12.25.2557

IDD

IDD : International Direct Dialing


IDD โทรทางไกลระหว่างประเทศ

IDD หรือบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ สามารถแบ่งตามระบบการให้บริการที่มีการใช้งานแพร่หลายในปัจจุบัน ได้ 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
  1. ระบบต่อตรง (International Direct Dialing : IDD) ผ่าน Access Code หรือ IDD Prefix ให้บริการต่อตรงอัตโนมัติผ่านระบบเลขหมาย 3  หลัก (Three Digits Number) ผ่านจากการใช้บริการผ่านโทรศัพท์ประจำที่ (Public Switched Telephone Network : PSTN) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านไปยังชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แล้วเชื่อมต่อไปยังเคเบิลใยแก้วใต้น้ำต่อไป
  2. ระบบการสื่อสารทางเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (VoIP) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตโปรโตคอล (Internet Protocal : IP) ซึ่งเป็นการใช้บริการผ่ารโทรศัพท์ประจำที่ (Public Switched Telephone Network : PSTN) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านไปยังชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แล้วเชื่อมต่อไปยังเกตเวย์ (Gateway) และโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศต่อไป ระบบ VoIP มีทั้งที่มีเลขหมายและไม่มีการใช้เลขหมายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่มีระบบ IDD มักจะมีการให้บริการผ่านระบบ VoIP ที่มีเลขหมายควบคู่กัน
  3. ระบบบัตรโทรศัพท์ (International Calling Card) เป็นการโทรออกต่างประเทศผ่านระบบเชื่อมต่อส่วนกลาง ซึ่งจะใช้เลขหมายกลางของศูนย์บริการ (Access Number) เป็นเลขหมายศูนย์กลางสำหรับการเชื่อมต่อไปยังเกตเวย์ โดยผู้ให้บริการในระบบนี้จะอาศัยการเช่าช่วงช่องสัญญาณจากเจ้าของโครงข่ายและเกตเวย์ เพื่อเชื่อมต่อออกต่างประเทศ
ผู้ให้บริการ ในตลาดบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ เมื่อจำแนกตามบริการที่มี IDD Prefix และไม่มี IDD Prefix ดังนี้
  • ผู้ให้บริการที่มี IDD Prefix
ผู้ให้บริการIDD Prefix Number ผ่านเทคโนโลยี TDMIDD Prefix Number ผ่านเทคโนโลยี VoIP
บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT)
001, 100
009, 00900
บมจ.ทีโอที (TOT)
007
008
บจ.ดีแทค เนทเวอร์ค (DTAC Network)
004

บจ.เอไอเอ็น โกลบอลคอม (AIN)
005
00500
บจ.ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมิวนิเคชั่น (TIC)
006
00600
บจ.ทริปเปิลที โกลบอล เน็ท (Triple T)
102


ตารางผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่มีเลขหมาย IDD Prefix 
  • ผู้ให้บริการที่ไม่มี IDD Prefix แบ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ประเภทบริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แบบที่ 1 มีจำนวน 50 ราย และผู้ได้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเตอร์เน็ตประเภท VoIP โดยไม่ใช้เลขหมาย มีจำนวนประมาณ 60 ราย
หากพิจารณาถึงอัตราค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศโดยเฉลี่ยแล้วลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันทางด้านการตลาดที่ยังคงมุ่งเน้นทางด้านราคาเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้ให้บริการที่มี IDD Prefix ที่เน้นการใช้ความเชื่อมโยงกับกลุ่มบริการที่สามารถเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้นำเสนอรายการส่งเสริมการขายเพื่อให้ใช้บริการผ่านระบบที่อยู่ในกลุ่มบริษัทของตน ไม่ว่าจะเป็น AIS, dtac หรือ TrueMove อย่างไรก็แล้วแต่สุดท้ายประโยชน์ก็จะตกเป็นของผู้บริโภคครับ


* วิธีการกดโทรทางไกลระหว่างประเทศ  
กรณีโทรเข้าโทรศัพท์พื้นฐาน กด IDD Prefix + รหัสประเทศ + รหัสเมือง + เลขหมายปลายทาง 
กรณีโทรเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ กด IDD Prefix + รหัสประเทศ + เลขหมายปลายทาง

12.24.2557

IS-IS

IS-IS : Intermediate System -to- Intermediate System

นั้นเป็น link state protocol ประเภทหนึ่งเช่นดียวกับ OSPF และ BGP ซึ่งมีข้อดีคือ มีการตอบสนองที่รวดเร็วเมื่อเกิดการเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างของระบบเครือข่าย (Fast convergence) สามารถรองรับการขยายตัวของระบบเครือข่ายในอนาคตได้ดี (Large scalability) และสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นได้ เช่น เทคโนโลยี MPLS เป็นต้น
หลักการทำงานของ IS-IS IS-IS แบ่งรูปแบบการจัดการแบบเป็นลำดับชั้นจำนวน 2 ชั้น (two-level hierarchy) โดยถ้าโดเมนมีขนาดใหญ่อาจจะแบ่งการจัดการเป็นแบบพื้นที่ก็ได้ โดยสามารถแบ่งการค้นหาเส้นทางได้ดังนี้
  • Level 1 routing คือการค้นหาเส้นทางภายในพื้นที่
  • Level 2 routing คือการค้นหาเส้นทางระหว่างพื้นที่
โดยที่จะมี Protocol ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Level 1 IS และ Level 2 IS ทำหน้าที่ในการตรวจสอบเส้นทางว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ โดย Protocol 2 ตัวนี้ทำหน้าที่ต่างกัน คือ Level 1 IS จะทำงานภายในพื้นที่ของตัวเองเท่านั้น ในขณะที่ Level 2 IS จะติดตามเส้นทางระหว่างพื้นที่ หลักการในการติดต่อสื่อสารระหว่างพื้นที่ จากภาพด้านล่างเมื่อมีความต้องการที่จะติดต่อกันระหว่างพื้นที่ (A) และพื้นที่ (B) จะมีกระบวนการทำงานดังนี้

  • เริ่มต้น Level 1 IS(A)จะทำการส่งต่อไปยัง Level 2 IS(A)โดยใช้ Level 1 routing ที่อยู่ภายในพื้นที่ของตัวเอง
  • แล้ว Level 2 IS(A)จะได้ทำการติดต่อ Level 2 IS(B) จากตารางที่ได้มีการตรวจสอบและบันทึกไว้โดยใช้ Level 2 routing
  • จากนั้น Level 2 IS(B) จึงทำการส่งต่อไป Level 1 IS(B) ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง โดยใช้ Level 1 routing
Metrics
IS-IS ประกอบไปด้วย Metrics ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
  • ค่า Cost ซึ่งเป็นค่าพื้นฐานที่ Routers ทุกตัวต้องมี โดยสามารถระบุได้เป็นค่าระหว่าง 0 ถึง 63 ส่วนค่าที่เหลือ อีก 3 ประเภท จะเป็นตัวเลือกเสริมซึ่งสามารถเพิ่มเข้าไปได้ แต่ในการระบุค่าดังกล่าวนั้นมีข้อจำกัดคือจะต้องคำนึงถึงยี่ห้อของอุปกรณ์ Routers ด้วย ซึ่งค่าดังกล่าว ได้แก่ 
  • Delay คือค่าความคลาดเคลื่อนของเวลาจากจุดเริ่มต้นและจุดหมาย
  • Expense คือค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียเมื่อวิ่งผ่านเส้นทางนั้น
  • Error คือค่าความผิดพลาดที่หลงเหลือที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใช้เส้นทางนั้น
ข้อดี
  • สนับสนุนการทำงานกับหลากหลาย Protocol อีกทั้งยังสามารถทำงานได้บน IPv4 และ IPv6 
  • รองรับการขยายตัวได้ดีกว่า OSPF โดยแบ่งการจัดการเป็นแบบพื้นที่ โดยใช้ Level1 IS และ Level2 ISหรืออาจะเรียกว่า INTRA และ INTER ก็ได้
  • สามารถใช้งาน MPLS-TE ร่วมกับ IPv6 ได้ในอนาคต
ข้อเสีย
  • IS-IS มีการทำงานคล้ายกับ OSPF แต่มีลำดับขั้นตอนในการติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้มากกว่า OSPF
  • ค่า Metrics เริ่มต้นมีประสิทธิภาพต่ำ เช่น หาก 2 เส้นทางมีค่าความเร็วของเส้นทางที่แตกต่างกัน IS-IS จะไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้และจะมองว่าเส้นทาง 2 เส้นนี้มีค่าเท่ากัน
  • มีการใช้ Network-layer address ซึ่งไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน 
สรุป
IS-IS เป็น Protocol ที่เหมาะสมกับองค์กรที่มีระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่เนื่องจากการที่ IS-IS มีขั้นตอนในการติดตั้งและใช้งานที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงมักนิยมใช้ OSPF มากกว่า และหากระบบเครือข่ายมีการขยายตัวที่สูงมากองค์กรส่วนใหญ่ก็มักที่จะเลือกใช้งาน BGP มากกว่าที่จะเลือกใช้ IS-IS แต่อย่างไรก็ตาม IS-IS ก็ยังมีข้อดีเหนือกว่า OSPF และ BGP คือ IS-IS นั้นรองรับการทำงานของ IPv6 และ MPLS 

Credit : www.etda.or.th

BGP

BGP : Border Gateway Protocol


เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด 

         Host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย 

           การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP
           BGP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol
credit : www.com5dow.com

BGP (Border Gateway Protocol) คือ Routing Protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายย่อยหลายๆเครือข่าย หรือที่เรียกว่า Interautonomous System นอกจากนั้น BGP ยังถูกใช้ในการแลกเปลี่ยนค่าในการค้นหาเส้นทางสำหรับอินเทอร์เน็ตและถูกใช้งานทางฝั่งผู้ให้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยผู้ใช้งานระบบเครือข่ายภายในองค์กรทั่วไป เช่น มหาวิทยาลัย หรือบริษัทต่างๆ ส่วนมากมักใช้ Dynamic Routing Protocol อาทิ RIP หรือ OSPF ในการแลกเปลี่ยนค่าสำหับการค้นหาเส้นทางภายในเครือข่าย แต่ถ้าองค์กรที่ต้องมีการติดต่อระหว่างเครือข่ายภายนอก เช่น ISP จะใช้ BGP ในการเชื่อมต่อ เมื่อ BGP ถูกใช้งานระหว่างเครือข่ายย่อยจะถูกอ้างอิงว่าเป็น External BGP (EBGP) แต่ถ้า BGP ถูกใช้งานภายในเครือข่ายย่อยจะถูกอ้างอิงว่าเป็น Interior BGP (IBGP)

คุณลักษณะของ BGP
ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดจากหลายๆเส้นทางนั้น BGP จะใช้คุณสมบัติหลายๆ ประการเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ดังนั้นการกำหนดค่าต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพจึงถือว่าเป็นหัวใจหลักในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย  
  • Weight : ค่าที่กำหนดขึ้นมาเฉพาะในแต่ละเส้นทางและไม่แจกจ่ายไปยัง Router เพื่อนบ้าน โดย Router จะเลือกเส้นทางที่มีค่า Weight มากที่สุด
  • Local preference : ค่าที่กำหนดว่าเส้นทางนั้นจะเป็นเส้นทางที่ใช้ออกจากกลุ่มย่อย โดยค่านี้จะถูกแจกจ่ายไปยัง Router เพื่อนบ้านภายในเครือข่ายย่อยๆนั้น เพื่อที่จะได้ค่าที่เหมือนกันภายในเครือข่ายย่อย
  • Multi-exit discriminator(MED) : ค่าที่ใช้กำหนดเส้นทางที่จะไปยังเครือข่ายภายนอกกลุ่มย่อย (EBGP) 
  • Origin : ค่าตั้งต้นที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า BGP เรียนรู้เส้นทางเฉพาะอย่างไร โดยมีให้เลือก 3 ค่า คือ IGP, EGP และ Incomplete
  • AS path : ค่า AS ที่ถูกระบุว่าได้ผ่านมาแล้วกี่เครือข่ายย่อย
  • Next hop : ค่า IP address ของ Router ที่ใช้ในการส่งต่อ
  • Community : ใช้สำหรับกำหนดชื่อกลุ่มของจุดหมายปลายทาง เช่น no-export, no-advertise หรือ internet
วิธีการเลือกเส้นทาง
BGP สามารถเรียนรู้และรับการแจ้งเส้นทางได้หลายๆเส้นทางในเวลาเดียวกัน แต่ BGP จะทำการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดเส้นทางเดียวเท่านั้น และจะทำการเก็บค่าเส้นทางนั้นไว้ใน Routing Table จากนั้นจึงทำการแจกจ่ายต่อไป โดยการเลือกเส้นทางจะมีเงื่อนไขดังนี้
  • ถ้าเส้นทางถูกระบุว่าไม่สามารถค้นหา Next hop ได้ ค่า Update จะถูกยกเลิก
  • จะเลือกเส้นทางที่มีแค่ Weight ที่มากที่สุด
  • ถ้า Weight มีขนาดเท่ากัน จะทำการเลือกเส้นทางที่มีค่า Local preference มากที่สุด
  • ถ้า Local preference มีขนาดเท่ากัน จะทำการเลือกเส้นทางที่เป็นจุดเริ่มต้นของ BGP
  • ถ้าเส้นทางไม่มีจุดเริ่มต้น จะทำการเลือกโดยเลือกเส้นทางที่มีค่า AS path สั้นที่สุด
  • ถ้าทุกเส้นทางมี AS path เท่ากัน จะทำการเลือกเส้นทางที่มีค่า Origin ต่ำที่สุด โดยที่ Incomplete > EGP > IGP
  • ถ้า Origin เหมือนกัน จะทำการเลือกเส้นทางที่มีค่า MED ต่ำที่สุด
  • ถ้า MED มีค่าเท่ากัน จะทำการเลือก External path แทนที่จะเลือก Internal path
  • ถ้าเส้นทางยังคงเป็นเส้นทางเดียวกัน จะทำการเลือกเส้นทางที่อยู่ใกล้ IGP มากที่สุด
  • ถ้าทุกอย่างเท่ากันหมด BGP จะเลือกเส้นทางที่มีค่า IP address ที่ต่ำที่สุด
ข้อจำกัดในการใช้งาน
  • การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายย่อยที่แตกต่างกัน แต่มีเส้นทางการเชื่อมต่อเพียงเส้นทางเดียว
  • อุปกรณ์ Router ที่ใช้งานต้องมีหน่วยความจำที่มากพอสมควร เพราะอาจจะต้องมีการเก็บเส้นทางไว้มากถึง 200,000 ถึง 300,000 ชุดเลยทีเดียว
  • ใช้ Bandwidth ค่อนข้างสูงเพื่อให้เพียงพอที่จะเชื่อมต่อระหว่าง Autonomous System
สรุป
BGP เป็น Routing Protocol ที่ความซับซ้อนอย่างมากแต่ก็มีประสิทธิภาพสูงในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายย่อย ดังนั้น BGP จึงเป็น Protocol ที่เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่มีหลายๆกลุ่มย่อยเข้าด้วยกัน เช่น อินเทอร์เน็ต หรือ ISP เป็นต้น อย่างไรก็ตาม BGP ก็ยังสามารถใช้งานในส่วนของเครือข่ายส่วนตัวได้เช่นกัน โดยข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับ Protocol อื่นๆ เช่น EIGRP หรือ OSPF คือในส่วนของการคัดกรอง (Filter) เนื่องจาก BGP สามารถปรับแต่งและคัดกรองค่าต่างๆได้หลากหลาย แต่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจมากพอระดับหนึ่ง

credit : www.etda.or.th

BGP (Border Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Exterior Gateway Routing ที่ใช้เพื่อการเชื่อมต่อเราเตอร์ (Router) และเครือข่ายที่อยู่ต่างโดเมน (Domain) กันบนอินเทอร์เน็ต
BGP ใช้ Protocol TCP Port หมายเลข 179 เพื่อใช้ในการขนถ่ายข้อมูลข่าวสาร โดยมีการใช้ TCP เพื่อการสถาปนาการเชื่อมต่อก่อนจะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเราเตอร์ BGP ทั้งสอง (Peer Router) จากนั้นก็จะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการเปิดสัมพันธไมตรีก่อนที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันต่อไป
ข้อมูล ข่าวสารที่เราเตอร์ทั้งสองใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนกัน รวมไปถึงข่าวสารที่แสดงถึงความสามารถในการเข้าถึงกันได้ โดยข่าวสารนี้เป็นในรูปแบบของเลขหมาย AS ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายถือเป็นเส้นทางในการเข้าหากัน ข้อมูลนี้จะช่วยให้เราเตอร์สามารถสร้างผังของเส้นทางที่ปราศจากลูป (Loop) ในการเข้าหากัน อีกทั้งเราเตอร์ยังใช้เพื่อเป็นการกำหนดเส้นทางเชิงนโยบายที่มีเนื้อหาที่ กำหนดข้อจำกัดต่าง ๆ


  • BGP ให้ประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ รวมทั้งลูกค้า และผู้ให้บริการโทรศัพท์ รวมทั้งเครือข่ายอื่น ๆ
  • BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในรูปแบบของ Autonomous ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
  • BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในระดับ Enterprise หากองค์กรของท่านมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแบบหลายเชื่อมต่อเพื่อผลแห่ง Redundancy BGP ก็สามารถทำ Load Balancing Traffic ได้บนเส้นทางที่เป็น Redundant Link
  • จัดเลือกเส้นทางผ่านทางเครือข่ายไปยัง Autonomous System อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกัน
  • มีการเชื่อมต่อระหว่าง Autonomous System มากกว่า 1 เส้น
  • ควบคุมการลำเลียงข้อมูลข่าวสารที่วิ่งไปมาระหว่างระบบ Autonomous System
  • ท่านยังสามารถใช้ Policy ที่กำหนดให้ท่านสามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดเพื่อเดินทางไปสู่ปลายทาง

  • เมื่อ ใดก็ตามที่ท่านมีการเชื่อมต่อระหว่าง Autonomous ที่แตกต่างกัน แต่มีเส้นทางการเชื่อมต่อเพียงหนึ่งเดียว ลักษณะแบบนี้ท่านควรใช้ Static Route และทำการ Redistribute Static Route นี้ผ่านไปที่ Autonomous System โดยการใช้ IGP Protocol แทน
  • หาก ท่านไม่ใช้ BGP ท่านจะสามารถลดขนาดของ Routing Table ลงได้ รวมทั้ง RAM ที่จะต้องนำมาติดตั้งใช้งานบนเราเตอร์สำหรับ BGP ได้ เนื่องจากการใช้ BGP Router ท่านจะต้องใช้ RAM ขนาด 128 เมกะไบต์ รวมทั้งซีพียูที่มีความเร็วสูงเพียงพอ เพื่อรองรับ BGP Routing Table ที่มีขนาดใหญ่ เช่น 120,000 Route


  • เมื่อใดที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่าง Autonomous ที่ต่างกันด้วยการเชื่อมต่อเพียงเส้นเดียว
  • เมื่อท่านยังไม่มีเราเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอที่จะรองรับการทำงานของ BGP
  • เมื่อท่านยังไม่มีแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ที่สูงมากเพียงพอเพื่อที่จะเชื่อมต่อระหว่าง Autonomous System
  • เรา เตอร์ที่ทำงานบน BGP จะต้องสามารถรองรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางไม่น้อยกว่า 200,000-300,000 เส้นทาง ดังนั้นจึงใช้หน่วยความจำค่อนข้างมาก


เรา เตอร์ที่จับคู่เชื่อมต่อกับเราเตอร์ตัวอื่น ๆ และมีการใช้ Protocol TCP เพื่อเชื่อมต่อสื่อสารกัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางระหว่างกัน เราเรียกว่า Peer หรือเพื่อนบ้าน (Neighbor)


เรา เตอร์ที่เป็น Peer หรือจับคู่กันจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตารางเลือกเส้น ทางอย่างเต็มที่ และมีการอัปเดตข่าวสารอีกครั้งก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น (หมายความว่าตารางเลือกเส้นทางก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน) BGP จะทำให้เราเตอร์เก็บรักษา Version Number ของตารางไว้ และค่านี้จะต้องเหมือนกับเราเตอร์ต่าง ๆ ที่จับคู่อยู่กับมัน และค่าที่เป็น Version Number นี้มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาของตารางเลือกเส้นทาง นอกจากนี้มีการส่งข่าวสารที่เรียกว่า Keepalives ออกมาเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบความมีตัวตนระหว่างกัน และมีการส่งข่าวสารที่เป็นลักษณะแจ้งเตือนในกรณีที่ตรวจพบความผิดพลาดเกิด ขึ้น



ก่อน ที่เราเตอร์ที่เชื่อมต่อกันโดยตรงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้แก่กัน โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่าย ตัวเราเตอร์จะต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไปนี้
  • เราเตอร์จะต้องใช้ TCP เพื่อสถาปนาการเชื่อมต่อระหว่างกัน โดยการใช้ Open Message
  • เราเตอร์อีกฝั่งหนึ่งจะต้องตอบรับการขอสถาปนาการเชื่อมต่อ
  • หลังจากที่เราเตอร์ต้นทางได้รับการตอบรับแล้ว มันจะส่งคำยืนยันกลับไปที่เราเตอร์อีกฝั่งหนึ่ง
  • การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่ายหรือเส้นทางจะเริ่มขึ้น


ชนิดของข่าวสารที่ใช้ใน BGP มีอยู่ 4 แบบดังนี้
  • Open Message - ใช้เพื่อการสถาปนาจัดตั้งการเชื่อมต่อระหว่าง Router BGP
  • Keepalives - เป็นข่าวสารที่ใช้ทักทายเราเตอร์เพื่อนบ้าน โดยการส่งออกมาเป็นห้วงเวลาที่แน่นอนเพื่อการ Verify เส้นทาง หากค่านี้ถูกตั้งเป็น "0" หมายถึง Infinity ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีการส่ง Keep Alive Message เกิดขึ้น
  • Update Message - ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทาง รวมทั้ง Path Attribute ภายใน Update Message นี้ครอบคลุมไปถึง Route ที่ถูกถอดออกจาก Routing Table หรือไม่มีตัวตนแล้ว การ Update 1 Path ต่อ 1 Update หากมีหลาย ๆ Path ก็ต้องมีหลาย Update
  • Notification - ใช้เพื่อการแจ้งเตือนความผิดพลาดที่เกิดขึ้น


หาก เราเตอร์ใน Autonomous หนึ่ง ๆ มีการเชื่อมต่อกับ Autonomous อื่น ๆ อีกหลาย ๆ Autonomous ตัวเราเตอร์ใน Autonomous นั้น ๆ (หรือ AS นั้น ๆ) จะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของ Autonomous อื่น ๆ ได้ เช่น AS200 เป็นทางผ่านของ AS100 กับ AS300
เราเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับเราเตอร์อีกตัวหนึ่งที่อยู่ภายใต้ AS ที่มีเลขหมายต่างกัน เราเรียกว่า EBGP (External BGP) และเราเตอร์ที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และอยู่ภายใต้เลขหมาย AS เดียวกัน เราเรียกว่า IBGP (Internal BGP)

การทำ Synchronization ระหว่างเราเตอร์ที่ใช้ BGP

ก่อน ที่ BGP จะสามารถประกาศเส้นทางแก่กัน ภายในตัวเราเตอร์ของ BGP เองจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางในตาราง Routing เสียก่อน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือโปรโตคอล BGP และ IGP (ในที่นี้คือโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ไม่ใช่ BGP) จะต้องผสานการทำงานร่วมกันก่อนที่จะประกาศเครือข่ายหรือเส้นทางออกไป
Cisco มีคำสั่งที่เรียกว่า No synchronization เพื่อขจัดการทำงานในลักษณะนี้ การใช้คำสั่ง No synchronization จะช่วยให้ Router BGP สามารถประกาศเส้นทางที่มันเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ไม่ใช่ไปดึงออกมาจากตาราง Routing

ชนิดของ Autonomous
โดย หลักการแล้ว Autonomous System Number (ASN) เป็นเลขหมายในทางตรรกะที่กำหนดให้กับเราเตอร์ทุกตัวที่ทำงานอยู่ภายใต้ระบบ การจัดการเดียวกัน โดยเราเตอร์เหล่านี้จะมีการแบ่งปัน (Share) ข่าวสารเกี่ยวกับตารางเลือกเส้นทาง และมีการอัปเดตภายใต้สภาวการณ์ปกติ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น
มาตรฐาน การกำหนดเลขหมาย AS อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ Internet Assigned Numbers Authority (IANA) ที่เป็นผู้กำหนดเลขหมาย AS บนอินเทอร์เน็ต โดยเลขหมาย AS นี้สามารถมีได้ตั้งแต่เลข 1 - 65,535 โดยมีเลข 64,512 ไปจนถึง 65,535 ที่ถูกสำรองไว้ให้กับเครือข่ายส่วนตัวที่ไม่ได้ทำงานบนอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับ IP Address ที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานบนอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
รู้จักกับ Stub กับ Transit Autonomous System
มี ระบบ Autonomous อยู่ 2 แบบในปัจจุบันที่ท่านจะต้องนำมาพิจารณาก่อนที่จะเลือกใช้งาน BGP ได้แก่ Stub AS ที่มีเพียงเส้นทางเดียวที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายภายในกับโลกภายนอก
การ ใช้งานแบบ Stub AS นี้ใช้ในกรณีที่ภายใน AS เดียวกัน มีทั้งเราเตอร์ที่ทำงานภายใต้ IGP (เช่น RIP, IGRP หรือ EIGRP) แต่ต้องการจะประกาศเส้นทางออกไปข้างนอก (ซึ่งทำไม่ได้ ดังนั้นจะต้องประกาศมาที่ Router BGP จากนั้นให้ Router BGP ที่ดูแล AS ที่ตนสังกัดอยู่เป็นผู้ที่ประกาศเส้นทางแก่ Router BGP อันเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่ต่าง AS แทน
ส่วน Transit AS เป็นระบบ Autonomous ที่ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งผ่าน AS หนึ่งไปยังอีก AS หนึ่ง เช่น AS 30 เป็นทางผ่านของ AS 10 เพื่อเดินทางไปสู่ AS 50 เป็นต้น

ลักษณะการทำงานของ Transit AS
BGP Attribute
ปก ติโปรโตคอลเลือกเส้นทางทั่วไปจะใช้วิธีการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดต่างกัน เช่น RIP จะใช้จำนวน Hop เป็นหลัก ขณะที่ IGRP ใช้แบนด์วิดธ์เป็นหลัก ส่วน EIGRP ใช้การผสมผสานกันระหว่างแบนด์วิดธ์และดีเลย์ (Delay) เป็นแนวทางในการเลือกเส้นทาง นอกจากนี้ OSPF ใช้ค่า Cost เป็นหลัก แต่ BGP ใช้แอตทริบิวต์ (Attribute) เป็นหลักในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด การใช้แอตทริบิวต์ของ BGP ไม่เพียงแต่ต้องการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางเท่านั้น แต่ใช้เพื่อพิสูจน์เส้นทางที่ดีที่สุดที่จะเดินทางไปสู่ปลายทาง และ BGP ยังประกอบด้วยแอตทริบิวต์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • Weight Attribute
  • Local Preference Attribute
  • Multi-exit Discriminator หรือ Metric Attribute
  • Origin Attribute
  • AS_Path Attribute
  • Next Hop Attribute
  • Community Attribute
Weight Attribute
Weight เป็นมาตรฐานของ Cisco ที่เราเตอร์ใช้เป็นการภายใน ค่า Weight Attribute นี้จะไม่มีการประกาศออกไปที่เราเตอร์เพื่อนบ้าน หากเราเตอร์ได้เรียนรู้และพบว่ามีเส้นทางมากกว่าหนึ่งที่จะเดินทางไปสู่ปลาย ทาง ดังนั้นเส้นทางที่มีค่า Weight สูงสุดจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด
Local Preference Attribute
เป็น แอตทริบิวต์ที่จะบ่งบอกแก่ AS เกี่ยวกับเส้นทางที่ต้องการใช้เป็นทางออกไปจาก AS เพื่อเดินทางไปสู่เครือข่ายปลายทาง เส้นทางใดมีค่า Local Preference ที่สูงกว่าจะได้รับเลือก ค่าดีฟอลต์ (Default) ของ Local Preference ได้แก่ 100
Multi-exit Discriminator Attribute
บาง ครั้งถูกเรียกว่า Multi-exit Discriminator (MED, BGP-4) หรือ Inter-AS (BGP3) เป็นแอตทริบิวต์ที่ชี้นำสู่เพื่อนบ้านที่อยู่ภายนอก AS เกี่ยวกับเส้นทางที่เหมาะสมที่จะเข้ามาใน AS แห่งนี้ โดยในกรณีนี้ AS จะมีหลายเส้นทางที่จะเข้ามาภายใน ซึ่ง Metric Attribute จะชี้แนะแก่ AS อื่นได้ทราบถึงเส้นทางที่ดีที่สุดที่จะเข้ามาภายใน AS นี้ (ค่า Metric ยิ่งน้อยยิ่งเป็นที่ต้องการ)
AS ต่างกันจะมีการแลกเปลี่ยน Metric กัน ค่า Metric จะถูกนำเข้ามาใน AS แต่จะไม่ถูกส่งออกไป เมื่อใดที่ค่า Metric ถูกนำเข้ามาใน AS ก็จะนำค่านี้ไปทำการตัดสินใจเลือกเส้นทางต่อไป ค่าดีฟอลต์ของ Metric คือ 0
หากไม่กำหนดค่าใด ๆ ตัวเราเตอร์จะทำการเปรียบเทียบค่า Metric ของเส้นทางจากเพื่อนบ้านที่อยู่ใน AS เดียวกัน
และ เพื่อให้เราเตอร์สามารถเปรียบเทียบค่า Metric จากเพื่อนบ้านที่อยู่ต่าง AS กัน ท่านจะต้องใช้คำสั่ง "bgp always-compare-med" ที่เราเตอร์
สมมติว่าเราตั้ง ค่า Metric ที่มาจาก RTC ที่ 120 ค่า Metric ที่มาจาก RTD ได้แก่ 200 และ RTB ที่ 50 ในที่นี้ RTA จะเลือก RTC เนื่องจาก 120 น้อยกว่า 200 แต่เมื่อ RTA ได้รับค่า Metric จาก RTB ตัว RTA จะไม่สามารถนำค่ามาเปรียบเทียบได้ เนื่องจากอยู่คนละ AS ดังนั้นท่านจะต้องใช้คำสั่งพิเศษ "bgp always-compare-med" ที่ RTA
Origin Attribute เป็นแอตทริบิวต์ที่เป็นของดั้งเดิมของ BGP โดยเป็นแอตทริบิวต์ที่แสดงถึงข่าวสารที่เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของเส้นทาง ประกอบด้วยค่า 3 ประการดังนี้
1. IGP : ข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางที่จะเข้าถึงเครือข่าย โดยการใช้คำสั่ง Network หรือเมื่อ IGP มีการทำ Redistribute ไปที่ BGP โดยค่านี้จะแสดงเป็นตัวอักษร "I" ในตาราง BGP
2. EGP : ข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางที่จะเข้าถึงเครือข่ายที่ได้รับการเรียนรู้โดย EGP ซึ่งจะบ่งบอกเป็นตัวอักษร "e" ในตาราง BGP
3. Incomplete : ข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางสู่เครือข่ายที่ได้รับการเรียนรู้โดยเหตุผลอื่น ๆ เช่น การทำ Redistribute Static Route เข้าไปที่ BGP และข้อมูลเส้นทางเกี่ยวกับต้นทางไม่สมบูรณ์ โดยจะปรากฏตัวอักษร "?" ใน BGP Table จากรูปที่ 11 จะเห็นว่า RTA สามารถเข้าถึง 170.10.0.0 โดยผ่านทาง 300 I ซึ่งหมายความว่า AS Path ต่อไปได้แก่ 300 และจุดเริ่มต้นของเส้นทางได้แก่ IGP
RTA ยังสามารถเข้าถึง 190.10.50.0 โดยผ่านทาง I ซึ่งหมายความว่าข่าวสารอยู่ใน AS เดียวกัน และมีจุดเริ่มต้นคือ IGP
RTE สามารถเข้าถึง 150.10.0.0 ผ่านทาง 100 I (AS ต่อไปคือ 100 และมีจุดเริ่มต้นคือ IGP) RTE ยังสามารถเข้าถึง 190.10.0.0 ผ่านทาง 100 ? (AS ต่อไปคือ 100 และจุดเริ่มต้นได้แก่ Incomplete "?" โดยมาจาก Static Route)
AS_Path Attribute
เมื่อ ใดก็ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางที่ผ่านการ Update วิ่งผ่าน AS ใด จะมีการเติมเลขหมาย AS เข้าไปใน Update นั้นด้วย เช่น Routing Update วิ่งผ่าน AS100, AS200 และ AS300 ก็จะมีการบันทึกเลขหมาย AS ลงไปไว้ใน Update นี้เสมอกล่าวได้ว่า AS_Path Attribute เป็นรายชื่อของ AS ที่ Route Update ได้วิ่งผ่านและบันทึกไว้ เพื่อให้ทราบว่ามาจากที่ใด เพื่อที่จะเดินทางสู่จุดหมายปลายทาง

Credit : cpe.rmutt.ac.th

CCNA

CCNA : Cisco Certified Network Associate


คือ การสอบวัดมาตรฐานความรู้ด้าน Network ของบริษัท Cisco และเป็นบันไดก้าวแรกสำหรับสายงานด้าน Network Implementation และ Network Support

ประกาศนียบัตรของซิสโก้ ซิสเต็ม     ซิสโก้เป็นบริษัทชั้นนำและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีในส่วนของระบบเครือข่ายและอุปกรณ์เครือข่าย โดยเฉพาะอุปกรณ์เราเตอร์ ประกาศนียบัตรการทำงาน Career Certifications ของซิสโก้จะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 
     1. Entry
     2. Associate
     3. Professional
     4. Expert
     5. Architect

     โดยแยกสายการทำงานเป็น 8 สายงาน ซึ่งมีฟังก์ชั่นการทำงานที่แตกต่างกันไป คือ Routing & Switching, Design, Network Security, Service Provider, Service Provider Operations, Storage Networking, Voice, Wireless และมีประกาศนียบัตรเฉพาะทาง หรือ Specialist Certifications เช่น Advanced Routing and Switching, VPN and Security certifications ฯลฯ ที่เหมาะสำหรับงานที่เฉพาะทางจริงๆ 
     1. Cisco Certified Network Associate (CCNA) ประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องของระบบเครือข่าย โดยสามารถติดตั้งและดูแลจัดระบบเครือข่ายขนาดเล็กได้ CCNA นี้ไม่มีวิชาบังคับที่ต้องได้รับมาก่อน (Exam Prerequisite) เมื่อสอบผ่านวิชาใดวิชาหนึ่งตามข้อกำหนดก็สามารถได้รับประกาศนียบัตรนี้
     2. Cisco Certified Network Professional (CCNP) ประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในเรื่องของระบบเครือข่าย โดยสามารถติดตั้งและดูแลจัดการระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ การที่จะสอบ CCNP ได้ต้องสอบผ่าน CCNA มาก่อน
     3. Cisco Certified Design Associate (CCDA) ประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องการออกแบบระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
     4. Cisco Certified Design Professional (CCDP) ประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องการออกแบบระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ การที่จะสอบ CCDP ได้ต้องสอบผ่าน CCNA และ CCDA มาก่อน
     5. Cisco Certified Internetwork Professional (CCIP) ประกาศนียบัตรที่ผู้ที่ได้รับต้องมีความรู้ในเรื่องการออกแบบวางแผนในการจัดระบบเครือข่ายทางด้านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)
     6. Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) ประกาศนียบัตรขั้นสูงสุดในส่วนของ Network Installation and Support Certification และ Communication and Services Certification

รายละเอียดหลักสูตร

เนื้อหาหลักสูตรถูกออกแบบสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในสายงานด้านระบบ Network โดยเน้นการ Config อุปกรณ์ Router และ Switch ของค่าย Cisco เป็นหลักรวมถึงผู้ที่ต้องการเตรียมตัวเพื่อสอบ CCNA Certificate เพราะเนื้อหาหลักสูตรจะเน้นทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันไป เพื่อให้ผู้รับการอบรมสามารถนำไปใช้และปฏิบัติงานได้จริง และยังเหมาะกับนักศึกษาด้านไอทีชั้นปี 3-4 หรือนักศึกษาที่จบการศึกษาใหม่เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสัมภาษณ์งานหรือใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไว้ใช้ในการศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันสูงและมีผู้สนใจทำงานด้าน Network มากขึ้น ผู้ที่มีความรู้ด้านนี้จะได้เปรียบ โดยเฉพาะถ้าสามารถสอบได้ใบ Cert. CCNA จะมีโอกาสในการทำงานมากกว่า นอกจากนี้ใบ Cert. CCNA ยังมีส่วนในการเพิ่มอัตราเงินเดือนในหลายบริษัท และผู้รับการอบรมจะสามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในระบบ Network ที่เกิดขึ้นในองค์กรได้ด้วย

หลักสูตรนี้เหมาะกับ

- นักศึกษา และบุคคลทั่วไป

- ผู้ที่สนใจเริ่มต้นศึกษาด้าน Network อย่างจริงจัง

- ผู้ที่ต้องการจะก้าวไปเป็น Network System Administrator

- ผู้ที่สนใจจะสอบ Cert. CCNA

- ผู้ที่สนใจศึกษาในระดับ Advance ต่อไป เช่น Linux Server , Wireless , Security ,Voice

- ผู้ที่สนใจเปลี่ยนสายงานมาทางานด้าน Network

ความรู้ที่ต้องใช้ในการสอบ CCNA

1.Networking Concept 
        1.OSI Model Layers 
        2.TCP / IP 
        3.Device Communication
 
2.LAN Design 
        1.Ethernet 
        2.Brideging and Switching 
        3.Routing 
        4.LAN Segment

3.Cisco Device 
        1.Conecting Devices 
        2.Command Line Interface 
        3.System Startup 
        4.Managing System Files 
        5.Using Show Commands

4.Intial  Router Configuration 
        1.Hostname Interface and Descriptions 
        2.System Passwords 
        3.Banners 
        4.Interface

5.Switch Configuration 
        1.Switch Basics 
        2.Vitual LANs 
        3.Trunking 
        4.Spanning Tree 
        5.Advanced Switching

6.Managing TCP/IP 
        1.Subnetting 
        2.Configuring IP 
        3.Address Resolution 
        4.Troubleshooting IP

7.Access Lists 
        1.Access List Concept 
        2.Configuring Access Lists 
        3.Working with Wildcards Masks 
        4.Design and Monitoring Access Lists

8.IP Routing 
        1.Routing Concept 
        2.Static Routes 
        3.Configuring RIP 
        4.Troubleshooting RIP 
        5.Configuring RGIP 
        6.Troubleshooting RGIP 
        7.OSPF 
        8.EIGRP 
        9.Routing Protocol Comparison 

9.Wide Area Networking 
        1.WAN Concepts 

10.PPP (Point-to-Point Protocal) 
        1.PPP Concepts

11.Frame Relay 
        1.Frame Relay Concepts 
        2.Enabling Frame Relay 
        3.Static Mapping 
        4.Subinterfaces 
        5.Troubleshooting Frame Relay

12.ISDN 
        1.ISDN Concepts 
        2.Configuring BRI interfaces 
        3.Dial-on-Demand Routing (DDR) 
        4.DDR Timers 
        5.Complete ISDN Configuration 
        6.Troubleshooting ISDN BRI

13.Wireless LAN 
        1.Wireless LAN Concepts

ตัวอย่าง Certification

ตัวอย่าง Certification

สนใจเนื้อหามากกว่านี้มีเพียบเชิญที่ : www.ninehua.com 

สนใจเนื้อหามากกว่านี้มีเพียบเชิญที่ : http://www.bloggang.com/likecisco


12.16.2557

IPX

IPX : IP Packet eXchange

เป็นโปรโตคอลเครือข่ายจาก Novell ที่เชื่อมต่อภายในเครือที่ใช้ลูกข่ายและแม่ข่ายของ Netware โดย IPX เป็น datagram หรือโปรโตคอลแพคเกต IPX ทำงานที่เลเยอร์เครือข่ายของโปรโตคอลการสื่อสารและเป็น connectionless (นั่นคือ ไม่ต้องการให้การเชื่อมต่อได้รับการรักษาระหว่างการแลกเปลี่ยนแพคเกต เช่น เสียงของการโทรศัพท์)
การรับทราบแพคเกตได้รับการจัดการโดยอีกโปรโตคอลของ Novell คือ Sequenced Packet Exchange (SPX) อีกโปรโตคอลของ Novell Netware ที่เกี่ยวข้องคือ Routing Information Protocol (RIP), Service Advertising Protocol (SAP) และ NetWare Link Services Protocol (NLSP)



12.12.2557

EDGE

EDGE : Enhanced Data rates for GSM Evolution

เป็นระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย 2.75G ในเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดย ITU (International Telecommunications Union) คล้ายกับระบบจีพีอาร์เอส แต่มีความเร็วที่สูงกว่าคือที่ประมาณ 200-300 Kbps ซึ่งสูงกว่าจีพีอาร์เอสสี่เท่า แต่ในบางพื้นที่ถ้าหากใช้เอดจ์ไม่ได้ โทรศัพท์ก็จะเปลี่ยนไปใช้จีพีอาร์เอสเอง ช่วยให้การรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือได้มากกว่าและรวดเร็วกว่า ทั้งการเข้า WAP และ WEB รับส่ง MMS, Video/Audio Streaming และ Interactive Gaming และเป็นก้าวสำคัญเพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค 3G