11.26.2557

CDMA

CDMA : Code Division Multiple Access

เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบหนึ่ง ซึ่งข้อมูลที่ส่งออกมาจากสถานีฐานจะประกอบด้วยข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ในระบบ CDMA นี้ ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับ code ชุดหนึ่งที่ไม่เหมือนกับ code ของผู้ใช้คนอื่น เมื่อใช้ code ดังกล่าวถอดรหัสสัญญาณจากสถานีฐาน ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนได้รับข้อมูลในส่วนของตัวเองได้
CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของการสื่อสารแบบไร้สายในปัจจุบันด้วยวิธีง่ายๆ และมีประสิทธิภาพ โดยระบบ CDMA จะแปลงเสียงเป็นรหัสเฉพาะในรูปของแพ็กเกจจากนั้นสัญญาณรหัสของการพูดทั้งหมดจะถูกจัดสรรให้กระจายไปยังช่วงกว้างๆ ของย่านความถี่ สัญญาณรบกวนอื่นๆ นอกเหนือจากคำสนทนาจะถูกดึงออกที่ปลายทางโดยรหัสที่ระบุไว้แล้ว เมื่อกลุ่มสัญญาณนี้เดินทางมาถึงเครื่องรับสัญญาณเสียงหรือข้อมูลที่ได้รับมานี้จะถูกนำมารวบรวมในรูปของคำสนทนาก่อนที่สัญญาณจะถูกส่ง ด้วยเทคนิคนี้จึงสามารถทำให้ระบบนี้สามารถรองรับจำนวนการโทรเข้าออกได้หลายๆ การสนทนาในเวลาเดียวกัน ภายในการส่งสัญญาณผ่านย่านคลื่นวิทยุเพียงหนึ่งคลื่น ผลก็คือระบบ CDMA จะสามารถรองรับปริมาณคู่สายได้จากการใช้ระบบ CDMA
ความเป็นมาของ CDMA
CDMA (Code Division Multiple Access) หรือ นิยมเรียกกันว่า IS-95 ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ TIA/EIA-95B บริษัท Qualcomm จาก Sandi ago, California USA เป็นผู้พัฒนาระบบ CDMA
ทฤษฎี CDMA ถูกคิดขึ้นในปี1940 และต่อมาในปี 1990 QUALCOMM, Inc., San Diego, California, USA เป็นผู้เริ่มเสนอแนวคิดของระบบ CDMA โดยใช้ Spread Spectrum TechniqueSpread Spectrumไม่ได้ให้ช่องสัญญาณ หรือ แบ่งเป็น Timeslot เช่นระบบ TDMA แต่ CDMA ใช้วิธีให้ทุกคนใช้ความถี่เดียวกันพร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับ สถานีวิทยุที่ออกอากาศ ในความถี่ เดียวกัน ในเวลาและสถานที่เดียวกัน ทำให้เกิดการนำระบบ CDMA มาใช้งานจริงในทางปฏิบัติ
ในปี1994 ระบบ CDMA ถูกจัดตั้งเป็นมาตรฐาน IS-95(TIA/EIA/IS-95) จนกระทั่ง 1995 นำทางด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจระบบ CDMA ได้รวมตัวกันขึ้นมาในนามของ CDG (CDMA Development Group) โดยขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนา cdmaOne™ไปสู่ cdma2000 และได้ถูกเสนอต่อ ITU ให้เป็นส่วนหนึ่งของ IMT-2000 3G Process ขณะนี้ cdmaOne อยู่การดำเนินการเฟสแรก มีมาตรฐาน 1XRTT ความเร็วในการส่งข้อมูล 144 kbps ในช่องสัญญาณขนาด 1.25 MHz เฟสที่2ที่จะพัฒนาต่อไปจะทำให้ระบบมีความเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 Mbps ในขนาดช่องสัญญาณไม่จำกัด จะเห็นได้ว่า จริงๆ แล้ว CDMA ถูกคิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษ 1940 แต่เข้าสู่การตลาดค่อนข้างช้า เนื่องจากเหตุผลทางเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์
ความเร็วการส่งผ่านข้อมูลโดยประมาณของเทคโนโลยียุค 2.5G – 3G
1. GPRS (2.5G) ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 115 กิโลบิตต่อวินาที(Kbps) และมีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ 40 กิโลบิตต่อวินาที (ความเร็วในการใช้งานจริงจะลดลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากระหว่างใช้งาน ระบบต้องแบ่งช่องสัญญาณบางส่วน ไปใช้งานทางด้านเสียงด้วย)
2. EDGE (2.75G) ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) และมีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ 80-100 กิโลบิตต่อวินาที (ความเร็วในการใช้งานจริงจะลดลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากระหว่างใช้งาน ระบบต้องแบ่งช่องสัญญาณบางส่วน ไปใช้งานทางด้านเสียงด้วย)
3. CDMA (3G) โดยขั้นต้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ยุค ในยุคปัจจุบันคือ CDMA 2000 1X มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 300 กิโลบิตต่อวินาที และมีความเร็วในการใช้งา นจริงประมาณ 150 กิโลบิตต่อวินาที และยุคถัดไปของระบบนี้ คือ CDMA 2000 1XEV-DO ซึ่งมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดไม่ต่ำกว่า 2 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดย CDMA เวอร์ชันนี้เอง ถือเป็นเวอร์ชันที่จะพาเราก้าวเข้าสู่ประสิทธิภาพของยุค 3G อย่างสมบูรณ์แบบ
ข้อดีของ CDMA
ความสามารถในการรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มากกว่า (Capacity)
CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของการสื่อสารไร้สาย ในเรื่องความจุของช่องสัญญาณ เนื่องจากระบบ CDMA จะลดข้อมูลในการส่ง สัญญาณลงเมื่อไม่มีการพูด ดังที่กล่าวถึงในเรื่อง Voice activityเมื่อไม่มีข้อมูลที่จะส่งหรือมีน้อย กำลังส่งจะลดลง สัญญาณรบกวนในระบบมีน้อย และ ความยืดหยุ่น ของรูปแบบการส่งข้อมูล (Radio Configuration) ทำให้ CDMA รองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่า และ บริหารทรัพยากรได้เหมาะสมกว่าระบบอื่นๆ
การส่งผ่านสัญญาณที่ราบรื่น ลดปัญหาสายหลุด (Soft hand-off)
การส่งผ่านสัญญาณ (Handoff) ของเครือข่าย CDMA ในบริเวณที่มีการเชื่อมต่อระหว่าง สถานีฐาน เครื่องลูกข่ายจะทำการส่งสัญญาณเชื่อมต่อกับหลายสถานีฐานพร้อมกัน (Soft handoff) เพื่อให้ได้สัญญาณที่ชัดเจนที่สุด ก่อนที่จะเลือกส่งผ่านสัญญาณไปที่สถานีฐานที่มี สัญญาณชัดเจนที่สุด ต่างจากระบบอื่นที่เชื่อมต่อสัญญาณได้เพียงครั้งละหนึ่งสถานีฐาน (Hard Handoff) การมี Soft Handoff สามารถลดจำนวนครั้ง และ ความถี่ของปัญหาสายหลุด ลดสัญญาณรบกวน ผู้ใช้จะสามารถสื่อสารอย่างราบรื่น และต่อเนื่อง
ความคมชัด และคุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสาร (Rake Receiver)
ความคมชัด และ คุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสารที่เหนือกว่าระบบอื่น ด้วยเทคโนโลยี 2G ที่รวมสัญญาณจากทุกทิศทาง (Multi-path Advantage) เพื่อให้ได้สัญญาณที่เข้ม และ หนาแน่น ตามปกติสัญญาณวิทยุจะมีการสะท้อนกับวัตถุรอบ ข้าง เช่น ภูเขา, ตึก, สิ่งก่อสร้าง, พื้นน้ำ ซึ่งสัญญาณตรง และสัญญาณสะท้อนมักจะรบกวนกัน แต่ระบบ CDMA มีชุดรับสัญญาณถึง 3ชุด (Rake Receiver) ในการรับสัญญาณแต่ละครั้ง โดยเครื่องจะเลือกประมวลสัญญาณที่ชัดเจน ที่สุด ซึ่งเทคนิคการประมวลสัญญาณเสียงของระบบ CDMA จะทำให้ได้เสียงที่มีคุณเสียงที่มีคุณภาพ เพื่อการสนทนาที่ชัดเจน และ ลดเสียงรบกวนให้น้อยที่สุด
ลดความสิ้นเปลืองพลังงานจากแบตเตอรี่(Power Control)
ด้วยเทคโนโลยีการประมวลสัญญาณเสียง และ การตรวจสอบสัญญาณ ระหว่างเครื่องลูกข่าย และ สถานีฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการควบคุมกำลังส่ง (Power control) เมื่อเครื่องลูกค่ายอยู่ใกล้สถานีฐาน หรือ สัญญาณมีความชัดเจนมาก กำลังส่งจะลดลง โดยการใช้กำลังส่งที่เหมาะสม กับการใช้งาน ทำให้การรบกวนของสัญญาณลดลง และ การส่งสัญญาณแบบยืดหยุ่น ผู้ใช้จึงสามารถสนทนาได้นานขึ้น โดยสิ้นเปลืองพลังงานของแบตเตอรี่น้อยลง ทั้งยังยืดอายุ การใช้งานของแบตเตอรี่
ความปลอดภัยของสัญญาณออกอากาศ
ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าทุกการสื่อสารและการรับส่งข้อมูลจะปลอดภัย และ เป็นส่วนตัว เนื่องจากการ ส่งสัญญาณของระบบ CDMA ที่ใช้รหัส (codes) หลายชุด เช่น PN Long Code, PN Short Code, Walsh code ซึ่ง PN Long Code มีหน่วยของรหัสมากถึง 4.4 ล้านล้านหลัก รหัสเหล่านี้นอกจากจะช่วยในการแบ่งแยกผู้ใช้งานในระบบ CDMA แล้ว ยังจะช่วยป้องกัน การลอกเลียนแบบ และ ลดความผิดพลาดในการสื่อสารของระบบ CDMA อีกด้วย
ประโยชน์และการนำไปประยุกต์สร้างสรรค์CDMA
บริการลูกค้าธุรกิจ
 ในระบบ CDMA นั้นเมื่อนำมาให้บริการสำหรับลูกค้าธุรกิจนั้น จะมีข้อดีที่เหนือกว่าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ความถี่แคบแบบเดิมๆ อยู่ 3 ประการ คือ
ประการที่ 1 ความสามารถในการให้บริการข้อมูลไร้สายความเร็วสูงที่เชื่อถือได้ ระบบ CDMA2000 1X สามารถให้บริการข้อมูลไร้สายด้วยความเร็วเฉลี่ยระหว่าง 60- 90 กิโลบิตต์ต่อวินาที หรือด้วยความเร็วสูงสุดถึง 153 กิโลบิตต์ต่อวินาที ซึ่งให้ความเร็วเหนือกว่าระบบอื่น หรือเครือข่ายที่ให้บริการด้วยเทคโนโลยีจีพีอาร์เอสที่ให้บริการในปัจจุบัน
ประการที่ 2 ความสามารถของระบบCDMAที่สามารถให้บริการทั้งเสียงและข้อมูลความเร็วสูงใน เวลาเดียวกันภายใต้เครือข่ายเดียวกัน ทำให้สามารถจัดโปรแกรมการขายรวมกันได้ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่มีความต้องการใช้ บริการข้อมูลสูง
ประการที่ 3 เครือข่ายCDMAนั้นมีประวัติการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในด้านการทหาร ทำให้การสนทนาและการส่งข้อมูลในระบบCDMAมีความปลอดภัยสูง ไม่สามารถดักฟังได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องการใช้งานโดยเฉพาะเมื่อเวลาผู้ใช้ เชื่อมโยงเข้าไปยังเครือข่ายข้อมูลภายในของบริษัท นอกจากนี้ยังมีความน่าเชื่อถือสูง มีปัญหาสายหลุดที่ต่ำกว่าเครือข่ายระบบอื่น
บริการค้นหาพิกัดตำแหน่ง
 บริการค้นหาพิกัดตำแหน่งหรือเรียกว่า Location-based service เป็นบริการค้นหาตำแหน่งผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ซึ่งมักจะต้องทำงานเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลแผนที่และเส้นทาง โดย บริการในยุคการสื่อสาร 3G ซึ่งเปิดให้บริการในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยี A-GPS (Assist-global positioning service) เพื่อคำนวณหาตำแหน่งที่ตั้งและแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทต่างๆได้อย่างแม่นยำ
การเชื่อมโยงเข้ากับองค์กร
 เนื่องจากหลายองค์กรมีการให้บริการแก่พนักงานในรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่หน่วยงานนั้นๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับระบบการเชื่อมโยงอุปกรณ์สื่อสารไร้สายของพนักงาน และการเข้าถึงบริการสำคัญต่างๆ ของบริษัทได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้บริการCDMAยังช่วยให้พนักงานสามารถจัดส่งไฟล์ข้อมูลหรือภาพที่มีขนาดใหญ่ได้จากทุกที่
อินเตอร์เน็ต 
ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถต่อเชื่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือพีดีเอ จึงเหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไปและกลุ่มผู้ใช้ในระดับองค์กร ซึ่งโดยปกติแล้วจะครอบคลุมถึงบริการอินเตอร์เน็ท อีเมล์ และการเข้าถึงข้อมูลภายในบริษัทของลูกค้าได้อย่างปลอดภัย
บริการฝากข้อความ
บริการฝากข้อความจากเพื่อนถึงเพื่อน ได้แก่ อีเมล์ บริการฝากข้อความด่วน (Instant messaging) เอ็มเอ็มเอส (Multimedia messaging services) ซึ่งรวมถึงข้อความประเภทข้อความภาพ (photo messaging) และวิดีโอ
บทสรุป
CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของการสื่อสาร แบบไร้สายในปัจจุบันด้วยวิธีง่ายๆและมีประสิทธิภาพ โดยระบบCDMAจะแปลงเสียงเป็นรหัสเฉพาะในรูปของแพ็กเกจจากนั้นสัญญาณรหัสของการพูดทั้งหมดจะถูกจัดสรรให้กระจายไปยังช่วงกว้างๆ ของย่านความถี่สัญญาณรบกวนอื่นๆ นอกเหนือจากคำสนทนาจะถูกดึงออกที่ปลายทาง โดยรหัสที่ระบุไว้แล้ว เมื่อกลุ่มสัญญาณนี้เดินทางมาถึงเครื่องรับสัญญาณเสียงหรือข้อมูลที่ได้รับมานี้จะถูกนำมารวบรวมในรูปของคำสนทนา ก่อนที่สัญญาณจะถูกส่งด้วยเทคนิคนี้จึงสามารถทำให้ระบบนี้สามารถรองรับจำนวนการโทรเข้าออกได้หลายๆ การสนทนาในเวลาเดียวกันภายในการส่งสัญญาณ ผ่านย่านคลื่นวิทยุเพียงหนึ่งคลื่น ผลก็คือระบบ CDMA จะสามารถรองรับปริมาณคู่สายได้จากการใช้ระบบCDMA

CDR

CDR : Charging Data Record




เป็นรูปแบบของ ข้อมูลค่าใช้จ่ายทางสื่อสารโทรคมนาคม (ค่าการโทร, ค่าการใช้อินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือ)

CDRs จะใช้สำหรับการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ : ผู้ให้บริการเครือข่ายส่งต่อข้อมูลค่าใช้งานให้แก้ผู้ใช้งานโทรศัพท์ CDRs จะถูกส่งโดยใช้ค่า GTP protocol หรือ FTP protocol


ข้อมูลนั้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการใช้งาน รวมถึงเก็บเวลาของระยะเวลาการโทร, ปริมาณของข้อมูลทั้งอัพโหลดดาวน์โหลด ฯลฯ แยกต่างหาก CDRs ถูกสร้างขึ้นสำหรับแต่ละอุปกรณ์ที่จะเรียกเก็บค่า

CDRs สามารถจำแนกโดยทั่วไปตามการทำงาน
อุปกรณ์ที่มีการเก็บค่าในอุปกรณ์ : GGSN, SGSN, PGW, SGW 
การให้บริการที่มีการเรียกเก็บ : MSC, Mobility, Location request .


Credit : http://en.wikipedia.org/wiki/Charging_data_record

CBS

CBS : Convergent Billing Solution


ระบบเรียกเก็บเงิน ช่วยแก้ไขปัญหาการเรียกเก็บเงินสำหรับทุกประเภทของเครือข่ายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบแบบครบวงจรเพื่อลดปัญหาการเรียกเก็บเงิน จะช่วยให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมวิเคราะห์การตลาดได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มรายได้ ความยืดหยุ่นในการเรียกเก็บเงินปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่านการเรียกเก็บเงินด่วนและลดค่าใช้จ่าย

Credit : http://huawei.com/en/products/software/bss/ngrm/Convergent_Billing_Solution/index.htm

11.25.2557

MVNO

MVNO : Mobile Virtual Network Operator


ผู้ให้บริการเสมือน หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือ “ผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่ไม่ได้วางโครงข่ายเอง แต่ ไปเหมาจากเจ้าของโครงข่ายมาให้บริการต่ออีกทอดหนึ่ง” ถ้าจะเอาคร่าวๆ mvno คือ "ยี่ปั๊ว" ดีๆนี่เองที่ไม่ได้มีเสาหรือโครงข่าย 3G เป็นของตัวเอง แต่ว่าอยากจะร่วมทำธุรกิจตรงนี้ด้วยก็เลยไปขอแบ่งสัมปทานมาทำบ้าง ซึ่งหลังจากที่การประมูลเสร็จสรรพแล้วบริษัทเหล่านั้นก็จะได้สิทธ์ในการให้บริการร่วมในระบบเครือข่าย3G กลายมาเป็น MVNO ที่เราเรียกกันอยู่ซึ่งเขาจะมาให้บริการแก่พวกเราอีกทอดนึง 
สรุปแล้วก็จะมี MVNO Partner TOT3G 2100MHz ที่ว่ามาให้เราเลือกดังนี้ครับ
  • Loxley                               ภายใต้ชือ  I-Kool
  • I-KoolSamart                           "        I-Mobile3GX
  • IEC International                     "        IEC3G
  • 365 communications               "        365
  • M Consultant Corporation       "        Mojo3G

    ทีนี้บางคนอาจสงสัย อ้าวแล้วเจ้าภาพตัวจริงอย่างพี่ TOT ไม่ทำเองขายเองซะหละปล่อยให้คนอืนมาแบ่งรายได้ไปทำไม? ตรงนี้(อาจ)เป็นเพราะศักยภาพในด้านการตลาดหรือการโฆษณาที่ยังไม่สู้ดี ดูๆไปแล้วให้เอกชนมาทำการตลาดน่าจะรุ่งกว่ากัน ก็เลยเปิดซองแบ่งๆสัมปทานให้กับบริษัทที่สนใจจะเป็นผู้ให้บริการ MVNO มาทำการตลาด แต่ถ้าหากพูดในด้านระบบโครงข่ายแล้วTOTย่อมเก่งกว่าแน่นอน ครับเพราะหัวกิทิทางด้านโทรคมนาคมจะมากระจุกอยู่ที่นี่ซะส่วนใหญ่นั้นเอง  ซึ่งสุดท้ายแล้วธุรกิจ MVNO ไม่ใช่ใครจะมาทำก็ได้นะครับ ถ้าคึดจะทำเนี่ยจะต้องมีชือเสียงทางด้านการจักการเรื่องพวกนี้มาก่อน ต้องมีการตลาดแนวๆ ไม่ไปซ้ำกับของชาวบ้านเค้า เอาง่ายๆคือท่านต้องมีความสามารถที่เพียงพอ และที่สำคัญก็ต้องมีตังค์ในกระเป๋าหนาๆด้วย (และสุดท้ายก็คือ MVNO เกิดขึ้นมานานแล้วในตลาดต่างประเทศ )

Operator

Operator

ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่


ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ในประเทศไทย
AIS (เอไอเอส) หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์หลัก : http://www.ais.co.th
เอไอเอส เป็นบริษัทในเครือ อินทัชคอร์ปอเรชั่น (บริษัทเดิม : ชิน คอร์ปอเรชั่น : ชินคอร์ป) ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครือข่ายและบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย
DTAC (ดีแทค) หรือ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์หลัก : http://www.dtac.co.th/
ดีแทค เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งในประเทศไทย เดิมเป็นบริษัทในเครือยูคอม ปัจจุบันถือหุ้นใหญ่โดยบีซีทีเอ็น โฮลดิ้ง
Truemove H (ทรูมูฟ เอช) หรือ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด และ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด
เว็บไซต์หลัก : http://truemoveh.truecorp.co.th/
ทรูมูฟ เอช เป็นบริษัทลูกของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่ทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งในประเทศไทย
my By CAT (มาย)
เว็บไซต์หลัก : http://www.mybycat.com/
บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงเทคโนโลยี 3G ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT
TOT3G ทีโอที 3 จี หรือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์หลัก : http://www.tot3g.net/Home.aspx
ทีโอที 3 จี เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการลงทุนสร้างโครงข่าย 3G ในชื่อ TOT3G
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่นๆ ที่นำโครงข่ายของ TOT 3G มาบริหารต่ออีกทอดหนึ่ง หรือที่เรียกว่า MVNO โดยแนวความคิด MVNO (Mobile Virtual Network Operator) แปลเป็นไทยว่าผู้ให้บริการเสมือน หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือ “ผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่ไม่ได้วางโครงข่ายเอง แต่ ไปเหมาจากเจ้าของโครงข่ายมาให้บริการต่ออีกทอดหนึ่ง”
คลื่นความถี่ 3G ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2557)
ผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ในประเทศไทยปัจจุบันจะใช้คลื่นความถี่ 3G 3 คลื่น ได้แก่ 850 MHz, 900 MHz, 2100 MHz
  • AIS ให้บริการ 3G บนความถี่ 900 MHz และ 2100 MHz
  • TruemoveH ให้บริการ 3G บนความถี่ 850 MHz และ 2100 MHz
  • Dtac ให้บริการ 3G บนความถี่ 850 MHz และ 2100 MHz
  • my By CAT ให้บริการ 3G บนความถี่ 850 MHz
  • TOT 3G และ MVNO เจ้าอื่นๆ ให้บริการ 3G บนความถี่ 2100 MHz

Vendor

Vendor

ผู้ขายอุปกรณ์โทรคมนาคม เป็นบริษัทที่ขายอุปกรณ์และบริการที่ออกแบบระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งผลิตตัวอุปกรณ์ฮาทแวร์และพัฒนาโปรแกรมต่างๆสำหรับใช้งาน ผู้ขายอุปกรณ์โทรคมนาคมต้องช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งติดตั้งอุปกรณ์ ดูแลระบบ แก้ไขปัญหาต่างๆ  เช่น Alcatel Lucent , Ericsson , Huawei , ZTE , Nokia Simens Network , NEC เป็นต้น




BSS

BSS : Bassiness Support System

บทนำ
การปฏิวัติที่กำลังเปลียนโลก ที่ซึ่งทุกคนและทุกสิ่งสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้แบบเรียลไทม์ความสามารถในการสื่อสารกันได้ทุกหนทุกแห่ง เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง และเครือข่ายโมบายล์บรอดแบนด์ คือ สามตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดสังคมเครือข่าย [1] ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนตลาดโทรคมนาคมไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ไลฟ์สไตล์ออนไลน์ยุคใหม่ ทั้งสำหรับผู้ใช้ทั่วไปและลูกค้าองค์กรที่ต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบรวดเร็วและตลอดเวลา ได้สร้างความท้าทายอีกระดับสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย นวัตกรรมที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรองรับโมเดลทางธุรกิจรูปแบบใหม่ การให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีสำหรับลูกค้า รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการอีกด้วย
เพื่อความสำเร็จทางธุรกิจผู้ให้บริการจำเป็นต้องปรับเครือข่ายให้เปิดกว้างพร้อมเชื่อมต่อกับผู้เกี่ยวข้องอื่นในตลาด ตั้งแต่ผู้พัฒนาและให้บริการ OTT ไปจนถึงผู้บริโภคที่นิยมสื่อดิจิตอลทั้งหลายซึ่งล้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ (ecosystem) ภายในตลาดทั้งสิ้น จนเกิดเป็นภาพกว้างของตลาดรูปแบบใหม่ ดังรูปที่ 1 ในอนาคต ผู้ให้บริการเครือข่ายจะต้องปรับตัว และเปิดกว้างสำหรับการเชื่อมต่อหลากหลายประเภทซึ่งอาจแตกต่างไปจากเดิมและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอรวมทั้งต้องเตรียมพร้อมรองรับความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นจากการใช้อุปกรณ์และแอ็พพลิ-เคชั่นนานาชนิดยิ่งไปกว่าในปัจจุบัน
รูปที่ 1: โอกาสที่เปิดกว้าง ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
ในสถานการณ์เช่นนี้ การปิดช่องความแตกต่าง ระหว่างความต้องการทางธุรกิจกับความสามารถของระบบ Operational and Business Support System (OSS/BSS) ที่มีอยู่ โดยเฉพาะเมื่อโมเดลทางธุรกิจสำหรับอนาคตยังไม่มีความชัดเจนความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อความต้องการของตลาดที่อาจผุดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ จึงกลายเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากเป็นอันดับต้นๆ
ในสภาพแวดล้อมนั้น ความสามารถของระบบ OSS/BSS ซึ่งหมายรวมถึง ทรัพยากรบุคคล องค์กร กระบวนการ และระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องมีความตื่นตัวและพร้อมรองรับกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันจะทำให้โอเปอร์เรเตอร์สามารถ:
  • สร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีสำหรับลูกค้า โดยมีทางเลือกที่หลากหลายและบริการเฉพาะกลุ่มสำหรับอุปกรณ์มือถือทุกชนิด บนเครือข่ายทุกประเภท
  • ปรับปรุงประสบการณ์ในการใช้งานของลูกค้าให้เหมาะสม โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่อัพเดต ทั้งในด้านบริการที่ใข้ ปริมาณการใช้งาน และสถานะการใช้งานจริงแบบรีลไทม์
  • ประสานความร่วมมือกับผู้ให้บริการภายนอก ทั้งผู้พัฒนาระบบและพาร์ทเนอร์อื่น เพื่อสร้างผลกำไรทางธุรกิจที่เหมาะสม
  • หาโอกาสใหม่จากธุรกิจ machine-to-machine (M2M) โดยใช้ความสามารถของระบบ OSS/BSS ที่มีอยู่เดิม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กุญแจสำคัญในการสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า คือ โครงสร้างระบบ OSS/BSS ที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อสู่ภายนอก และทำงานร่วมกับเครือข่ายภายในได้อย่างใกล้ชิด ด้วยการใช้ความสามารถและข้อมูลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอันจะนำไปสู่ภาพที่ชัดเจนในทันทีว่า เครือข่ายกำลังถูกใช้งานในลักษณะใด
ความท้าทายของผู้ให้บริการในตลาดยุคใหม่
สังคมเครือข่ายได้ทำให้เกิดการเติบโตอย่างมหาศาลทั้งในด้านปริมาณและชนิด ของบริการที่โอเปอร์เรเตอร์สามารถเสนอให้ลูกค้า สำหรับแต่ละกลุ่มเป้าหมายย่อย ที่มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และก่อให้เกิดความต้องการบริการใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
ด้วยแนวโน้มที่เปลี่ยนไปจากการจ่ายเงินเป็นค่าสมาชิก ไปสู่แบบที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น เช่น การจ่ายเงินซื้อหนังหนึ่งเรื่อง หรือวีดีโอคลิปหนึ่งชิ้น ทำให้ระบบต้องมีความยืดหยุ่นในการคิดค่าบริการ ตามช่วงเวลา ตามคุณภาพ หรือตามความหนาแน่นของเครือข่าย ณ เวลาที่ใช้ ไปจนถึงการคิดค่าบริการตาม policy control หรือ flow control ที่ต้องการได้
การแข่งขันที่เข้มข้นผลักดันให้เกิดนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการทดลองตลาดต้องง่าย เร็ว และราคาถูก ระบบ OSS/BSS จึงต้องสามารถสนับสนุนแนวคิดนี้ได้ในทิศทางเดียวกัน คือ รวดเร็วและไม่แพง ตัวอย่างเช่น ธุรกิจ M2M ที่กำลังก่อร่างสร้างตัวขึ้นในหลายภาคส่วนผ่านห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ที่ซับซ้อน จำเป็นต้องอาศัยระบบ OSS/BSS ที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอ
บทบาทของผู้ให้บริการเครือข่ายในตลาดยุคใหม่ ต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลายรูปแบบ เพื่อความสำเร็จ และสร้างความแตกต่างให้แก่องค์กรเอกสารฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาสามปัจจัยหลัก ที่จะทำให้โอเปอร์เรเตอร์ประสบความสำเร็จได้ คือ:
  • การปรับปรุงขีดความสามารถขององค์กร ให้รวดเร็ว ทันต่อความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและทันต่อโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจผ่านการพัฒนาความสามารถของระบบ OSS/BSS
  • การบริหารจัดการ ให้เกิดการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้การสื่อสารที่สามารถโต้ตอบกันได้แบบรีลไทม์ ระหว่างลูกค้า พาร์ทเนอร์ เครือข่าย และความสามารถของระบบ OSS/BSS
  • การปรับปรุงโครงสร้างของระบบ OSS/BBS ให้เรียบง่าย เปิดกว้าง และยืดหยุ่นได้ ด้วยการนำเทคโนโลยีเดิม มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างโซลูชั่นผ่านกระบวนการต่างๆ

SMS

SMS : Short Message Service


เป็นบริการรับส่งข้อความของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถส่งข้อความสั้นๆ ไปยังอุปกรณ์สื่อสารอีกเครื่องหนึ่งได้ พบใช้ในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์มือถือ หรือโทรศัพท์พื้นฐานบางระบบ

Credit : http://th-telecom.blogspot.com/p/glossary.html
Credit : http://th.wikipedia.org/wiki/บริการข้อความสั้น

MMS

MMS : Multimedia Messaging Service


เป็นการรับส่งข้อมูลแบบตัวอักษร, รูปภาพ, เสียง หรือ วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถรองรับไฟล์รูปภาพได้ทั้งแบบ JPG, GIF หรือ BMP และไฟล์เสียงแบบ MP3, WAV หรือ MIDI โดยส่งจาก โทรศัพท์มือถือ ไปยัง โทรศัพท์มือถือ ที่รองรับ MMS ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้รับ สามารถเปิดดูข้อความรูปภาพ, อักษร หรือ เสียงจากตัวเครื่องได้ทันที

Credit : http://th-telecom.blogspot.com/p/glossary.html

SIM

SIM : Subscriber Identity Module Card




เป็นแผ่นอิเล็กทรอนิกส์ทำจากพลาสติกขนาดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ปลายข้างหนึ่งมีรอยตัด เปรียบไปแล้วซิมการ์ด ก็เหมือนบัตรประชาชนในเครื่องโทรศัพท์มือถือ ภายในชิปของซิม การ์ดจะบรรจุข้อมูลหมายเลขเครื่อง บริการที่เจ้าของซิมได้เลือกเอาไว้ ระบุตัวตนของโอปเรเตอร์ และบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

หน้าที่ของซิมการ์ด
1.ไม่ได้เก็บหมายเลขเครื่องโทรศัพท์ของเราครับ แต่เก็บหมายเลข IMSI (International Mobile Subscriber Indentity) ซึ่งเป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกับ SIM อื่น ๆ ทั่วโลกหมายเลขนี้จะผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ของเจ้าของ SIM โดยมีฐานข้อมูลเก็บที่ HLR (HLR เป็นเสมือนที่เก็บข้อมูล)เมื่อผู้ให้บริการได้รับหมายเลข IMSI จำนวนหนึ่ง ก็จะนำหมายเลขนี้ไปผูกกับหมายเลขเครื่องโทรศัพท์โดยเก็บที่ HLR แล้วก็สร้างซิมการ์ดออกขาย ให้เราได้เห็นเป็นเบอร์ต่างๆที่ต้องทำแบบนี้เพื่อสร้างระบบป้องกันการ copySIM เมื่อ SIM หายหรือทำลายตัวเองลง ท่านยังสามารถ ติดต่อกับ call center เพื่อให้ call center ดึงข้อมูลจาก HLR เพื่อนำมาสร้างซิมการ์ดใบใหม่ให้ ทำให้ใช้เบอร์เดิมได้
2.เก็บรหัสที่ใช้ป้องกันการปลอมแปลง SIM ซึ่งก็คือค่า Ki โดยค่านี้ไม่มีทางอ่านออกมาได้จาก SIM
3.เก็บข้อมูลสำคัญของ ผู้ให้บริการเครือข่าย เช่น ย่านความถี่ใช้งาน , application เสริม
4.เก็บข้อมูลส่วนตัวของเราได้ เช่น phone book
5.เก็บรหัสล๊อค SIM คือ PIN และ PUK

PIN คืออะไร
PIN ย่อมาจาก Personal Indentification Number เป็นหรัส 4-8 หลัก ใช้ป้องกันผู้อื่นมาใช้งานSIM โดยไม่ได้รับอนุญาต (สำหรับเครื่องใครที่ มีรหัส LOCK เครื่องได้ PIN เป็นคนละรหัสที่ใช้LOCK เครื่องโทรศัพท์เรานะ)
หากกดผิดเกิน 3 ครั้ง SIM จะ LOCK ตัวเอง ต้องใช้รหัส PUK
note เรากดผิด 2 ครั้ง ปิดเครื่อง แล้วเปิดมากดใหม่ เครื่องจะนับ 1 ใหม่ ;D

PUK คืออะไร
PUK ย่อมาจาก PIN Unlock Key เป็นรหัส 8 หลัก ที่ใช้ปลด LOCK SIM โดยปัจจุบันทางผู้ให้บริการเครื่อข่าย ไม่ส่งรหัสนี้ให้ลูกค้าเก็บไว้แล้ว หากลูกค้าต้องการทราบ ให้ติดต่อไปที่ call center ของแต่ละผู้ให้บริการ

นับตั้งแต่โทรศัพท์มือถือระบบจีเอสเอ็ม หรือระบบที่เราใช้กันทุกวันนี้ ส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้เครื่องสามารถโทรได้ก็คือ ซิมการ์ด (SIM Card) แต่ท่านผู้อ่านรู้หรือไม่ว่าซิมการ์ดที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ถึงแม้จะไม่ได้เห็นหน้ามันทุกวัน แต่มันก็มีส่วนสำคัญ และมีหน้าที่หลายอย่างรวมอยู่ในแผงวงจรเล็กๆ ที่น่าทึ่งของมัน

ขนาดของซิมการ์ด
ซิมการ์ดขนาดมาตรฐานที่เราซื้อหามาใช้ หรือบางเจ้าแจกให้ใช้ฟรีๆ แต่ไม่ว่าจะได้มาด้วยวิธีไหน ซิมการ์ดก็มีขนาดเท่ากันทุกค่าย วัสดุที่ใช้ทำเป็นพลาสติกเหนียว ขึ้นรูปออกมาเป็นแผ่นขนาดเท่านามบัตร หรือบัตรเอทีเอ็ม โดยมีความยาว 85.5 มม. กว้าง 53.9 มม. และมีความหนาเพียง 0.85 มม.

ถ้ายังจำกันได้ โทรศัพท์มือถือระบบจีเอสเอ็มรุ่นแรกที่ถือกำเนิดมาจะใส่ซิมการ์ดเข้าไปเข้าไปทั้งใบ เพราะสมัยนั้นตัวเครื่องยังมีขนาดใหญ่ แต่สมัยนี้ต้องแกะตัวซิมการ์ดขนาดเล็กออกมาจากแผ่น ซึ่งแผงวงจรทั้งหมดนี้มีขนาดที่เล็กมาก แต่ก็ยังมีขอบบางส่วนเป็นพลาสติก มีขนาดความยาวเพียง 15 มม. กว้าง 25 มม. สมัยก่อนถือว่ามีขนาดเล็กมาก แต่พอมาถึงสมัยนี้แล้วถือว่าขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับขนาดของการ์ดหน่วยความจำแบบไมโครเอสดีที่ใช้กันทั่วไป

ปัจจุบันซิมการ์ดของผู้ให้บริการบางรายมีขนาดกรอบเพียงครึ่งเดียว แต่ตัวซิมการ์ดยังมีเท่าเดิม อาจจะด้วยเหตุผลที่ต้องการทำให้แพ็คเก็จใช้กระดาษน้อยลง ใช้พลาสติกน้อยลง และช่วยลดโลกร้อนไปด้วยในตัว

หน่วยความจำของซิมการ์ด
ความจุของซิมการ์ดนั้นขึ้นอยู่กับรุ่นที่ผู้ให้บริการนำเข้ามาจำหน่าย แต่ส่วนมากแล้วจะมีความจุ 16 และ 32 กิโลไบต์ สังเกตได้จากด้านหลังซิมการ์ดจะมีเลข 16k หรือ 32k กำกับอยู่ ซึ่งบางรุ่นก็ไม่มีบอกให้ทราบ

สำหรับพื้นที่หน่วยความจำหลักๆ แล้วก็มีไว้สำหรับบรรจุข้อมูลสมุดโทรศัพท์ ข้อความเอสเอ็มเอส ซึ่งบางรุ่นก็มีความจุแตกต่างกันไปอีกเช่นกัน มีตั้งแต่ 200-1000 รายชื่อ และเก็บความข้อความเอสเอ็มเอสได้อีกตั้งแต่ 15-30 ข้อความ โดยสามารถตรวจสอบหน่วยความจำได้จากเมนูสมุดโทรศัพท์ หรือข้อความ

ระบบรักษาความปลอดภัยของซิมการ์ด
คุณอาจจะไม่ทราบว่าซิมการ์ดมีระบบรักษาความปลอดภัยในตัวมันเอง เพียงแต่ไม่ได้เปิดใช้งานเท่านั้นเอง แต่ก็สามารถเปิดได้อย่างง่ายๆ ในเมนูตั้งค่า แล้วเลือกไปที่ตั้งค่า PIN โดยกำหนดรหัสเป็นหมายเลข 4 หลักได้ตามต้องการ โดยรหัสเริ่มต้นของซิมการ์ดแต่ละค่ายก็จะไม่เหมือนกัน อย่างเช่นของ GSM Advance จะใช้รหัส 1234, DTAC ใช้รหัส 1800 และ True move ใช้รหัส 0000

เมื่อเปิดใช้งานรหัส PIN แล้ว ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง ตัวเครื่องจะถามรหัสก่อนเสมอ โดยคุณมีโอกาสใส่รหัสให้ถูกต้องเพียง 3 ครั้งเท่านั้น แต่ถ้ากดรหัสผิดเกิน 3 ครั้งแล้วก็จำเป็นต้องใช้รหัส PUK Code ปลดล็อค หากเป็นบางรุ่นจะมีรหัสติดมากับกรอบแผ่นซิมการ์ด แต่หากไม่มีก็ต้องโทรถามคอลล์เซ็นเตอร์ทางเดียว โดยบอกหมายเลขที่ปรากฎอยู่บนซิมการ์ด 19 หลัก อาจจะมาก หรือน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับบางรุ่น ก็จะได้รหัส 8 หลักมาปลดล็อคอีกที

แต่หากยังดันทุรังใส่รหัส PUK Code แบบผิดๆ อีก 10 ครั้ง ซิมการ์ดจะล็อคตัวเองทันที ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ซึ่งบางคนบอกว่าซิมการ์ดเสีย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เสีย เพียงแค่ซิมการ์ดล็อคตัวเองเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลในซิมการ์ดได้

หมายเลขโทรศัพท์ของคุณไม่ได้อยู่ในซิมการ์ด
คุณรู้หรือไม่ว่าหมายเลขโทรศัพท์ประจำซิมการ์ดของคุณไม่ได้อยู่ในซิมการ์ด เพราะการใช้งานจริงเมื่อเปิดโทรศัพท์ขึ้นมา ตัวเครื่องจะส่งหมายเลขซิมการ์ดไปที่ระบบ และระบบก็จะตรวจสอบทันทีว่าหมายเลขซิมการ์ดที่ส่งเข้ามานั้นเป็นหมายเลขอะไร ว่ากันง่ายๆ คือหมายเลขโทรศัพท์ของคุณอยู่ที่ระบบนั่นเอง เพราะไม่ว่าจะเปลี่ยนซิมการ์ดใบไหน เจ้าหน้าที่ก็จะกรอกข้อมูลหมายเลขซิมการ์ดใบใหม่เข้าระบบทุกครั้ง และคุณก็ใช้หมายเลขโทรศัพท์เบอร์เดิม ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ตามไปด้วย

ซิมการ์ดไม่จำเป็นต้องเสียบกับโทรศัพท์มือถือเสมอไป
สมัยก่อนมีเพียงโทรศัพท์มือถือเท่านั้นที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ แต่ปัจจุบันซิมการ์ดสามารถเสียบเข้ากับแอร์การ์ด (Air card) เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตจีพีอาร้เอส/เอดจ์ หรือ 3G ผ่านพอร์ทยูเอสบีก็ได้ บางรุ่นก็เอาไว้ใช้ต่ออินเตอร์เตอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว บางรุ่นก็มีชุดหูฟังไว้เสียบกับแอร์การ์ดเพื่อใช้โทรศัพท์ได้ด้วย

หรือหากเป็นเน็ตบุ๊ค หรือโน้ตบุ๊คบางรุ่นที่มีช่องเสียบซิมการ์ดก็นำมาเสียบเข้ากับตัวเครื่องได้ทันที ไม่จำเป็นต้องใช้แอร์การ์ด ก็สะดวกไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีการ์ดรีดเดอร์ (Card reader) บางรุ่นที่นอกจากจะอ่าน หรือเขียนข้อมูลลงการ์ดหน่วยความจำแล้ว ยังมีช่องใส่ซิมการ์ดสำหรับจัดการข้อมูลทั้งรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และเปิดดูข้อความเอสเอ็มเอสได้จากบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าขี้เกียจพิมพ์เบอร์โทรโดยใช้ปุ่มโทรศัพท์ก็พิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์ สะดวกดีเหมือนกันนะ

ซิมการ์ดหาย หรือเสีย ทำยังไงดี
ไม่ว่าซิมการ์ดของคุณจะสูญหาย หรือเสียจนไม่สามารถใช้งานได้ ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวว่าจะไม่ได้หมายเลขเดิม เพราะเจ้าหน้าที่จะใส่หมายเลขซิมการ์ดเข้าไปในระบบโดยใช้หมายเลขเดิมได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่อาจจะต้องเสียดายข้อมูลในซิมการ์ด ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์เพื่อนๆ หรือเบอร์ลูกค้า ข้อความที่หวานใจส่งให้

เอาล่ะ เข้าเรื่อง ถ้าซิมการ์ดของคุณหาย อันดับแรกเลยต้องรีบโทรไปคอลล์เซ็นเตอร์เพื่อระงับการใช้งานชั่วคราว เพราะซิมการ์ดที่หายไปอาจจะมีผู้หวังดีนำไปใส่เครื่องอื่นโทรให้ หรือที่แย่กว่านั้นคือโทรออกต่างประเทศที่มีค่าบริการมหาโหด อาจจะต้องแจ้งความเพื่อนำใบบันทึกแจ้งความไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บริการเพื่อขอทำซิมการ์ดใบใหม่

แต่ถ้าซิมการ์ดเสียหายจนใช้งานไม่ได้ก็เพียงแค่นำซิมการ์ดใบเก่าไปให้เจ้าหน้าที่เพื่อออกซิมการ์ดใบใหม่ ส่วนค่าบริการก็อาจจะไม่ต้องจ่ายเลยสักบาท เพราะผู้ให้บริการบางรายให้สิทธิ์เปลี่ยนได้ฟรีๆ อาจจะปีละ 1 ครั้ง หรือไม่จำกัดจำนวนครั้งก็แล้วแต่ความใจดีของผู้ให้บริการ

ซิมการ์ดไม่ใช่ของของเรา
คุณรู้หรือเปล่าว่าซิมการ์ดที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่ของๆ เรา แต่เป็นของผู้ให้บริการที่เราใช้บริการอยู่ ผู้ให้บริการสามารถเรียกคืน หรือเรียกเก็บซิมการ์ดเมื่อใดก็ได้ โดยอ่านจากคู่มือ หรือแผ่นพับที่ติดมากับซิมการ์ดที่เขียนระบุไว้อย่างชัดเจน แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีผู้ให้บริการรายใดเรียกเก็บเลยสักครั้งเดียว ดังนั้นให้คุณท่องในใจว่า “ซิมการ์ดไม่ใช่ของๆ เรา” ให้ขึ้นใจไว้ด้วย

วิธีดูแลรักษาซิมการ์ด
การดูแล และรักษาซิมการ์ดให้ใช้ไปได้นานๆ ก็ไม่ยากเลย เพียงแค่ไม่ต้องทำอะไร อ่าว ยังไงกันเนี่ย ที่จะบอกคือให้เสียบเอาไว้ในเครื่องตลอดเวลาดีที่สุด ไม่ต้องทำอะไรให้มากมายนัก เพราะซิมการ์ดที่อยู่ในโทรศัพท์จะโดนความชื้นเล่นงานน้อยมาก แต่หากต้องถอดเข้าถอดออกเพื่อนำไปใช้กับเครื่องอื่นอยู่บ่อยๆ ความชื้นอาจจะทำให้หน้าสัมผัสของซิมการ์ดที่เป็นทองเหลืองเกิดออกไซด์ หรือสนิม สังเกตได้ไม่ยากเพราะจะมีคราบเกาะติด วิธีทำความสะอาดก็หายางลบดินสอมาลบออก ง่ายๆ แค่นี้เอง


Credit : http://www.2poto.com/component
-------------------------------------------------------------------------------


Micro SIM 

เป็นเพียงแค่ซิมการ์ดที่มีส่วนของพลาสติกล้อมรอบที่เล็กกว่าซิมการ์ดแบบทั่วไป (miniSIM) นั่นเอง โดยในส่วนของแผงวงจรนั้นเรียกได้ว่าเหมือนกันแทบทุกประการ ขนาดของซิมการ์ดมาตรฐานที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน หรือ miniSIM นั้น จะมีความกว้าง 15 มิลลิเมตร และยาว 25 มิลลิเมตร ส่วน microSIM นั้นจะมีความกว้าง 12 มิลลิเมตร และยาว 15 มิลลิเมตร ส่วนความหนานั้นเท่ากัน คือหนา 0.76 มิลลิเมตร


ในเมื่อทราบว่าแผงวงจรของ microSIM และ miniSIM นั้นเหมือนกันแทบทุกประการ ก็เกิดคำถามต่อมาว่า เราจะสามารถนำ miniSIM ที่เรามีอยู่ มาทำการตัดด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะตัดด้วยกรรไกร คัตเตอร์ หรืออะไรก็ตาม ให้มีขนาดเท่ากับ microSIM แล้วไปเสียบใช้งานได้ทันทีเลยหรือไม่ คำตอบคือ สามารถทำได้ ด้วยเหตุที่ว่า ส่วนที่เราตัดออกเป็นเพียงแค่พลาสติกเปล่าๆ ที่ล้อมรอบแผงวงจรด้านในเท่านั้น จึงไม่ได้เกิดผลกระทบต่อการทำงานจริงๆ แต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น ในตอนนี้ก็เริ่มมีพ่อค้าหัวใส เริ่มทำอุปกรณ์สำหรับตัด miniSIM ให้เป็น microSIM โดยเฉพาะออกมาวางจำหน่ายแล้วอีกด้วย



ก็สรุปว่าเราสามารถนำ miniSIM เดิมๆ ที่ใช้กันทั่วไป มาตัดเป็น microSIM ได้ทันที แต่อย่างไรก็ตาม ล่าสุดก็มีบรรดาผู้ให้บริการในบ้านเราทั้ง เอไอเอส, ดีแทค และ ทรูมูฟ ต่างก็พร้อมใจกันเปิดตัว microSIM ของตนเองเพื่อตอบรับกระแส และความต้องการของผู้บริโภคอย่างทันควัน ซึ่ง microSIM ที่ทุกค่ายเปิดตัวมานั้น จะเน้นในเรื่องของ Data เป็นหลัก ไม่ได้เน้นในเรื่องของการโทรศัพท์แต่อย่างใด


--------------------------------

Nano SIM
เป็น SIM Card รูปแบบใหม่ ที่ถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กลงกว่า MICRO SIM ประมาณ 40% ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาใช้งานกับ NANO SIM มีขนาดบางลง ไม่มีความแต่ต่างในการใช้งานเพียงแค่ขนาดเล็กลงเท่านั้น


-----------------------------

SIM Card (Subsriber Identity Module) SIM Card เป็นตัวจัดการที่ตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ด้วยการแสดงพิสูจน์และแสดงตัวตนของผู้ใช้งาน ถ้าปราศจาก SIM เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ GSM จะไม่สามารถใช้งานได้ นอกจาก emergency calls , SIM เป็น smart card และมีวงจรอิเล็กโทรนิคส์และ memory chip ติดตั้งอยู่อย่างถาวรในแผ่น พลาสติก ขนาดเท่ากับบัตรเครดิต จะต้องใส่ SIM Card ไปในช่องอ่าน (reader) ในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ทุกครั้งก่อนใช้งาน เพื่อทำ routine check สำหรับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ที่มีขนาดเล็กมากๆ SIM ขนาดเท่าบัตรเครดิตจะมีขนาดใหญ่ไป, จึงมี SIM รุ่นเล็กออกมาเรียกว่า plug-in SIM เพื่อใช้งานกับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ที่มีขนาดเล็กมากๆ
parameters ต่างๆ ของเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM จะถูกเก็บไว้ใน SIM card รวมถึงข้อมูลในการใช้งานเครื่องโทรศัพท์ ดังเช่น เลขหมายโทรศัพท์ของผู้ใช้, SIM card จะพิสูจน์และยืนยันเครื่องโทรศัพท์ไปยังโครงข่าย GSM ดังนั้น SIM card อันหนึ่งแสดงถึงโทรศัพท์ GSM ส่วนบุคคลเครื่องหนึ่ง มันเป็นไปได้ที่เราจะเดินทางไปต่างประเทศได้โดยนำ SIM card ติดตัวไปเพียงอันเดียว และไปเช่าเครื่องโทรศัพท์ GSM ยังต่างประเทศ และใช้เครื่องโทรศัพท์ GSM โดยใส่ SIM card ที่เรานำติดตัวไป เท่านี้ก็เสมือนเรานำเครื่องโทรศัพท์ GSM ติดตัวไปด้วย ทุกครั้งที่เราใช้เครื่องโทรศัพท์ GSM โทรออก ไม่ว่าจะอยู่ประเทศใดก็ตาม บิลค่าโทรศัพท์ก็จะคิดจากเบอร์โทรศัพท์ของเรา ***( อัตราค่าโทรศัพท์ ที่นำเลขหมายของเราไปใช้ยังประเทศต่างๆ นั้น อาจมีอัตราในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเจ้าของโครงข่าย GSM ในแต่ละประเทศได้ตกลงเอาไว้ในอัตราเท่าไหร่ ท่านสามารถตรวจสอบอัตราต่างๆ เหล่านี้ได้ที่เจ้าของโครงข่าย GSM ที่ท่านได้ขึ้นทะเบียนเลขหมายของท่านอยู่)***
Short messages ต่างๆ ที่รับมาจากโครงข่าย GSM จะถูกเก็บไว้ใน SIM card ซึ่งในปัจจุบันนี้ SIM card เป็นหน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่มาก และเป็น microprocessors ที่ดี จะทำให้ SIM card สามารถนำไปใช้ให้บริการต่างๆ ได้มาก และมีคุณประโยชน์ได้มากขึ้นในอนาคต ดังเช่น credit และ service card เป็นต้น
ระบบการป้องกัน SIM card ถ้ามีบุคคลอื่นนำ SIM card ของเราไปใช้งาน ,SIM card จะมีระบบความปลอดภัยสร้างขึ้นไว้ภายใน ก่อนบุคคลอื่นจะสามารถใช้เครื่องโทรศัพท์ได้,การป้องกันโดยเราจะต้องใส่รหัสส่วนตัว 4 หลัก ที่เรียกว่า personal identification number (PIN) ,PIN จะถูกเก็บไว้ใน SIM card ถ้ามีการใส่ PIN code ผิด 3 ครั้งต่อเนื่องกัน SIM card จะ blocks ตัวมันเอง และจะเลิก blocks ให้สามารถใช้งานได้อีกครั้งถ้าใส่รหัส 8 หลัก ที่เรียกว่า personal unblocking key (PUK) ซึ่งถูกเก็บไว้ใน SIM card อีกเช่นกัน


Credit : http://channarongs.tripod.com/detail/gsm.htm

Telecommunication

Telecommunication : การสื่อสารโทรคมนาคม

หมายถึง การติดต่อสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างตัวประมวลผล โดยผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต้นทางและปลายทางที่ห่างกัน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ ตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นในแต่ละอุปกรณ์

Credit : http://www.thaiall.com/mis/mis08.htm

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


โทรคมนาคม (Telecommunication) ได้รับการนำเสนอไว้ในแหล่งข้อมูลหรือจากการนิยามของผู้รู้และองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านเทคนิค ประวัติศาสตร์และภาษาจำนวนมาก เช่น
               1) คำว่า “โทร” มีพื้นฐานมาจากคำว่า “tele” ในภาษากรีก หมายถึง “ไกลออกไป (far away)” และคำว่า “คมนาคม (Communication)” มาจากภาษาละตินพื้นฐานของคำ “Communicare” หมายถึง การใช้งานร่วมกับผู้อื่น ความหมายรวมพื้นฐานจึงได้รับการนำเสนอว่า “การสื่อสารที่ครอบคลุมระยะทางที่ไกลออกไป” [๑]

              2) จากคำศัพท์มาตรฐานของสมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ให้คำนิยามโทรคมนาคมว่า “การสื่อสัญญาณระยะทางไกลเช่น โดยใช้โทรเลข วิทยุหรือโทรทัศน์ เป็นต้น (the transmission of signals over long distance, such as by telegraph, radio, or television)”[๒]

             3) พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุว่า “โทรคมนาคม” หมายถึง การส่ง การกระจาย หรือการรับภาพ เครื่องหมาย สัญญาณ ข้อเขียน เสียง หรือการกระทำให้เข้าใจด้วยวิธีใดๆ โดยอาศัยระบบสาย วิทยุสื่อสารหรือระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ [๓]

              4) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ได้ให้คำจำกัดความอย่างเป็นทางการครั้งแรกต่อคำว่าโทรคมนาคมในปี พ.ศ.๒๔๗๕(ค.ศ.1932)ว่า“การสื่อสารใดๆ ไม่ว่าจะด้วยโทรเลขหรือโทรศัพท์ เพื่อส่งสัญลักษณ์ สัญญาณ ข้อความ ภาพและเสียงใดๆ ทางสายส่งคลื่นวิทยุ หรือระบบอื่นๆ หรือกระบวนการส่งสัญญาณทางไฟฟ้าหรือการมองเห็น(เสาส่งสัญลักษณ์)ต่าง ๆ(any  telegraph or telephone
communication of  signs, signals, writings, images and sound of any nature , by wire, radio, or other system or processes  of electric or
visual (semaphore) signaling)”

                 ต่อมาในภายหลังไอทียู (ITU) ได้ปรับเปลี่ยนคำนิยามใหม่เป็น “การส่งแพร่กระจายหรือการรับสัญลักษณ์ สัญญาณ ข้อความ ภาพและเสียงใดๆหรือหมายถึงกระบวนการที่คิดค้นขึ้นเพื่อการใช้งานคุณสมบัติปกติของสายส่งคลื่นวิทยุ การมองเห็น หรือระบบทางแม่เหล็กไฟฟ้า(any transmission,
emission, or reception of signs, writings, images, and sounds; or intelligences of any nature by wire, radio, visual, or other electromagnetic system)” [๔]
               5) คำว่า “Telecommunication” ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นเป็นทางการ โดยพื้นฐานมาจากหนังสือของเอดวาร์ด เอสโทนี (Edouard Estaunie) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๐๕ – ๒๔๘๕ (ค.ศ. 1862-1942) โดยหนังสือดังกล่าวมีชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศส “Traité pratiqus de télécommunication electrique (télégraphie-téléphonie)” ซึ่งได้นิยามความหมายของคำว่าโทรคมนาคมไว้อย่างมีข้อจำกัด คือ “การแลกเปลี่ยนข่าวสารด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า (Information exchange by means of electrical signals)” อันเป็นยุคเริ่มต้นที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นหลักสำหรับระบบการสื่อสารในสมัยนั้น [๔] (ซึ่งยังมิได้มีการใช้สัญญาณประเภทอื่นเช่น แสงเพื่อการสื่อสาร)
              6) คำจำกัดความที่เด่นชัดของการรวบรวม“ประวัติโทรคมนาคมโลก (The Worldwide History of Telecommunications)” โดยแอนทัน ฮวร์ดเดอร์มัน (Anton A.Huurdeman) นิยามให้โทรคมนาคมคือ“เทคโนโลยีแขนงหนึ่งซึ่งใช้ช่วยลดระยะทางระหว่างทวีป ประเทศหรือระหว่างบุคคล” [๔]

               7) พจนานุกรมเคมบริดจ์ แอดวานซ์ เลิร์นเนอร์ (Cambridge Advanced Learner’s Dictionary) ระบุว่า “โทรคมนาคม” หมายถึง “การส่งและการรับข้อความข้ามระยะทาง ตัวอย่างที่เด่นชัดเช่น โทรศัพท์ วิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น” (the sending and receiving of messages over distance, especially by telephone, radio and television.)[๕]

               8) พจนานุกรมคอลลินซ คูบิลด แอดวานซ์ เลิร์นเนอร์ (Collins - Cobuild Advanced Learner’ s English Dictionary 2006 ) ระบุว่า
“โทรคมนาคม” หมายถึง “เทคโนโลยี ของการส่งสัญญาณและข้อความในระยะทางไกลด้วยการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุหรือโทรศัพท์ ”
(Telecommunications is the technology of sending signals and messages over long distances using electronic equipment, for example by radio and telephone.) [๖]

               9) สารานุกรมบริแทนนิกา(Britannica) ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า“วิทยาการและการดำเนินการของการส่งข่าวสารด้วยวิธีการทางแม่เหล็กไฟฟ้า โดยข่าวสารหลากหลายประเภท สามารถส่งผ่านระบบโทรคมนาคมได้ ซึ่งรวมทั้งเสียง และเสียงดนตรี ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์ข้อมูลและการประยุกต์อื่นๆ ทางคอมพิวเตอร์ รวมถึงการส่งข้อมูลทางไกลต่าง ๆ (Science and practice of transmitting information by electromagnetic means. A wide variety of information can be transferred through a telecommunications system, including voice and music, still-frame and full motion pictures, computer files and applications, and telegraphic data.)” [๗]
     
             10) ความหมายจากพจนานุกรมของเวปเสทอร์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ (Merriam - Webster) ให้คำนิยามโทรคมนาคมที่กระชับไว้ว่า “การสื่อสารที่มีระยะทาง(Communication at a distance)” [๘]

    จากความหมายของคำว่าโทรคมนาคมทั้งหมดดังกล่าว เกิดจากความคิด ที่จะกำหนดหรือนิยามอันอยู่บนพื้นฐานของสองมูลเหตุหลัก คือ ทางด้าน “ภาษาศาสตร์” ซึ่งอาจมีต้นกำเนิดของคำในภาษาท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับสภาพสังคม วัฒนธรรม และความก้าวหน้าของสังคมนั้นๆ ที่อาจแตกต่างกันไปด้วย (เช่น communicare [๑] communicatio [๔] ในภาษาละติน) แต่อย่างไรก็ตามในแต่ละสังคมและภาษาทั่วไปได้ให้ความหมายถึงนัยที่คล้ายกัน รวมทั้งประเด็นของมูลเหตุ “เทคโนโลยีร่วมสมัย” ที่ปรากฏมีใช้อยู่ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งทำให้ความหมายของ “โทรคมนาคม” อาจต้องปรับตามให้ทันสมัยต่อมาในภายหลังด้วย(เช่น ความหมายจาก จ) ที่ยังมิได้รวมเอาเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่กว่าเข้าไปด้วย) โดยรวมแล้วของความหมายทั้งทางด้าน “ภาษา” และ “เทคโนโลยี” ดังกล่าวนี้สามารถนำมาพิจารณาร่วมกันให้ครอบคลุมทั้งทางด้านภาษา พื้นฐาน ความหมายและเทคโนโลยีร่วมสมัยหรือเทคโนโลยีที่ได้รับการคาดการณ์สำหรับประยุกต์ใช้กับระบบโทรคมนาคมแล้วด้วย ดังนั้นสารานุกรมโทรคมนาคมไทยฉบับ “ปั้นให้เกิด”  ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ นำเสนอ
ความหมายของคำว่า “โทรคมนาคม” คือ
             
      “การสื่อสารที่ช่วยลดระยะทางระหว่างบุคคลอุปกรณ์หรือระบบอัตโนมัติที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการส่งแพร่กระจายหรือนำพาด้วยวิธีการทางกลไฟฟ้าแสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ทางควอนตัมสำหรับการสื่อสัญญาณ สัญลักษณ์ ข้อความ เสียง ภาพหรือสื่อประสมให้ผู้รับ หรือระบบสามารถเข้าใจได้”
[๑] Göran Binersson, Principles of Lightware Communications, Wiley, England, 1996.
[๒] Jame Radatz, The IEEE Standard Dictionary of Electrical and Electronics Frames, 6 th ed., IEEE, New York, 1996
[๓] ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖.
[๔] Anton A. Huurdeman, The WorldWide History of Telecommunications, John Wiley & Sons, New Jersey, 2003
[๕] Cambridge Advanced Learner's Dictionary, Cambridge University Press, 2003
[๖] Collins Cobuild Dictionary Advanced Learner’s English Dictionary, HarperCollins Publishers, 1997 and 2006.
[๗] Encyclopedia Britannica, USA: Encyclopedia Britannica Incorporated, 2003.
[๘] Merriam-Webster's Dictionary of English Usage, USA: Merriam-Webster, 1994.
[๙] IEEE Communications Society, A Brief History of Communications, USA: IEEE Communications Society, 2002.