6.22.2558

E.164

E.164

   เป็นข้อเสนอแนะขององค์การโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU-T ซึ่งกำหนด Dialing Plan สำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศผ่านโครงข่ายสาธารณะ ปกติจะใช้ E.164 ในโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ PSTN และโครงข่ายสื่อสารข้อมูลบางโครงข่าย แต่คนส่วนใหญ่จะรู้จัก E.164 ว่ามันคือ "เลขหมายโทรศัพท์"

E.164 มีได้มากที่สุด 15 หลัก และเวลาเขียนมักจะใส่เครื่องหมาย + นำหน้า

ข้อเสนอแนะนี้ได้วางรูปแบบโครงสร้างของเลขหมายโทรศัพท์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศผ่านโครงข่ายสาธารณะและได้แบ่งหมายเลขโทรศัพท์ออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีส่วนประกอบคล้ายๆกันซึ่งต้องถูกวิเคราะห์ว่าส่วนไหนคืออะไรเพื่อให้สามารถส่งคอลไปยังปลายทางได้

Annex A กำหนดข้อมูลเพิ่มเติมบนโครงสร้างและหน้าที่ของเลขหมาย E.164
Annex B ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการระบุตัวตนของโครงข่าย พารามิเตอร์แสดงประเภทของให้บริการ การระบุสถานะของสายว่ากำลังพยายามเชื่อมต่อหรือว่าเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้ว วิธีการกดเลขหมาย และการระบุสถานที่อยู่สำหรับการโทรผ่านโครงข่าย ISDN ระหว่างประเทศ ส่วนการกำหนดรายละเอียดของแอ๊ปพลิเคชั่นที่มีพื้นฐานบน E.164 ถูกแยกไปไว้ในข้อเสนอแนะอื่น

ประเภทของเลขหมายทั้ง 3 แบบที่พูดถึงข้างต้นนั้นนะครับ ก็อยู่บนแนวคิดเลขหมายขนาดไม่เกิน 15 หลัก (รวม Prefix ด้วย ซึ่งก็คือตัวเลขอะไรก็ตามที่อยู่ข้างหน้าเลขหมายโทรศัพท์ อาทิเช่นรหัสประเทศ รหัสพื้นที่ และก่อนปี 1997 E.164 มีได้ไม่เกิน 12 หลัก) ตามนี้


โครงสร้างเลขหมาย แบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
รหัสประเทศ -> cc=1 to 3 หลัก รหัสปลายทางในพื้นที่, เลขหมายผู้เช่า -> จำนวนหลักสูงสุด = 15 - จำนวนหลักของ cc

โครงสร้างเลขหมาย แบ่งตามบริการระหว่างประเทศ
รหัสประเทศ -> cc = 3 หลัก เลขหมายผู้เช่าระหว่างประเทศ -> จำนวนหลักสูงสุด = 15 - จำนวนหลักของ cc

โครงสร้างเลขหมาย แบ่งตามกลุ่มประเทศ
รหัสประเทศ -> cc = 3 หลัก รหัสประจำกลุ่ม -> gic = 1 หลัก เลขหมายผู้เช่า -> จำนวนหลักสูงสุด = 15 - (cc + gic) = 11 หลัก

และข้อกำหนดย่อยที่อยู่ภายใน E.164 มีดังต่อไปนี้

E.164.1
เป็นข้อกำหนดที่อธิบายวิธีการดำเนินการและหลักเกณฑ์สำหรับการจอง การให้ใช้ และการเรียกคืน E.164 country code และ identification code ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการถูกจัดหาตามพื้นฐานสำหรับการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทรัพยากร E.164 ที่ยังว่างและเอามาใช้งานได้ การมอบหมายดังกล่าวต้องการการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่าง ITU-TSB และ ITU-T study group ที่เกี่ยวข้องอย่างมุ่งมั่นเพื่อให้แน่ใจว่าการมอบหมายดังกล่าวนั้นจะตรงกับความต้องการของประชาคมการสื่อสาร การพัฒนาของหลักเกณฑ์เหล่านี้และวิธีการเหล่านี้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ที่มีอยู่ใน E.190 และรูปแบบของเลขหมายใน E.164

E.164.2
ข้อเสนอแนะนี้ประกอบไปด้วยกฏเกณฑ์และวิธีดำเนินการเมื่อมีผู้สมัครขอตัวเลข identification code 3 หลักชั่วคราว ภายใน shared E.164 country code 991 สำหรับจุดประสงค์ของการให้ทดลองใช้รหัสประเทศเพื่อให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศโดยไม่แสวงหากำไร

E.164.3
ข้อเสนอแนะนี้อธิบายพื้นฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการมอบหมายและการเรียกคืนทรัพยากรใน shared E.164 country code สำหรับกลุ่มประเทศ ซึ่ง shared country codes เหล่านี้จะอยู่ร่วมกันกับ E.164-based country code อื่นๆทั้งหมดที่ถูกมอบหมายโดย ITU ทรัพยากรของ shared country code ประกอบไปด้วย country code และ group identification code (CC + GIC) และจัดหาความสามารถสำหรับกลุ่มประเทศเพื่อให้บริการโทรคมนาคมภายในกลุ่ม TSB เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการมอบหมาย CC+GIC

E.163
E.163 เป็นข้อเสนอแนะอันก่อนของ ITU-T สำหรับรูปแบบเลขหมายโทรศัพท์สำหรับใช้ในโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ Public Switch Telephone Network (PSTN) ในประเทศสหรัฐอเมริกา สมัยก่อนเรียกข้อเสนอแนะนี้ว่า Directory Number แต่ E.163 ถูกถอนออกมาก่อนการพิจารณาเนื่องจากยังมีรายละเอียดไม่มากพอ และบางข้อเสนอแนะใน E.164 ก็ได้ถูกรวมเข้าไปใน E.164 เวอร์ชั่นแรกในปี 1997

สำหรับเลขหมาย E.164 ของเบอร์ในประเทศไทย เช่นเบอร์ 028888888 คือ +6628888888 ครับ

Credit : http://www.voip4share.com/voip-f39/e-164-t160.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น