11.24.2557

ARP

ARP : Address Resolution Protocol
เป็นโปรโตคอลสำหรับการจับคู่ (map) ระหว่าง Internet Protocol address (IP address) กับตำแหน่งของอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย เช่น IP เวอร์ชัน 4 ใช้การระบุตำแหน่งขนาด 32 บิต ใน Ethernet ของระบบใช้การระบุ ตำแหน่ง 48 บิต (การระบุตำแหน่งของอุปกรณ์รู้จักในชื่อของ Media Access Control หรือ MAC address) ตาราง ARP ซึ่งมักจะเป็น cache จะรักษาการจับคู่ ระหว่าง MAC address กับ IP address โดย ARP ใช้กฎของโปรโตคอล สำหรับการสร้างการจับคู่ และแปลงตำแหน่งทั้งสองฝ่าย 

การทำงานของ ARP

          เมื่อแพ็คเกตนำเข้าที่ระบุเครื่อง host ในระบบเครือข่ายมาถึง Gateway เครื่องที่ Gateway จะเรียกโปรแกรม ARP ให้หาเครื่อง host หรือ MAC address ที่ตรงกับ IP address โปรแกรม ARP จะหาใน ARP cache เมื่อพบแล้วจะแปลงแพ็คเกต เป็นแพ็คเกตที่มีความ ยาวและรูปแบบที่ถูกต้อง เพื่อส่งไปยังเครื่องที่ระบุไว้ แต่ถ้าไม่พบ ARP จะกระจาย แพ็คเกตในรูปแบบพิเศษ ไปยังเครื่องทุกเครื่องในระบบ และถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งทราบว่ามี IP address ตรงกันก็จะตอบกลับมาที่ ARP โปรแกรม ARP จะปรับปรุง ARP cache และส่งแพ็คเกตไปยัง MAC address หรือเครื่องที่ตอบมา

          เนื่องจากแต่ละโปรโตคอลมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามประเภทของ LAN ดังนั้นจึงมี การแยก ARP Request for Comments ตามประเภทของโปรโตคอลสำหรับ Ethernet, asynchronous transfer mode, Fiber Distributed-Data Interface, HIPPI และโปรโตคอลอื่น 

          ส่วน Reverse ARP สำหรับเครื่อง host ที่ไม่รู้จัก IP address นั้น RARP สามารถให้เครื่อง เหล่านี้ขอ IP address จาก ARP cache ของ Gateway
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ARP หรือ Address Resolution Protocol เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการจับคู่ระหว่างไอพีแอดเดรสทางลอจิคัล กับ แอดเดรสทางทางฟิสิคัล ลองฟังแบบนี้หลายๆคนคงงงว่ามันจับคู่กันอย่างไร เอาแบบนี้ครับคิดซะว่าไอพีแอดเดรสทางลอจิคัล ก็คือหมายเลขไอพี (IP) ที่ทำงานอยู่บน Layer 3 และฟิสิคัลแอดเดรสก็คือ MAC Address ที่อยู่บน Layer 2 ตามมาตรฐาน OSI Model

ในเมื่อเรารู้จักกับ ARP แล้วเรามาดูกันครับว่า ARP ทำงานอย่างไร?
การทำงานของ ARP จริงๆแล้วก็ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรมากมายครับ 
ลองจินตนาการคิดว่าเราจะเป็นผู้ส่งของไปหาปลายทางที่เราไม่รู้จักว่าเขาเป็นใครซึ่งอยู่ในห้องประชุมห้องเดียวกับเรา และเราก็มีข้อมูลแค่รหัสประจำตัวของผู้รับเท่านั้น แล้วเราจะทำกันอย่างไรเพื่อจะส่งของชิ้นนี้ให้ถึงมือผู้รับ วิธีง่ายๆเลยครับ  อันดับแรก เราก็ตระโกนทั่วห้องประชุมไปเลยบอกว่ารหัสประจำตัวนี้เป็นใคร จากนั้นเมื่อผู้ที่มีเลขประจำตัวตรงกับเราก็จะเป็นคนตอบรับเราเองว่า เขามีเลขประจำตัวนี้แล้วเราก็สามารถส่งของดังกล่าวให้กับผู้รับได้อย่างสบายใจ

ในกรณีของการส่งข้อมูลของบนพื้นฐานของ Network ก็ไม่มีอะไรต่างจากชีวิตจริงเท่าที่ควรครับ การใช้งาน ARP เป็นการจับคู่ระหว่างหมายเลข IP กับ MAC เพื่อให้อุปกรณ์ Layer 2 สามารถส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้องนั่นเอง เพราะอุปกรณ์ Layer 2 ไม่รู้จักหรอกครับว่า IP Address คืออะไร แต่มันจะรู้จักแค่ MAC Address เท่านั้นครับ โดยการส่งข้อมูลก็ทำการส่งอยู่บนอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Switch นั่นแหละครับ โดยตัวอุปกรณ์ Switch จะมีตารางบอกแค่ว่า จะส่งข้อมูลไปยัง MAC Address นี้ต้องส่งข้อมูลไปยังพอร์ตใด แต่ Switch จะรู้ได้ไงก็เลยต้องอาศัยโปรโตคอลที่ชื่อว่า ARP นี่แหละครับ

การทำงานของ ARP ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนมากครับ โดยขั้นตอนแรกเครื่องที่ต้องการสอบถาม MAC Address ก็จะส่ง ARP Request ซึ่งบรรจุ IP , MAC Address ของตนเอง และ IP Address ของเครื่องที่ต้องการทราบ MAC Address ส่วน MAC Address ปลายทางนั้น จะถูกกำหนดเป็น FF:FF:FF:FF:FF:FF ซึ่งเป็น Broardcast Address เพื่อให้ ARP packet ถูกส่งไปยังเครื่องทุกเครื่องที่อยู่ในเน็ตเวิร์คเดียวกัน
กระบวนการนี้ก็จะเหมือนกับการประกาศหาผู้รับของในห้องประชุมเลยครับ 

เมื่อเครื่องที่มี IP Address ตรงกับที่ระบุใน ARP Packet จะตอบกลับมาด้วย ARP Packet  โดยใส่ MAC Address และ IP Address ของตนเองเป็นผู้ส่ง และใส่ MAC Address และ IP Address ของเครื่องที่ส่งมาเป็นผู้รับ packet ที่ตอบกลับนี้เรียกว่า ARP Reply

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น