FUP : Fair Usage Policy
FUP เป็นคำย่อมาจากคำเต็มว่า Fair Usage Policy ซึ่งเป็นนโยบายที่ผู้ให้บริการเครือข่ายใช้ในการใช้งานด้านดาต้าของลูกค้าผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างเหมาะสม โดยสังเกตว่า แพคเกจ 3G ที่ติดเงื่อนไข FUP นี่จะมีรูปแบบคล้ายๆ กันก็คือ
สามารถใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือที่ระดับความเร็ว 3G ได้ปริมาณหนึ่ง (1-3 GB แล้วแต่แพคเกจและราคา) เมื่อผู้ใช้งานใช้ตามปริมาณครบกำหนดแล้ว ความเร็วอินเทอร์เน็ตจะถูกปรับลง (384 Kbps บ้าง 256 Kbps บ้าง หรือหนักสุดก็เหลือแค่ 64 Kbps บ้าง) จนเมื่อขึ้นรอบบิลใหม่ ความเร็วก็จะกลับมาเป็นแบบ 3G เหมือนเดิม ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนไม่พอใจและออกมาเรียกร้องรวมทั้งโจมตีเหล่าผู้ให้บริการมือถือ
จุดประสงค์ของ FUP ที่เกิดขึ้นมานั้น ถูกกำหนดขึ้นเนื่องจากมีกลุ่มผู้ใช้งานส่วนหนึ่ง นำโปรโมชั่นการใช้งานดาต้าบนเครือข่าย 3G แบบไม่จำกัดไปใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ อาทิ การนำไปใช้งาน Bit Torrent โดยใช้โทรศัพท์มือถือต่อเป็นโมเด็ม หรือต่อผ่านแอร์การ์ด (Bit Torrent เหมาะสมกับการใช้งานผ่านเทคโนโลยี ADSL มากกว่า) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้งานของผู้ใช้งานส่วนที่เหลือ ทำให้ประสิทธิภาพการใช้งาน 3G* ลดลง รวมถึงความเร็วในการใช้งานลดลงด้วย
ทางบรรดาผู้ให้บริการจึงขอกำหนดนโยบายนี้ (FUP) เพื่อบริหารการใช้งาน 3G ของลูกค้าที่ใช้งานไม่เหมาะสม และทำให้ลูกค้าทุกท่านสามารถใช้งาน 3G* ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความเร็วที่เหมาะสมระดับ 3G
ถ้าถามผม ผมมองว่า FUP แม้อาจจะดูเอาเปรียบกับผู้บริโภคสักหน่อย แต่พฤติกรรมของผู้ใช้งานหลายคนก็เอาไปใช้แบบผิดวัตถุประสงค์จริงๆ ครับ เช่นเอาไป ดาวน์โหลดหนัง เพลง โปรแกรม หรือโหลดผ่านบิท ซึ่งการใช้อินเทอร์เน็ตแบบ ADSL จะดีกว่าครับ เพราะระบบ 3G บ้านเรามันยังเป็น 3G เทียมอยู่ครับ ทำให้เกิดผลกระทบเมื่อมีการแย่งการใช้ข้อมูลปริมาณมหาศาล การมี FUP ก็เพื่อเอาไว้จัดระเบียบการใช้งานด้านหนึ่งครับ
หากวันหนึ่งระบบโครงข่าย 3G บ้านเราดีขึ้นเมื่อไหร่ ผมก็หวังว่า FUP คงจะหมดไปจากสารระบบนะครับ
หมายเหตุ บรรทัดต่อไปนี้เป็นการแจ้งถึงนโยบาย Fair Usage Policy ของ DTAC นะครับ
FUP หรือ Fair Usage Policy คือนโยบายสากลที่กำหนดขึ้นเพื่อรักษามาตรฐานการใช้งาน 3G อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการ dtac 3G ทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ โดยนโยบายนี้สามารถป้องกันไม่ให้มีการใช้งานบนเครือข่าย 3G ด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ทำให้ประสิทธิภาพและความเร็วในการใช้งานลดลง เช่น แชร์ไฟล์ผ่าน Bit Torrent หรือดาวน์โหลดและอัพโหลดไฟล์ขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ผ่านโมเด็มในโทรศัพท์มือถือ หรือแอร์การ์ด ซึ่งเหมาะกับการใช้งานผ่านเทคโนโลยี ADSL มากกว่า
ดังนั้นดีแทคจึงมีความจำเป็นต้องกำหนดใช้นโยบายดังกล่าวนี้ เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย dtac 3G ให้เหมาะสมและป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการใช้งาน โดยภายใต้นโยบายนี้ จะทำให้ผู้ใช้บริการทุกคนสามารถใช้บริการ dtac 3G ได้อย่างราบรื่น เต็มประสิทธิภาพ
Credit: http://www.manacomputers.com/fup-fair-usage-policy-internet-package-3g/
ในยุคของการให้บริการเครือข่าย 3G เต็มรูปแบบของเมืองไทยในขณะนี้ หลายคนอาจจะงง กับแพกเกจเล่นเน็ตไม่จำกัด Unlimited แต่มีเงื่อนไขติด FUP ไม่เกินเท่านั้น เท่านี้… แล้วอย่างงี้จะบอกว่า Unlimited มาทำไม จริงมั้ยครับ งั้นเรามาทำความเข้าใจกับเรื่องนี้กัน
FUP คืออะไร
FUP ย่อมาจาก Fair Usage Policy ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมการใช้ความเร็วอินเทอร์เน็ตบนเครือข่าย 3G/4G โดยจะมีการลดสปีดความเร็วลง เมื่อใช้งานครบตามปริมาณข้อมูลที่สมัครแพ็กเกจไว้ เช่น เมื่อใช้เน็ตที่ความเร็วสูงสุด 42 Mbps ครบ 3 GB หลังจากนี้จะยังใช้เน็ตได้ตลอดแบบไม่จำกัด แต่จะลดความเร็วลงมาเหลือแค่ 256 Kbps เป็นต้น
FUP ย่อมาจาก Fair Usage Policy ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมการใช้ความเร็วอินเทอร์เน็ตบนเครือข่าย 3G/4G โดยจะมีการลดสปีดความเร็วลง เมื่อใช้งานครบตามปริมาณข้อมูลที่สมัครแพ็กเกจไว้ เช่น เมื่อใช้เน็ตที่ความเร็วสูงสุด 42 Mbps ครบ 3 GB หลังจากนี้จะยังใช้เน็ตได้ตลอดแบบไม่จำกัด แต่จะลดความเร็วลงมาเหลือแค่ 256 Kbps เป็นต้น
แล้วทำไมต้องติด FUP ด้วย
คำถามถัดมาที่ทุกคนสงสัยคือในเมื่อให้สมัครใช้งานแพ็กเกจแบบ Unlimited แล้ว ทำไมถึงมาจำกัดความเร็วการใช้งานกันอีก จะโกงรึเปล่า เรื่องนี้มันมีที่มาครับ เพราะหากผู้ให้บริการปล่อยให้ทุกคนใช้งาน 3G ได้แบบไม่จำกัด ต่างคนต่างดาวน์โหลดกันได้เต็มที่ คราวนี้ก็จะมีคนหัวใสที่ชอบเอาเปรียบผู้อื่น ใช้มือถือต่อเป็นโมเด็มโหลดบิตกันทั้งวันทั้งคืน จนทำให้ความเร็วในการใช้งานโดยรวมของ 3G ลดลง คนอื่นก็จะได้รับผลประทบไม่สามารถดาวน์โหลดหรือใช้งานได้ด้วยความเร็วปกติ ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมการใช้งานตามมาตรการ FUP ที่เป็นมาตรฐานสากล
คำถามถัดมาที่ทุกคนสงสัยคือในเมื่อให้สมัครใช้งานแพ็กเกจแบบ Unlimited แล้ว ทำไมถึงมาจำกัดความเร็วการใช้งานกันอีก จะโกงรึเปล่า เรื่องนี้มันมีที่มาครับ เพราะหากผู้ให้บริการปล่อยให้ทุกคนใช้งาน 3G ได้แบบไม่จำกัด ต่างคนต่างดาวน์โหลดกันได้เต็มที่ คราวนี้ก็จะมีคนหัวใสที่ชอบเอาเปรียบผู้อื่น ใช้มือถือต่อเป็นโมเด็มโหลดบิตกันทั้งวันทั้งคืน จนทำให้ความเร็วในการใช้งานโดยรวมของ 3G ลดลง คนอื่นก็จะได้รับผลประทบไม่สามารถดาวน์โหลดหรือใช้งานได้ด้วยความเร็วปกติ ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมการใช้งานตามมาตรการ FUP ที่เป็นมาตรฐานสากล
FUP ที่เหมาะสมคือเท่าไร
ที่ผ่านมาผู้ให้บริการเครือข่ายในเมืองไทย ต่างกำหนดค่า FUP หรือค่าลดสปีดความเร็ว 3G ลงหลังครบแพ็กเกจ ต่ำสุดถึง 64 Kbps ซึ่งในการใช้งานจริงแทบจะโหลดอะไรไม่ขึ้นเลย ฉะนั้นความเร็วเฉลี่ยที่ยอมรับได้ควรจะอยู่ที่ตรงไหนนั้น ตามข้อตกลงที่ กสทช. กำหนดไว้คือ การใช้งานดาต้า 3G จะต้องมีความเร็วต่ำสุด ไม่ต่ำกว่า 345 Kbps
ที่ผ่านมาผู้ให้บริการเครือข่ายในเมืองไทย ต่างกำหนดค่า FUP หรือค่าลดสปีดความเร็ว 3G ลงหลังครบแพ็กเกจ ต่ำสุดถึง 64 Kbps ซึ่งในการใช้งานจริงแทบจะโหลดอะไรไม่ขึ้นเลย ฉะนั้นความเร็วเฉลี่ยที่ยอมรับได้ควรจะอยู่ที่ตรงไหนนั้น ตามข้อตกลงที่ กสทช. กำหนดไว้คือ การใช้งานดาต้า 3G จะต้องมีความเร็วต่ำสุด ไม่ต่ำกว่า 345 Kbps
ค่ายไหนให้ FUP แรงที่สุด
เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพรวมทั้งหมดว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายในเมืองไทยรายหลักๆ มีเงื่อนไขความเร็วของ FUP สูงสุดอยู่ที่เท่าไรกันบ้าง เราจึงขออาสาสำรวจแพ็กเกจของแต่ละค่าย ณ วันที่ 16 ก.ย. 57
• AIS แพ็กเกจ 999 บ. เล่นที่ความเร็ว 3G ได้ปริมาณ 3G หลังใช้ครบ ปรับความเร็วลงไม่เกิน (FUP) 256 Kbps
• dtac แพ็กเกจ 999 บ. เล่นที่ความเร็ว 3G/4G ได้ปริมาณ 3G หลังใช้ครบ ปรับความเร็วลงไม่เกิน (FUP) 384 Kbps
• Truemove H แพ็กเกจ 999 บ. เล่นที่ความเร็ว 3G ได้ปริมาณ 5G หลังใช้ครบ ปรับความเร็วลงไม่เกิน(FUP) 384 Kbps
• 365 แพ็กเกจ 999 บ. เล่นที่ความเร็ว 3G ได้ปริมาณ 5G หลังใช้ครบ ปรับความเร็วลงไม่เกิน (FUP) 384 Kbps
จากการสำรวจพบว่าแพ็กเกจสูงสุด 999 บ. ของแต่ละค่ายจะมีค่า FUP เฉลี่ยมากกว่าข้อกำหนดของ กสทช. จะมีเพียง AIS เจ้าเดียวที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ และพบข้อสังเกตอีกอย่างคือ ทั้ง AIS, dtac, Truemove H หากใช้แพ็กเกจที่ต่ำกว่านี้ ก็จะถูกลดความเร็วของ FUP ลงไปอีก เป็น 128 Kbps จนถึง 64 Kbps ในแพ็กเกจที่ราคาต่ำสุด ยกเว้น 365 ที่จะให้ FUP ที่ 384 Kbps ทุกแพกเกจ ซึ่งมาตรฐานส่วนนี้แหละที่น่าจะต้องมีการผลักดันให้ได้ตามข้อกำหนดที่ กสทช. วางไว้
เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพรวมทั้งหมดว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายในเมืองไทยรายหลักๆ มีเงื่อนไขความเร็วของ FUP สูงสุดอยู่ที่เท่าไรกันบ้าง เราจึงขออาสาสำรวจแพ็กเกจของแต่ละค่าย ณ วันที่ 16 ก.ย. 57
• AIS แพ็กเกจ 999 บ. เล่นที่ความเร็ว 3G ได้ปริมาณ 3G หลังใช้ครบ ปรับความเร็วลงไม่เกิน (FUP) 256 Kbps
• dtac แพ็กเกจ 999 บ. เล่นที่ความเร็ว 3G/4G ได้ปริมาณ 3G หลังใช้ครบ ปรับความเร็วลงไม่เกิน (FUP) 384 Kbps
• Truemove H แพ็กเกจ 999 บ. เล่นที่ความเร็ว 3G ได้ปริมาณ 5G หลังใช้ครบ ปรับความเร็วลงไม่เกิน(FUP) 384 Kbps
• 365 แพ็กเกจ 999 บ. เล่นที่ความเร็ว 3G ได้ปริมาณ 5G หลังใช้ครบ ปรับความเร็วลงไม่เกิน (FUP) 384 Kbps
จากการสำรวจพบว่าแพ็กเกจสูงสุด 999 บ. ของแต่ละค่ายจะมีค่า FUP เฉลี่ยมากกว่าข้อกำหนดของ กสทช. จะมีเพียง AIS เจ้าเดียวที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ และพบข้อสังเกตอีกอย่างคือ ทั้ง AIS, dtac, Truemove H หากใช้แพ็กเกจที่ต่ำกว่านี้ ก็จะถูกลดความเร็วของ FUP ลงไปอีก เป็น 128 Kbps จนถึง 64 Kbps ในแพ็กเกจที่ราคาต่ำสุด ยกเว้น 365 ที่จะให้ FUP ที่ 384 Kbps ทุกแพกเกจ ซึ่งมาตรฐานส่วนนี้แหละที่น่าจะต้องมีการผลักดันให้ได้ตามข้อกำหนดที่ กสทช. วางไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น