6.26.2558

RFC

RFC : Request for Comments

หมายถึง เอกสารขอความเห็น  ซึ่งเปนเอกสารที่เปนทางการจาก IETF โดยใชผลที่ไดจากคณะกรรมการรางและทบทวนจากกลุมงานที่สนใจ ทั้งนี้รางสุดทายของ RFC มีสถานะเปนมาตรฐาน และไมอนุญาตใหมีการเปลี่ยนแปลง เวนแตผานการเห็นชอบจากคณะกรรมการของ RFC ใหมีการปรับปรุง RFC ( ในระบบโทรคมนาคม เราให้ส่วนมากเป็น RFC 3261 มาตรฐานใน SIP ครับ )


Credit : http://standard1.nbtc.go.th/getattachment/5aca8579-db09-464d-933d-3c9a5608a178/6201.aspx

DHCP

DHCP : Dynamic Host Configuration Protocol

คือโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย โดย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตราฐานในการใช้งานในเครือข่ายแทน BOOTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลรุ่นเก่า ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 โดยในปัจจุบันนี้ DHCP ได้มีการพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น DHCPv6 ใช้กับงานร่วมกับโพรโทคอล IPv6 และได้รับมาตราฐานในการใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2003


DHCP ทำหน้าที่อะไร
หน้าที่หลักๆของ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือคอยจัดการและแจกจ่ายเลขหมายไอพีให้กับลูกข่ายที่มาเชื่อมต่อกับแม่ข่ายไม่ให้หมายเลขไอพีของลูกข่ายมีการซ้ำกันอย่างเด็ดขาด อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งได้ทำการเชื่อมต่อกับ DHCP Server เครื่องเซฟเวอร์ก็จะให้ หมายเลขไอพีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาทำการต่อเชื่อมแบบอัตโนมัติ ซึ่งไม่ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากเท่าไร DHCP Server ก็จะออกเลยหมายไอพีให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันทำให้เครือข่ายนั้นไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
DHCP Server มีหลักการในการจ่ายหมายเลขไอพีให้กับลูกข่ายอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ
1. กำหนดด้วยตัวเอง ซึ่งผู้ควบคุมดูแลสามารถที่จะกำหนดไอพีให้กับเครื่องลูกข่ายได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีเทียบกับหมายเลข MAC
2. แบบอัตโนมัติ DHCP Server จะจ่ายหมายเลขไอพีให้กับเครื่องลูกข่ายแบบอัตโนมัติไม่ซ้ำกัน แต่จะออกหมายเลขไอพีตามช่วงของหมายเลขไอพีที่ผู้ควบคุมดูแลกำหนดไว้ให้ วิธีนี้หมายเลขไอพีจะติดอยู่กับเครื่องลูกข่ายอย่างถาวร เช่นเมื่อเครื่องลูกข่ายที่เคยได้หมายเขไอพีจากวิธีนี้ไปแล้วเมื่อกลับมาเชื่อมต่อใหม่อีกครั้งก็จะได้หมายเลขไอพีเดิมไปใช้งานนั้นเอง
3. แบบไดนามิก มีหลักการทำงานเหมือนกับแบบอัตโนมัติแต่แตกต่างอยู่ที่หมายเลขไอพีที่ออกด้วยวิธีไดดามิกจะไม่ถาวร เมื่อเครื่องลูกข่ายได้หมายเลขไอพีจากวิธีไปแล้ว เมื่อมีการออกจากระบบแล้วเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายในภายหลังหมายเลขไอพีที่ได้จะได้เป็นหมายเลขไอพีใหม่เลย
ประโยชน์ของ DHCP มีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของ DHCP นั้นจะช่วยในเรื่องระบบการจัดการเครือข่ายเป็นส่วนสำคัญ โดยมีการบริหารและจัดการระบบหมายเลขไอพีที่ไม่ซ้ำกันไม่ว่าจะมีเครื่องลูกข่ายมากขนาดไหนก็ตาม เพราะถ้าไม่มี DHCP เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ การจัดแจงและจ่ายหมายเลขไอพีจะเป็นเรื่องยากถ้าเครือข่ายนั้นเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่
DHCP เป็นโพรโทคอลที่นิยมใช้ในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต และโครงข่ายขนาดใหญ่ที่มีลูกข่ายเข้ามาทำการเชื่อมต่อกับ Server อยู่ตลอดเวลา และ DHCP ยังช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเครื่องลูกข่าย เพราะว่า DHCP จะทำการการตั้งค่าระบบ เครือข่ายแบบอัตโนมัตินั่นเอง

Credit : http://www.เกร็ดความรู้.net/dhcp/

6.23.2558

NAT

NAT : Network Address Translation

หรือการสร้างตารางการจับคู่ของ IP แบบสุ่ม ซึ่งสามารถสร้างได้จากอุปกรณ์ที่เรียกว่า Router หรือ Firewall

       จากภาพจะเห็นว่าตัว NAT device มี IP address เป็น 192.168.1.1 สำหรับเครือข่ายภายใน (inside network) และมี IP address เป็น 203.154.207.76 สำหรับเครือข่ายภายนอก (outside network) เมื่อเครื่อง 192.168.1.20 ต้องการ Export ทาง Internet NAT device ก็จะแปลง IP จาก 192.168.1.20 ไปเป็น 203.154.207.76 และข้อมูลขาออกที่ออกไปยัง external network นั้นจะเป็นข้อมูลที่มี source IP address เป็น outside IP address ของ NAT device 

หลักการทำงาน

     โดยทั่วไปในระบบเครือข่ายภายในองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มี Server เป็น Windows NT, 2000 server จะมีการกำหนด IP ภายในองค์กรที่เรียกว่า private IP เช่น 192.168.0.1 หรือ 10.0.0.1 เป็นต้น ซึ่ง IP เหล่านี้เป็น IP ที่ไม่สามารถนำไปใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ตได้ การทำ NAT จะเป็นการแปลง private IP ให้เป็น IP ที่สามารถใช้งานบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ หรือที่เราเรียกว่า Registered IP

ขั้นตอนการทำงาน

      NAT จะสร้างตารางภายในซึ่งมีไว้สำหรับบรรจุข้อมูล IP address ของเครื่องในเครือข่ายภายในที่ส่ง packet ผ่าน NAT device  จากนั้นก็จะสร้างตารางไว้สำหรับเก็บข้อมูลหมายเลขพอร์ต (port number) ที่ถูกใช้ไปโดย outside IP address จะมีกระบวนการทำงานดังนี้
1. จะบันทึกข้อมูล source IP adress และ source port number ไว้ใน Log File
2. จะแทนที่ IP ของ packet ด้วย IP ขาออกของ NAT device เมื่อ NAT device ได้รับ packet ย้อนกลับมาจาก external network  ก็จะตรวจสอบ destination port number ของ packet นั้นๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูล source port number ใน Log File ถ้าเจอข้อมูลที่ตรงกันก็จะเขียนทับ destination port number, destination IP address ของ pakcet นั้นๆ แล้วจึงส่ง packet นั้นไปยังเครื่องอยู่ภายในเครือข่ายภายใน

Private IP Address

     หมายเลขไอพีแอดเดรสในช่วงที่ไม่สามารถนำมาเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ได้โดยตรง  ซึ่งช่วงของหมายเลขไอพีแอดเดรสที่เป็น Private IP นั้น จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ

1. ช่วงหมายเลข 10.0.0.0 – 10.255.255.255 ( 10 / 8 )
2. ช่วงหมายเลข 172.16.0.0 – 172.32.255.255 ( 172.16 / 12 )
3. ช่วงหมายเลข 192.168.0.0 – 192.168. 255.255 ( 192.168 / 16 )

คุณสมบัติของอุปกรณ์ NAT

     อุปกรณ์เครือข่าย หรือโปรแกรมที่ใช้ในการทำ NAT จะต้องมีความสามารถในการทำงานต่างๆ เหล่านี้คือ
1. สามารถกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสได้ (Transparent address    assignment)
2. สามารถส่งผ่านแพ็กเก็ตของข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแอดเดรสได้ (Transparent address routing through address transition)
3. สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลของ ICMP payload ได้ (ICMP error message payload translation)

 รูปแบบในการเปลี่ยนแปลงค่า IP Address 

 1. Static NAT (static assignment and basic NAT)   เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสโดยมีการจับคู่กันของหมายเลขไอพีแอดเดรสตลอดการทำงานของอุปกรณ์ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงค่าไอพีแอดเดรสจาก Private IP เป็นหมายเลขไอพีภายนอก และเปลี่ยนจากหมายเลขไอพีแอดเดรสภายนอกเป็น Private IP แบบหนึ่งต่อหนึ่งไปตลอด

 2. Dynamic NAT (dynamic assignment and basic NAT)   เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าหมายเลขไอพีแอดเดรสโดยมีการจับคู่กันของหมายเลขไอพีแอดเดรสที่เป็น Private IP กับหมายเลขไอพีแอดเดรสภายนอกเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอุปกรณ์ NAT จะจับคู่หมายเลขไอพีแอดเดรสในช่วงเวลาที่ session มีการเชื่อมต่อกันอยู่เท่านั้น หลังจากที่ใช้งาน session เสร็จเรียบร้อยแล้วจะไม่เก็บข้อมูลการจับคู่นั้นไว้อีก เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายนอกอีกครั้ง อุปกรณ์ NAT จะเลือกหมายเลขไอพีแอดเดรสภายนอกใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องซ้ำกับหมายเลขเดิม

 3. Overloading (NAPT) เป็นการเปลี่ยนแปลงหมายเลขไอพีแอดเดรสเพียงหมายเลขเดียว  แต่มีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขพอร์ตต้นทางในการเชื่อมต่อแทน เมื่อมีการตอบกลับจากเครื่องภายนอกเครือข่ายแล้ว ที่อุปกรณ์ NAT จะดูหมายเลขพอร์ตปลายทางในส่วนหัวของข้อมูลว่าเป็นหมายเลขอะไร แล้วจึงเปลี่ยนข้อมูลส่วนหัวให้ตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการร้องขออีกครั้ง

Credit : https://www.gotoknow.org/posts/481846

ISUP

ISUP : ISDN User Part

     คือ โปรโตคอล SS7 ซึ่งจัดการเกี่ยวกับ Signaling Function ต่างๆเพื่อรองรับ Basic bearer service และ Supplementary Service สำหรับใช้กับ Voice และ Non-Voice Application ใน ISDN-Service นอกจากนั้น ISUP ยังเหมาะสำหรับใช้กับ Telephone และเครือข่ายแบบ Circuit Switched Data Network (อนาลอก) นอกจากนั้นมันยังสามารถทำงานบนเครือข่ายที่ผสมกันระหว่างเครือข่ายอนาลอก/ดิจิตอล ได้อีกด้วย ISUP โดยปกติจะใช้ Service ซึ่งจัดโดย MTP แต่ในบางกรณีจะใช้ SCCP แทนสำหรับในการส่งข้อมูลไปยังปลายทาง

Telecommunication Service
        เป็นการใช้บริการผ่านทางเครือข่าย ISDN โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
- Bearer Service
- Tele Service
- Supplementery Service

Bearer Service
        งานของ Bearer Service ก็คือการ transport ข้อมูล หรือก็คือจัดเตรียมความสามารถในการ transfer ข้อมูลเช่น speech, data, text, หรือ image ในรูปของ digital information ภายในเครือข่ายระหว่างสอง user interface โดยจะประกอบไปด้วย

Information Transfer Mode มีอยู่ 2 แบบคือ Circuit mode (Telephone) และ Packet mode (Data)
Information Transfer Rate เป้นตัวกำหนด transmission capacity ระหว่าง referent points โดยกำหนดเป็น bit rate โดยส่วนใหญ่จะใช้เป้น 64 kbps
Information Transfer Capability เป็นตัวกำหนด degree ของ transparency ของ channel ที่ใช้ carrying ข้อมูล

Tele Service
        Tele Service จัดเตรียมความสามารถในการติดต่อสื่อสารอย่างสมบูรณ์ระหว่างสอง User Terminals รวมทั้ง network และ terminal function โดยการใช้ทั้งหมด 7 layers ในโมเดลแบบOSI ประกอบไปด้วย
- Telephony
- Telex
- Teletex (supper telex)
- Telefax (Fax group 1,2,3 และ 4)
- Videotex
- Video-phone
- Video-conference

Supplementery Service
        เป็นบริการเสริมได้แก่
Malicious Call Identification (MCI)
Call Transfer (CT)
Call Waiting (CW)
Three Party Service (3PTY)
Multiple Subscriber Number (MSN)
Calling Line Identification (CLI)
Sub-addressing (SUB)
Closed User Group (CUG)
User-To-User Signaling (UUS)
Terminal Portability

รูปแบบของ ISUP Message
        Messageที่เป็นชนิด ISUP จะมีค่า SI (Service Indicator) เท่ากับ 5 (0101) โดยข้อมูลของ ISUP จะถูกบรรจุอยู่ในส่วนของ SIF ใน MSU รูปแบบของ ISUP Message เป็นดังรูป และมีพารามิเตอร์ เป็นดังรูป

Routing Label มีรูปแบบดังที่เห็นในรูป
Circuit Identification Code (CIC) จะถูกกำกับสำหรับแต่ละ circuit ซึ่งตกลงกันทั้ง2ฝ่าย (Originating และ Termination side) เพื่อที่จะให้ Signaling Message ใช้ circuit นั้นๆ
Message Type Code จะต้องกำหนด Function และ Format ซึ่งไม่เหมือนกัน (Uniquely) สำหรับแต่ละ message ของ ISUP
Mandatory fixed part เป็นพารามิเตอร์ที่จะต้องมีประจำอยู่เสมอสำหรับแต่ละชนิดของmessage type โดยพารามิเตอร์เหล่านี้จะมี ตำแหน่ง, ความยาว, และลำดับที่ถูกกำหนดไว้ในรายละเอียดในแต่ละชนิดของ message type
Mandatory variable part
Option part (อาจจะเป็น parameter field ที่เป็นแบบ fixed หรือ variable ก็ได้)

Credit : http://familyandhealthchat.reocities.com/SiliconValley/file/6856/isup.html

6.22.2558

MNP

MNP : Mobile Number Portability



    หรือการที่ลูกค้าสามารถโอนย้ายเบอร์มือถือจากผู้ให้บริการรายเดิมไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ ได้โดยยังสามารถใช้เบอร์มือถือเบอร์เดิม ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ปัจจุบันลูกค้าใช้เบอร์ 081 234 5678 ของ บริษัท ก อยู่ ก็สามารถย้ายเบอร์เดิม 081 234 5678 มาใช้กับเครือข่ายใหม่ บริษัท ข ได้

      การโอนย้ายเลขหมายให้เสร็จภายใน 3 วันทำการ เฉพาะลูกค้าขอย้าย ต่ำกว่า 24 เลขหมาย โดยปกติใช้เวลา 3 วันทำการ 
     ในการดำเนินการ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเบอร์ที่จะทำการโอนย้ายและจำนวนหรือปริมาณของลูกค้า ที่ขอโอนย้ายในวันนั้น 
     (หากเอกสารครบถ้วนและไม่มีข้อจำกัดในการโอนย้ายเลขหมาย ) สำหรับกลุ่มที่ขอโอนย้าย เกิน 25 เลขหมายใช้เวลา 20 วันทำการโดยประมาณ


Credit : http://truemoveh.truecorp.co.th/why/entry/183

------------------------

การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (อังกฤษMobile Number Portability หรือ MNP) คือ การบริการที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถขอให้ผู้ให้บริการโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไปใช้บริการของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นได้ ซึ่งการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิทธิของผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุในการกีดกันขัดขวาง หรือหน่วงเหนี่ยวการโอนย้ายผู้ให้บริการไม่ได้
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เล่ม 126 ตอนพิเศษ 109 ง วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นเครื่องมือที่สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ เมื่อผู้ใช้บริการต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการ สถานที่ หรือประเภทบริการ การส่งเสริมการบริการโทรคมนาคม สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม เพื่อการใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมอย่างคุ้มค่าสำหรับการให้บริการโทรคมนาคมต่อสาธารณะ[1] การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553[2] แต่ผู้ให้บริการระบุว่าจะในวันดังกล่าวทำได้เพียงเริ่มทดสอบระบบเท่านั้น ส่วนการให้บริการจริงจะเปิดใช้ได้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งระหว่างนี้ผู้ให้บริการทั้ง 5 ราย อาจถูกปรับเป็นเงินอย่างน้อยวันละ 20,000 บาทจนกว่าจะสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ ปัจจุบัน กทช. ได้กำหนดค่าปรับให้สะท้อนค่าเสียโอกาสของประชาชนที่ต้องการใช้บริการโดยในเดือนแรกปรับวันละ 166,667 บาท ค่าปรับจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในเดือนถัดไป

หลักการทางเทคนิค[แก้]

ผู้ให้บริการจะต้องรับภาระในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์โครงข่ายเพื่อให้การประยุกต์ระบบการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เกิดขึ้นได้ แต่จะต้องเปลี่ยนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแนวทางการประยุกต์เชิงเทคนิคที่สำคัญ ได้แก่ วิธีการจัดเส้นทางการเรียก (call routing) และ ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลกลาง

วิธีการจัดเส้นทางการเรียก[แก้]

มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ Call forwarding (CF) และ All call query (ACQ)

Call forwarding[แก้]

Call forwarding หรือ CF มีข้อดีคือ การประยุกต์ทำได้ง่าย เนื่องจากโครงข่ายของผู้เรียกจะดำเนินการเชื่อมต่อการเรียกไปยังโครงข่ายปลายทางเดิมของผู้ถูกเรียกตามปกติ ซึ่งโครงข่ายปลายทางที่ผู้ถูกเรียกได้ขอย้ายออกไปแล้วนั้น เราจะเรียกว่า Donor Network โครงข่ายนี้เองจะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายปลายทางใหม่ที่ผู้ถูกเรียกได้ขอย้ายเข้า ซึ่งเราจะเรียกว่า Recipient Network อย่างไรก็ดี วิธี CF นั้นมีข้อเสียหลายประการ อาทิ เช่น ไม่รองรับการ forward SMS/MMS ไม่สามารถแสดงเลขหมายโทรเข้า ส่วนปัญหาเชิงเทคนิค ได้แก่ สิ้นเปลืองการใช้ช่องสัญญาณเนื่องมาจากการ forward call ระยะเวลาการต่อสัญญาณเรียกใช้เวลานาน เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศที่ประยุกต์ใช้วิธี CF ต่างเปลี่ยนมาใช้วิธี ACQ แทน[4]

All call query[แก้]

All call query หรือ ACQ คือ โครงข่ายของผู้เรียกจะเป็นผู้ดำเนินการเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายปลายทางปัจจุบันหรือ Recipient Network โดยไม่ต้องดำเนินการเชื่อมต่อสายกลับไปยังโครงข่ายปลายทางเดิมที่ผู้ถูกเรียกเคยใช้บริการอยู่ หรือ Donor Network โครงข่ายของผู้เรียกต้องมีการปรับฐานข้อมูลของเลขหมายที่มีการขอทำการพอร์ตเลขหมายให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อที่จะสามารถเรียกไปยังโครงข่ายปลายทางที่ถูกต้องได้[4]
วิธีการ ACQ นั้นจะมีการใช้ทรัพยากรโครงข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือโครงข่ายของผู้เรียกสามารถจัดเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดไปยังโครงข่ายปัจจุบันของผู้ถูกเรียกได้โดยตรงและสามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการใช้วิธี CF การประยุกต์ใช้ ACQ ต้องลงทุนสูงเนื่องจากต้องมีการลงทุนเพิ่มในส่วนของฐานข้อมูลเลขหมายและระบบจัดการที่เกี่ยวข้อง[4] สำหรับประเทศไทยจะใช้วิธี ACQ นี้[1]

ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลกลาง[แก้]

ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลกลางจะเป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการกระบวนการโอนย้ายผู้ให้บริการโดยคงเลขหมายเดิมอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 2 กลไกหลัก คือระบบที่อำนวยความสะดวกรวดเร็วในการประสานงานระหว่างผู้ให้บริการรายเดิมกับผู้ให้บริการรายใหม่ และระบบฐานข้อมูลที่บันทึกรายละเอียดของเลขหมายโทรศัพท์ที่ได้มีการเปลี่ยนผู้ให้บริการ สำหรับการลงทุนในการจัดตั้งศูนย์ให้บริการระบบสารสนเทศให้ดำเนินการในรูปแบบผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ร่วมกันลงทุนในลักษณะการรับภาระร่วมกัน (Consortium) โดยสัดส่วนในการลงทุนให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเป็นผู้กำหนด[1]
ฐานข้อมูลกลางโดยทั่วไปจะมีสองรูปแบบ คือ แบบศูนย์กลาง (Centralized Database) และแบบกระจาย (Distributed Database)
แบบศูนย์กลางจะใช้ฐานข้อมูลอ้างอิงฐานข้อมูลเดียวที่มีเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด หรือมีข้อมูลเลขหมายที่โอนย้ายทั้งหมด โดยอาจไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเลขหมายที่ไม่ได้โอนย้าย ซึ่งตามปกติแล้วข้อมูลอ้างอิงนี้จะมีการทำสำเนาให้กับฐานข้อมูลปฏิบัติการ (Operational Databases) ของโครงข่ายที่ร่วมโรงการเป็นหลักสำคัญฐานข้อมูลอ้างอิงแบบศูนย์กลางสำหรับการเปลี่ยนผู้ให้บริการโดยไม่เปลี่ยนเลขหมายมักดำเนินการโดยผู้ให้บริการโครงข่ายซึ่งอาจประกอบด้วยผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโครงข่ายทั้งหมดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดสรรเส้นทาง ซึ่งการดำเนินการและการบำรุงรักษาฐานข้อมูลเลขหมายแบบศูนย์กลางอาจทำการคัดเลือกบริษัทอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ในการดูแลฐานข้อมูล[4]
สำหรับฐานข้อมูลแบบกระจายจะมีการเก็บฐานข้อมูลไว้หลายแห่งโดยแต่ละแห่งอาจมีเฉพาะข้อมูลเลขหมายของผู้ให้บริการโครงข่ายของตนเองแห่งเดียวเท่านั้น ข้อมูลทั้งหมดของเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งที่ไม่ได้โอนย้ายและทำการโอนย้ายแล้วจะได้จากการรวบรวมฐานข้อมูลจากแต่ละแห่ง[4]

การขอโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่[แก้]

ก่อนทำการโอนย้ายไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ ผู้ใช้บริการที่ขอโอนย้ายต้องลงทะเบียนโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อผู้ให้บริการรายใหม่ ในการขอโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ใช้บริการต้องยื่นคำขอโอนย้ายการใช้บริการต่อผู้ให้บริการรายใหม่ ณ จุดที่ผู้ให้บริการรายใหม่กำหนด ผู้ให้บริการรายใหม่และผู้ให้บริการรายเดิมต้องร่วมกันตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของผู้ใช้บริการที่ขอโอนย้ายเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของเลขหมาย ตรวจสอบยืนยันสถานภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ผูกพันกับเลขหมายดังกล่าวว่าถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายได้ หากผู้ให้บริการรายใหม่ไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ ผู้ให้บริการรายใหม่ต้องแจ้งเหตุผลและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จให้ผู้ใช้บริการทราบ[1]
ผู้ให้บริการรายใหม่มีหน้าที่แจ้งให้ผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะทำการโอนย้ายทราบถึงรายละเอียดเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้าย และค่าธรรมเนียมการโอนย้ายอย่างเปิดเผยชัดเจน อีกทั้งยังต้องแจ้งเหตุผลและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จให้ผู้ใช้บริการทราบ และเมื่อดำเนินการโอนย้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ให้บริการรายใหม่มีหน้าที่แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าการขอโอนย้ายผู้ให้บริการสำเร็จแล้ว[1]
การโอนย้ายผู้ให้บริการจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ยื่นขอ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันควรเฉพาะกรณีเอกสารและหลักฐานข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือ ไม่ตรงกับข้อมูลผู้ใช้บริการที่แท้จริงในระบบ โดยผู้ให้บริการรายเดิมมีหน้าที่ในการพิสูจน์เหตุจำเป็นอันควรดังกล่าว กรณีเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้ให้บริการรายเดิมได้ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายที่ตนมีอยู่ไว้แล้ว เมื่อมีเลขหมายย้ายออกมีสิทธิที่จะขอคืนค่าธรรมเนียมเลขหมายที่ได้ย้ายออกไปนับแต่เดือนถัดไป[1]
ผู้ให้บริการอาจปฏิเสธคำขอโอนย้ายผู้ให้บริการของผู้ใช้บริการได้หาก 1) เลขหมายนั้นได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของชาติ หรือ 2) เลขหมายที่จะขอโอนย้ายการใช้บริการอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี หรืออยู่ในระหว่างอายัด หรือห้ามการเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ผู้ให้บริการรายใหม่มีหน้าที่ในการพิสูจน์เหตุในการปฏิเสธคำขอโอนย้ายดังกล่าว[1]

E.164

E.164

   เป็นข้อเสนอแนะขององค์การโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU-T ซึ่งกำหนด Dialing Plan สำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศผ่านโครงข่ายสาธารณะ ปกติจะใช้ E.164 ในโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ PSTN และโครงข่ายสื่อสารข้อมูลบางโครงข่าย แต่คนส่วนใหญ่จะรู้จัก E.164 ว่ามันคือ "เลขหมายโทรศัพท์"

E.164 มีได้มากที่สุด 15 หลัก และเวลาเขียนมักจะใส่เครื่องหมาย + นำหน้า

ข้อเสนอแนะนี้ได้วางรูปแบบโครงสร้างของเลขหมายโทรศัพท์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศผ่านโครงข่ายสาธารณะและได้แบ่งหมายเลขโทรศัพท์ออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีส่วนประกอบคล้ายๆกันซึ่งต้องถูกวิเคราะห์ว่าส่วนไหนคืออะไรเพื่อให้สามารถส่งคอลไปยังปลายทางได้

Annex A กำหนดข้อมูลเพิ่มเติมบนโครงสร้างและหน้าที่ของเลขหมาย E.164
Annex B ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการระบุตัวตนของโครงข่าย พารามิเตอร์แสดงประเภทของให้บริการ การระบุสถานะของสายว่ากำลังพยายามเชื่อมต่อหรือว่าเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้ว วิธีการกดเลขหมาย และการระบุสถานที่อยู่สำหรับการโทรผ่านโครงข่าย ISDN ระหว่างประเทศ ส่วนการกำหนดรายละเอียดของแอ๊ปพลิเคชั่นที่มีพื้นฐานบน E.164 ถูกแยกไปไว้ในข้อเสนอแนะอื่น

ประเภทของเลขหมายทั้ง 3 แบบที่พูดถึงข้างต้นนั้นนะครับ ก็อยู่บนแนวคิดเลขหมายขนาดไม่เกิน 15 หลัก (รวม Prefix ด้วย ซึ่งก็คือตัวเลขอะไรก็ตามที่อยู่ข้างหน้าเลขหมายโทรศัพท์ อาทิเช่นรหัสประเทศ รหัสพื้นที่ และก่อนปี 1997 E.164 มีได้ไม่เกิน 12 หลัก) ตามนี้


โครงสร้างเลขหมาย แบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
รหัสประเทศ -> cc=1 to 3 หลัก รหัสปลายทางในพื้นที่, เลขหมายผู้เช่า -> จำนวนหลักสูงสุด = 15 - จำนวนหลักของ cc

โครงสร้างเลขหมาย แบ่งตามบริการระหว่างประเทศ
รหัสประเทศ -> cc = 3 หลัก เลขหมายผู้เช่าระหว่างประเทศ -> จำนวนหลักสูงสุด = 15 - จำนวนหลักของ cc

โครงสร้างเลขหมาย แบ่งตามกลุ่มประเทศ
รหัสประเทศ -> cc = 3 หลัก รหัสประจำกลุ่ม -> gic = 1 หลัก เลขหมายผู้เช่า -> จำนวนหลักสูงสุด = 15 - (cc + gic) = 11 หลัก

และข้อกำหนดย่อยที่อยู่ภายใน E.164 มีดังต่อไปนี้

E.164.1
เป็นข้อกำหนดที่อธิบายวิธีการดำเนินการและหลักเกณฑ์สำหรับการจอง การให้ใช้ และการเรียกคืน E.164 country code และ identification code ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการถูกจัดหาตามพื้นฐานสำหรับการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทรัพยากร E.164 ที่ยังว่างและเอามาใช้งานได้ การมอบหมายดังกล่าวต้องการการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่าง ITU-TSB และ ITU-T study group ที่เกี่ยวข้องอย่างมุ่งมั่นเพื่อให้แน่ใจว่าการมอบหมายดังกล่าวนั้นจะตรงกับความต้องการของประชาคมการสื่อสาร การพัฒนาของหลักเกณฑ์เหล่านี้และวิธีการเหล่านี้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ที่มีอยู่ใน E.190 และรูปแบบของเลขหมายใน E.164

E.164.2
ข้อเสนอแนะนี้ประกอบไปด้วยกฏเกณฑ์และวิธีดำเนินการเมื่อมีผู้สมัครขอตัวเลข identification code 3 หลักชั่วคราว ภายใน shared E.164 country code 991 สำหรับจุดประสงค์ของการให้ทดลองใช้รหัสประเทศเพื่อให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศโดยไม่แสวงหากำไร

E.164.3
ข้อเสนอแนะนี้อธิบายพื้นฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการมอบหมายและการเรียกคืนทรัพยากรใน shared E.164 country code สำหรับกลุ่มประเทศ ซึ่ง shared country codes เหล่านี้จะอยู่ร่วมกันกับ E.164-based country code อื่นๆทั้งหมดที่ถูกมอบหมายโดย ITU ทรัพยากรของ shared country code ประกอบไปด้วย country code และ group identification code (CC + GIC) และจัดหาความสามารถสำหรับกลุ่มประเทศเพื่อให้บริการโทรคมนาคมภายในกลุ่ม TSB เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการมอบหมาย CC+GIC

E.163
E.163 เป็นข้อเสนอแนะอันก่อนของ ITU-T สำหรับรูปแบบเลขหมายโทรศัพท์สำหรับใช้ในโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ Public Switch Telephone Network (PSTN) ในประเทศสหรัฐอเมริกา สมัยก่อนเรียกข้อเสนอแนะนี้ว่า Directory Number แต่ E.163 ถูกถอนออกมาก่อนการพิจารณาเนื่องจากยังมีรายละเอียดไม่มากพอ และบางข้อเสนอแนะใน E.164 ก็ได้ถูกรวมเข้าไปใน E.164 เวอร์ชั่นแรกในปี 1997

สำหรับเลขหมาย E.164 ของเบอร์ในประเทศไทย เช่นเบอร์ 028888888 คือ +6628888888 ครับ

Credit : http://www.voip4share.com/voip-f39/e-164-t160.html

6.09.2558

MBMS

MBMS : Multimedia Broadcast and Multicast Service



   ระบบการสื่อสารสื่อประสมแบบบรอดคาสตและมัลติคาสต เปนมาตรฐานบริการสงข้อมูลสื่อประสมแบบ IP Datacast (IPDC) ใชในระบบโครงขายเซลลูลาร GSM และ UMTS 3GPPไดกําหนดให MBMS เปนมาตรฐานการสื่อสารสื่อประสมแบบบรอดคาสตและมัลติคาสตการสงขอมูลสื่อประสมแบบบรอดคาสตและมัลติคาสต การใหบริการแบบ point-to-multipoint ที่ซึ่งขอมูลจะถูกสงจากจุดหนึ่งไปยังกลุมของผูใชในพื้นที่หนึ่งๆ MBMS มี 2 โหมด คือ
1. บรอดคาสต (Broadcast) หมายถึง การสงขอมูลไปยังผูรับโดยทั่วไปทั้งนี้ไมจํากัดวาฝงรับจะตองเปนสมาชิกของกลุมผู้รับเหมือนในกรณีมัลติคาสต
2. มัลติคาสต (Multicast) หมายถึง การสงขอมูลที่เปนแพกเก็ตไปยังกลุมผูรับในเวลาเดียวกันโดยการใชวิธีการสงที่มีประสิทธิภาพ ในแต่ละเส้นทางในเครือขายจะถูกใชเพียงครั้งเดียว จะมีการสรางข้อมูลซ้ำก็ตอเมื่อเสนทางไปยังฝงรับถูกแบงออกมาเปนหลายๆ เสนทาง Multicast ทั้งนี้ระบบการใหบริการแบบ Multicast จะเปนการสงผานขอมูลภายในเครือขายไปยังสถานีสงในแต่ละเซลจากนั้นสถานีสงจะ Broadcast ขอมูลไปยังผู้รับบริการภายในเซล

     ในอดีตการสื่อสารสื่อประสมผานเครือขายไรสายมักเปนแบบยูนิคาสตหรือ point-to-point ซึ่งเหมาะกับงานในลักษณะการรับสื่อประสมแบบสตรีมมิงหรือการดาวนโหลดขอมูลสื่อประสมตามความตองการของผูใชแตละคน แตในปจจุบันรูปแบบการใหบริการขอมูลสื่อประสมในลักษณะกระจายขอมูลไปยังผูใชหลายๆคนพรอมๆกัน หรือเปนการสื่อสารแบบ point-to-multipoint มีมากขึ้น เชน การใหบริการ Mobile TV เปนตน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพตองานลักษณะนี้ควรเปนแบบบรอดคาสตหรือมัลติคาสต การสื่อสารแบบบรอดคาสตเปนการสื่อสารทางตรงแบบกระจายจากผูใหบริการไปยังผูรับบริการทุกๆเครื่องพรอมๆกัน สวนการสื่อสารแบบมัลติคาสตเปนการสื่อสารแบบกระจายจากผูใหบริการไปยังกลุมผูใชที่ join กลุมมัลติคาสตเดียวกัน ดวยวิธีการนี้จะทําใหการสื่อสารแบบ point-to-multipoint มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับใชการสื่อสารแบบยูนิคาสต ประมาณปค.ศ. 2003 3GPP และ 3GPP2 ไดเพิ่มขอกําหนดทางเทคนิคสําหรับบริการสงสตรีมมิงแบบบรอดคาสตและมัลติคาสตบนโครงขาย GSM/WCDMA และ CDMA2000 โดยเรียกวา Multimedia Broadcast and Multicast Service (MBMS) และ Broadcast and Multicast Service (BCMCS) ตามลําดับ โดยทั้งคูมีขอกําหนดที่เหมือนๆกันในหลายๆเรื่อง ยังมีอีกมาตรฐานหนึ่งที่เกี่ยวของกับเรื่องบรอดคาสตและมัลติคาสตนั่น
ก็คือมาตรฐาน BCAST โดย OMA (Open Mobile Alliance) ซึ่งเปนมาตรฐานในการใหบริการแบบบรอดคาสตและมัลติคาสตในชั้นบริการ BCAST ใชรวมกับมาตรฐานการสื่อสารผานเครือขายโทรศัพทเคลื่อนที่ (mobile network) MBMS และ BCMCS หรือแบบ non-mobile network เชน DVB-H ก็ไดดังนั้นการอธิบายหลักการของมัลติคาสตและบรอดคาสตจะอธิบายบนพื้นฐานของ MBMS

          ระบบการสื่อสารสื่อประสมแบบบรอดคาสตและมัลติคาสต (Multimedia Broadcast Multicast Service (MBMS)) ที่มาตรฐานนี้ไดกําหนดจะสามารถที่จะใหบริการผานทางเครือขาย GSM และ UMTS ที่ใชอยูแลวในปจจุบัน โครงสรางที่เราพิจารณานี้ใหทางเลือกในการใชชองสัญญาณ uplink ในการติดตอระหวางผูใหบริการและผูใชบริการซึ่งไมสามารถทําไดอยางงายดายนักในระบบบรอดคาสตที่ใชอยูในปจจุบันซึ่งเปนการติดตอสื่อสารทางเดียว (Unidirectional system) ทั้งนี้มัลติคาสตจะใชในการสงขอมูลใน core network แทนที่จะใชยูนิคาสตเนื่องมาจากมัลติคาสตจะมีการใชทรัพยากรในการสงที่มีประสิทธิภาพมากกวา
         งานประยุกตที่ MBMS จะถูกนําไปใชมีอยูอยางหลากหลายอาทิเชน Broadcast TV, Broadcast Film,รวมไปถึงการบรอดคาสตขอมูลแบบอื่นๆ MBMS นั้นมีขอดีอยูที่วาระบบนี้สามารถที่จะใชโครงสรางพื้นฐานที่มีอยูแลวในการใหบริการ ทําใหผูใหบริการการสื่อสารไมตองเสียคาใชจายอยางมากในการเริ่มการใหบริการความสามารถในการบรอดคาสตทําใหสามารถใหบริการแกผูใชเปนจํานวนมากขึ้นเปนอยางมากในขณะที่ใน core network ไมตองแบกรับโหลดมากนัก นอกจากนี้ฟงกชั่นใน MBMS สามารถที่จะบรอดคาสตขอมูล อาทิ เชน emergency alert ไปยังผูใชบริการที่อยูในหลายๆเซลไดในเวลาเดียวกัน
         มาตรฐาน MBMS นั้นแยกออกมาเปนสองสวนคือ MBMS Bearer Service และ MBMS User Service ในสวน MBMS Bearer Service นั้นจะอธิบายถึงโหมดของมัลติคาสตและบรอดคาสตที่ใชในมาตรฐาน MBMS Bearer Service จะใช IP Multicast address สําหรับการสงผานขอมูลแบบ IP ขอดีของ MBMS Bearer Service เมื่อเปรียบเทียบกับ UMTS Bearer Service อยูที่ทรัพยากรในการสงนั้นไมวาจะอยูที่ core network หรือที่ radio network จะถูกใชรวมกันจากผูใชจํานวนมาก ทั้งนี้ในระหวางการสงขอมูลอาจจะถูกทําซ้ําที่ GGSN, SGSN, และ RNCs และสงตอไปยังโหนดอื่นที่อยูในระบบ
การสงตอไป
         นอกจากนี้ MBMS ยังมีโหมดที่ใชนับจำนวนผูใชในปจจุบันที่มีอยูภายในเซลเพื่อทําการเลือกระหวางยูนิคาสตหรือบรอดคาสตเพื่อใชทรัพยากรในการสงใหมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทั่วไปแลว UTRAN MBMSสามารถที่จะใหบริการที่บิตเรต 256 kbps ตอ หนึ่ง MBMS Service และระหวาง 800 kbps ถึง 1.7 Mbps ตอเซลตอสเปกตรัม GERAN MBMS สามารถที่จะใหบริการที่บิตเรตระหวาง 32 kbps จนถึง 128 kbps ในสวน down link ในหนึ่ง MBMS Bearer Service อาจจะมาจาก 4 GSM Time Slot ในระบบ GSM ซึ่งทําใหเพิ่มบิตเรตในการสงได
         MBMS User Service กําหนดมาตรฐานที่ใชในการสงขอมูลแบบสตรีมมิงและแบบดาวนโหลด ในสวนของสตรีมมิงนั้นจะใชสําหรับขอมูลที่จะสงแบบตอเนื่องอาทิเชน Mobile TV Service ในขณะที่ ดาวนโหลดจะใชสําหรับงานประยุกตประเภท “Download and Play” เพื่อปองกันไมใหเกิดความผิดพลาดของขอมูลเนื่องจากการสงขอมูลผานชองสัญญาณไรสาย Application FEC จะถูกใชนอกจากนี้ File-Repair Service อาจจะใหบริการไดแลวแตกรณีในกรณีของการดาวนโหลด

Credit : http://standard1.nbtc.go.th/News/Performance

VRF

VRF : Virtual Routing and Forwarding

คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำเครือข่ายส่วนตัวเสมือนด้วยวิธีการแบ่งแยก Routing Table ออกจากกัน บนอุปกรณ์ตัวเดียวกัน โดยแนวทางการทำงานนั้นจะมีความใกล้เคียงกับการทำ Virtual LAN (VLAN) บนอุปกรณ์สวิตซ์ เช่น โดยทั่วไปอุปกรณ์ Router นั้นจะมี Routing Table เพียงชุดเดียวที่ใช้ในการทำงานในการประมวลเส้นทางในการนำพาข้อมูลไปสู่ปลายทาง ด้วยวิธีการของ VRF นั้น อุปกรณ์ Router จะทำการจำลอง Routing Table อื่นๆขึ้นมา ด้วยการอ้างอิงจากการตั้งชื่อ และทำการ Mapping กับ Interface ที่มีการรับข้อมูลมาจากลูกค้า เพื่อทำให้การของ Routing Table แต่ละชุดนั้น สามารถทำการประมวลผลแยกกันได้ โดยผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะนำไปประยุกต์ใช้ในการแบ่งแยกข้อมูลของลูกค้าต่างๆ ที่มีการส่งผ่านบนอุปกรณ์เดียวกันเพื่อให้เกิดเหมือนกับเครือข่ายส่วนตัวเสมือน ช่วยให้เกิดความสะดวก โดยที่ไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์ Router มาหลายๆตัว ในการแบ่งแยก Traffic ของลูกค้าให้มีความเป็นส่วนตัว ดังรูป แสดงตัวอย่างการทำงานของ VRF บนอุปกรณ์ Router
Credit : http://www.msit.mut.ac.th/newweb/phpfile/Thesis
-------------------------

VRF basics



VoWiFi

VoWiFi : Voice over WiFi

โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเครื่องลูกข่ายไร้สายที่ใช้ได้ทั้งโครงข่ายเซลลูลาร์และ WLAN หรือ WiFi  (Wireless Fidelity) คงเกิดขึ้นอีกไม่นานนี้ ตามการวิจัยของ ABI Research ถึงเรื่อง VoWiFi (Voice over WiFi) ซึ่งเป็นการใช้บริการสื่อสารผ่านโครงข่าย WiFi บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีข้อได้เปรียบหลายประการ กล่าวคือ อินเทอร์เน็ตมีการใช้งานอยู่ทั่วโลก ฉะนั้นถ้าจะพิจารณาถึงขอบเขตของเครือข่ายก็เรียกได้ว่าคลุมเกือบทั้งโลก

นอกจากนั้น อุปกรณ์โครงข่าย WiFi ยังมีราคาถูก เหมาะกับการใช้งานในบ้าน สำนักงาน ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ประกอบการเห็นกำไรที่จะตามมา แต่ WiFi เองยังมีข้อด้อยสำหรับผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่ โดยเฉพาะการใช้งานที่ความเร็วสูงๆ ซึ่งในขณะนี้ก็คงไม่มีเทคโนโลยีไหนจะเทียบได้กับเซลลูลาร์ ซึ่งถือกำเนิดมาพร้อมกับคุณสมบัติด้านนี้โดยเฉพาะ

สำหรับลักษณะของตัวเครื่องลูกข่ายตามที่ ABI Research แนะนำว่าควรเป็นเครื่องที่รองรับทั้งเซลลูลาร์ และ WiFi คือเป็นแบบ Dual Mode นั่นเอง มีการคาดการว่า ตลาดของเครื่องลูกข่ายลักษณะนี้จะเติบโตไปได้ไกลกว่า 5 ปี และในความเป็นจริงคนส่วนใหญ่จะชอบใช้โทรศัพท์เครื่องเดียวไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกสำนักงาน นอกจากนั้นผู้คนโดยส่วนใหญ่ชอบที่จะทำงานในอาคารมากกว่า แน่นอนล่ะ VoWiFi แบบ Dual Mode จึงน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างของโครงข่าย VoWiFi และอุปกรณ์ลูกข่ายชนิดต่างๆ



รูปที่ 1 โครงข่าย VoWiFi


หากแต่มีการพิจารณาในส่วนของกำลังแบตเตอรี่ สำหรับเครื่องลูกข่าย VoWiFi แบบ Dual Mode พบว่าเครื่องลูกข่ายใช้กำลังมาก เนื่องจากต้องคอยตรวจสอบระบบอยู่ตลอดว่าอยู่ในโซน WiFi หรืออยู่ในโซนเซลลูลาร์

ปัจจุบันคุณภาพของการส่งผ่านเสียงผ่านโครงข่าย VoWiFi ถือว่ายังไม่ดีนักหากเปรียบเทียบกับระโทรศัพท์พื้นฐานและการเชื่อมต่อการสื่อสารยังใช้เวลานานกว่าอีกด้วย ประเด็นอื่นที่กล่าวถึงเพิ่มเติมได้แก่ Roaming ดังนี้ หากพิจารณาพื้นที่ให้บริการของสถานีฐานซึ่งในโครงข่าย WiFi เรียกกันว่า Access Point นั้น มีรัศมีประมาณ 100 เมตร จึงเป็นพื้นที่ขนาดเล็กเหมาะสำหรับใช้งานในบริเวณที่มีผู้ใช้งานมาก นิยมเรียกว่า Hotspot โดย Roaming คือการเปลี่ยนการรับบริการจาก Access Point ตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่งในขณะที่ไม่มีการสนทนาด้วยเหตุที่เครื่องลูกข่ายมีการเคลื่อนที่

ดังนั้น เห็นได้ว่า Roaming จะมีปัญหาในขั้นตอนที่ใช้สัญญาณควบคุม เพื่อร้องขอการสื่อสารให้ต่อเนื่องจากการข้ามเขตการให้บริการที่ใช้เวลานาน และเมื่อเครื่องลูกข่ายกำลังใช้ช่องสัญญาณเพื่อสนทนาขณะข้ามเขตการให้บริการ การเรียกนั้นจะดรอปลงได้ เนื่องจากมีการประวิงเวลาจากการใช้สัญญาณ ประกอบกับคุณภาพของช่องสัญญาณบริเวณขอบเขตการบริการมีค่าต่ำ

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนการรับบริการจาก Access Point ตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่งในขณะที่มีการสนทนาเรียกว่า Handoff  ซึ่ง VoWiFi ใช้วิธี Fast Handoff โดยระบบจะใช้เวลาในการเปลี่ยน Access Point ที่ให้บริการลูกข่าย ในเวลาที่น้อยกว่า 1/100 วินาที ดังแสดงในรูปที่ 2



รูปที่ 2 Fast Hondoff

โดยทั่วไป เมื่อผู้ใช้บริการในโครงข่าย WiFi เครื่องลูกข่ายจะใช้เวลาเลือก Access Point ที่ให้บริการสัญญาณดีที่สุดและ Hondoff จะใช้เวลาถึง 30/100 ถึง 60/100 วินาที นับว่านานกว่า Fast Handoff มากที่สุดถึง 60 เท่า จึงช่วยลดการดรอปลงได้

เมื่อพิจารณาในด้านผลิตภัณฑ์แล้ว แต่ละบริษัทพยายามควบคุมการเกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เนื่องจากการขยายสายงานการผลิตย่อมก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายจากการลงทุน อย่างไรก็ตาม WiFi มีสัญญาณที่ดีหากมีการใช้งานในอาคารหรือสำนักงาน

ผู้ผลิตหลายรายได้แก่ Motorola Ericsson Nokia และ Siemens เป็นต้น มีการนำผลิตภัณฑ์ VoWiFi ออกสู่ตลาดตั้งแต่ปี 2543 แล้ว นอกจากนี้ Nokia Ericsson Motorola ยังผนึกกำลังกันเพื่อก่อมห้เกิดข้อตกลงร่วมกันสำหรับแอพพลิเคชั่นไร้สายแบบโต้ตอบได้ บางบริษัท เช่น British Telecom เลือกเทคโนโลยีบลูทูธเพื่อให้บริการ VoIP (Voice Over Internet Protocol) ที่มีชื่อเรียกเท่ๆ ว่า บลูโฟน ซึ่งมีลักษณะที่เหนือกว่าบลูทูธในแง่ของพื้นที่ให้บริการด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการผลิตตัวเครื่อง VoWiFi ที่ทำงานบนลีนุกซ์โดยบริษัท Siemens และบริษัท Nexgen ส่วนบริษัท NEC แจ้งว่าจะมีการผลิตแบบ Dual Mode ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บริษัท Motorola และ Fujitsu จะผลิตตัวเครื่องแบบ Dual Mode เช่นกันแต่ทำงานบนสินโดว์ส แต่ถ้าหากจะเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ที่ทำงานบนลีนุกซ์แล้ว ลีนุกซ์จะได้เปรียบในแง่ของการรองรับปริมาณข้อมูลที่สูงกว่า

จำนวน Hotspot ทั่วโลกในปีที่ผ่านมามีมากกว่า 45,000 จุด ใน 65 ประเทศ 127 เกาะ แต่มีจำนวนจุดบริการหนาแน่นในบริเวณที่มีประชากรมาก มีการคาดการณ์ว่าจำนวน Hotspot จะมีการขยายพื้นที่ให้บริการออกไปอีก และข้อมูลจากสถิติแสดงให้เห็นว่าโทรศัพท์ WiFi มีจำนวนเพียง 113,000 เครื่อง ที่ใช้บริการ VoIP ผ่านโครงข่ายไร้สาย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนแค่ 0.25% ของจำนวนโทรศัพท์ไร้สายที่ขายได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์ว่าธุรกิจนี้จะมีการเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 4% 10% และ 30% ของส่วนแบ่งการตลาดโทรศัพท์ไร้สายทั้งหมด

อนาคตของ VoWiFi น่าจะไปได้ดีเนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ WiFi ตามมาตรฐาน IEEE802.11b อยู่มาก อัตราข้อมูลที่ใช้ก็จะเป็น 11 Mbps รองรับแอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่ที่ใช้งานอยู่ อย่างไรก็ตาม ความต้องการแบนด์วิทเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับข้อมูลมัลติมีเดีย เช่น การส่งภาพเคลื่อนไหว ทำให้มีการปรับมาตรฐานให้มีอัตราข้อมูลสูงขึ้นเป็น 54 Mbps (IEEE802.11a IEEE802.11b) แต่มาตรฐานยังมีการพัฒนาต่อไป โดยเน้นทั้งทางด้านคุณภาพของการบริการและการรักษาความปลอดภัย ดังนั้น VoWiFi เอง คงจะช่วยประสานทั้งในส่วนของธุรกิจและความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี


Credit : http://www.mvt.co.th

----------------------------------


Dtac VoWIFI ก็ได้เปิดบริการให้ใช้ 16 มีนาคม 2559 ในชื่อ Wifi calling
มาดูกันว่ามีอะไรดีๆเพิ่มมาบ้างครับ
http://www.dtac.co.th/network/wifi-calling.html

dtac WiFi calling | VoWiFi คืออะไร
Wifi calling คืออีกขั้นของเทคโนโลยี ที่ให้คุณสื่อสารทางเสียงผ่านสัญญาณ WiFi บน dtac Super4G ที่เร็วแรงที่สุดโดยคุณสามารถโทรศัพท์ผ่านสัญญาณ WiFi ที่ไหนก็ได้จากทั่วทุกมุมโลก โทรกลับหรือรับสายเหมือนอยู่ไทย ในอัตราค่าบริการไทยแบบไม่ต้องผ่านแอพพลิเคชั่น

dtac WiFi calling | VoWiFi ทำงานอย่างไร
ด้วยเทคโนโลยีของ VoWiFi ที่จะเปลี่ยน WiFi ทั่วโลกให้เป็นสัญญาณดีแทค ช่วยให้คุณโทรออกและรับสายได้ เพียงคุณมีโทรศัพท์รุ่นที่รองรับเทคโนโลยี VoWiFi และเชื่อมต่อสัญญาณ WiFi ได้ การใช้งานโทรศัพท์ของคุณจะไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป

dtac WiFi calling | VoWiFi ดีอย่างไร
- Same Number
ใช้งานได้บนซิมเดิมเบอร์เดิม โทรเบอร์ใดก็ได้ แค่มีซิมดีแทคและเบอร์อยู่ในเครื่อง
- HD Voice & Video* Quality
เสียงและภาพคมชัดระดับ HD
*เฉพาะเครื่องโทรศัพท์ระบบ Android ที่รองรับเท่านั้น
- Make Call Anywhere Like Home
สามารถใช้งานโทรศัพท์ด้วยสัญญาณดีแทค WiFi Calling ผ่าน WiFi ที่ไหนก็ได้ทั่วทุกมุมโลก
• รับสายไม่มีค่าใช้จ่าย

• โทรกลับเมืองไทยคิดค่าโทรเหมือนอยู่บ้าน ไม่ต้องใส่รหัสประเทศ

รองรับ 2รุ่น Samsung Galaxy S6 / Samsung Galaxy S6 edge (ณ 16 มีนาคม 2559)

พื้นที่ให้บริการ dtac WiFi calling | VoWiFi

สามารถใช้งานได้ทุกที่ทั่วโลกที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณ WiFi ได้  เจ๋งตรงนี้

คำถามที่พบบ่อย
บริการ dtac WiFi calling l VoWiFi คืออะไร
บริการ WiFi calling l VoWiFi หรือ WiFi calling คือบริการที่ให้คุณสามารถโทรและรับสายโทรศัพท์ผ่านการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ WiFi โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์ของคุณ ซึ่งแตกต่างจาก LINE หรือ Skype ที่ใช้ User ID

ต้องการใช้ WiFi calling ต้องทำอย่างไร
ต้องการใช้ WiFi calling มีขั้นตอนดังนี้

Samsung :
1. ตรวจสอบว่ามือถือรองรับการใช้งาน WiFi calling คลิก และอัพเดตเครื่องให้เป็น Firmware ล่าสุดที่รองรับการใช้งาน WiFi calling
2. สมัครใช้งาน WiFi calling โดยการกด *444*51# โทรออก
3. เปิดใช้งาน WiFi calling บนตัวเครื่อง คลิก
4. เชื่อมต่อเครือข่าย WiFi 

หมายเหตุ : 
* สำหรับ WiFi calling เมื่อใช้งานในประเทศ ตัวเครื่องจะถูกตั้งค่าให้ใช้งานบนเครือข่ายมือถือเป็นหลัก แต่หากอยู่ในบริเวณที่สัญญาณเครือข่ายไม่ดี (สัญญาณประมาณ 1 ขีด) ตัวเครื่องจะเปลี่ยนไปใช้งาน WiFi calling แทน 
* ในส่วนของการใช้งานต่างประเทศ เครื่องจะถูกตั้งค่าให้ใช้งาน WiFi calling เป็นหลัก

WiFi calling มีการคิดบริการอย่างไร
การใช้งาน WiFi calling ทั้ง VDO call (เฉพาะโทรศัพท์ระบบ Android) และ Voice call ภายในประเทศจะคิดค่าบริการเหมือนการโทรศัพท์ปกติ เป็นนาทีหรือวินาที ตามอัตราแพ็กเกจปัจจุบันของลูกค้า โดยหักจากจำนวนที่ใช้งานได้ตามแพ็กเกจ

สำหรับลูกค้าที่ใช้งาน WiFi Calling ในต่างประเทศ เบอร์ของลูกค้าจะเปรียบเสมือนใช้งานอยู่ในประเทศไทย ซึ่งจะคิดค่าบริการตามรายละเอียดการใช้งานดังนี้
1. การโทรกลับเบอร์ในไทย /เบอร์มือถือของไทย ทุกเครือข่าย/ เบอร์ dtac ที่ใช้งาน WiFi calling จากทุกที่ทั่วโลกจะคิดค่าบริการเป็นนาทีหรือวินาทีตามอัตราแพ็กเกจปัจจุบันของลูกค้า โดยหักจากจำนวนที่ใช้งานได้ตามแพ็กเกจ
2. การโทรออกหาเบอร์ปลายทางในประเทศที่อยู่ขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้า dtac ที่ใช้งาน WiFi Calling ในขณะที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นและโทรเข้าเบอร์ปลายทางของประเทศญี่ปุ่น จะคิดค่าบริการโทรต่างประเทศ (IDD) เช่นเดียวกับโทรจากเมืองไทย ไปยังประเทศญี่ปุ่น
3. การโทรออกหาเบอร์ปลายทางในต่างประเทศ (ประเทศที่ 3) จะคิดค่าบริการโทรต่างประเทศ (IDD) เช่นเดียวกับโทรจากไทย ไปยังประเทศนั้นๆ

ข้อสังเกต : กรุณาตรวจสอบว่ามีสัญลักษณ์ WiFi Calling แสดงที่หน้าจอโทรศัพท์ก่อนทำการโทรออกหรือรับสาย ดีแทคจะไม่รับผิดชอบใดๆต่อค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์กับผู้ให้บริการรายอื่นในประเทศนั้นๆ

เครื่องที่รองรับการใช้งาน WiFi calling มีเครื่องรุ่นใดบ้าง
เครื่องที่สามารถใช้งาน WiFi calling ได้ มีดังนี้
Samsung มี 2 รุ่นคือ Samsung Galaxy S6 และ Samsung Galaxy S6 edge
*ข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2559

ข้อจำกัดในการใช้งาน WiFi calling มีอะไรบ้าง
- จะไม่สามารถรับ-ส่ง SMS และ MMS เมื่อมือถือมีการจับสัญญาณ WiFi ได้เพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีการจับสัญญาณของเครือข่ายมือถือ
- เมื่อมีการใช้งานผ่าน WiFi calling เบอร์ short number บางเบอร์ที่ต้องการข้อมูล Location หรือพิกัดที่อยู่ จะไม่สามารถโทรออกได้ ลูกค้าจะต้องปิดสัญญาณ WiFi หรือปิดเมนู WiFi calling และเชื่อมต่อเครือข่ายมือถือก่อนจึงสามารถใช้งานได้
- WiFi calling แบบ VDO call จะไม่สามารถใช้งาน VDO Conference ได้
- WiFi calling แบบ VDO call จะไม่สามารถทำ Call Forward ได้เนื่องจากระบบยังไม่รองรับ

สามารถเปิด/ปิดการใช้งาน WiFi calling แต่ละเครื่องได้อย่างไร
Samsung :
เลือก การตั้งค่า (Settings) > เลือก Wi-Fi calling > เลือก (On) เปิดใช้งาน หรือ (Off) ปิดใช้งาน หากต้องการใช้งานการโทรผ่านสัญญาณ WiFi เป็นหลัก ให้เลือกเป็นแบบ WiFi preferred

การโทร แบบ Voice call และ VDO call เมื่อใช้ WiFi calling จะมีคุณภาพดีหรือไม่
คุณภาพการโทรทั้งแบบ Voice call และ VDO Call ของ WiFi calling ขึ้นอยู่กับคุณภาพสัญญาณ WiFi ถ้าคุณภาพของสัญญาณ WiFi ไม่ดีก็ส่งผลให้คุณภาพของเสียงและภาพไม่ดีเช่นกัน

สำหรับการใช้งาน WiFi ฮอตสปอตในที่สาธารณะ จำนวนผู้ใช้ในฮอตสปอตนั้น ๆ มีผลทำให้เกิดปัญหาคุณภาพการโทร แม้ว่าจะมีความแรงของสัญญาณ WiFi มากก็ตาม

ระหว่างใช้งานบน WiFi calling และมีการเคลื่อนที่ห่างจากสัญญาณ WiFi สายที่ใช้งานอยู่ไม่ว่าจะเป็น Voice call หรือ VDO call จะหลุดหรือไม่
การใช้งานจะขึ้นอยู่กับการจับสัญญาณของมือถือในขณะนั้น
- ในขณะที่ใช้สายอยู่มือถือสามารถจับสัญญาณ WiFi เมื่อใช้งานการโทรผ่าน WiFi และเคลื่อนที่ออกจากสัญญาณ WiFi นั้นจะทำให้สายหลุดทันที
- ในขณะที่ใช้สายอยู่มือถือจับสัญญาณ WiFi และเปิดใช้งานเครือข่าย 4G calling ไปด้วย เมื่อไม่มีสัญญาณ WiFi ลูกค้ายังสามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง

WiFi ฮอตสปอตใดบ้างที่สามารถใช้งาน WiFi calling ได้
WiFi calling ใช้งานได้เมื่อผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อเครื่องโทรศัพท์กับ WiFi hotspot เว้นแต่ผู้ให้บริการเครือข่าย WiFi นั้นไม่อนุญาติให้ใช้งาน การโทรผ่าน VoIP ผ่านเครือข่าย ซึ่งในกรณีนี้จะไม่สามารถใช้งาน WiFi calling ได้ รวมถึงการโทรผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ทั้งนี้ กรุณาตรวจสอบกับผู้ให้บริการเครือข่าย WiFi นั้น ๆ

บริการพื้นฐานใดบ้างเมื่อจับสัญญาณการใช้งาน 4G calling หรือ WiFi calling แล้วใช้งานไม่ได้
กรณีเบอร์ต้นทางเป็น WiFi calling
- หมายเลขโทรด่วน (Short number) บางหมายเลขที่ต้องการข้อมูล location อาจจะโทรไม่ได้หรือโทรติดเบอร์ส่วนกลางแทนที่จะโทรติดสาขาที่ถูกต้องตามพื้นที่ใช้งานนั้น ๆ

กรณีเบอร์ปลายทางเป็น WiFi calling
- บริการคัดกรองเลขหมายโทรเข้า (call screening) : ต้องยกเลิก service นี้ก่อนเริ่มใช้งาน WiFi calling
- บริการปฏิเสธการรับสาย ในกรณีที่ไม่แสดงเบอร์โทรเข้า (No number no talk) : ต้องยกเลิก service นี้ก่อนเริ่มใช้งาน WiFi calling
- บริการแจ้งเตือนเลขหมายที่ไม่สามารถติดต่อได้ เมื่อไม่มีสัญญาณเครือข่ายมือถือ (Cellular) (Missed call alert)
ระหว่างการใช้งาน VDO Call ผ่าน dtac 4G calling บนเครือข่าย 4G อยู่ แล้วย้ายไปใช้งานบน WiFi 

เมื่อจับสัญญาณ WiFi ที่ต้องใส่ User / Password ใหม่ หรือ จับสัญญาณ WiFi ในโรงแรมได้ VDO Call จะหลุดหรือไม่
ขณะที่มีการใช้งานการโทร VDO call บน 4G แล้วจับสัญญาณ WiFi ที่ยังไม่เคยใส่ Username/Password สายจะไม่หลุดและยังใช้งานอยู่บน 4G ได้ และเมื่อมีการใส่ Username/Password เรียบร้อย จึงจะใช้งาน WiFi calling ได้

หมายเหตุ: กรณีนี้จะเกิดขึ้นหากเลือก WiFi calling เป็นแบบ WiFi preferred เท่านั้น

ความเร็ว WiFi จะมีผลต่อคุณภาพการใช้งาน VDO บน WiFi หรือไม่
ความเร็วของ WiFi มีผลต่อคุณภาพการใช้งานทั้งโทร และ VDO call บน WiFi
ถ้าความเร็วของอินเทอร์เน็ต ของ WiFi ณ ขณะนั้นต่ำ ก็อาจทำให้ภาพค้าง, ภาพแตก, สายหลุด หรือเปลี่ยนจาก VDO call มาเป็น Voice call ได้

เมื่อใช้ WiFi calling แบบ VDO call แต่ปลายทาง เครื่องไม่รองรับ และไม่ได้อยู่พื้นที่ 4G หรือ WiFi ระบบจะมีการแจ้งเตือน ให้ทราบก่อนหรือไม่
ถ้าปลายทางเครื่องไม่รองรับการโทรแบบ VDO call การโทรจะถูกเปลี่ยนให้เป็น Voice call อัตโนมัติ โดยไม่มีการแจ้งเตือน

ขณะใช้งาน WiFi calling แบบ VDO call อยู่ และในระหว่างนั้นจำนวนชั่วโมง WiFi หมดสายจะหลุดหรือไม่หากเปิด 3G ไว้
สายจะหลุด เพราะ WiFi calling ไม่สามารถย้ายข้ามมาเป็นเครือข่าย 3G ได้

ขณะที่มือถือเชื่อมต่อกับ WiFi ฮอตสปอต และโทรด้วย WiFi calling อยู่ เกิดกรณี WiFi ฮอตสปอต ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ การโทรในขณะนั้นจะเป็นอย่างไร
มีผลทำให้สายหลุด

เมื่อมือถือเชื่อมต่อกับ WiFi ฮอตสปอต แต่ภายหลัง ฮอตสปอต นั้นไม่สามารถต่อกับ internet ได้ ถ้าลูกค้าโทรออกด้วย WiFi callling จะเป็นอย่างไร
เมื่อโทรออกจะไม่ได้ยินเสียงใด ๆ (โทรออกไม่ได้) หลังจากนั้น 3 นาทีจะใช้งานได้ปกติ บน 4G calling หรือ 3G/2G Voice ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่ลูกค้าเชื่อมต่อได้ในขณะนั้น

การใช้งาน WiFi calling ทั้งแบบ Voice call และ VDO call เสียงจะดีเลย์เหมือนโทรผ่าน LINE, Viber หรือไม่
การโทรผ่าน WiFi calling จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสัญญาณ WiFi ที่ใช้อยู่ ณ จุดนั้น

รับส่ง SMS, MMS ผ่าน WiFi calling ได้หรือไม่
สามารถรับ/ส่ง SMS และ MMS ได้ตามปกติ หากเปิดการใช้งานเครือข่าย 4G/3G/2G ไปด้วย 
แต่หากเปิดใช้งานเฉพาะ WiFi (เปิด Airplane mode) จะไม่สามารถรับส่ง SMS และ MMS ได้

การใช้งาน WiFi calling ต้องมีการตั้งค่าเครื่องเพิ่มเติมหรือไม่ และหากต้องการใช้งาน VDO call / Voice บน WiFi เป็นหลัก ต้องทำอย่างไร
สำหรับเครื่อง Samsung ในการใช้งาน WiFi calling ต้องมีการตั้งค่าเพิ่มเติม โดยเลือก การตั้งค่า (Settings) > การโทร WiFi (Wi-Fi Calling) > เปิด (On) และเลือก "Wi-Fi preferred" เพื่อใช้งาน VDO call / voice บนการโทร WiFi เป็นหลัก

กรณีใช้ VDO call ผ่าน WiFi calling อยู่ แล้วปิดอินเทอร์เน็ต ผ่านช่องทางต่างๆ จะยังสามารถใช้งาน VDO call ได้อยู่หรือไม่
ถ้าปิดอินเทอร์เน็ตจะไม่สามารถใช้ VDO call รวมถึง Voice call ผ่าน WiFi calling ได้เนื่องจากบริการนี้ใช้งานผ่านช่องสัญญาณเดียวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต

หากใช้งาน VDO call (เฉพาะ Android) ผ่าน WiFi calling ไม่ได้ ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง
ตรวจสอบรุ่นโทรศัพท์ที่รองรับ วิธีการตั้งค่า และวิธีการใช้งาน โดยสามารถดูรายละเอียด คลิก รวมถึงตรวจสอบสัญญาณ WiFi ที่เชื่อมต่อว่าสัญญาณแรงเพียงพอหรือไม่ ด้วยการลองใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป

การเลือกเปิดการใช้งานแบบ Voice & Data หรือ ตั้งค่าเครื่องให้ใช้งาน WiFi calling แต่ถ้าโทรบนเครือข่าย 2G, 3G จะมีปัญหาการใช้งาน Voice หรือไม่
สามารถใช้งานได้ตามปกติบนเครือข่าย 2G/3G

กรณีที่มือถือเชื่อมต่อสัญญาณ WiFi แต่ WiFi นั้นไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้จะเป็นอย่างไร
จะไม่สามารถใช้งาน WiFi calling ได้เช่นกัน

เมื่อลูกค้า Samsung สมัครใช้งาน WiFi calling แล้ว หากต้องการเริ่มใช้งาน ต้องตั้งค่าตัวเครื่องอย่างไรบ้าง
Samsung 
หลังจากสมัครใช้งาน WiFi calling โดยการกด *444*51# โทรออก แล้ว ทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ไปที่การตั้งค่า > เลือก Wi-Fi Calling > เลือก on เพื่อเปิดการใช้งาน หรือ off เพื่อปิดการใช้งาน
2. สังเกตสัญลักษณ์   ที่แถบด้านบนสุดหากขึ้นแสดงว่า WiFi calling พร้อมใช้งานแล้ว

กรณีปิดเฉพาะ WiFi calling อย่างเดียว แต่ให้เปิด 4G calling ไว้ต้องทำอย่างไร เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานเองได้
กรณีที่สมัครเปิดบริการ WiFi calling จะได้บริการของ 4G calling ไปด้วย ทั้งนี้ การใช้งานของ 4G calling และ WiFi calling บนเครื่อง iPhone และ Samsung จะแยกกัน จึงสามารถเลือกเปิดหรือปิด การใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ได้ด้วยตนเอง

หมายเหตุ:
กรณีที่ลูกค้าเปิดบริการ WiFi calling จะสามารถใช้งานได้ ทั้ง 4G calling และ WiFi calling 
กรณีที่ลูกค้าเปิดบริการ 4G calling จะสามารถใช้งาน 4G calling ได้เพียงอย่างเดียว

ในขณะที่ใช้งาน VDO call อยู่แล้วมีสายซ้อนโทรเข้ามาแบบ VDO call จะเป็นอย่างไร
สายซ้อนที่โทรเข้ามาแบบ VDO call จะถูกเปลี่ยนให้เป็นแบบ Voice call โดยอัตโนมัติ ถ้าต้องการรับสายซ้อน ต้องกดพักสายแรกไว้ก่อน หลังจากวางสายซ้อนแล้วและต้องการกลับไปคุยกับสายแรกก็สามารถเลือกรับสายแบบ Voice call หรือ VDO call ที่ใช้อยู่ก่อนหน้านี้ได้

การใช้งาน WiFi calling บนเครือข่ายของผู้ให้บริการรายอื่นเช่น True, 3BB, TOT ตามบ้านและสถานที่สาธารณะ จะรองรับหรือไม่
WiFi calling สามารถใช้งานได้เมื่อเชื่อมต่อกับ WiFi ฮอตสปอต เว้นแต่ผู้ให้บริการเครือข่าย WiFi นั้นไม่อนุญาติให้ใช้งาน WiFi calling

กรณีที่ WiFi บริษัทบางแห่งตั้ง Set Proxy ไว้ หากเล่นอินเทอร์เน็ตได้จะใช้ WiFi calling ได้หรือไม่
กรณีที่ WiFi มีการตั้ง set proxy เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้งานโทรผ่านเครือข่าย (VoIP) จะไม่สามารถใช้งาน WiFi calling ได้ โปรดตรวจสอบกับผู้ให้บริการ WiFi ดังกล่าว

หากมีการตั้งค่าการรับสายแบบอัตโนมัติ และมีการโทรเข้าเป็นแบบ VDO call จะใช้บริการได้หรือไม่
การตั้งรับสายอัตโนมัติ สามารถใช้งานได้เมื่อมีสายเข้าที่เป็นทั้ง Voice และ VDO call

สัญลักษณ์ ที่บอกว่าเครื่องเปิดใช้งาน WiFi calling หรือ โทรผ่าน WiFi calling ต้องสังเกตุอย่างไร
เครื่อง Samsung จะมีสัญลักษณ์แสดงอยู่ที่แถบด้านบนสุดของโทรศัพท์


WiFi calling สามารถใข้งานในต่างประเทศได้หรือไม่
สามารถใช้ในงานต่างประเทศได้เมื่อมือถือเชื่อมต่อสัญญาณ WiFi เว้นแต่ผู้ให้บริการเครือข่าย WiFi นั้นมีการตั้งค่าที่ทำให้ไม่สามารถใช้ WiFi calling ได้

WiFi calling เมื่อใช้งานในต่างประเทศ จะโทรออกอย่างไร และมีการคิดค่าบริการอย่างไร
การโทรออกเมื่อใช้งานในต่างประเทศด้วย WiFi calling จะเทียบเท่ากับการใช้งาน WiFi callling ในประเทศ เสมือนกับลูกค้าใช้งานอยู่ในไทย
วิธีการโทรออกบน WiFi calling
1. การโทรกลับไปเบอร์ปลายทางในไทย สามารถกดเบอร์โทรศัพท์ได้ทันที โดยไม่ต้องกดรหัสประเทศ คิดค่าบริการเช่นเดียวกับการโทรภายในประเทศตามแพ็กเกจปัจจุบัน :
2. การโทรไปเบอร์ปลายทางซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในขณะนั้น ต้องเริ่มโทรด้วยการกด รหัสทางไกล และรหัสประเทศ โดยจะคิดค่าบริการแบบ international call เช่นเดียวกับการโทรออกจากไทยไปยังประเทศนั้น ๆ 
• +CC
• 004
• 00400
• 001
• 009
• 007
• 008

3. การโทรไปเบอร์ปลายทางซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ประเทศที่อยู่ในขณะนั้นและไม่ใช่การโทรกลับไทย ต้องเริ่มโทรด้วยการกด รหัสทางไกล และรหัสประเทศ โดยจะคิดค่าบริการแบบ international call เช่นเดียวกับการโทรออกจากไทยไปยังประเทศนั้น ๆ 
• +CC
• 004
• 00400
• 001
• 009
• 007
• 008
การรับสายสามารถรับสายได้โดยไม่เสียค่าบริการรับสายต่างประเทศ
*ทั้งหมดนี้ต้องตรวจสอบว่ามือถือนั้นใช้งานอยู่บน Wi-Fi calling หากไม่ใช่ จะถูกคิดเงินด้วย roaming rate ปกติ