ก่อนจะเข้าเรื่อง FTTx นั้น ผู้เขียนต้องทำความเข้าใจกับผู้อ่านอีกสักครั้ง เพราะผู้อ่านจะต้องพบกับศัพท์ใหม่ๆ ตัวย่อต่างๆ อีกมากพอสมควรในเรื่องนี้ ผู้เขียนจึงต้องขอให้ผู้อ่านอย่าเพิ่งท้อ หรือ เบื่อไปเสียก่อน ผู้เขียนให้สัญญาว่าจะใช้ความพยายามในการอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และ หวังว่าผู้อ่านคงจะได้รับความรู้ไปบ้างไม่มากก็น้อย
เป็นที่ทราบกันอย่างดีว่า โจทย์ทั่วไปของการสื่อสารที่เราต้องการคือ มีความเร็วสูง น่าเชื่อถือ สะดวก และ ราคาถูก ซึ่งในบางครั้งข้อดีเหล่านี้อาจจะไม่สามารถตอบสนองได้ทั้งหมด เนื่องจากการหลายองค์ประกอบทั้งทางด้านเทคโนโลยี และ ด้านการตลาด มีเทคโนโลยีตัวหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์ของเราได้บางส่วน เทคโนโลยีดังกล่าวคือ FTTx (Fiber to the x) นั้นสามารถตอบโจทย์ในด้านของความเร็ว และ ความน่าเชื่อถือ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่มีการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถรองรับ Applications ได้มากมาย แต่ก็ยังมีข้อจำกัด ในเรื่องความสะดวกในการใช้งาน เพราะจะต้องอยู่ประจำสถานที่ และ ราคาที่อาจจะยังค่อนข้างสูง ทั้งในแง่การลงทุน และ ค่าใช้บริการ
เทคโนโลยี FTTx (Fiber to the x) คือการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ไปยังปลายทาง (x) ที่อาจเป็นโหนด (Node), ซึ่งเป็นได้ทั้งขอบถนน (Curb), อาคาร (Building) หรือ บ้าน (Home) ซึ่งมักจะเรียกกันว่า FTTC, FTTB และ FTTH ตามลำดับ ซึ่งอาจจะไม่จำกัดแค่ 3 ปลายทางนี้เท่านั้นก็ได้ อาจจะมีตัวย่อใหม่อื่นๆ ขึ้นมาได้อีกตามสมควรแต่ก็ไม่ได้มีนัยสำคัญในแง่โครงสร้างแต่อย่างใด ทั้งนี้เทคโนโลยี FTTx ยังสามารถแบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ P2P (Point-to-Point) และ P2MP (Point-to-Multipoint) ซึ่ง ลักษณะของ P2MP นี้เอง ที่ใช้เทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงแบบแพสซีฟ (Passive Optical Network: PON) ซึ่งไม่ต้องมีอุปกรณ์ขยายสัญญาณ ส่วนประกอบของ PON จะประกอบไปด้วยหน่วยกระจายเส้นใยแก้วนำแสง (Optical Line Terminal: OLT) ติดตั้งที่หน่วยงานกลาง (Central Office: CO), ตัวแยกสัญญาณแสง (Splitter) และ จุดรับเส้นใยแก้วนำแสงแปลงสัญญาณ (Optical Network Unit: ONU) ดังรูปที่ 11
รูปที่ 11 รูปแบบการเชื่อมต่อของโครงข่าย FTTx
จากรูปที่ 11 ด้าน OLT จะเป็นเสมือนกับผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายอีกด้านหนึ่งต่ออยู่กับผู้ให้บริการอื่นๆ ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ต (เรียกว่า "Triple play" ทริปเปิล เพลย์) ซึ่งระบบนี้สามารถใช้งานได้พร้อมกัน ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเชื่อมโยงเส้นใยแก้วนำแสงแบบแพสซีฟ (PON) ไปยังอุปกรณ์แยกแสง (Splitter) จากอุปกรณ์แยกแสงก็จะส่งยังปลายทาง ถ้าเป็นบ้าน (Fiber-to-the-Home) ก็จะใช้อุปกรณ์ ONT ต่อกับเส้นใยแก้วนำแสงโดยตรง และ สามารถใช้บริการที่ OLT เปิดให้ใช้บริการได้ ถ้ากรณีปลายทางเป็นหมู่บ้าน หรือ อาคาร ก็จะใช้ได้สองวิธี โดยวิธีแรกคือ FTTC (Fiber-to-the-Curb) ทำได้โดยนำสายเส้นใยแก้วนำแสงมาต่อกับอุปกรณ์แปลงพร้อมแยกสัญญาณที่เรียกว่า ONU ที่หน่วยแยกสัญญาณก่อน และ แปลงสัญญาณเป็นไฟฟ้าผ่านคู่สายทองแดงในหมู่บ้านโดยใช้ VDSL Modem (อุปกรณ์ซึ่งมีความเร็วสูง ทำงานคล้ายกับ ADSL) ส่วนวิธีที่สองคือ FTTB (Fiber-to-the-Building) คือ นำสายเส้นใยแก้วนำแสงมาต่อกับอุปกรณ์ ONT โดยตรงเหมือนกับกรณี FTTH แต่อย่างไรก็ตามการออกแบบจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และ งบประมาณในการลงทุนด้วย
รูปที่ 12 โครงข่าย FTTx ในกรณีต่างๆ และ ความเร็วที่ได้รับ
จากการออกแบบโครงข่าย FTTx ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ในบางกรณีอาจจะไม่สามารถใช้เส้นใยแก้วนำแสงได้ถึงผู้ใช้บริการโดยตรง อาจต้องใช้คู่สายทองแดงในระยะทางช่วงสุดท้าย (Last Miles) โดยใช้ Cable Modem VDSL ดังรูปที่ 12 การให้บริการความเร็วสูงจึงไม่อาจที่จะได้ความเร็วเท่ากับ FTTH (1Gbps กรณีบนสุด) ซึ่งสามารถให้ความเร็วลดหลั่นกันลงมาตามระยะของสายทองแดงที่ใช้ กรณี ONU อยู่ใกล้กับลูกค้า <500ฟุต จะได้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 100Mbps แม้ว่าจะผ่าน Splitter ก็ตาม แต่ถ้าเส้นใยแก้วนำแสงเชื่อมกับ ONU และ กระจายต่อด้วยสายทองแดง ความเร็วก็จะตกลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้นของคู่สายทองแดง แม้ว่าระยะทางจาก ONU กับ OLT จะมีระยะใกล้ก็ตาม
Credit : http://161.246.18.199/telecom/download-document/broadband.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น