DHCP : Dynamic Host Configuration Protocol
คือโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย โดย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตราฐานในการใช้งานในเครือข่ายแทน BOOTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลรุ่นเก่า ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 โดยในปัจจุบันนี้ DHCP ได้มีการพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น DHCPv6 ใช้กับงานร่วมกับโพรโทคอล IPv6 และได้รับมาตราฐานในการใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2003
DHCP ทำหน้าที่อะไร
หน้าที่หลักๆของ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือคอยจัดการและแจกจ่ายเลขหมายไอพีให้กับลูกข่ายที่มาเชื่อมต่อกับแม่ข่ายไม่ให้หมายเลขไอพีของลูกข่ายมีการซ้ำกันอย่างเด็ดขาด อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งได้ทำการเชื่อมต่อกับ DHCP Server เครื่องเซฟเวอร์ก็จะให้ หมายเลขไอพีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาทำการต่อเชื่อมแบบอัตโนมัติ ซึ่งไม่ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากเท่าไร DHCP Server ก็จะออกเลยหมายไอพีให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันทำให้เครือข่ายนั้นไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
DHCP Server มีหลักการในการจ่ายหมายเลขไอพีให้กับลูกข่ายอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ
1. กำหนดด้วยตัวเอง ซึ่งผู้ควบคุมดูแลสามารถที่จะกำหนดไอพีให้กับเครื่องลูกข่ายได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีเทียบกับหมายเลข MAC
2. แบบอัตโนมัติ DHCP Server จะจ่ายหมายเลขไอพีให้กับเครื่องลูกข่ายแบบอัตโนมัติไม่ซ้ำกัน แต่จะออกหมายเลขไอพีตามช่วงของหมายเลขไอพีที่ผู้ควบคุมดูแลกำหนดไว้ให้ วิธีนี้หมายเลขไอพีจะติดอยู่กับเครื่องลูกข่ายอย่างถาวร เช่นเมื่อเครื่องลูกข่ายที่เคยได้หมายเขไอพีจากวิธีนี้ไปแล้วเมื่อกลับมาเชื่อมต่อใหม่อีกครั้งก็จะได้หมายเลขไอพีเดิมไปใช้งานนั้นเอง
3. แบบไดนามิก มีหลักการทำงานเหมือนกับแบบอัตโนมัติแต่แตกต่างอยู่ที่หมายเลขไอพีที่ออกด้วยวิธีไดดามิกจะไม่ถาวร เมื่อเครื่องลูกข่ายได้หมายเลขไอพีจากวิธีไปแล้ว เมื่อมีการออกจากระบบแล้วเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายในภายหลังหมายเลขไอพีที่ได้จะได้เป็นหมายเลขไอพีใหม่เลย
ประโยชน์ของ DHCP มีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของ DHCP นั้นจะช่วยในเรื่องระบบการจัดการเครือข่ายเป็นส่วนสำคัญ โดยมีการบริหารและจัดการระบบหมายเลขไอพีที่ไม่ซ้ำกันไม่ว่าจะมีเครื่องลูกข่ายมากขนาดไหนก็ตาม เพราะถ้าไม่มี DHCP เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ การจัดแจงและจ่ายหมายเลขไอพีจะเป็นเรื่องยากถ้าเครือข่ายนั้นเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่
DHCP เป็นโพรโทคอลที่นิยมใช้ในโครงข่ายอินเตอร์เน็ต และโครงข่ายขนาดใหญ่ที่มีลูกข่ายเข้ามาทำการเชื่อมต่อกับ Server อยู่ตลอดเวลา และ DHCP ยังช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเครื่องลูกข่าย เพราะว่า DHCP จะทำการการตั้งค่าระบบ เครือข่ายแบบอัตโนมัตินั่นเอง
Credit : http://www.เกร็ดความรู้.net/dhcp/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น