ISUP : ISDN User Part
คือ โปรโตคอล SS7 ซึ่งจัดการเกี่ยวกับ Signaling Function ต่างๆเพื่อรองรับ Basic bearer service และ Supplementary Service สำหรับใช้กับ Voice และ Non-Voice Application ใน ISDN-Service นอกจากนั้น ISUP ยังเหมาะสำหรับใช้กับ Telephone และเครือข่ายแบบ Circuit Switched Data Network (อนาลอก) นอกจากนั้นมันยังสามารถทำงานบนเครือข่ายที่ผสมกันระหว่างเครือข่ายอนาลอก/ดิจิตอล ได้อีกด้วย ISUP โดยปกติจะใช้ Service ซึ่งจัดโดย MTP แต่ในบางกรณีจะใช้ SCCP แทนสำหรับในการส่งข้อมูลไปยังปลายทาง
Telecommunication Service
เป็นการใช้บริการผ่านทางเครือข่าย ISDN โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
- Bearer Service
- Tele Service
- Supplementery Service
Bearer Service
งานของ Bearer Service ก็คือการ transport ข้อมูล หรือก็คือจัดเตรียมความสามารถในการ transfer ข้อมูลเช่น speech, data, text, หรือ image ในรูปของ digital information ภายในเครือข่ายระหว่างสอง user interface โดยจะประกอบไปด้วย
Information Transfer Mode มีอยู่ 2 แบบคือ Circuit mode (Telephone) และ Packet mode (Data)
Information Transfer Rate เป้นตัวกำหนด transmission capacity ระหว่าง referent points โดยกำหนดเป็น bit rate โดยส่วนใหญ่จะใช้เป้น 64 kbps
Information Transfer Capability เป็นตัวกำหนด degree ของ transparency ของ channel ที่ใช้ carrying ข้อมูล
Tele Service
Tele Service จัดเตรียมความสามารถในการติดต่อสื่อสารอย่างสมบูรณ์ระหว่างสอง User Terminals รวมทั้ง network และ terminal function โดยการใช้ทั้งหมด 7 layers ในโมเดลแบบOSI ประกอบไปด้วย
- Telephony
- Telex
- Teletex (supper telex)
- Telefax (Fax group 1,2,3 และ 4)
- Videotex
- Video-phone
- Video-conference
Supplementery Service
เป็นบริการเสริมได้แก่
Malicious Call Identification (MCI)
Call Transfer (CT)
Call Waiting (CW)
Three Party Service (3PTY)
Multiple Subscriber Number (MSN)
Calling Line Identification (CLI)
Sub-addressing (SUB)
Closed User Group (CUG)
User-To-User Signaling (UUS)
Terminal Portability
รูปแบบของ ISUP Message
Messageที่เป็นชนิด ISUP จะมีค่า SI (Service Indicator) เท่ากับ 5 (0101) โดยข้อมูลของ ISUP จะถูกบรรจุอยู่ในส่วนของ SIF ใน MSU รูปแบบของ ISUP Message เป็นดังรูป และมีพารามิเตอร์ เป็นดังรูป
Routing Label มีรูปแบบดังที่เห็นในรูป
Circuit Identification Code (CIC) จะถูกกำกับสำหรับแต่ละ circuit ซึ่งตกลงกันทั้ง2ฝ่าย (Originating และ Termination side) เพื่อที่จะให้ Signaling Message ใช้ circuit นั้นๆ
Message Type Code จะต้องกำหนด Function และ Format ซึ่งไม่เหมือนกัน (Uniquely) สำหรับแต่ละ message ของ ISUP
Mandatory fixed part เป็นพารามิเตอร์ที่จะต้องมีประจำอยู่เสมอสำหรับแต่ละชนิดของmessage type โดยพารามิเตอร์เหล่านี้จะมี ตำแหน่ง, ความยาว, และลำดับที่ถูกกำหนดไว้ในรายละเอียดในแต่ละชนิดของ message type
Mandatory variable part
Option part (อาจจะเป็น parameter field ที่เป็นแบบ fixed หรือ variable ก็ได้)
Credit : http://familyandhealthchat.reocities.com/SiliconValley/file/6856/isup.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น