11.01.2559

VSWR

VSWR : Voltage Standing Wave Ratio



VSWR คือ คือ อัตราส่วนของแรงดันสูงสุดและแรงดันต่ำสุดของรูปคลื่นนิ่งบนสายนำสัญญาณ VSWR (Voltage Standing wave Ratio) อัตราส่วนนี้เป็นค่าวัดปริมาณที่โหลดผิดไปจากสภาวะที่โหลดแมทช์มากน้อยเท่าไร ตัวอย่าง เช่น VSWR = 1 หมายความว่าคลื่นสม่ำเสมอตลอดสาย ซึ่งเป็นสภาวะที่โหลดที่แมทช์พอดี VSWR = อินพินิตี้ เมื่อโหลดเปิดวงจร หรือลัดวงจร
     ถ้าโหลดที่ต่อมีค่าความต้านทานเท่ากับ RL และสายนำสัญญาณมีอิมพีแดนช์ของสายเท่ากับ Zo เราสามารถคำนวณค่า VSWR ได้จากสูตร

หรือ


แล้วแต่ว่าตัวใดค่ามากกว่า

        ค่า VSWR จะต้องมากกว่าหรือเท่ากับหนึ่งเสมอไม่ว่า RL และ Zo จะมีค่าเท่าไรก็ตาม ฉะนั้นถ้า หรือ ก็จะได้ค่า VSWR = 2 ซึ่งเท่ากันทั้งสองกรณี ดังนั้นถ้าค่า VSWR ยิ่งมากขึ้นเท่าไรก็จะทำให้ไม่เกิดการแมทช์ขึ้นมากตามด้วย ซึ่ง VSWR เข้าใกล้ 1 การวัดค่า VSWR เครื่องมือที่ใช้วัด VSWR บางที่เราเรียกว่า SWR Meter หรือ Refectometer ซึ่งจะมีสเกลที่วัดได้อ่านค่าออกมาเป็น VSWR ได้เลย



การใช้ SWR Meter โดยต่ออนุกรมกับสายนำสัญญาณระหว่างเครื่องส่งกับสายอากาศ เริ่มแรกให้ปรับกำลังส่งของเครื่องส่งให้ออกมากที่สุดและปรับ Calibrate โดยปรับความไวของ SWR Meter ให้อ่านเต็มสเกลแล้วบิดสวิทช์อ่านค่า VSWR ได้เลย

Credit : http://kromchol.rid.go.th/cmd/knowledge/antenna_06.htm

-------------------------------------------------------------------------------------------------


VSWR : อัตราส่วนคลื่นนิ่ง

ในงานวิศวกรรมวิทยุและโทรคมนาคม อัตราส่วนคลื่นนิ่ง (อังกฤษ: Standing Wave Ratio (SWR)) เป็นตัวชี้วัดของการแมทชิงอิมพีแดนซ์ของโหลดกับอิมพีแดนซ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะของสายส่งหรือท่อนำคลื่น การไม่แมทช์กันของอิมพีแดนซ์เกิดขึ้นในคลื่นนิ่งไปตามเส้นสายส่ง และ SWR ถูกกำหนดเป็นอัตราส่วนของขนาดคลื่นนิ่งบางส่วนที่ antinode (สูงสุด) กับขนาดที่อีกโหนดหนึ่ง (ต่ำสุด) ไปตามเส้นสายส่ง

SWR มักจะหมายความในแง่ของจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของแรงดันไฟฟ้า AC ไปตามเส้นสายส่ง มันจึงถูกเรียกว่า อัตราส่วนคลื่นนิ่งแรงดัน (อังกฤษ: voltage standing wave ratio) หรือ VSWR (บางครั้งออกเสียงว่า "vizwar"[1][2]) ตัวอย่างเช่นค่า VSWR = 1.2:1 หมายถึงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับเนื่องจากคลื่นนิ่งไปตามเส้นสายส่งขึ้นสูงถึงค่าสูงสุดเป็น 1.2 เท่าของแรงดันไฟฟ้า AC ต่ำสุดไปตามแนวสายส่งนั้น ค่า SWR ก็สามารถกำหนดได้เช่นกันว่าเป็นอัตราส่วนของแอมพลิจูดสูงสุดต่อแอมพลิจูดต่ำสุดของกระแสในสายส่ง เรียกว่าความแรงของสนามไฟฟ้า (อังกฤษ: electric field strength) หรือความแรงของสนามแม่เหล็ก (อังกฤษ: magnetic field strength) ถ้าไม่สนใจการสูญเสียในสายส่ง, อัตราส่วนสองตัวนี้เหมือนกัน

อัตราส่วนคลื่นนี่งกำลังงาน (อังกฤษ: power standing wave ratio) (PSWR) ถูกกำหนดให้เป็นกำลังสองของ VSWR[3] อย่างไรก็ตามคำศัพท์นี้ไม่มีความสัมพันธ์ทางกายภาพกับกำลังงานจริงที่เกี่ยวข้องในการส่ง

ค่า SWR สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่ามิเตอร์ SWR. เนื่องจาก SWR ถูกกำหนดให้สัมพันธ์กับอิมพีแดนซ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะของสายส่ง, มิเตอร์ SWR ต้องถูกสร้างสำหรับอิมพีแดนซ์นั้น นั่นคือในทางปฏิบัติสายส่งส่วนใหญ่ที่ใช้ในงานเหล่านี้จะเป็นสาย coaxial ที่มีค่าอิมพีแดนซ์เท่ากับ 50 หรือ 75 โอห์ม การตรวจสอบ SWR เป็นขั้นตอนมาตรฐานในสถานีวิทยุ(ตัวอย่าง)เพื่อตรวจสอบการแมทชิงอิมพีแดนซ์ของสายอากาศกับสายส่ง (และเครื่องส่งสัญญาณ). ไม่เหมือนกับการเชื่อมต่อเครื่องวิเคราะห์อิมพีแดนซ์ (หรือ "สะพานอิมพีแดนซ์") โดยตรงเข้ากับสายอากาศ (หรือโหลดอื่​​น ๆ) SWR มิเตอร์ไม่ได้วัดอิมพีแดนซ์จริงของโหลด แต่ทำการประเมินขนาดของอิมพีแดนซ์ที่ไม่แมทช์กันเพียงแแค่ดำเนินการวัดในด้านเครื่องส่งสัญญาณของสายส่ง


---------------------------------------------------------------------------------

ค่า VSWR ที่เราใช้กันในงานโทรคมฯ ต้องน้อยกว่า 1.2 ถ้ามากกว่า 1.2 ขึ้นไปค่าจะไม่ดี (ยิ่งค่าน้อยยิ่งดี) 
ในตารางนี้เป็นการเทียบ VSWR กับ RL (Reurun Loss) ซึ่ง 2ค่านี้เป็นส่วนกลับกัน


--------------------------------------------------------------------------------------

หัวข้อ : ค่า SWR สำคัญไฉนในระบบส่งความถี่ย่าน RF
มาศึกษาหาความจริงกับค่า SWR ว่ามันมีความสำคัญมากแค่ไหน อย่างไร ? ในระบบส่งสัญญาณออกอากาศและมันคือตัวกำหนดประสิทธิภาพจริงหรือ?
                ในหมู่นักวิทยุสมัครเล่นและผู้สนใจในด้านการสื่อสาร ส่วนใหญ่มักจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่อง SWR ของสายอากาศ ซึ่งมักจะเข้าใจว่าลักษณะของสายอากาศที่ดีนั้นควรมีอัตราส่วนคลื่นนิ่ง หรือค่า SWR ประมาณ 1:1 แต่จริงๆแล้วในทางปฏิบัติจะเป็นเช่นนั้นได้หรือไม่อัตราส่วนดังกล่าวเป็นอัตราส่วนในทางอุดมคติที่เกิดขึ้นได้ในกรณีที่โหลดเป็นตัวต้านทานดัมมี่โหลด (resistive dummy load) เท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ค่อนข้างยาก
                เพื่อทำความเข้าใจในเรื่อง SWR คงต้องย้อนกลับไปศึกษาทฤษฎีพื้นฐานของสายอากาศกันบ้าง ซึ่งในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่จะอาศัยหลักความจริงเป็นพื้นฐาน

                ประการแรก โหลดสำหรับสายส่ง (Transmission line) ซึ่งอาจเป็นสายที่เปิดปลายสายไว้หรือสายโคแอกเชียล หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถแพร่กระจายพลังงานความถี่วิทยุ (RF) ได้ โหลดเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการคำนวณหาอัตราส่วนคลื่นนิ่งหรือ SWR ที่ปรากฎในสาย เช่นในกรณีที่สายมีอิมพีแดนซ์ประจำตัวของสาย (characteristic impedance) 50 โอห์ม และโหลดมีความต้านทาน 50 โอห์มเท่ากัน ในกรณีนี้จะไม่ทำให้เกิดคลื่นนิ่งแต่ถ้าในกรณีที่โหลดมีค่าความต้านทานไม่เท่ากับอิมพีแดนซ์ประจำตัวของสาย ก็จำทำให้เกิดคลื่นนิ่งขึ้นมา

                ประการที่สอง เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนคลื่นนิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของสายส่งได้ ไม่ว่าจะเพิ่มหรือลดความยาวของสายส่งหรือกระทำใดๆ ที่ภาคเครื่องส่งก็ตาม
                หลังจากทราบหลักพื้นฐานความเป็นจริงไปแล้ว มาทำความรู้จักกับคลื่นนิ่งให้กระจ่างแจ้งกันอีกสักนิด
             

คลื่นนิ่ง
                โดยพื้นฐานแล้วคลื่นนิ่ง (Standing wave) คือการกระจายของแรงดันและกระแสของสายส่งซึ่งเป็นผลลัพธ์ของคลื่นเดินหน้าหรือคลื่นที่ส่งออกไป และคลื่นสะท้อนกลับระหว่างแหล่งจ่ายกำลังกับโหลด คลื่นเดินหน้ากับคลื่นสะท้อนนั้นจะเสริมกันหรือหักล้างกันแล้วแต่ความแตกต่างเฟสของคลื่นทั้งสอง ผลลัพธ์ทั้งสองจะปรากฎเป็นคลื่นนิ่ง
                ปกติแล้วเมื่อกล่าวถึงคลื่นนิ่งมักจะอ้างถึง VSWR (voltage standing wave radio) เพราะว่าการทดสอบสนามไฟฟ้าในสายส่งนั้นทำได้ง่ายกว่าการทดสอบสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในสายส่ง ซึ่งต้องใช้การทดสอบแบบชีลด์ลูป (shielded loop) รูปแบบการแพร่กระจายคลื่นแรงดันและกระแสจะมีรูปร่างที่เหมือนกัน แต่การเปลี่ยนแปลงของคลื่นนิ่งทั้งแรงดันและกระแสจะมีความแตกต่างกัน โดยอยู่ห่างกันประมาณ 1 /4 ของความยาวคลื่น อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ของคลื่นนิ่งทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กันดังแสดงในรูปที่ 1
                ดังนั้นถ้าทำให้ค่า VSWR มีค่าต่ำที่สุดที่สามารถทำได้ นั่นหมายถึงโหลดที่ต่อกับสายส่งจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับตัวต้านทานบริสุทธิ์ (purely resistor) และย่อมหมายความว่าโหลดเกิดเรโซแนนซ์ที่ความถี่ใช้งาน



การแมตช์

               จากทฤษฎีพื้นฐาน อิมพีแดนซ์ของสายอากาศไดโพลชนิดฮาล์ฟเวฟจะมีอิมพีแดนซ์ประมาณ 70 โอห์ม และสายอากาศแบบโฟลด์ไดโพลจะมีอิมพีแดนซ์มากกว่าเป็น 4 เท่าหรือประมาณ 280 โอห์ม จากความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้สามารถออกแบบและเลือกใช้ระบบสายส่งที่เหมาะสมกับอิมพีแดนซ์ประจำตัวของสายอากาศได้ทันที และไม่ยากเท่าใดนัก

                ที่ความถี่ย่าน VHF และ UHF การแมตช์อาจทำได้ค่อนข้างยากมากขึ้นอีก ซึ่งทฤษฎีกล่าวไว้ว่าอิมพีแดนซ์ประจำตัวของควอเตอร์เวฟกราวน์เพลนมีค่าเป็น 20 โอห์ม ซึ่งจะแมตช์ได้ลำบากมากถ้าใช้สายส่งแบบโคแอกเชียลที่มีอิมพีแดนซ์ 50 โอห์ม ที่นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่ใช้กัน อย่างไรก็ตามสายอากาศแบบควอเตอร์เวฟกราวน์เพลนมีอัตราการขยาย (gain) ที่ดี และสามารถใช้งานในการแพร่กระจายคลื่นมุมต่ำๆ ได้ค่อนข้างดี

                ดังนั้นการใช้สายโคแอกเชียล 50 โอห์ม มาทำการแมตช์กับสายอากาศชนิดนี้อาจจะไม่ค่อยดีนักเพราะว่าคุณสมบัติของสายโคแอกเชียลเมื่อพิจารณาแล้วน่าจะเหมาะสมที่เป็นตัวแพร่กระจายคลื่นมากกว่า
                จากทฤษฎีได้กล่าวไว้ว่า เพื่อกำจัดการเกิดคลื่นนิ่งต้องพยายามแมตช์อิมพีแดนซ์ของสายอากาศและสายส่งให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด การแมตช์อาจทำได้โดยใช้ควอเตอร์เวฟทรานสฟอร์เมอร์หรือ อาจใช้วงจรแมตชิ่งที่ประกอบด้วยตัวเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติและความจำเป็นของปัญหานี้สามารถมองข้ามไปได้ ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับค่า SWR มากพอ เพื่อเลือกค่าที่ดีที่สุดแต่ไม่เทียบเท่าค่าในทางอุดมคติคือ SWR เท่ากับ 1:1

                ในทางปฏิบัติแล้วภาคเอาต์พุตของเครื่องส่งส่วนใหญ่ จะถูกออกแบบให้อิมพีแดนซ์ของแหล่งกำเนิดสัญญาณมีค่าต่ำมากๆ และที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพื่อต้องการลดการสูญเสียพลังงานในภาคเอาต์พุตเนื่องจากตัวมันเอง เมื่อเกิดการไม่แมตช์เกิดขึ้นระหว่างเครื่องส่งและสายส่ง เพราะว่าเมื่อเกิดการไม่แมตช์กัน แน่นอนจะต้องมีคลื่นส่วนหนึ่งสะท้อนกลับมายังเครื่องส่งและในกรณีนี้เครื่องส่งก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการออกแบบจึงต้องมีการป้องกันไว้ก่อน

                นักวิทยุสมัครเล่นบางท่านมักจะเข้าใจผิดว่า ในขณะที่ระบบสายอากาศและสายส่งไม่แมตช์กัน พลังงานจะสูญเสียไปเนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นในสาย ความจริงแล้วพลังงานจะถูกสะท้อนกลับลงมาตามสายส่งและกลับไปยังเครื่องส่งอีกครั้ง หลังจากนั้นคลื่นก็จะถูกสะท้อนกลับอีกครั้งโดยภาคเอาต์พุตของเครื่องส่งกลับไปตามสายส่งเช่นเดิม และจะปรากฎที่สายอากาศซึ่งเป็นตัวแพร่กระจายคลื่นอีกครั้งและจะเป็นอย่างนี้เรื่อยไป

                ในทางปฏิบัติตราบเท่าที่เครื่องส่งยังไม่เสียหายและผลเนื่องจากเครื่องส่งร้อนเกินไป เนื่องจากเกิดการไม่แมตช์ของระบบสายอากาศและสายส่ง ผลของ VSWR มีค่าสูงจะไม่มีผลต่อกำลังของการส่งแพร่กระจายคลื่นของระบบสายอากาศความจริงแล้วผลกระทบเพียงอย่างเดียวที่นำมาพิจารณาคือการหน่วงเวลาของการแพร่กระจายคลื่น ระหว่างคลื่นเดินหน้าหรือคลื่นที่แพร่กระจายออกไป และคลื่นสะท้อนกลับ


การวัดค่า VSWR
                เมื่อต้องการวัดค่า VSWR วิธีที่เที่ยงตรงที่สุดคือการวัดกำลังของสัญญาณที่ส่งออกไป และกำลังของสัญญาณที่ส่งออกไป และกำลังของสัญญาณที่สะท้อนกลับมา โดยใช้วัตต์มิเตอร์ชนิดอินเซอร์ต (insertion type wattmeter) และคำนวณค่า VSWR จากตารางในรูปที่ 2 (ก) และ 2 (ข) ตำแหน่งการวัดเพื่อจะให้ค่าออกมาถูกต้องเที่ยงตรงที่สุดนั้น ก็มีทฤษฎีอีกหลายทฤษฎีที่กล่าวถึง
                แต่ตำแหน่งที่สะดวกที่สุดเพื่อวัดคลื่นที่ส่งออกไปและคลื่นที่สะท้อนกลับคือติดตั้งที่ตำแหน่งของเครื่องส่ง อย่างไรก็ตามวิธีวัดค่า VSWR ที่เครื่องส่งนี้ บางท่านอาจแย้งว่าการสูญเสียในสายจะทำให้ค่ากำลังที่สะท้อนกลับที่วัดได้มีค่าต่ำกว่าค่าที่เป็นจริง ดังนั้นถ้าต้องการให้ถูกต้องและเที่ยงตรงมากที่สุดในการวัดควรพยายามใช้สายส่งให้สั้นที่สุด และในทางปฏิบัติควรติดตั้งเครื่องส่งและสายอากาศให้อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กันมากที่สุดด้วย              
                ดังนั้นค่า VSWR จึงเป็นตัวบ่งบอกว่าเครื่องส่งกับสายอากาศที่เลือกใช้ในระบบนั้นดีที่สุดแล้วหรือยัง ซึ่งค่า VSWR นี้เป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อใช้ในการพิจารณาแต่ถ้าจะกล่าวถึงระบบสายอากาศค่า VSWR นี้จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของสายอากาศแต่อย่างใด การออกแบบระบบสายอากาศเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกัน
ณ ตรงนี้ คงทำให้หลายท่านมีความเข้าใจมากขึ้นและชัดเจน บางท่านอาจจะไม่เคยให้ความสนใจ แต่เพื่อความสมบูรณ์ทดลองวัดดูสิครับ บางครั้งคุณอาจคิดว่าระบบที่คุณต่อใช้งานอยู่นั้นดีแล้ว แต่แท้ที่จริงมีพลังงานมากมายที่ต้องสูญเสียไปโดยไร้ประโยชน์

Credit : http://www.108ham.com/?id=70&Amateur_radio.html

4.26.2559

IM-SSF

IM-SSF : IP Multimedia Service Switching Function

เป็น Application ใน ATS ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่าง IMS/4G กับ CS/3G intelligent network (IN)/CAMEL เมื่อเบอร์จะโทรออกเป็น VoLTE Subscriber ระบบเติมเงิน (Prepaid) ระบบ IMS ต้องสอบถามข้อมูลส่งไปยัง IN-CAMEL ก่อนทำการโทรออก เพื่อตวจสอบข้อมูล(เงินคงเหลือ/วันคงเหลือ/สิทธิ์อื่นๆ)ซึ่งเป็นรูปแบบข้อมูลเดิม2G/3G



3.01.2559

IoT

IoT : Internet of Things

ณ ปัจจุบัน ผู้คนทั่วๆ ไป อาจจะคุ้นเคยกับ “Internet” ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพของการเชื่อมต่อ ระหว่างคน กับ ระบบอินเทอร์เน็ต ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ และ อื่นๆ อีกมากมายหลายรูปแบบ แต่ถ้าพูดถึงคำๆ ว่า “Internet of Thing” ในตอนนี้ อาจจะมีผู้คนมากมายเกิดอาการงงๆ ว่า “Internet” กับ “Thing” มันเป็นคืออะไร เกี่ยวกันอย่างไร
“คน กับ อินเทอร์เน็ต” ไปสู่ “สิ่งของ กับ อินเทอร์เน็ต”

The Internet of Things  คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และ เครื่องมือต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ และอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเครื่องมือต่างๆ จะสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ในอนาคต ผู้บริโภคทั่วไปจะเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่ทำให้พวกเขา สามารถควบคุมสิ่งของต่างๆ ทั้งจากในบ้าน และสำนักงานหรือจากที่ไหนก็ได้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน การเปิดปิดไฟ ไปจนถึงการสั่งให้เครื่องทำกาแฟ เริ่มต้มกาแฟ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จำเป็นจะต้องถูกพัฒนาก่อนที่ IoT จะเป็นความจริงขึ้นมา เช่น ระบบตรวจจับต่างๆ (Sensors) รูปแบบการ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ และระบบที่ฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ แต่ขณะนี้ บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Microsoft และ Cisco ก็หันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีนี้ และในปี 2013 เทคโนโลยี “Internet of Things” จะถูกพูดถึงกันมากขึ้น และจะมีการทำวิจัยและ พัฒนาเพื่อทำให้ สามารถนำมาใช้ได้จริงมากขึ้น

ศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง Internet of Things ได้จาก YouTube


อีก 5 ปี สิ่งของกว่าแสนล้านชิ้น หรือ เพิ่มขึ้นกว่า 300% จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
     จากการคาดการณ์ในผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม IT ในอีก 5 ปี ข้างหน้า ณ จากนี้ไป อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันชนิดต่างๆ จะเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต เพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบันกว่า 300 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณกว่า แสนล้านชิ้น เนื่องจากอุปกรณ์ Sensor ต่างๆ ที่จะติดตั้งในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และส่งสัญญาณต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจะมีราคาลดลงไม่น้อยกว่า 80-90% จากราคาในปัจจุบัน      การเชื่อมต่อโดยมี Sensor ที่เกิดขึ้นจากความทันสมัยซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำลงทุกๆ วันของ เทคโนโลยี Micro Electromechanical Sensors (MEMS) นั้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริบทของชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่อาจจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสิ่งของในอุตสาหกรรมหนึ่งกับสิ่งของในอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือ อุตสาหกรรมกับหน่วยงาน และ อื่นๆ อีกมากมายหลายบริบท
คน, สิ่งของ และ องค์กร (Human, Thing, and Organization)

    องค์กรในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน หรือ หน่วยงานราชการสามารถนำขีดความสามารถของ Internet of Things มาช่วยในการบริหารจัดการสินทรัพย์, การคำนวณ หรือ ประมาณการ ปริมาณการทำงาน, และการพัฒนาสิ่งใหม่ โดยใช้ช้อมูลต่างๆ ที่ถูกรวบรวมผ่าน Sensors Technology แล้วส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลกลาง    ผมขอตัวอย่างง่ายๆ ของการประยุกต์ใช้ Internet of Thing เช่น อาคารจอดรถของห้างสรรพสินค้าใหญ่ หรือ อาคารจอดรถของ BTS เป็นต้น อาคารจอดรถเหล่านี้ จะมี Sensor ไว้ตรวจสอบจำนวนรถที่จอดในอาคาร โดย Sensor เหล่านี้ จะส่งสัญญาณว่าพื้นที่ตรงนั้นมีรถจอดอยู่หรือไม่ ทำให้ผู้บริหารจัดการอาคารเหล่านั้นสามารถตรวจสอบได้ว่า มีพื้นที่ตรงไหนว่าง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่จอดรถ ชั้นไหนของอาคารจอดรถ มีพื้นที่ว่าง และสามารถขับรถไปสู่พื้นที่จอดนั้น โดยไม่ต้องเสียเวลาขับรถวนไปมา    จากตัวอย่างข้างต้น จะช่วยให้ท่านเห็นภาพระหว่าง “Thing” ซึ่งก็คือ “รถยนต์” ที่ถูกตรวจจับโดย “Sensor” และ Sensor จะส่งสัญญานไปสู่ Server ผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งอาจจะเป็น “เครือข่ายภายใน (Intranet)” หรือ “เครือภายภายนอกทั้งที่เป็นระบบปิด (Extranet)” หรือ “เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นระบบเปิด (Internet)”    หรือการที่แพทย์ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปตรวจคนไข้ที่บ้าน แต่สามารถเช็คอาการต่างๆ ผ่าน Sensor ต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ในอุปกรณ์แพทย์ ณ บ้านคนไข้ เป็นต้น

10 อันดับการประยุกต์ใช้ Internet of Things ยอดนิยมในขณะนี้


1. Smart home

ไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไหร่ที่ Smart Home จะถูกจัดอยู่ในอันดับหนึ่ง สำหรับเดือนที่สำรวจนั้นพบว่ามีผู้คนค้นหาบนกูเกิลด้วยคำว่า “Smart Home” มากกว่า 60,000 คนเลยทีเดียว โดยในฐานข้อมูลของ IoT Analytics มีบริษัทรวมถึง startup ต่างๆ อยู่มากถึง 256 บริษัทที่ทำเรื่อง Smart Home อยู่ในตอนนี้ และมีการเปิดให้ใช้งานแอพพลิเคชันทางด้าน IoT อยู่ในปัจจุบัน  จำนวนเม็ดเงินที่มีการลงทุนไปใน Smart Home ของบริษัท Startup ในปัจจุบันมีนั้นเกิน 2.5 พันล้านเหรียญไปแล้ว นี่ยังไม่ได้นับรวมบริษัท startups ชื่อดังอย่างเช่น Nest หรือ AlertMe เข้าไป และก็ยังไม่ได้รวมบริษัทข้ามชาติดังๆ อย่างเช่น Philips, Haier หรือ Belkin เข้าไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปจาก www.thalmic.com

2. Wearables

Wearables devices ยังเป็นประเด็นร้อนแรงที่ทุกคนพูดถึง และในไทยเองค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนจากสินค้าหลายๆ ค่ายที่มาวางขายกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจาก SumsungJawbone หรือ Fitbit แต่ยังมีที่ผู้บริโภคยังคงรอคอยอยู่คือ Apple smart watch ที่คาดว่าจะปล่อยออกมาในราวเดือนเมษายนปีนี้ ยังมีจากค่ายอื่นๆ อีกมากมายที่ทำออกมาได้อย่างน่าสนใจ เช่น Sony ที่มีทั้งนาฬิกา และสายรัดข้อมือ, Myo ที่สั่งงานด้วยการเคลื่อนไหว (Gesture control) หรือแม้แต่LookSee ที่เป็นกำไลข้อมือออกแบบมาอย่างสวยงาม จากทั้งหมดของบริษัท Startup ทางด้าน IoT สำหรับ Wearable แล้ว จนถึงตอนนี้ดูเหมือน Jawbone จะเป็นบริษัทที่ทุ่มเงินลงทุนไปมากที่สุด น่าจะมากกว่า 500 ล้านเหรียญไปแล้ว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปจาก www.districtoffuture.eu

3. Smart City

Smart city สามารถเป็นสิ่งที่อธิบายได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมไปถึงตั้งแต่ระบบจัดการการจราจรไปจนถึงระบบจัดการน้ำ จัดการขยะ ระบบตรวจจับและเฝ้าระวังความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสังคมเมือง แต่สิ่งที่ถูดพูดถึงมากที่สุดคือพลังงานที่หลายๆ เมืองได้สัญญาว่าจะมาช่วยบรรเทาในการใช้ชีวิตในเมืองของทุกวันนี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

 รูปจาก www.purdue.edu

4. Smart grids

Smart grid ไปเรื่องค่อนข้างเฉพาะเจาะจงอีกเรื่องหนึ่ง ในอนาคตนั้น smart grid จะเข้ามาใช้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน ในรูปแบบที่จะเป็นอัตโนมัติมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือและเศรษฐศาสตร์ของพลังงานไฟฟ้าเอง ในเดือนที่สำรวจนั้นพบว่ามีมากกว่า 41,000 คนที่ค้นหาด้วยคำที่เกี่ยวข้องกับ Smart grid นี้ อย่างไรก็ตามสำหรับใน Twitter ยังไม่ค่อยจะมีพูดคนพูดถึงเรื่องนี้กันเท่าไหร่นัก (มีเพียง 100 คนต่อเดือนที่พูดถึงเรื่องนี้)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปจาก www.theextramilewithcharlie.com

5. Industrial internet

Industrial internet ซึ่งหมายถึง IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรมและโรงงานการผลิต ขณะที่บริษัททางด้านวิจัยทางการตลาดเช่น Gartner หรือบริษัททางด้านเครือข่ายเช่น Cisco ได้มองว่า Industrial internet นี้เป็นอะไรที่มีโอกาสและความเป็นไปได้มากที่สุดแล้ว แต่มันก็ไม่ใช่สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป (mass) อย่างที่ smart home หรือ wearable เป็น สำหรับใน Twitter แล้ว industrial internet ถูกพูดถึงมากที่สุดถึงประมาณ 1,700 ทวีตต่อเดือน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปจาก www.wired.com

6. Connected car

Connected car เป็นส่วนที่มีการปรับตัวช้ากว่าในรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากวงรอบในการพัฒนาในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ปี เรายังไม่ได้เห็นการพูดถึงในเรื่องนี้มากเท่าไหร่ในช่วงที่ผ่านมา ในส่วนของ BMW และ Ford ก็ยังไม่ได้ประกาศออกมาเป็นรูปร่างมากนัก ถึงแม้ทาง Google, Microsoft และ Apple ได้ประกาศเปิดตัวฟอร์มสำหรับ connected car ไปกันบ้างแล้ว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปจาก www.electronics-eetimes.com

7. Connected Health (Digital health/Telehealth/Telemedicine)

แนวคิดของระบบ connected health, Digital health หรือ smart medical ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายนักในขณะนี้ แต่ก็มีหลายๆ ค่ายได้ปล่อยตัวระบบและอุปกรณ์มาให้เห็นกันบ้างแล้ว อย่างเช่น CellScope หรือ Swaive 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปจาก www.servicedesignmaster.com

8. Smart retail

สำหรับ Smart retail นั้นจะเข้ามาช่วยห้างร้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดีในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้าในการซื้อสินค้า แต่ในตอนนี้ระบบนี้ยังเริ่มต้นได้ไม่นานนักและสินค้าเฉพาะกลุ่ม เร็วๆ นี้คงได้เห็นกันมากขึ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
รูปจาก www.aimms.com

9. Smart supply chain

ระบบนี้จะเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยติดตามสินค้าที่กำลังขนส่งไปตามท้องถนน ซึ่งระบบนี้จริงๆ แล้วได้มีการใช้งานมาบ้างแล้ว แต่เมื่อพูดถึงในมุมมองของ Internet of Things ดูเหมือนว่าจะยังมีการพูดถึงอยู่ในวงจำกัด
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
รูปจาก www.ragusanews.com

10. Smart farming

Smart farming บ่อยครั้งที่ถูกมองข้ามเมื่อพูดถึง Internet of Things เพราะเนื่องจากมันไม่ค่อยเป็นที่รับรู้หรือถูกนึกถึงเมื่อเทียบกับด้านสุขภาพ มือถือ หรืออุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการทำไร่นาสวนต่างๆ เป็นการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ค่อนข้างห่างไกล ฉะนั้นการนำ Internet of Things มาประยุกต์ใช้เพื่อทำการมอนิเตอร์จึงเป็นอะไรที่สามารถปฏิวัติวงการการทำเกษตรได้เลยทีเดียว
สำหรับประเทศไทยเองเราจะเห็นได้ชัดในส่วนของที่เป็น Wearable ที่มีหลายคนที่รักสุขภาพก็มีการนำมาใช้กันบ้างแล้ว ในส่วนของ Smart home นั้นพบว่ายังน้อยอยู่ ส่วนที่สำคัญคือเนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองเกษตรน่าจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ Smart Farm นี้เป็นอย่างมากถ้าหากมีการส่งเสริมและนำมาประยุกต์ใช้ เมื่อในไม่กี่ปีมานี้ทางภาครัฐก็ได้เริ่มให้การสนับสนุนและพักดันเป็นอย่างดี เช่น NECTEC 

อ้างอิง

2.29.2559

CODEC

CODEC : Coders/Decoders


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยี    Voice over IP

            Voice  over  IP   หรือ  Voice  over  internet   Protocol   มักจะถูกเรียกสั้น ๆ ว่า VoIP เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ที่ทำให้เราสามารถรับ ส่ง สัญญาณเสียงผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตได้ โดยจะต้องอาศัยอุปกรณ์ (Hardware)  หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) ทำงานร่วมกัน เทคโนโลยี VoIP  นี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยองค์กร Advanced Research Projects Agency  Network (ARPANER) เมื่อปี ค.. 1973 เพื่อเป็นการคิดค้นเทคโนโลยีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการทำงานของ VoIP นั้นจะมีการแปลงสัญญาณเสียงจากต้นทางให้อยู่ในรูปแบบของ Packet เล็ก ๆ แล้วส่งไปยังผู้รับปลายทาง โดยอาศัยโปรโตคอลที่เรียกว่า (Internet Protocol) ในการส่งผ่านสัญญาณเสียงให้ผู้รับได้ฟังสัญญาณเสียงที่ส่งมาได้ หากมีการนำเอาเทคโนโลยี VoIP นี้ มาใช้งานในองค์กรต่าง ๆ จะพบว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายการใช้งานโทรศัพท์แบบปกติได้เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น  การใช้โทรศัพท์ทางไกลในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น
            VoIP  เป็นเทคโนโลยีสื่อสารด้วยเสียงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะแปลงเสียงจากผู้ส่งที่เป็นสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลผ่านอุปกรณ์เครือข่ายแล้วส่งต่อผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปยังผู้รับ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณกลับจากสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาล็อกผ่านทางอุปกรณ์เครือข่าย เพื่อให้ผู้รับได้ยินเสียงที่ส่งไป อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานโทรศัพท์ได้อีกช่องทางหนึ่ง

มาตรฐานการเข้ารหัส CODEC

             CODECS (Coders/Decoders) หรือ โคเดก เป็นขั้นตอนวิธี (Algorithm)  ที่ใช้ในการเข้ารหัสและถอดรหัสสัญญาณเสียงที่รับส่งกันระหว่างการสนทนาเพื่อให้มีความถูกต้อง และเป็นมาตรฐานเดียวกันให้สามารถส่งผ่านบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตได้ ปัจจุบันองค์กร ITU-T เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน CODECS ที่มีการใช้งานกันบนเครือข่ายของ VoIP โดยจะมีการเขียนตัวอักษร “G” นำหน้า เช่น G.711  G.723   G.729  เป็นต้น  ซึ่งแต่ละมาตรฐานก็จะมีขั้นตอนวิธีการที่แตกต่างกันไปบางมาตรฐานจะให้คุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยม  บางมาตรฐานใช้แบนวิดท์ (Bandwidth) มาก เช่น G.711 ซึ่งเหมาะสำหรับเครือข่ายในหรือ LAN  บางมาตรฐานก็ให้คุณภาพเสียงที่ดีแต่ใช้แบนด์วิดท์น้อย เช่น G.729 เหมาะสำหรับการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศหรือองค์กร แต่มาตรฐาน G.729 นั้น อาจะต้องมีการซื้อลิขสิทธิ์ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบที่เลือกใช้งานด้วย นอกจากมาตรฐานที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร G แล้วยังมีอีกหลาย ๆ CODECS ที่ได้รับความนิยม เช่น  GSM , iLBC , Speex ซึ่งจะนำเสนอต่อไป

            G.711 เป็นโคเดกที่ใช้การรหัสและถอดรหัสสัญญาณเสียงที่มีขนาด 64 kbps โดยจะไม่มีการบีบอัดสัญญาณเสียง และมีการใช้งานซีพียูในการเข้าและถอดรหัสน้อยมากจึงทำให้คุณภาพที่ได้มานั้นคุณภาพดีแต่จะใช้งานช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่มากว่าโคเดก (Codec) ชนิดอื่น ๆ โดยปกติแล้วมาตรฐาน G.711 นั้นจะแบ่งออกเป็นอีก 2 มาตรฐานย่อยคือ  alaw หรือ ulaw โดยที่ G.711 alaw นั้นจะใช้ในยุโรป (Europe) ส่วน G.711  ulaw นั้นจะใช้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้งสองมาตรฐานก็ต้องการช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่ 64 kbps โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ที่ใช้งานในระบบ VoIP นั้นจะตรองรับทั้งสองมาตรฐานนี้เป็นหลักไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ที่เป็นโทรศัพท์แบบ IP Phone ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงอุปกรณ์แปลงสัญญาณเสียงอย่าง ATA ก็รองรับด้วยเช่นกัน หากมีการนำโคเดกนี้ไปใช้งานกับการสื่อสารผ่านทาง Dial up ที่มีช่องสัญญาณเพียง 56 kbps อาจจะทำให้คุณภาพเสียงออกมาไม่ดีนัก เสียงจะขาด ๆ หาย ๆ ได้ เนื่องจากช่องสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารมีขนาดเล็กกว่าความต้องการของมาตรฐานนี้
            G.721 , G723, G726, G.728 และ G.729A
มาตรฐานเหล่านี้จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนตามความเหมาะสมของสภาพเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ โดยระบบจะมีการเลือกโคเดกที่มีความเหมาะสมให้กับอุปกรณ์ทั้งต้นทางและปลายทาง โดยจะคำนึงถึงความพอเพียงของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่ใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้น ซึ่งความต้องการของโคเดกเหล่านี้ก็จะอยู่ระหว่าง 8 ถึง 32 kbps นอกจากอุปกรณ์โทรศัพท์ต้นทาง และ ปลายทางจะรองรับมาตรฐานโคเดกเหล่านี้แล้วตัวเซิร์ฟเวอร์เองก็ต้องมีตัวแปลงเพื่อเข้ารหัสและถอดรหัสตามมาตรฐานนั้น ๆ ด้วยโดยส่วนมากแล้วมาตรฐานในกลุ่มนี้จะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ในการใช้งาน เช่น G.729A  นั้นเสียค่า License จำนวน 10 ดอลล่าร์ หากต้องการใช้งานมาตรฐานนี้กับระบบโทรศัพท์ Asterisk เป็นต้น
            GMS  หรือ  Global System for  Mobile communications เป็นมาตรฐาน Codec ที่ใช้งานสำหรับการสื่อสารของโทรศัพท์มือถือ ที่มีการใช้ช่องสัญญาณที่ 13 kbps ในการรับส่สัญญาณเสียง เป้นมารตรฐานที่มีขนาดเล็กและให้คุณค่าเสียงในระดับที่ดีและยังมีการใช้หน่วยประมาลผลต่ำอีกด้วย
            ILBC หรือ Internet low – bitrate code เป็นอีกมาตรฐานหนึ่งที่มีการใช้ช่องสัญญาณขนาดเล็กมาก โดยใช้ที่ 15 kbps ซึ่งสามารถใช้งานมาตรฐานนี้ได้ฟรี โดยที่อุปกรณ์โทรศัพท์ทั้งต้นทางและปลายทางต้องรองรับมาตรฐานนี้ด้วยเช่นกันจึงสามรถใช้งานได้ สามารถดูรายละเอียดของมาตรฐานโคเดกนี้ได้จาก www.ilbcfreeware.org
            Speex เป็นมาตรฐานโคเดกที่ใช้ช่องสัญญาณ (Bandwidth) ที่อยู่ระหว่าง 8 ถึง 32 kbps ตัว Speex เองสามารถที่จะปรับการใช้ช่องสัญญาณให้อยู่ในระดับกลางได้โดยไม่ต้องการการเรียกสายใหม่ เป็นโคเดกที่มีการนำมาใช้งานในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมาก เนื่องจากเป็นโคเดกที่ใช้งานได้ฟรี และมีความน่าเชื่อถือสูงแต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ต้นทาง และ ปลายทางจะต้องรองรับมาตรฐานนี้ด้วยเช่นกัน

ตารางเปรียบเทียบการใช้งานมาตรฐาน Codec แต่ละประเภท
            ตารางนี้จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการใช้งานมาตรฐานของ Codec แต่ละประเภทเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาเลือกใช้งาน Codec ให้มีความเหมาะสมกับสภาพเครือข่ายที่ใช้งานอยู่เพื่อให้เครื่องโทรศัพท์ที่อยู่ต้นทาง และปลายทางสามารถสื่อสารกันได้โดยการใช้งาน Codec ที่เหมือนกันทั้งนี้ต้องตรวจสอบดูด้วยว่า เครื่องโทรศัพท์ต้นทาง ปลายทาง และระบบโทรศัพท์ IP-PBX ที่นำมาใช้งานนั้น รองรับมาตรฐานดังกล่าวด้วย

ตารางการเปรียบเทียบ Codec แต่ละประเภท

Codec
Bandwidth
Packet
Interval
Ethernet Overhead bandwidth
Processing Intensity
Total Bandwidth
G.711
64 kbps
20 ms
31.2 kbps
Low
95.2 kbps
G.726
32 kbps
20 ms
31.2 kbps
Medium
63.2 kbps
G.728
16 kbps
10 ms
31.2 kbps
High
78.2 kbps
G.729A
8 kbps
10 ms
31.2 kbps
High
39.2 kbps
GSM
13 kbps
20 ms
31.2 kbps
Medium
44.2 kbps
iLBC
15 kbps
10 ms
31.2 kbps
High
46.2 kbps
Speex
8.32 kbps
10 ms
31.2 kbps
High
39.2 kbps

2.12.2559

VMS

VMS : Voice Mail Service


เป็นบริการฝากข้อความเสียง ที่เพิ่มความสะดวกสบาย ทำให้ไม่พลาดการติดต่อ โดยนำบริการ Miss Call Alert (MCA) มาร่วมเข้าไว้ด้วยกันซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

การตั้งค่าโอนสายทุกกรณี
การตั้งค่าโอนสายกรณีสายไม่ว่าง
การตั้งค่าโอนสายกรณีไม่รับสาย
การตั้งค่าโอนสายกรณีไม่สามารถติดต่อได้ / อยู่นอกพื้นที่ให้บริการ

Credit : http://truemoveh.truecorp.co.th/3g/vas/sms-mms/entry/3759

2.10.2559

AV

AV : Authentication Vectors


     คือค่าการยืนยันตรวจสอบเอกลักษณ์ของผู้ใช้ Ue/User เพื่อรักษาความปลอดภัยในการเข้ามาใช้งานในเครือข่าย ตรวจสอบจาก username และ password ว่าถูกต้องไหม โดยจะร้องขอข้อมูลจาก HLR / AuC / HSS 

รูปแบบใช้ชุดห้ากลุ่มในการคำนวณเข้ารหัสที่ถูกสร้างมาจาก HSS/AuC 

Quintet = (RAND, AUTN, XRES, CK, IK)

RAND = Random Number สุ่มหมายเลข
AUTN = Authentication Token ตรวจสอบเอกลักษณะเฉพาะ
XRES = Expected Result ผลที่คาดหวัง ผลสรุป
CK = Cipher Key สำคัญของทำเป็นรหัสตัวเลข
IK = Integrity Key สำคัญถูกต้องสมบูรณ์



และอีกรูปแบบที่คล้ายกันโดยใช้ AV

AKA : Authentication and Key Agreement
คือกระบวนการยืนยันผู้ใช้ 



AV = (AUTN, XRES, RAND, Kasme)






2.08.2559

UDP

UDP : User Datagram Protocol


  ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรโตคอล UDP จะขอกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานซักเล็กน้อยเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/P อันที่จริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP ทำงานแบบหลายชั้นเลเยอร์ โดยที่ชั้นเลเยอร์ที่ใช้หรืออ้างอิงหมายเลข IP คือชั้นเลเยอร์ที่ 3 หรือชั้นที่มีชื่อว่าอินเทอร์เน็ต (Internet Layer) เมื่อเทียบกับโมเดลของ OSI (Open System Interconnection) ก็คือชั้นเน็ตเวิร์ก (Network) นั่นเอง ชั้นที่ 3 นี้มีหน้าที่หลักในการนำพาแพ็กเก็ต (Packet) ของโปรโตคอลต่าง ๆ ระดับบนให้สามารถข้ามระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ได้โดยใช้โปรโตคอลที่มีชื่อว่า อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (Internet Protocol: IP)
ซึ่งโปรโตคอลตัวนี้มีหน้าที่นำพาแพ็กแก็ตจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งโดยไม่รู้และไม่สนใจว่าแพ็กเก็ตภายในจะเป็นของโปรโตคอลหรือโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวใดที่ทำงานบนตัวอุปกรณ์นั้น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ตัวนั้น ๆ เช่น แพ็กเก็ตภายในนั้นอาจจะเป็นของโปรแกรมประเภทเกมแบบออนไลน์ หรือเป็นของเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เช่น IE (Internet Explorer) ก็ได้
ดังนั้นเมื่อโปรโตคอล IP ไม่รับทำหน้าที่ดังกล่าว หน้าที่ในการแยกแยะจุดหมายปลายทางในระดับบนจึงเป็นของชุดโปรโตคอลในชั้นเอนด์ทูเอนด์ (End-to-End/Host-to-Host ) หรือตั้งแต่ชั้นทรานสปอร์ต ( Transport ) ขึ้นไปถ้าอ้างอิงกับโมเดล OSI
           ในชั้น Transport สำหรับโปรโตคอลชุด TCP/IP ได้เตรียมไว้สองโปรโตคอลหลัก นั่นคือโปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) และ UDP (User Datagram Protocol) ซึ่งโปรโตคอล UDP เป็นโปรโตคอลมาตรฐานหมายเลขที่ STD number 6 ตามมาตรฐาน RFC 768
รูปที่ 1 UDP กับ TCP/IP
           โปรโตคอล UDP นั้นไม่ซับซ้อนและเข้าใจได้ง่าย โดยคุณสมบัติของโปรโตคอล UDP มีดังต่อไปนี้
           * เป็นการสื่อสารแบบ End-to-End โปรโตคอล UDP สามารถระบุถึงโปรเซส (Process) ที่ทำงานบนเครื่องปลายทางได้ โปรเซสหมายถึงโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ เช่น การเปิด IE สามตัว ก็จะมีสามโปรเซส แต่จริงแล้ว ๆ เปิดแค่หนึ่งโปรแกรมอาจจะมีหลายโปรเซสเรียกว่าเทรด (Thread) ส่วนใหญ่มักจะเป็นโปรแกรมประเภทเซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่รับการร้องขอจากไคลเอนต์ (Client) หลาย ๆ ตัวพร้อมกัน
           * เป็นการเชื่อมต่อแบบคอนเน็กชันเลส (Connectionless) ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในส่วนถัดไป
           * ใช้การส่งข้อมูลแบบเมสเซจโอเรียนเต็ด (Message-oriented) โปรเซสที่ใช้โปรโตคอล  UDP โดยทั่วไปจะรับและส่งบนเมสเซจแบบเดี่ยวโดยศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า เซกเมนต์ (Segment) คำว่าเมจเซจแบบเดี่ยวคือไม่มีการต่อหรือแบ่งเมจเซจโดยโปรโตคอล UDP
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Connectionless            โปรโตคอล UDP ใช้การเชื่อมต่อแบบ Connectionless โปรเซสที่ใช้โปรโตคอล UDP ไม่จำเป็นต้องสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) กับปลายทางก่อนที่จะส่งข้อมูล ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือไม่ต้องต่อสายโทรศัพท์ก่อน และเมื่อโปรเซสต้องการหยุดการสื่อสารก็สามารถจะหยุดได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องทำการแฮนด์แชคกิ้ง (Handshacking) ใด ๆ การสื่อสารจะประกอบด้วยเซกเมนต์ส่วนของข้อมูลเท่านั้น ไม่มีส่วนควบคุมการสื่อสาร
อินเตอร์เฟซ Message-oriented            โปรโตคอล UDP ใช้อินเตอร์เฟสแบบเมสเซจ (Message-oriented Interface) แต่ละเมสเซจจะถูกส่งโดยใช้หนึ่งแพ็กเก็ต หรือหนึ่งดาต้าแกรม ของ UDP เท่านั้น นั้นหมายความว่าผู้ออกแบบโปรแกรมประยุกต์ต้องรู้ขอบเขตของข้อมูลที่จะส่ง
อย่างไรก็ตามขนาดสูงสุดของดาต้าแกรมของ UDP ที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับขนาดสูงสุดของดาต้าแกรมของ IP การทำให้ดาต้าแกรมของ UDP มีขนาดใหญ่นั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร อันเนื่องจากดาต้าแกรมขนาดใหญ่สามารถทำให้เกิดการแตกเป็นดาต้าแกรมย่อย ๆ ในชั้นเลเยอร์ของ IP (Fragmentation) โดยปกติมักจะเกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนระบบงานอุตสาหกรรม เช่น PLC มักไม่เกิดปัญหาดังกล่าวเนื่องจากมักส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มากเน้นความเร็วเป็นหลัก
           โปรโตคอล UDP ให้ระดับประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโปรโตคอล IP นั้นหมายว่าดาต้าแกรมสามารถหายได้ สามารถซ้ำได้ และเสียหายได้ในการติดต่อสื่อสาร ฉะนั้นโปรโตคอล UDP จึงเหมาะสมมากกับระบบงานประยุกต์ทางด้าน เสียง หรือ วิดีโอ ที่สามารถทนต่อความผิดพลาดในการส่งข้อมูลได้สูง 
การกำหนดจุดหมายปลายทาง           โปรแกรมประยุกต์ที่ส่งดาต้าแกรมไปยังเซิร์ฟเวอร์จำเป็นต้องระบุจุดหมายปลายทางที่มากกว่าหมายเลข IP ดำเนินการ ก็เพราะว่าดาต้าแกรมนั้นปกติจะส่งตรงไปยังโปรเซสปลายทางที่แน่นอน ดังนั้นโปรโตคอล UDP ต้องจัดการงานเหล่านี้โดยใช้หมายเลขพอร์ต (Port)
           พอร์ตมีขนาด 16 บิตที่มีไว้สำหรับระบุว่าโปรเซสบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เกี่ยวข้องกับดาต้าแกรมนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วจะมีพอร์ตอยู่ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
           1. พอร์ตเวลล์โนว์ (Well-known Port)            พอร์ต Well-known จะเป็นพอร์ตมาตรฐานที่รู้จักกันดีอยู่แล้วบนตัวเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่าง โปรแกรม TELNET ใช้พอร์ตหมายเลข 23
           พอร์ต Well-known จะมีค่าระหว่าง 1 ถึง 1023 (ก่อนหน้าปี 1992 มีช่วงอยู่ระหว่าง 256 ถึง 1023 ซึ่งถูกใช้ในระบบเซิร์ฟเวอร์ประเภท UNIX) โดยทั่วไปแล้วพอร์ต Well-known จะเป็นหมายเลขคี่ เหตุผลก็เพราะว่าในสมัยก่อนนั้นหลักการของพอร์ตจะใช้เป็นคู่ของพอร์ตหมายเลขคี่และหมายเลขคู่สำหรับการสื่อสารแบบดูเพล็กซ์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วโปรแกรมฝั่งเซิร์ฟเวอร์ต้องการแค่เพียงหนึ่งพอร์ตเท่านั้น ยกเว้นเพียงโปรแกรมเซิร์ฟเวอร์ BOOTP ที่ต้องใช้สองพอร์ตคือพอร์ตหมายเลข 67 และ 68

           จุดประสงค์ของพอร์ต Well-known คือทำให้ไคลเอนต์สามารถหาโปรเซสประเภทเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการแบบปริยายโดยไม่ต้องทำการคอนฟิกกูเรชันโดยผู้ใช้
           อีกอย่างพอร์ต Well-known ที่จองไว้แบบถาวรจะต้องลงทะเบียนที่หน่วยงาน Internet Corporation for Assigned Names and Numbers (ICANN) โดยปัจจุบันมีการจองไว้จำนวน 1024 (0-1023) หมายเลข สำหรับโปรแกรมฝั่งเซิร์ฟเวอร์มาตรฐาน ดังตัวอย่างบางส่วนที่ใช้โปรโตคอล UDP ดังตารางที่ 1
    
ตารางที่ 1 UDP Server Port Numbers
     
2. พอร์ตอีเฟมเมรอล (Ephemeral Port)            ฝั่งไคลเอนต์ไม่ได้จำเป็นต้องใช้พอร์ต Well-known ก็เพราะว่าไคลเอนต์สามารถเข้าติดต่อสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์เมื่อใดก็ได้ และใช้หมายเลขพอร์ตใดก็ได้ที่ไม่ซ้ำกับโปรเซสแบบไคลเอนต์ตัวอื่นในการส่งดาต้าแกรมไปยังเซิร์ฟเวอร์ แต่ละโปรเซสฝั่งไคลเอนต์จะถูกจัดสรรหมายเลขพอร์ตจากระบบปฏิบัติการที่มันทำงานอยู่ โดยระบบพูลลิ่ง (Pooling) พอร์ต Ephemeral จะมีค่ามากกว่า 1023 โดยปกติจะอยู่ในช่วง 1024 ถึง 5000 หลักการมีอยู่ว่าไคลเอนต์สามารถใช้หมายเลขพอร์ตใดก็ได้ตราบที่องค์ประกอบดังต่อไปนี้เป็นเอกลักษณ์ <ประเภทโปรโตคอลระดับทรานสพอร์ต, หมายเลข IP, หมายเลขพอร์ต >
           ดังนั้นการชี้ขาดว่าคู่โปรเซสไหนกำลังติดต่อสื่อสารกันต้องใช้หมายเลขพอร์ตทั้งสองฝั่งเป็นตัวตัดสิน ในทางเทคนิคหมายเลขพอร์ตจะระบุถึงโปรเซสของโปรแกรมประยุกต์ในเครื่องนั้น ๆ แต่ซ็อกเก็ต (Socket) ซึ่งประกอบด้วยหมายเลข IP และหมายเลขพอร์ต ตัวอย่างเช่น 193.61.29.127:53 (ซ็อกเก็ต สำหรับ DNS Server) จะเป็นตัวบ่งชี้การเชื่อมต่อแบบ End Point เสมือนเป็นวงจรสื่อสารแบบเสมือน (Virtual Circuit) ของการติดต่อสื่อสารของคู่โปรเซส ณ ขณะนั้น
           โดยพื้นฐานแล้วโปรโตคอล UDP ทำงานระดับแบบเดียวกับโปรโตคอล IP ยกเว้นการเราติ้ง แต่ที่เป็นพิเศษแตกต่างกับโปรโตคอล IP คือสามารถทำตัวเป็น Multiplexer/Demultiplexer สำหรับการส่งและรับดาต้าแกรมโดยใช้หมายเลขพอร์ตเสมือนเป็นสล๊อตข้อมูล (Data Slot) ดังแสดงในรูปที่ 2
รูปที่ 2 UDP Multiplexer/Demultiplexer
รูปแบบดาต้าแกรมของ UDP (Datagram Format)           แต่ละดาต้าแกรมของ UDP จะถูกส่งโดยหนึ่งดาต้าแกรมของ IP ถึงแม้ดาต้าแกรมของ IP อาจจะถูกแบ่งย่อยเป็นหลายดาต้าแกรมย่อยระหว่างการส่งซึ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เครือข่ายที่มันวิ่งผ่าน แต่อย่างไรก็ตามที่ฝั่งรับจะประกอบรวมดาต้าแกรมย่อยของ IP กลับตามสภาพเดิมก่อนที่จะส่งให้โปรโตคอล UDP สำหรับโปรโตคอล IP ทุกระบบจะยอมรับขนาดดาต้าแกรมที่ 576 ไบต์ นั้นหมายความว่าถ้าใช้ขนาดส่วนหัวของ IP ใหญ่สุดที่ 60 ไบต์ จะมีพื้นที่ให้ดาต้าแกรมของ UDP จำนวน 516 ไบต์ซึ่งเป็นขนาดที่ผู้ออกแบบไม่ควรใช้เกิน แต่ตามหลักการขนาดดาต้าแกรมของ UDP สามารถใหญ่กว่า 516 ไบต์ได้ แต่ก็ไม่รับประกันประสิทธิภาพการสื่อสาร
           โปรโตคอล UDP เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับโปรแกรมประยุกต์ที่จะส่งข้อมูลโดยใช้เครือข่าย TCP/IP ข้อดีคือไม่จำเป็นต้องต้องสร้างการเชื่อมต่อก่อน โปรโตคอล UDP จะส่งข้อมูลเป็นเซกเมนต์หรือดาต้าแกรมที่ประกอบด้วยส่วนหัว (Header) ขนาด 8 ไบต์ตามด้วยข้อมูลจริง (Data) ที่ต้องการส่ง หรือในทางเทคนิคเรียกว่าเปย์โหลด (Payload) รูปแบบฟอร์แมตของดาต้าแกรมแสดงดังรูปที่ 3
     
รูปที่ 3 UDP Format
           * ฟิลด์พอร์ตต้นทาง (Source Port) เป็นฟิลด์ (Field) ที่ใช้ระบุถึงโปรเซสที่ส่งดาต้าแกรมนั้น ๆ
           * ฟิลด์พอร์ตปลายทาง (Destination Port) เป็นฟิลด์ ที่ใช้ระบุถึงโปรเซสที่ต้องนำข้อมูลในดาต้าแกรมนั้น ๆ ไปประมวลผลต่อ
           * ฟิลด์ความยาวเมสเซจ (Message Length) เป็นฟิลด์ที่ใช้บอกความยาวของดาต้าแกรมนั้นโดยคิดจากส่วนหัวรวมทั้งข้อมูลโดยมีหน่วยเป็นไบต์ หรือออกเต็ต (Octet)
           * ฟิลด์เช็คซัม (Checksum) เป็นฟิลด์ตรวจสอบความผิดพลาดแบบทางเลือก (Optional) ถ้าไม่ใช้ให้ใส่ค่าทุกบิตเท่ากับหนึ่ง
           จดจำไว้ว่า โปรโตคอล UDP ไม่ให้สนับสนุนการควบคุมการไหลของข้อมูล (Flow Control), การควบคุมความผิดพลาด (Error Control) หรือ แม้แต่การส่งซ้ำ ถ้าการได้รับดาต้าแกรมที่มีความเสียหาย สิ่งที่โปรโตคอล UDP จัดการแค่ส่งข้อมูลไปยังโปรเซสปลายทางให้ถูกต้องโดยใช้หมายเลขพอร์ตเท่านั้น
เช็คซัมของ UDP (Checksum)           เช็คซัมมีขนาด 16 บิต ฝั่งส่งสามารถเลือกว่าจะคำนวณค่าเช็คซัม หรือไม่คำนวณโดยการกำหนดให้ค่าเท่ากับศูนย์ ดังนั้นทางด้านฝั่งรับจะทำหน้าที่ตรวจสอบค่าเช็คซัมว่ามีค่าเท่ากับศูนย์หรือไม่ก่อน ถ้าไม่เท่ากับศูนย์ก็จะคำนวณว่าค่าเช็คซัมนั้นมีค่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องแสดงว่าดาต้าแกรมนั้นมีปัญหา จดจำไว้ว่าโปรโตคอล UDP ใช้การคำนวณแบบ Ones-complement Arithmetic ดังนั้นค่าศูนย์จะคำนวณได้ผลทุกบิตในฟิลด์เช็คซัมเท่ากับหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นการคำนวณหาค่าเช็คซัมไม่ใช่เฉพาะคิดจากผลรวมของฟิลด์ในดาต้าแกรมของ UDP เท่านั้น แต่จะนำค่าจากส่วนหัวจำลอง IP  (Pseudo-IP Header) มาคิดด้วยดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 Pseudo-IP Header
UDP Encapsulation           รูปที่ 5 แสดงตัวอย่าง การบรรจุดาต้าแกรมของ UDP ลงในดาต้าแกรมของ IP และสุดท้ายทั้งหมดถูกบรรจุลงโปรโตคอลระดับดาต้าลิงค์ (Data Link)
รูปที่ 5 UDP Encapsulation
การปฏิสัมพันธ์ระดับโปรเซส           โปรโตคอล UDP ไม่ได้ถูกจำกัดให้ปฏิสัมพันธ์แบบ 1-1 เท่านั้น การปฏิสัมพันธ์แบบ 1-many ก็สามารถทำได้โดยใช้หมายเลข IP แบบบรอดคาสต์ (Broadcast) หรือ มัลติคาสต์ (Multicast) ดังนั้นการปฏิสัมพันธ์แบบ many-1 ก็สามารถทำได้เช่นกันเสมือนกับการมีหลายไคลเอนต์ติดต่อสื่อสารกับหนึ่งเซิร์ฟเวอร์ สำหรับส่วนการปฏิสัมพันธ์แบบ many-to-many ก็สามารถทำได้เช่นกันตามการประยุกต์ใช้หลักการ
โปรโตคอลที่ใช้ UDP           โปรโตคอล UDP มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการติดต่อสื่อสารแบบไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ โดยที่ไคลเอนต์ต้องการส่งการร้องขอแบบสั้น ๆ และต้องการการตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์แบบสั้น ๆ เช่นกัน ถ้าไม่มีการตอบกลับ หรือการร้องขอได้เสียหาย โปรโตคอลระดับบนต้องใช้ตัวจับเวลา (Timer) รอการตอบกลับ ถ้าหมดเวลา (Time Out) ก่อนรับการตอบกลับ ไคลเอนต์ต้องทำการร้องขอใหม่อีกครั้งด้วยตัวเอง สังเกตได้ว่าถ้าทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้องจะใช้เพียงแค่สองแพ็กเก็ตเท่านั้น  จึงถือได้ว่าเหมาะสมสำหรับการใช้เป็นโปรโตคอลสื่อสารบน MCU (Microcontroller Unit) เนื่องจากมีทรัพยากรจำกัด
ปัญหาของ UDP            เนื่องจากโปรโตคอล UDP สนับสนุนเพียงการจัดส่งข้อมูลแบบพื้นฐาน ปัญหาเกี่ยวกับโปรโตคอล UDP มักจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่งข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้โปรโตคอล UDP อาจจะต้องทำงานหนักในระบบเครือข่ายที่มีความคับคั่งของข้อมูลสูง การหายไปของดาต้าแกรมของ UDP จำเป็นต้องถูกจัดการที่ระดับโปรแกรมประยุกต์ ดังนั้นผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต้องทราบว่าส่วนงานใดที่โปรโตคอล UDP ไม่ดำเนินการ โดยมีรายละเอียดที่ต้องทราบดังต่อไปนี้
           * โปรโตคอล UDP ไม่สร้างการเชื่อมต่อก่อนส่งข้อมูล ส่งทันทีถ้าเตรียมข้อมูลเสร็จเรียบร้อย เปรียบเทียบได้กับการส่งจดหมาย ซึ่งไม่ทราบว่าผู้รับอยู่ที่ปลายทางหรือไม่
           * โปรโตคอล UDP ไม่ต้องการการยืนยันว่าได้รับข้อมูลที่ส่งไปหรือไม่ เปรียบเสมือนการส่งจดหมายไม่ลงทะเบียน
           * โปรโตคอล UDP ไม่รับประกันว่าข้อมูลไปถึงปลายทางทุกครั้ง
           * โปรโตคอล UDP ไม่ตรวจสอบการสูญหายของดาต้าแกรม และไม่มีการส่งซ้ำ
           * โปรโตคอล UDP ไม่รับประกันว่าดาต้าแกรมที่ส่งออกไปจะไปถึงปลายทางตามลำดับก่อนหลัง
           * โปรโตคอล UDP ไม่มีกลไกเกี่ยวกับการควบคุมการไหลของข้อมูลในกรณีที่มีความคับคั่งของข้อมูลสูง
การใช้งานโปรโตคอล  UDP           ผู้ออกแบบหรือผู้พัฒนาสามารถใช้โปรโตคอล UDP ส่งข้อมูลที่ไม่ต้องการความเชื่อถือได้สูงมาก เช่นการขอหมายเลข IP จาก ISP (Internet Service Provider) กระบวนการดังกล่าว ดาต้าแกรมของ UDP จะถูกบรรจุในดาต้าแกรมของ IP และหลังจากนั้น จะถูกบรรจุในแพ็กเก็ตหรือเฟรมของ  PPP (Point to Point Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งข้อมูลประเภท IP ผ่านระบบโทรศัพท์
จะเห็นว่าทั้งโปรโตคอล UDP และโปรโตคอล IP มีส่วนเช็คซัมในการตรวจข้อผิดพลาด และส่วนของโปรโตคอล PPP ก็มี FCS (Frame Check Sequence) ตรวจสอบข้อผิดพลาด นั้นหมายความว่ามีส่วนที่สามารถหาข้อผิดพลาดตั้งสามส่วน ดังนั้นสามารถที่จะรับประกันได้ว่าข้อมูลไปถึงปลายทางได้อย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตามก็ยังมีโอกาสที่ข้อมูลที่ส่งไม่ไปถึงปลายทางตามลำดับ ถ้าต้องการความสามารถส่วนนี้ก็ต้องใช้โปรโตคอล TCP หรือต้องไปจัดการที่ระดับโปรแกรมประยุกต์ การใช้โปรโตคอล UDP ค่อนข้างจะพัฒนาง่ายเพราะว่าโปรโตคอล UDP ไม่ต้องติดตามผลลัพธ์ในการส่งและรับทุกทุกแพ็กเก็ต รวมทั้งไม่ต้องสร้างการเชื่อมต่อและจบการเชื่อมต่อ เสมือนการรอการรับสายโทรศัพท์ และการขอจบการสนทนา
           ก็เพราะว่าโปรโตคอล UDP ถูกออกแบบอย่างง่าย ๆ เมสเซจที่ส่งด้วยโปรโตคอล UDP จะส่งได้เร็วกว่าโปรโตคอล TCP ดังนั้นโปรโตคอล UDP จึงถูกใช้ในโปรแกรมแชต หรือการคุยโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการขอหมายเลข IP ผ่านชื่อ URL (Uniform Resource Locator) เป็นต้น
          * ตัวอย่างโปรโตคอล UDP สำหรับโปรแกรม DNS           04 89 00 35 00 2C AB B4 00 01 01 00 00 01 00 00 00 00 00 00 04 70 6F 70 64 02 69 78 06 6E 65 74 63 6F 6D 03 63 6F 6D 00 00 01 00 01                   
UDP Header: 04 89 00 35 00 2C AB B4
Data  00 01 01 00 00 01 00 00 00 00 00 00 04 70 6F 70 64 02 69 78 06 6E 65 74 63 6F 6D 03 63 6F 6D 00 00 01 00 01
Source Port 04 89
Destination Port 00 35
Length00 2C
ChecksumAB B4
DataDNS Message
          * การคำนวณเช็คซัมของโปรโตคอล UDP           ในการคำนวณเช็คซัมของโปรโตคอล  UDP จะรวมส่วน Pseudo IP Header เข้าไปด้วยดังต่อไปนี้
           IP Source Address           4 bytes
           IP Destination Address   4 bytes
           Protocol                              2 bytes
           UDP Length                      2 bytes
          การคำนวณจะคำนวณผลรวมของ  Pseudo IP Header, UDP Header และ ข้อมูล Payload ถ้าจำนวนไบต์ของข้อมูลเป็นเลขคี่จะต้องเพิ่มไบต์ที่เป็นซีโร่แพดเข้าไปให้เป็นเลขคู่เพื่อการการคำนวณให้เป็น 16 บิต โดยที่ Pseudo IP header และ ซีโร่แพด จะไม่ถูกส่งออกไปในระบบเครือข่าย ส่วนค่า Protocol ใน Pseudo IP header ของโปรโตคอล UDP มีค่าเท่ากับ 17