7.31.2558

KPI

KPI : Key Performance Indicator 

หมายถึง ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน โดยจะแสดงให้เห็นรายละเอียดในความสำเร็จหรือล้มเหลวของงานนั้นๆ

KPI เป็นเทคนิควิธีการหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
KPI เกิดจากการรวมกันของคำ 3 คำที่มีความหมายในตัวเอง คือ Key, Performance และ Indicator
Key หมายถึง จุดหลัก หัวข้อหลัก หรือ เป้าหมายหลัก
Performance หมายถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือ ผลของการกระทำ
Indicator หมายถึง ตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัด

เมื่อรวมกันแล้วสามารถกล่าวได้ว่า KPI คือดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของการทำงานโดยการวัดผลตามหัวข้อต่างๆที่กำหนด

หลักการนำ KPI มาใช้งานประเมินผลงาน
สมัยก่อนการประเมินผลงานอาจจะประเมินกันแบบลวกๆ ไม่ละเอียด ทำให้เกิดคำถามขึ้นมามากมายว่าผู้บังคับบัญชาเอาเกณฑ์อะไรมาตัดสิน ทั้งเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลและประสิทธิผลขององค์กรหรือหน่วยงาน ทุกอย่างจะอยู่ที่การประเมินและตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาเพียงอย่างเดียว ซึ่งแน่นอนว่าเกิดปัญหาตามมามากมาย

ด้วยปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงต้องค้นหาดัชนีชี้วัดแบบละเอียดมาใช้งานแทนการตัดสินใจแบบลวกๆของคนเพียงคนเดียว ซึ่งปัจจุบันนิยมนำระบบ KPI มาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการใช้ KPI ในการวัดประสิทธิภาพของบุคคลและประสิทธิผลขององค์กรนั้น จะต้องจัดทำรายละเอียดของหัวข้อที่จะทำการประเมินผลไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดคะแนนของแต่ละหัวข้อเหล่านั้นไว้ด้วย เมื่อถึงเวลาประเมินผู้บังคับบัญชาต้องประเมินตามหัวข้อนั้นๆพร้อมให้คะแนน เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยจะต้องนำผลการประเมินนั้นมาแจ้งให้ผู้ถูกประเมินทราบ และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกประเมินได้คัดค้านในหัวข้อที่ตนเองไม่เห็นด้วยกับผลการประเมิน

ด้วยวิธีการนี้จะเห็นว่าการประเมินจะเป็นไปอย่างโปร่งใสและเปิดเผย มีความยุติธรรมทั้งต่อตัวผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน

สำหรับการนำ KPI มาวัดประสิทธิผลขององค์กรก็เช่นเดียวกับการใช้ KPI ประเมินบุคคล คือต้องจัดทำหัวหลักและหัวข้อย่อยที่ต้องการประเมิน พร้อมน้ำหนักหรือคะแนนในแต่ละหัวข้อ เมื่อถึงรอบระยะเวลาก็ทำการประเมิน และเปิดโอกาสให้ผู้ทำงานในองค์กรมีโอกาสได้รับรู้รายละเอียดการประเมินและมีโอกาสได้สนับสนุนหรือคัดค้านผลการประเมินนั้นด้วย

ข้อควรระวังในการนำระบบ KPI มาใช้งาน
เนื่องจาก KPI เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยตรงและแบบละเอียด ดังนั้นอาจจะโดนต่อต้านจากผู้ปฏิบัติงานในระยะแรก ดังนั้นผู้ประเมินต้องมีความอดทนและกล้าที่จะประเมินแบบตรงไปตรงมา ไม่มีความลำเอียง แต่เมื่อทุกคนในองค์กรยอมรับการประเมินแบบนี้แล้ว ประสิทธิผลโดยรวมขององค์กรจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

Credit : http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/kpi/

7.23.2558

Numbering Plan

Numbering Plan

Numbering Plan คือรูปแบบของกลุ่มตัวเลขใดๆ เพื่อระบุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น numbering plan for
IMSI,IMEI,SIM,ISPC เป็นต้น ยกตัวอย่าง IMEI เช่น IMEI ผมหมายเลข
Information on IMEI 35152100XXXXXXX ก็จะรู้ได้ว่า
เป็น IMEI ของ โทรศัพท์ยี่ห้อ Nokia รุ่น N-Gage ซึ่ง implement GSM Phase 2/2+
ซึ่ง IMEI นี้ออกโดย BABT (British Approvals Board of Telecommunications) จาก UK


Telephone Numbering Plan คือการจัดแบ่ง/รูปแบบ สำหรับระบบโทรศัพท์

Numbering Plan Indicator (NPI) เป็นกลุ่มข้อกำหนด ITU (International Telecommunication Union) ในการกำหนดหมายเลข ประกอบไปด้วย
 NPI Description Standard
 0 unknown   
 1 ISDN Telephony E.164
 2 generic 
 3 data X.121
 4 telex F.69
 5 maritime mobile E.210 & E.211
 6 land mobile E.212
 7 ISDN/mobile E.214

โดยส่วนใหญ่ การจัดแบ่งหมายเลขโทรศัพท์ เรามักใช้ตาม E.164 แต่ในบางพื้นที่ จะใช้ตามรูปแบบของตนเอง เช่น
NANP(North American Numbering Plan) ซึ่งผู้ดูแลคือ NANPA((North American Numbering Plan Administration) ใช้ในแถบอเมริกาเหนือเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้
Anguilla, Antigua and Barbuda, Bahamas, Barbados, Bermuda, British Virgin,Islands, Canada, Cayman Islands, Dominica, Dominican Republic, Grenada, Jamaica, Montserrat, Saint Kitts และ Nevis, Saint Lucia, Saint Vincent และ the Grenadines, Trinidad and Tobago, Turks and Caicos Islands,
United States - รวมไปถึง Guam, Northern Mariana Islands, Puerto Rico, U.S. Virgin Islands และ American Samoa

Country Codeปัจจุบันเราแบ่งหมายเลขโทรศัพท์ออกเป็น 9 โซน ดังนี้
Zone 1 – North American Numbering Plan Area
Zone 2 – Mostly Africa
Zone 3 – Europe
Zone 4 – Europe
Zone 5 – Mexico, Central and South America, West Indies
Zone 6 – South Pacific and Oceania
Zone 7 – Russia and its vicinity (former Soviet Union)
Zone 8 – East Asia and Special Services
Zone 9 – West, South and Central Asia, Middle East

รูปแบบของหมายเลขโทรศัพท์ (ตาม E.164) จะประกอบไปด้วย

cc=1-3 หลัก
National Destination Code (optional) และ Subscriber Number 12 หลัก
ดังนั้นเลขหมายจะไม่เกิน 15 หลัก

ตัวอย่างหมายเลขในไทย
Area Code:            1-3 digits
Subscriber Number:    6-7 digits
Trunk Prefix:         0
International Prefix: 001

       [Thailand mobile numbers are 1 + 7D]
       121 cellular mobile - Bangkok area
       131 cellular mobile - west of Bangkok area
       132 cellular mobile - east of Bangkok area
       141 cellular mobile - northeast area
       142 cellular mobile - east area
       151 cellular mobile - northern area
       152 cellular mobile - west area
       171 cellular mobile - far southern area
       172 cellular mobile - southern area
       2   Bangkok, Nonthaburi, Pathum Thani, Samut Prakan
       3x  Central Region
       32  Ban Pong, Bang Saphan, Cha-Am, Chom Bung, Damnoen Saduak, Hua Hin
       32  Phetchaburi, Prachuap Khiri Khan, Pran Buri, Pak Tho, Photharam
       32  Ratchaburi, Tha Yang, Thap Sakae
       34  Amphawa, Ayuthaya, Ban Phaeo, Ban Phraek, Bang Ban, Bang Pa-Han
       34  Bang Pa-In, Bang Pla Ma, Bang Sai, Bang Shai, Dan Chang, Don Chedi
       34  Duambangnangbuach, Kamphaeng Saen, Kanchanaburi, Krathum Baen
       34  Lat Bua Luang, Maharat, Nakhon Chaisi, Nakhon Pathom, Saeng Choo To
       34  Sai Yok, Sam Phran, Samut Sakhon, Samut Songkhram, Phachi, Phak Hai
       34  Phra-In Racha, Sam Chuk, Sena, Song Phi Nong, Sri Prachan
       34  Sungkhla Buri
       34  Suphan Buri [incorrectly listed/different from Suphanburi 35?]
       34  Tha Maka, Tha Muang, Tha Rua, Thong Pha Phum, U Thong, Wang Noi
       34  Wiset Chai Chan
       35  Suphanburi
       36  Ban Mi, Ban Mo, Kaeng Khoi, Khok Samrong, Lam Narai, Lop Buri
       36  Muak Lek, Nongkhae, Phra Phutthabat, Saraburi, Sing Buri
       37  Ban Nai, Nakhon Nayok, Sa Kaeo, Ta Phraya, Wang Nam Yen
       37  Watthana Nakhon
       38  Ao Udom, Ban Chang, Ban Khai, Bang Bung, Bang Khla, Bang Pakong
       38  Bang Saen, Chachoengsao, Chon Buri, Klaeng, Mabtaput, Na-Glua
       38  Na-Jomtien, Nong Yai, Pattaya, Phan Thong, Phanat Nikhom
       38  Phanom Sarakham, Pluak Daeng, Rayong, Sattahip, Si Racha
       39  Chanthaburi, Khlung, Tha Mai, Trat
       4x  Northeastern Region
       42  Chiangkhan, Khumphawapi, Kudbak, Kusuma, Loei, Mukdahan
       42  Nakhon Phanom, Non Bua Lam Phu, Phang Khon, Phon Phisai
       42  Sakon Nakhon, Sawang Daen Din, Toa-Ngoi, Udon Thani, Wangsaphung
       42  Wanon Niwet
       43  Ban Phai, Chonnabot, Chum Phae, Kalasin, Khao Suan Kwang, Khon Kaen
       43  Kosum Phisai, Kra Nuan, Maha Sarakham, Mancha Khiri, Nam Phong
       43  Nongrua, Phon, Phu Wiang, Prayeah, Roi Et
       44  Ban Gruad, Buri Ram, Chaiyaphum, Chatturat, Huy Raj, Klang Dong
       44  Lam Plai Mat, Nahkhon, Nang Rong, Non Sung, Nongki, Pak Chong
       44  Pak Thong Chai, Phimai, Phu Khieo, Phutaisong, Ratchasima, Satuk
       44  Sikhiu, Soeng Sang
       45  Amnat Charoen, Chom Phra, Det Udom, Kantharalak, Khong Chiam
       45  Phibun Mangsahan, Prasat, Rattanaburi, Samrongtab, Si Sa Ket
       45  Sikhoraphum, Surin, Tha Tum, Trakanphutphon, Ubon Ratchathani
       45  Warin Chamrap, Yaso Thon
       5x  Northern Region
       53  Chiang Mai, Chiang Rai, Chom Thong, Doi Tung, Fang, Mae Chan
       53  Mae Hong Son, Mae Rim, Mae Sai, Mae Suai, Mai Sa Riang, Pa Sang
       53  San Kamphaeng, San Pa Tong, San Sai, Saraphi
       54  Den Chai, Ko-Kha, Lampang, Nan, Phayao, Phrae, Sungmen, Thoen
       54  Wangnua
       55  Bang Rakam, Kamphaeng Phet, Krathum Ban, Lankrabua, Laplae
       55  Mae Sot, Phichai, Phitsanulok, Samngao, Sawankhalok, Sukhothai
       55  Tak, Tron, Uttaradit, Wang Thong
       56  Banphot Phisai, Chai Nat, Chumsaeng, Hankha, Lanyao, Nahkon Sawan
       56  Non Chang, Phayuha Khiri, Phetchabun, Takhli, Uthai Thani
       7x  Southern Region
       73  Betong, Khok Pho, Narathiwat, Pattani, Ruso, Sai Buri, Sungai Kolok
       73  Sungai Padi, Tak Bai, Tanyongmat, Yala
       74  Chana, Hat Yai, Khao Chaison, Khlong Ngae, Khuan Khanun, Langu
       74  Na Thawi, Padang Besar, Phatthalung, Sadao, Sathingphra, Satun
       74  Songkhla, Tanhot, Tha Rua Nam Luk
       75  Chawang, Chien Yai, Huai Yot, Kantang, Krabi, Lan Saka, Na Bon
       75  Nakhon Si Thammarat, Pak Phanang, Trang, Yan Ta Khao
       76  Ao Makham, Chalong, Kathu, Phangnga, Phuket, Takua Pa, Thalang
       77  Ban Na San, Chaiya, Chumphon, Ko Samui, Lang Suan, Phunphin
       77  Ranong, Sawi, Surat Thani, Thung Tako
       88  toll free
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/18764

7.22.2558

SRVCC-IWF

SRVCC-IWF : Single Radio Voice Call Continuity-Interworking Function

ทำหน้าที่เป็น Mobile Soft switch และเลือก MSCว่าจะใช้งานตัวไหน เพราะ UE ต้องการทำ Handover ขอไปที่ MME แต่ UE รู้ว่าต่อไปจะไปจับ Call ID ไหนสัญญาณแรงกว่า ก็จะส่งคำขอไป
SRVCC-IWF เพื่อความแน่ใจในการใช้สายอย่างต่อเนื่อง เมื่อ UE ย้ายจากเครือข่าย LTE ไปเครือข่าย 2G/3G ว่าได้รับการขอทำ Location Update จาก UE ตัว SRVCC-IWF ก็จะเปลี่ยนการ access location ที่มาจาก MME ไปเป็น MSC server ตามคำขอที่ระบุ Call ID มาจาก UE

7.21.2558

Anchor AS

Anchor AS : Anchor Application Server
อังเคิล เอเอส ทำหน้าที่ Routing Call ของหมายเลขที่เป็น VoLTE Subscriber ให้สามารถโทรออก-รับสาย ได้ระหว่าง CS/3G กับ IMS/4G 

แบบที่1 หาเส้นทาง VoLTE Subscriber ทำการโทรไปยัง IMS domain โดยVoLTE Subscriber ยังอยู่ในระบบ CS/3G อยู่ IN ก็จะเรียกไปยัง Anchor AS เพื่อส่งไปยัง IMS เมื่อVoLTE Subscriber ทำการโทรออก หรือ รับสายในระบบCS/3Gเอง

แบบที่2 หาเส้นทาง VoLTE Subscriber โดย IMS domain ถูกเรียกเข้ามาโดย IN CS/3G ก็จะเรียกไปยัง Anchor AS เพื่อส่งมายัง IMS เมื่อVoLTE Subscriber รับสายการโทรเข้ามาจาก CS Subscriber/3G

IP-SM-GW

IP-SM-GW : IP Short Message Gateway

IP-SM-GW เป็น Application ใน ATS คือจัดเตรียม short message ระหว่างระบบ IMS/4G และ CS/3G ให้สามารถสื่อสารกันได้ เพราะรูปแบบ SMS คนละแบบกัน โดยทำหน้าที่แก้ไขรูปแบบ SMS ใน IMS/4G ที่เป็น SIP Message ให้เปลี่ยนเป็น Text Message ในระบบ CS/3G

7.06.2558

IN

IN : Intelligent Network
เครือข่ายอัจฉริยะ (อังกฤษIN ; Intelligent Network) เป็นเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์ ที่ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างบริการต่าง ๆ ที่ทำงานบนเครือข่ายโทรศัพท์ เช่น บริการโทรฟรี บริการแสดงความคิดเห็น (Televote)

ส่วนประกอบ[แก้]

SSP (Service Switching Point)
คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสายสวิตชิ่ง (Circuit Switching) เข้ากับส่วนของ IN โดยทำหน้าที่กระตุ้นการเริ่มต้นของบริการ จากหมายเลขที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยมีการจับคู่หมายเลขนำ Prefix ต่างๆ เข้ากับเลขที่เรียกว่า Service Key เช่น บริการแสดงความคิดเห็นมี Service Key เป็น 9, บริการโทรฟรีมี Service Key เป็น 10 เป็นต้น ซึ่งเมื่อ ผู้ใช้กดหมายเลขที่ตรงกับ Prefix จะเป็นการกระตุ้นการทำงานของบริการที่เก็บใน SCP
STP (Signaling Transfer Point)
ทำหน้าเป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณ INAP (Intelligent Network Application Protocol) จากทุกๆ SSP เข้าด้วยกัน เพื่อลดความซับซ้อนของการเชื่อมต่อโดยต่อจากทุกๆ SSP เข้ากับ STP
SCP (Service Control Point)
ทำหน้าที่เก็บ Service Logic Program (SLP) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะควบคุมลำดับการทำงานของบริการ (Call Flow) ซึ่งจะการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทาง INAP หรือ TCP/IP เพื่อใช้พิจารณาเงื่อนไขในการทำงานและควบคุมอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ ในระบบ
SMP (Service Management Point)
ทำหน้าเก็บข้อมูลจากการทำงานของ SCP เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการของผู้ใช้ CDR (Call Detail Record)
IP (Intelligent Peripheral)
เป็นอุปกรณ์เสริมการทำงานของ IN เช่น การเล่นเสียงพูดประกอบการทำงานของบริการเพื่อโต้ตอบกับการใช้งานหรืออธิบายการทำงาน, ตรวจจับสัญญาณ DTMF หรือ การจำแนกเสียงพูด (Voice Recognition) เป็นต้น โดยมีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับปุ่มที่ผู้ใช้กดหรือเสียงที่พูดเพื่อไปใช้ในการทำงานของบริการ โดยการควบคุมของ SCP
SCE (Service Creation Environment)
เป็นเครื่องที่จัดเตรียมสภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนา, ทดสอบและแก้ไขบริการ (SLP) ก่อนที่จะนำไปติดตั้งใช้งานจริงที่ SLP ซึ่งโดยปกติเครื่องมือที่ใช้สร้าง SLP มักจะเป็นโปรแกรมเฉพาะกิจที่ผู้ผลิต IN เป็นผู้สร้างขึ้น โดยมักอยู่ในรูปแบบ GUI ที่ใช้สร้าง Block Diagram ของบริการ แล้วจึงแปลงให้เป็นสคริปเพื่อนำไปคอมไพล์ให้เป็น SLP ที่จะใช้งานต่อไป

Credit : https://th.wikipedia.org/wiki/เครือข่ายอัจฉริยะCredit : http://telecomedu.blogspot.com/2013/01/win-principle.html