครื่องไม่ซ้ํากัน A Check Digit สําหรับตรวจสอบความถูกผิดของการรับ ส่งข้อมูล http://www.gsmworld.com/documents/DG06_v5.pdf
  •       4. อะไรคือ Check Digit ?•  Check Digit หรือ Checksum bit ซึ่งคือเทคนิค “พื้นฐาน” ในทางวิศวกรรมสื่อสาร ที่ใช้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง •  กล่าวอย่างง่ายคือการกําหนด “ขั้นตอน”​ (Algorithm) บางอย่างขึ้นร่วมกันระหว่างผู้รับ กับผู้ส่ง แล้วนําตัวข้อมูลที่รับ/ส่งมาผ่านขั้นตอนเหล่านั้น หากผลที่ได้ตรงกับที่ควรจะเป็น แสดงว่าข้อมูลที่ส่งมาถูกต้อง ตัวอย่างสมมต: ิสมมติ “ขั้นตอน” (Algorithm) ง่ายๆคือจับตัวเลขทั้งหมดบวกกัน ถ้าได้เลขคู่ให้checksum = 0 ถ้าได้เลขคี่ให้ checksum = 1 ส่งข้อมูล 111000 บวกกันได้ 3 จะได้ checksum = 1 (คี่)ส่งข้อมูล 101000 บวกกันได้ 2 จะได้ checksum = 0 (คู่)ดังนั้น หากผู้รับได้รับข้อมูล 1010001 (บวกกันได้ 2) ผู้รับก็จะรู้ทันทีว่าข้อมูลที่ส่งมานั้นผิดเพราะบวกกันได้ 2 ควรได้ checksum bit เป็น 0 แสดงว่าต้องมีการส่งผิดพลาดระหว่างทางแน่นอน
  •       5. Check Digit บอกอะไร ?•  การตรวจสอบว่า ​Check Digit ว่าตรงตามที่ควรจะเป็นหรือไม่นั้น สรุปได้เพียง แค่ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นถูกต้อง (Accurate) ตรงกับที่ส่งออกมาหรือไม่ เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่าข้อมูลที่ส่งออกมาเป็นข้อมูลที่ถูกกฏเกณฑ์ (Legitimate) หรือเปล่า •  การคํานวน Check Bit จะให้ค่าออกมาได้เลขเดียวเท่านั้น หากได้เลขอื่น แสดงว่าข้อมูลที่รับมาผิดเพี้ยนไประหว่างการส่ง •  พูดง่ายๆว่าหากเครือข่ายคํานวนแล้วได้ Check Bit ถูกต้อง ก็แปลว่าเลข ​ IMEI ที่ได้รับมาจากเครื่องปลายทางถูกต้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าเลข ​ IMEI ที่รับมานั้นเป็นเลขเฉพาะตัว ​(Unique) หรือถูกกฏเกณฑ์ (Legitimate) ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
  •       6. ความเปลี่ยนแปลงในตลาดผู้ผลิตอุปกรณ์ GSM•  ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดใน 20 ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตโทรศัพท์ไม่ได้จํากัดอยู่แค่ ผู้ผลิตรายใหญ่ๆที่มักเป็นเจ้าของอุปกรณ์เครือข่าย (โนเกีย อิริคสัน ซีเมนส์) อีกต่อไป•  มีผู้ผลิตโทรศัพท์รายใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก (โซนี แอปเปิล Blackberry ซัมซุง LG) และมีผู้ผลิตในกลุ่ม ​ Grey Market อีกมากโดยเฉพาะกลุ่มฐานการผลิตในจีน •  Grey Market Manufacturer คือผู้ผลิตชิพเซ็ทและโทรศัพท์ราคาถูก โดยอุปกรณ์เหล่านี้มักจะไม่ได้ รับการรับรองคุณภาพ/ความปลอดภัยจากองค์กรระหว่างประเทศ•  การยื่นเรื่องขอรับเลขหมาย ​IMEI จากองค์กรกลางระหว่างประเทศไม่่ใช่เรื่องง่าย บริษัทผู้ผลิตจะ ต้องเป็นสมาชิกและจ่ายมีค่าธรรมเนียม ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิต Grey Market ส่วนใหญ่จึงเลือก ที่จะไม่ใช่เลข IMEI ที่ถูกต้องโทรศัพท์ที่ออกขายจากโรงงาน Grey Market จึงมักมี IMEI เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี; ้ •  ไม่มี IMEI เลย (Blank) •  มี IMEI เป็น 0 หมด •  มีเลข IMEI เป็นชุดพิเศษ เช่น เลขหมายทดสอบ •  มี IMEI เป็นเลข ​IMEI แท้ (Legitimate) แต่ใช้ของโทรศัพท์ยี่ห้ออื่นแทน มีทั้งกรณีที่ใช้เลข ของเครื่องในปัจจุบัน และเครื่องรุ่นเก่าที่เลิกสายการผลิตไปแล้ว
  •       7. ตลาดโทรศัพท์มือถือที่ไม่เหมือน 20 ปีก่อนBest King V81 : 5,990 บาท inovo i106 : 3,990 บาท Mobia MB-B2 : 2,690 บาท http://www.siamphone.com/spec/ http://www.siamphone.com/spec/ http://www.siamphone.com/spec/bestking/v81.htm inovo/i106.htm mobia/mb-b2.htm
  •       8. IMEI เป็นเลขเฉพาะตัวจริงหรือ ?•  ในทางทฤษฏี อาจกล่าวได้ว่าเลข IMEI แต่ละชุดมีความเฉพาะตัว (Unique) เพราะถูกกําหนดและบริหารโดยองค์กลางระหว่างประเทศไม่ให้มีการซ้อนทับ กัน แต่นั่นหมายถึงเฉพาะเลข IMEI ของแท้ (Legitimate) เท่านั้น •  การจะสรุปว่า IMEI เป็นเลขเฉพาะตัว หรือไม่ เราต้องพิจารณา 3 ประเด็นหลักๆ คือ •  ในทางปฏิบัติ มีเลขเพียงชุดเดียวในเครือข่าย ณ ขณะเวลาหนึ่งหรือไม่ ? •  ในทางปฏิบัติ มีเลขเพียงชุดเดียวในทุกเครือข่ายในประเทศนั้นหรือไม่ ? •  ในทางปฏิบัติ มีเลขเพียงชุดเดียวและติดอยู่กับเครื่องโดยไม่สามารถแก้ไข ได้หรือไม่ ? หรือสามารถนําเลข IMEI ของแท้ ใส่ลงไปในเครื่องโทรศัพท์อื่น ได้หรือไม่ ?
  •       9. มี IMEI ซ้ํากันในเครือข่ายได้ไหม ? "Duplicate numbers are coming out of the factories now and you can have two or three handsets with the same number,” Vodafone UK spokeswoman January 2002 http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/1749215.stm
  •       10. IMEI มีซ้ํากันในหลายเครือข่ายได้ไหม ? http://news.bbc.co.uk/2/hi/8387727.stm
  •       11. เราแก้เลข IMEI ในเครื่องโทรศัพท์ได้หรือไม่ ?
  •       12. IMEI เมื่อเทียบกับ IP Address•  ในทางเทคนิค ระบบเครือข่ายโทรศัพท์ไม่ได้มอง IMEI เป็นสิ่งยืนยันผู้ใช้งาน แต่จะใช้เลขหมาย ประจํา SIM Card ที่รู้จักกันในชื่อ ​IMSI แทน The IMEI is only used for identifying the device and has no permanent or semi-permanent relation to the subscriber. Instead, the subscriber is identified by transmission of an IMSI number, which is stored on a SIM card that can (in theory) be transferred to any handset. Source: http://en.wikipedia.org/wiki/ International_Mobile_Equipment_Identity•  ในทางปฏิบัติ บางเครือข่ายสามารถใช้งานเครื่องโทรศัพท์ที่ไม่มีเลขหมาย IMEI เลยก็ได้ ​•  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า IMEI ยังไม่อาจเทียบกับ IP Address ได้ เพราะ IP Address คือเลขหมายที่ ใช้ในการเชื่อมต่อ Internet ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง มีการรับส่งข้อมูลโดยอ้างอิงเลข IP Address จริงๆ แต่ IMEI ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการรับส่งข้อมูลหรือโทรเข้าออกในระบบ โทรศัพท์
  •       13. การยืนยันตัวบุคคลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์•  ในทางเทคนิค นอกจาก IMEI แล้ว จะมีเลขหมายสองชุดที่เครือข่าย “จําเป็น” ต้องใช้ใน การสื่อสารระหว่างโทรศัพท์สองเครื่องคือ •  IMSI : International Mobile Subscriber Identity •  เลขหมายประจํา ​SIM Card ใช้สําหรับระบุ “ตําแหน่ง” ว่า SIM Card นั้นอยู่จุดไหน เชื่อมต่อกับ เครือข่ายใด เมื่อไหร่ อย่างไร ฯลฯ •  IMSI เป็นเลขหมายเฉพาะตัว (Unique) ไม่สามารถมีซ้ํากันได้ในเครือข่ายเดียวกัน•  MSISDN : Mobile Subscriber Integrated Services Digital Network Number •  หรือเบอร์โทรศัพท์ที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี ระบบจะจัดเก็บเบอร์โทรศัพท์คู่กับ IMSI เพื่อใช้ในการ ​ เชื่อมต่อ ดังนั้นหากเราต้องการยืนยันตัวบุคคล เราจําเป็นต้องใช้เลข IMEI / IMSI และ MSISDN ทั้งหมดพร้อมกัน จึงจะเชื่อถือได้ว่าข้อมูลได้ถูกส่งออกมาจากโทรศัพท์เครื่องนั้น โดยใช้ ​ SIM Card อันนั้น และใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุไว้จริง สอดคล้องกันทั้งหมด
  •       14. สรุปความเห็นของผู้เขียน•  IMEI ของจริง (Legitimate) หมายถึงเลขที่ได้รับจากองค์กรกลางระหว่างประเทศ ถูกออกแบบมาเมื่อ 20 ​ ปีก่อนโดย “หวัง” จะให้เป็นเลขหมายเฉพาะตัว ​(Unique)•  แต่ในปัจจุบัน IMEI ไม่ได้มีลักษณะการเป็นเลขหมายเฉพาะตัว (Unique) ของเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างแน่นอน เพราะ •  ในท้องตลาดมีเครื่องโทรศัพท์ที่ลักลอบนํา IMEI ของเครื่องอื่นมาใช้มากมาย •  ในเครือข่ายสามารถมี IMEI ซ้ํากันได้ •  การปลอมแปลงหรือแก้ไข IMEI ของโทรศัพท์สามารถทําได้ง่าย •  Checksum Bit บอกเพียงแค่ว่าการรับส่งเลข IMEI ระหว่างเครื่องโทรศัพท์กับเครือข่ายนั้นถูกต้องหรือไม่ มีความผิดเพี้ยนจากการรับส่งหรือเปล่า มันไม่ได้บอกว่า IMEI ที่ได้เป็นของจริงหรือของปลอม และไม่ได้ บอกด้วยว่าเลข IMEI อันนั้น มีการใช้งานซ้ําอยู่หรือไม่ในระบบเครือข่าย ​•  เครือข่ายโทรศัพท์มักไม่มีการตรวจเช็ก IMEI ว่ามีเลขหมายซ้ํากันหรือไม่ (เพราะผู้ให้บริการเองก็ย่อม ต้องการให้คนใช้งานได้จํานวนมากๆ) และหาก IMEI เดียวกันแต่อยู่คนละเครือข่าย ก็แทบจะไม่มีทาง ตรวจพบได้เลย •  หากเทียบกับการใช้งาน Internet เลขหมาย IP ดูจะสามารถยืนยันตัวเครื่องได้ดีกว่า IMEI เนื่องจาก IP มักถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางข้อมูลเชื่อมต่อ (Call Path) ขณะที่ในระบบโทรศัพท์ IMEI ไม่มีบทบาท ใดๆใน Call Path เลย แต่เป็น MSISDN และ IMSI ต่างหากที่สําคัญกว่า •  หากต้องการยืนยันตัวบุคคล (Identification) ให้หนักแน่นที่สุดในทางเทคนิคจริงๆ สิ่งที่ต้องใช้ประกอบกัน ​ ทั้งหมดคือเลขหมาย IMEI, IMSI, MSISDN วันเวลา และ ​Cell Site ที่พบการกระทําดังกล่าว
  •       15. อ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม•  IMEI : http://en.wikipedia.org/wiki/International_Mobile_Equipment_Identity•  IMSI : http://en.wikipedia.org/wiki/International_Mobile_Subscriber_Identity•  นโยบาย IMEI ของ ​GSM Association http://www.gsmworld.com/documents/DG06_v5.pdf •  ประวัติโดยละเอียด http://www.babt.com/babt/en/services/imei_number_allocation/background •  เงื่อนไขการยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ http://www.babt.com/babt/en/services/imei_number_allocation/organisation_registration •  ขั้นตอนการยื่นขอรับเลขหมาย IMEI http://www.babt.com/babt/en/services/imei_number_allocation/tac_application
  • Credit : http://www.slideshare.net/roodthanarak/imei-10569850