12.24.2557

IS-IS

IS-IS : Intermediate System -to- Intermediate System

นั้นเป็น link state protocol ประเภทหนึ่งเช่นดียวกับ OSPF และ BGP ซึ่งมีข้อดีคือ มีการตอบสนองที่รวดเร็วเมื่อเกิดการเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างของระบบเครือข่าย (Fast convergence) สามารถรองรับการขยายตัวของระบบเครือข่ายในอนาคตได้ดี (Large scalability) และสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นได้ เช่น เทคโนโลยี MPLS เป็นต้น
หลักการทำงานของ IS-IS IS-IS แบ่งรูปแบบการจัดการแบบเป็นลำดับชั้นจำนวน 2 ชั้น (two-level hierarchy) โดยถ้าโดเมนมีขนาดใหญ่อาจจะแบ่งการจัดการเป็นแบบพื้นที่ก็ได้ โดยสามารถแบ่งการค้นหาเส้นทางได้ดังนี้
  • Level 1 routing คือการค้นหาเส้นทางภายในพื้นที่
  • Level 2 routing คือการค้นหาเส้นทางระหว่างพื้นที่
โดยที่จะมี Protocol ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Level 1 IS และ Level 2 IS ทำหน้าที่ในการตรวจสอบเส้นทางว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ โดย Protocol 2 ตัวนี้ทำหน้าที่ต่างกัน คือ Level 1 IS จะทำงานภายในพื้นที่ของตัวเองเท่านั้น ในขณะที่ Level 2 IS จะติดตามเส้นทางระหว่างพื้นที่ หลักการในการติดต่อสื่อสารระหว่างพื้นที่ จากภาพด้านล่างเมื่อมีความต้องการที่จะติดต่อกันระหว่างพื้นที่ (A) และพื้นที่ (B) จะมีกระบวนการทำงานดังนี้

  • เริ่มต้น Level 1 IS(A)จะทำการส่งต่อไปยัง Level 2 IS(A)โดยใช้ Level 1 routing ที่อยู่ภายในพื้นที่ของตัวเอง
  • แล้ว Level 2 IS(A)จะได้ทำการติดต่อ Level 2 IS(B) จากตารางที่ได้มีการตรวจสอบและบันทึกไว้โดยใช้ Level 2 routing
  • จากนั้น Level 2 IS(B) จึงทำการส่งต่อไป Level 1 IS(B) ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง โดยใช้ Level 1 routing
Metrics
IS-IS ประกอบไปด้วย Metrics ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
  • ค่า Cost ซึ่งเป็นค่าพื้นฐานที่ Routers ทุกตัวต้องมี โดยสามารถระบุได้เป็นค่าระหว่าง 0 ถึง 63 ส่วนค่าที่เหลือ อีก 3 ประเภท จะเป็นตัวเลือกเสริมซึ่งสามารถเพิ่มเข้าไปได้ แต่ในการระบุค่าดังกล่าวนั้นมีข้อจำกัดคือจะต้องคำนึงถึงยี่ห้อของอุปกรณ์ Routers ด้วย ซึ่งค่าดังกล่าว ได้แก่ 
  • Delay คือค่าความคลาดเคลื่อนของเวลาจากจุดเริ่มต้นและจุดหมาย
  • Expense คือค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียเมื่อวิ่งผ่านเส้นทางนั้น
  • Error คือค่าความผิดพลาดที่หลงเหลือที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใช้เส้นทางนั้น
ข้อดี
  • สนับสนุนการทำงานกับหลากหลาย Protocol อีกทั้งยังสามารถทำงานได้บน IPv4 และ IPv6 
  • รองรับการขยายตัวได้ดีกว่า OSPF โดยแบ่งการจัดการเป็นแบบพื้นที่ โดยใช้ Level1 IS และ Level2 ISหรืออาจะเรียกว่า INTRA และ INTER ก็ได้
  • สามารถใช้งาน MPLS-TE ร่วมกับ IPv6 ได้ในอนาคต
ข้อเสีย
  • IS-IS มีการทำงานคล้ายกับ OSPF แต่มีลำดับขั้นตอนในการติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้มากกว่า OSPF
  • ค่า Metrics เริ่มต้นมีประสิทธิภาพต่ำ เช่น หาก 2 เส้นทางมีค่าความเร็วของเส้นทางที่แตกต่างกัน IS-IS จะไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้และจะมองว่าเส้นทาง 2 เส้นนี้มีค่าเท่ากัน
  • มีการใช้ Network-layer address ซึ่งไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน 
สรุป
IS-IS เป็น Protocol ที่เหมาะสมกับองค์กรที่มีระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่เนื่องจากการที่ IS-IS มีขั้นตอนในการติดตั้งและใช้งานที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงมักนิยมใช้ OSPF มากกว่า และหากระบบเครือข่ายมีการขยายตัวที่สูงมากองค์กรส่วนใหญ่ก็มักที่จะเลือกใช้งาน BGP มากกว่าที่จะเลือกใช้ IS-IS แต่อย่างไรก็ตาม IS-IS ก็ยังมีข้อดีเหนือกว่า OSPF และ BGP คือ IS-IS นั้นรองรับการทำงานของ IPv6 และ MPLS 

Credit : www.etda.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น