2.23.2558

MSISDN

MSISDN : Mobile Subscriber ISDN Number
MSISDN หรือ Mobile Subscriber ISDN number (ISDN ย่อมาจาก Integrated Services for Digital Network) คือเลขหมายของผู้รับสาย(โทรศัพท์) ในระบบ GSM อธิบายให้เข้าใจคือ
การโทรเข้า-ออกระหว่างโทรศัพท์มือถือระบบ GSM กับเครือข่าย PSTNขั้นแรกก็ต้องมีวงจรที่เชื่อมต่อถึงกันระหว่างชุมสายของมือถือ กับ PSTN ก่อน
พอมีการโทรออกจากเครื่องลูกข่าย ชุมสายต้นทางก็รับ หมายเลขมาดูว่าจะให้ไปเส้นทางไหน
แล้วก็จะมีการคุยกันระหว่างชุมสาย ด้วย signalling ก่อน
ว่าเฮ้ย มีคนจะโทรหาเบอร์นี้ๆๆ ในระบบของเอ็งนะ ช่วยจัดการให้ด้วย
ทางชุมสายปลายทางก็ไปเรียก ลูกข่ายทางฝั่งเค้า ว่าคนโทรหานะ
ระหว่างนั้นชุมสายทั้งสองฝั่งก็จะตกลงกันว่าจะให้ ลูกข่ายทั้งสองฝั่งใช้ช่องสัญญาณไหนในการคุยกัน
พอฝั่งปลายทางรับสายก็จัดการเชื่อมวงจรเข้าหากัน ก็จะคุยกันได้การเชื่อมต่อระหว่าง PSTN กับ PLMNระหว่างชุมสายโทรศัพท์ PSTN กับ PLMN นั้น มี Gateway MSC (GMSC) คั่นอยู่ตรงกลางการโทรศัพท์ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ มันก็มีอยู่สองแบบ ก็คือ การโทรฯเข้ามือถือ (ไม่ว่าจะเป็นจาก PSTN หรือ PLMN) และการโทรฯออกจากมือถือ โดยทั่วไปเค้าก็เรียกกันว่า Mobile Terminated Call (MTC) และ Mobile Originated Call (MOC) ตามลำดับหลักการง่ายๆของ MTC ก็คือ เครือข่ายต้องหาให้ได้ว่า ตัวโทรศัพท์ที่มีคนโทรเข้านั้นอยู่ที่ไหน เพื่อที่เครือข่ายจะสามารถแจ้งได้โทรศัพท์เครื่องนั้นได้ว่ามีคนกำลังโทรเข้า (เรียกง่ายๆว่า paging)

ในการนี้ ก็มีอุปกรณ์สองตัวที่เกี่ยวข้อง ก็คือ HLR และ VLR โดยที่ VLR นั้นเก็บ Location Area ID (LAI) ของมือถือเครื่องนั้นไว้ และ HLR เก็บ VLR Address ที่มือถือเครื่องนั้นได้ทำการ Register ไว้ การที่อุปกรณ์เครือข่ายสองตัวนี้จะมีข้อมูลของโทรศัพท์มือถือเข้ามาเก็บไว้ได้นั้น ก็ต้องผ่านกระบวนการ location registration หรือที่เรียกอีกอย่างว่า location update (นั่นก็คือพอมือถือทำ location update ได้สำเร็จ ก็จะมีข้อมูลเก็บไว้ที่ HLR และ VLR)สมมุติให้ A เป็นคนโทรศัพท์จาก PSTN ไปหา B ใน PLMN และ B ได้ทำ location update เรียบร้อยแล้วสมมุติให้ A เป็นคนโทรศัพท์จาก PSTN ไปหา B ใน PLMN และ B ได้ทำ location update เรียบร้อยแล้วสมมุติให้ A เป็นคนโทรศัพท์จาก PSTN ไปหา B ใน PLMN และ B ได้ทำ location update เรียบร้อยแล้วเลขหมายของ B นี่ มีชื่อเป็นทางการว่า MSISDN หรือ Mobile Subscriber ISDN number (ISDN ย่อมาจาก 
Integrated Services for Digital Network) ซึ่งจะถูกส่งจากโทรศัพท์บ้านของ A ไปยังชุมสาย PSTN เพื่อให้ชุมสายทำ digit analysis และหา route ไปยังเครือข่ายปลายทาง (เช่น ถ้าเลขหมาย 3 หลักแรกเป็น 019 ให้ route ไปที่ GMSC ของเครือข่าย ฟรห ถ้า 3 หลักแรกเป็น 016 ให้ไปที่ GMSC ของเครือข่ายDTAC เป็นต้นพอ GMSC ได้รับหมายเลขที่ทั่นเอิ้นจากชุมสาย PSTN แล้ว มันก็ต้องค้นหาต่อไปว่า โทรศัพท์ที่คุณโ ทรมันอยู่ที่ไหน เพื่อที่จะได้หาเส้นทางเชื่อมต่อวงจรได้
แต่ไอ้ GMSC นี่มันไม่รู้นี่ครับว่าโทรศัพท์ B อยู่ที่ไหน มันก็ต้องถามเอาจากคนที่รู้ ซึ่งในที่นี้ก็คือ HLR เพราะฉะนั้น GMSC ก็ต้องส่งซิกไปที่ HLR เพื่อที่จะถามว่าอีตา B นี่่อยู่ที่ไหน ขั้นตอนนี้เรียกเป็นภาษาเทคนิคว่า HLR InquiryหลังจากHLR ส่งซิกไปที่ VLR VLR ก็จะบอกทางที่จะพา traffic ถึง MSC ปลายทาง
ตัวที่จะบอกทางไปก็คือ MSRN - Mobile Subscriber Roaming Number 
HLR ก็จะส่ง MSRN ต่อให้ GMSC เพื่อ analyze digit แล้ว route ไปยัง MSC ที่ โทรศัพท์เบอร์นี้ไปอยู่
พร้อมกันนั้น VLR ก็จะดูข้อมูล ของ IMSI ที่ได้มา ที่เก็บอยู่ในตัวว่า IMSI นี้ ตอนนี้อยู่ที่ Location area ไหน BSC ตัวไหนแล้วก็จะทำการ page เรียกต่อไปMSRN นี่ พูดง่ายๆคือเป็นหมายเลขชั่วคราวที่ VLR กำหนดให้โทรศัพท์แต่ละเครื่องที่ register ในพื้นที่บริการของ VLR นั้น ซึ่งจะถูกใช้เฉพาะในเวลาที่มี MTC เท่านั้น นั่นก็คือ พอ MTC call setup นั้นสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว VLR ก็จะยึดหมายเลข MSRN นั้นคืน เพื่อนำไปใช้กับ MTC call setup สำหรับโทรศัพท์เครื่องอื่นๆต่อไป
นั่นล่ะครับ เืมื่อ GMSC ได้รับ MSRN แล้ว ก็จะวิเคราะห์เลขหมาย (digit analysis) MSRN นั้นเพื่อหา route ไปยัง MSC ปลายทาง เมื่อหา route เจอแล้ว GMSC ก็จะ route call นั้นไปยัง MSC ปลายทาง (พร้อมกับแปะหมายเลข MSRN ไปด้วย เพื่อที่ MSC ปลายทางจะได้รู้ว่า จะ page ไปหาโทรศัพท์เครื่องไหน)

สัญญาณ paging ที่ MSC จะส่งออกไปใน radio network นั้น ก็จะมีหมายเลขประจำตัวของโทรศัพท์ B อยู่ ซึ่งหมายเลขประจำตัวโทรศัพท์ B นี้ อาจจะเป็น IMSI หรือ TMSI--Temporary Mobile Subscriber Identity ก็ได้ (ส่วนมากจะใช้ TMSI) ก็ได้
สัญญาณ Paging จะถูกส่งออกไปจากเซลล์ทุกเซลล์ใน Location Area ที่โทรศัพท์ B สิงสู่อยู่ (อาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูลใน VLR) โดยใช้ช่องสัญญาณ (ในอากาศ--Air Interface) ที่มีชื่อว่า PCH (paging channel) พอโทรศัพท์ B ซึ่งมีหมายเลข IMSI หรือ TMSI ตรงกับที่ส่งออกมาใน PCH ได้รับข้อความ paging นี้แล้ว ก็จะตอบรับสัญญาณ paging นั้นโดยการใช้ช่องสัญญาณ RACH--random access channel ครับพอโทรศัพท์ B ตอบรับข้อความ paging กลับไปยังเครือข่ายแล้ว เครือข่ายก็จะรู้ได้ว่าโทรศัพท์นั้นอยู่ในเซลล์ไหน (ก่อนหน้านั้นยังไม่รู้ รู้แต่ว่าอยู่ใน location area ไหนเฉยๆ) พอรู้ว่าอยู่ในเซลล์ไหนแล้วก็ง่ายแล้วครับ สามารถ route call นั้นมาที่ช่องสัญญาณ Traffic channel (TCH) ใน air interface ของเซลล์นั้นได้


-------------------------

MSISDN (Mobile Subscriber Integrated Service Digital Network) = CC+NDC+SN :โดย CC คือ รหัสประเทศ (ประเทศไทย 66) ,NDC แบ่งตาม operator ,SN รายเบอร์ต่างกันไป

Credit : http://ning-nong.blogspot.com/2008/04/3g.html

----------------------------

MSISDN เปนหมายเลขโทรศัพทของอุปกรณโทรศัพทเคลื่อนที่โดยอุปกรณ โทรศัพทเคลื่อนที่แตละเครื่องจะอาน MSISDN จาก SIM ของผูใชดังนั้นหมายเลขโทรศัพทของ อุปกรณโทรศัพทเคลื่อนที่สามารถเปลี่ยนไปตาม SIM ที่บรรจุอยูในอุปกรณ์โทรศัพทเคลื่อนที่ MSISDN ขนาด 64 บิตจะถูกเก็บไว้ใน SIM, HLR และ VLR โดยจะประกอบด้วยข้อมูล 3 สวน ดังนี้ 
1) Country Code (CC) เปนรหัสที่ระบุประเทศที่ MS ลงทะเบียนไวขนาด 12 บิตเหมือน IMSI
2) National Destination Code (NDC) เปนรหัสที่ระบุเครือขายโมบายล (PLMN) ภายในประเทศที่ผูใชลงทะเบียนด้วยมีขนาด 12 บิตเหมือน IMSI 
3) Subscriber Number (SN) เปนหมายเลขโทรศัพทผูใชมีขนาด 40 บิต

Credit : http://research.rdi.ku.ac.th/world/cache/10/KritsadakornINTAll.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น