หรือการที่ลูกค้าสามารถโอนย้ายเบอร์มือถือจากผู้ให้บริการรายเดิมไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ ได้โดยยังสามารถใช้เบอร์มือถือเบอร์เดิม ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ปัจจุบันลูกค้าใช้เบอร์ 081 234 5678 ของ บริษัท ก อยู่ ก็สามารถย้ายเบอร์เดิม 081 234 5678 มาใช้กับเครือข่ายใหม่ บริษัท ข ได้
การโอนย้ายเลขหมายให้เสร็จภายใน 3 วันทำการ เฉพาะลูกค้าขอย้าย ต่ำกว่า 24 เลขหมาย โดยปกติใช้เวลา 3 วันทำการ
ในการดำเนินการ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเบอร์ที่จะทำการโอนย้ายและจำนวนหรือปริมาณของลูกค้า ที่ขอโอนย้ายในวันนั้น
(หากเอกสารครบถ้วนและไม่มีข้อจำกัดในการโอนย้ายเลขหมาย ) สำหรับกลุ่มที่ขอโอนย้าย เกิน 25 เลขหมายใช้เวลา 20 วันทำการโดยประมาณ
Credit : http://truemoveh.truecorp.co.th/why/entry/183
------------------------
การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (อังกฤษ: Mobile Number Portability หรือ MNP) คือ การบริการที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถขอให้ผู้ให้บริการโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไปใช้บริการของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นได้ ซึ่งการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิทธิของผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุในการกีดกันขัดขวาง หรือหน่วงเหนี่ยวการโอนย้ายผู้ให้บริการไม่ได้
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เล่ม 126 ตอนพิเศษ 109 ง วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นเครื่องมือที่สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ เมื่อผู้ใช้บริการต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการ สถานที่ หรือประเภทบริการ การส่งเสริมการบริการโทรคมนาคม สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม เพื่อการใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมอย่างคุ้มค่าสำหรับการให้บริการโทรคมนาคมต่อสาธารณะ[1] การคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553[2] แต่ผู้ให้บริการระบุว่าจะในวันดังกล่าวทำได้เพียงเริ่มทดสอบระบบเท่านั้น ส่วนการให้บริการจริงจะเปิดใช้ได้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งระหว่างนี้ผู้ให้บริการทั้ง 5 ราย อาจถูกปรับเป็นเงินอย่างน้อยวันละ 20,000 บาทจนกว่าจะสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ ปัจจุบัน กทช. ได้กำหนดค่าปรับให้สะท้อนค่าเสียโอกาสของประชาชนที่ต้องการใช้บริการโดยในเดือนแรกปรับวันละ 166,667 บาท ค่าปรับจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในเดือนถัดไป
หลักการทางเทคนิค[แก้]
ผู้ให้บริการจะต้องรับภาระในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์โครงข่ายเพื่อให้การประยุกต์ระบบการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่เกิดขึ้นได้ แต่จะต้องเปลี่ยนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแนวทางการประยุกต์เชิงเทคนิคที่สำคัญ ได้แก่ วิธีการจัดเส้นทางการเรียก (call routing) และ ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลกลาง
วิธีการจัดเส้นทางการเรียก[แก้]
มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ Call forwarding (CF) และ All call query (ACQ)
Call forwarding[แก้]
Call forwarding หรือ CF มีข้อดีคือ การประยุกต์ทำได้ง่าย เนื่องจากโครงข่ายของผู้เรียกจะดำเนินการเชื่อมต่อการเรียกไปยังโครงข่ายปลายทางเดิมของผู้ถูกเรียกตามปกติ ซึ่งโครงข่ายปลายทางที่ผู้ถูกเรียกได้ขอย้ายออกไปแล้วนั้น เราจะเรียกว่า Donor Network โครงข่ายนี้เองจะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายปลายทางใหม่ที่ผู้ถูกเรียกได้ขอย้ายเข้า ซึ่งเราจะเรียกว่า Recipient Network อย่างไรก็ดี วิธี CF นั้นมีข้อเสียหลายประการ อาทิ เช่น ไม่รองรับการ forward SMS/MMS ไม่สามารถแสดงเลขหมายโทรเข้า ส่วนปัญหาเชิงเทคนิค ได้แก่ สิ้นเปลืองการใช้ช่องสัญญาณเนื่องมาจากการ forward call ระยะเวลาการต่อสัญญาณเรียกใช้เวลานาน เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศที่ประยุกต์ใช้วิธี CF ต่างเปลี่ยนมาใช้วิธี ACQ แทน[4]
All call query[แก้]
All call query หรือ ACQ คือ โครงข่ายของผู้เรียกจะเป็นผู้ดำเนินการเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายปลายทางปัจจุบันหรือ Recipient Network โดยไม่ต้องดำเนินการเชื่อมต่อสายกลับไปยังโครงข่ายปลายทางเดิมที่ผู้ถูกเรียกเคยใช้บริการอยู่ หรือ Donor Network โครงข่ายของผู้เรียกต้องมีการปรับฐานข้อมูลของเลขหมายที่มีการขอทำการพอร์ตเลขหมายให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อที่จะสามารถเรียกไปยังโครงข่ายปลายทางที่ถูกต้องได้[4]
วิธีการ ACQ นั้นจะมีการใช้ทรัพยากรโครงข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือโครงข่ายของผู้เรียกสามารถจัดเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดไปยังโครงข่ายปัจจุบันของผู้ถูกเรียกได้โดยตรงและสามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการใช้วิธี CF การประยุกต์ใช้ ACQ ต้องลงทุนสูงเนื่องจากต้องมีการลงทุนเพิ่มในส่วนของฐานข้อมูลเลขหมายและระบบจัดการที่เกี่ยวข้อง[4] สำหรับประเทศไทยจะใช้วิธี ACQ นี้[1]
ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลกลาง[แก้]
ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลกลางจะเป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการกระบวนการโอนย้ายผู้ให้บริการโดยคงเลขหมายเดิมอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 2 กลไกหลัก คือระบบที่อำนวยความสะดวกรวดเร็วในการประสานงานระหว่างผู้ให้บริการรายเดิมกับผู้ให้บริการรายใหม่ และระบบฐานข้อมูลที่บันทึกรายละเอียดของเลขหมายโทรศัพท์ที่ได้มีการเปลี่ยนผู้ให้บริการ สำหรับการลงทุนในการจัดตั้งศูนย์ให้บริการระบบสารสนเทศให้ดำเนินการในรูปแบบผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ร่วมกันลงทุนในลักษณะการรับภาระร่วมกัน (Consortium) โดยสัดส่วนในการลงทุนให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเป็นผู้กำหนด[1]
ฐานข้อมูลกลางโดยทั่วไปจะมีสองรูปแบบ คือ แบบศูนย์กลาง (Centralized Database) และแบบกระจาย (Distributed Database)
แบบศูนย์กลางจะใช้ฐานข้อมูลอ้างอิงฐานข้อมูลเดียวที่มีเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด หรือมีข้อมูลเลขหมายที่โอนย้ายทั้งหมด โดยอาจไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเลขหมายที่ไม่ได้โอนย้าย ซึ่งตามปกติแล้วข้อมูลอ้างอิงนี้จะมีการทำสำเนาให้กับฐานข้อมูลปฏิบัติการ (Operational Databases) ของโครงข่ายที่ร่วมโรงการเป็นหลักสำคัญฐานข้อมูลอ้างอิงแบบศูนย์กลางสำหรับการเปลี่ยนผู้ให้บริการโดยไม่เปลี่ยนเลขหมายมักดำเนินการโดยผู้ให้บริการโครงข่ายซึ่งอาจประกอบด้วยผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโครงข่ายทั้งหมดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดสรรเส้นทาง ซึ่งการดำเนินการและการบำรุงรักษาฐานข้อมูลเลขหมายแบบศูนย์กลางอาจทำการคัดเลือกบริษัทอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ในการดูแลฐานข้อมูล[4]
สำหรับฐานข้อมูลแบบกระจายจะมีการเก็บฐานข้อมูลไว้หลายแห่งโดยแต่ละแห่งอาจมีเฉพาะข้อมูลเลขหมายของผู้ให้บริการโครงข่ายของตนเองแห่งเดียวเท่านั้น ข้อมูลทั้งหมดของเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งที่ไม่ได้โอนย้ายและทำการโอนย้ายแล้วจะได้จากการรวบรวมฐานข้อมูลจากแต่ละแห่ง[4]
การขอโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่[แก้]
ก่อนทำการโอนย้ายไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ ผู้ใช้บริการที่ขอโอนย้ายต้องลงทะเบียนโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อผู้ให้บริการรายใหม่ ในการขอโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ใช้บริการต้องยื่นคำขอโอนย้ายการใช้บริการต่อผู้ให้บริการรายใหม่ ณ จุดที่ผู้ให้บริการรายใหม่กำหนด ผู้ให้บริการรายใหม่และผู้ให้บริการรายเดิมต้องร่วมกันตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของผู้ใช้บริการที่ขอโอนย้ายเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของเลขหมาย ตรวจสอบยืนยันสถานภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ผูกพันกับเลขหมายดังกล่าวว่าถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายได้ หากผู้ให้บริการรายใหม่ไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ ผู้ให้บริการรายใหม่ต้องแจ้งเหตุผลและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จให้ผู้ใช้บริการทราบ[1]
ผู้ให้บริการรายใหม่มีหน้าที่แจ้งให้ผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะทำการโอนย้ายทราบถึงรายละเอียดเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้าย และค่าธรรมเนียมการโอนย้ายอย่างเปิดเผยชัดเจน อีกทั้งยังต้องแจ้งเหตุผลและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จให้ผู้ใช้บริการทราบ และเมื่อดำเนินการโอนย้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ให้บริการรายใหม่มีหน้าที่แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าการขอโอนย้ายผู้ให้บริการสำเร็จแล้ว[1]
การโอนย้ายผู้ให้บริการจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ยื่นขอ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันควรเฉพาะกรณีเอกสารและหลักฐานข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือ ไม่ตรงกับข้อมูลผู้ใช้บริการที่แท้จริงในระบบ โดยผู้ให้บริการรายเดิมมีหน้าที่ในการพิสูจน์เหตุจำเป็นอันควรดังกล่าว กรณีเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้ให้บริการรายเดิมได้ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายที่ตนมีอยู่ไว้แล้ว เมื่อมีเลขหมายย้ายออกมีสิทธิที่จะขอคืนค่าธรรมเนียมเลขหมายที่ได้ย้ายออกไปนับแต่เดือนถัดไป[1]
ผู้ให้บริการอาจปฏิเสธคำขอโอนย้ายผู้ให้บริการของผู้ใช้บริการได้หาก 1) เลขหมายนั้นได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของชาติ หรือ 2) เลขหมายที่จะขอโอนย้ายการใช้บริการอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี หรืออยู่ในระหว่างอายัด หรือห้ามการเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ผู้ให้บริการรายใหม่มีหน้าที่ในการพิสูจน์เหตุในการปฏิเสธคำขอโอนย้ายดังกล่าว[1]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น