คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (อังกฤษ: National Broadcasting and Telecommunication Commission) หรือ กสทช. (NBTC) เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารความถี่วิทยุเพื่อกิจการโทรคมนาคม และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม
กสทช.จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
องค์กรและหน่วยงานในกำกับ
- สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (อังกฤษ: Office of National Telecommunications Commission) หรือ สำนักงาน กทช. - พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มีผลให้มีการโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ และงบประมาณของกรมไปรษณีย์โทรเลขไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ รวมทั้งข้าราชการและลูกจ้างของกรมไปรษณีย์โทรเลข สำนักงาน กทช. มีเลขาธิการ กทช. เป็นผู้บริหารสูงสุดที่รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน และรายงานขึ้นตรงต่อ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ[8]
- สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (อังกฤษ: Telecommunications Research and Industrial Development Institute) หรือ สพท. - จัดตั้งขึ้นโดย คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อดำเนินการตามภารกิจของอำนาจหน้าที่ในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มาตรา 51 (15) และ (16) กล่าวคือ การส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง[9]
- สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (อังกฤษ: Telecommunications Consumer Protection Institute) หรือ สบท. - จัดตั้งขึ้นโดย กทช. ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อดำเนินการต่างๆ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2[10]
- สถานีวิทยุ 1 ปณ. - เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ขึ้นตรงกับ สำนักงาน กทช. ทำการส่งกระจายเสียงจากกรุงเทพมหานคร โดยสามารถส่งสัญญาณได้จนถึงปริมณฑล และบริเวณที่ใกล้เคียง ปัจจุบันส่งกระจายเสียงในระบบวีเอชเอฟ ภาค เอฟ เอ็ม ความถี่ 98.5 MHz และ 106.5 MHz แต่ในขณะนี้ทางสถานีฯได้ให้เอกชนเช่าคลื่นความถี่และสัมปทานอยู่
การโอนกิจการ[แก้]
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 การโอนกิจการไปสู่การเป็นคณะกรรมการทั้ง 2 องค์กร มีดังต่อไปนี้
- 19 มกราคม พ.ศ. 2545 หลังจากมีการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกา ยุบกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม พุทธศักราช 2545 แล้ว ดังนั้น กรมฯ จึงได้โอนถ่ายบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ หน้าที่ ความรับผิดชอบ การปฏิบัติงานทั้งหมด ไปเป็น สำนักงาน กทช. ส่วนในด้านงบประมาณทั้งเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการกับลูกจ้างซึ่งยังมีผลครอบครองอยู่ พร้อมกับกลุ่มบุคคลเดิม ไปเป็นหน้าที่ของ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ในมาตรา 82, 83, 84
- ส่วนในด้านของกรมประชาสัมพันธ์ ได้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ งบประมาณ การปฏิบัติงานทั้งหมด ในส่วนของกองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ไปเป็น สำนักงาน กสช. ส่วนในด้านงบประมาณทั้งเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการกับลูกจ้างซึ่งยังมีผลครอบครองอยู่ พร้อมกับกลุ่มบุคคลเดิม ให้ยังคงไว้กับกรมประชาสัมพันธ์อยู่เช่นเดิม ในมาตรา 85, 86
ทั้งนี้ กรมไปรษณีย์โทรเลข ถูกยุบเลิกไปเป็น กทช. ตามกฎหมายพระราชกฤษฎีกายุบกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2545 เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็ได้มีการโอนงานฝ่ายแผนงานไปรษณีย์ พ้นจากกรมฯโดยทันที หลังวันเปลี่ยนผ่านไปสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น ส่วนงานด้านโทรเลข ก็ได้ดำเนินการจนถึงปี พ.ศ. 2551 โดยขึ้นกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
แต่ต่อมา พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีการประกาศบังคับใช้ ทำให้มีการรวมคณะกรรมการทั้งสอง คือ กทช. และ กสช. ไปจัดตั้งใหม่เป็น กสทช. แทน ในวันที่ 20 ธันวาคม ปีเดียวกัน พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทำให้สถานะของ กทช. ต้องยุติลง และจัดตั้ง กสทช. ขึ้นแทน
อย่างไรก็ตาม ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 กำหนดให้มีคณะกรรมการอีก 2 ชุด ภายใต้โครงสร้างของ กสทช. คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการกระกอบกิจการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดนั้น ให้แต่งตั้งจากคณะกรรมการ กสทช. โดยให้รองประธาน กสทช. คนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน กสท. และรองประธาน กสทช. อีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่ประธาน กทค. โดยให้กรรมการ กสทช. ที่มิได้เป็นประธานและรองประธาน กสทช. ที่เหลืออีก 8 คน ทำหน้าที่เป็นกรรมการ กสท. 4 คน และอีก 4 คน ทำหน้าที่กรรมการ กทค.
Credit : http://www.nbtc.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น