11.24.2557

3GPP

3GPP : The 3rd Generation Partnership Project



เป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานมาตรฐานการสื่อสารโทรคมนาคมบนโครงข่าย GSM, GPRS, EDGE, WCDMA เป็นหลัก เพื่อกำหนดมาตรฐานกลางในการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ 3G

Credit : http://th-telecom.blogspot.com/p/glossary.html

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

เทคโนโลยี WCDMA เกิดจากข้อกำหนดของ International Telecommunication Union หรือ ITU ที่ต้องการพัฒนาบริการใหม่ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีกรอบข้อกำหนด ที่เรียกว่า International Mobile Telephony 2000 หรือ INT-2000 กำหนดขอบเขตของการให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ไว้

ในข้อกำหนด IMT-2000 ได้มีการแบ่งเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ออกเป็นยุคต่างๆ ได้แก่

โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 1 (First Generation) เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบอนาล็อก เพื่อให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น ระบบ NMT (Nordic Mobile Telephony)
โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 (Second Generation) เป็นยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล เพื่อให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมกับมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการลักลอบใช้งานหรือป้องกันการดักฟัง เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถให้บริการสื่อสารข้อมูลที่ความเร็วไม่สูงมากนัก เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 เป็นที่มีการยอมรับมากที่สุด ได้แก่ เทคโนโลยีระบบ GSM หรือ Global System for Mobile
โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation) เป็นของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทีมีความสามารถ ในการให้บริการ รับส่งข้อมูลมัลติมีเดียความเร็วสูง เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน WCDMA, มาตรฐาน CDMA2000 หรือมาตรฐาน TD-WCDMA เป็นต้น
โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 (Fourth Generation) เป็นยุคของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่สามารถให้บริการ รับส่งข้อมูลมัลติมีเดียความเร็วสูง นอกจากนี้ยังสร้างความต้องการที่เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 สามารถให้บริการสื่อสารข้อมูลร่วมกับมาตรฐานอื่นๆ หรือเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงอื่นๆ อีกด้วย เช่น Wi-Fi, Wi-Max เป็นต้น
ปัจจุบันมีองค์กรหลายแห่งที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานโทรมนาคมต่างๆ ซึ่งองค์กรแต่ละแห่งจะมีการเสนอมาตรฐานๆ ของตนเองหรืออาจจะมีการหารือร่วมกันบ้าง เพื่อสร้างกรอบข้อกำหนดของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ IMT-2000 ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยกำหนดเป็นมาตรฐาน 3GPP และ 3GPP2 ขึ้นมา องค์กรที่มีหน้าที่ ประสานดังกล่าวนี้ ได้แก่

ETSI : European Telecommunications Standards Institute องค์กรกำหนดมาตรฐานของทวีปยุโรป
T1 : Standard Committee T1 - Telecommunications องค์กรกำหนดมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา
ARIB : Association of Radio Industries and Business เป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับคลื่นวิทยุ ของประเทศญี่ปุ่น
TTC : Telecommunications Technology Committee องค์กรกำหนดมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น
TTA : Telecommunications Technology Association องค์กรกำหนดมาตรฐานของประเทศเกาหลี
CWTS : China Wireless Telecommunications Standard Group องค์กรกำหนดมาตรฐานของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน
มาตรฐาน 3GPP ได้กำหนดคัดเลือกมาตรฐานเทคโนโลยีในการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุ FDD-WCDMA (Frequency Division Duplex-WCDMA) มาสร้างเป็นมาตรฐานหลักของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ในขณะที่มาตรฐาน 3GPP2 ได้มีการคัดเลือกมาตรฐาน CDMA เช่นกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดของเทคโนโลยี โดยเรียก มาตรฐานดังกล่าวว่า มาตรฐาน CDMA2000 นอกจากนี้มาตรฐาน 3GPP ยังสร้างข้อกำหนด และแนวทางการพัฒนา โครงข่ายจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 ไปสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 โดยแบ่งออกเป็น Release ที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของแต่ละ Release ได้แก่

Release 99 เป็นข้อกำหนดของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 เป็นข้อกำหนดแรก มุ่งเน้นไปที่การพัฒนา ข้อกำหนดของเทคโนโลยี WCDMA เป็นเทคโนโลยี Access ใหม่ เพื่อให้บริการมัลติมีเดียผ่านโครงข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 เนื่องจากในเวลานั้นเทคโนโลยี IP ยังไม่มีความสามารถในการควบคุมคุณภาพ ของบริการมัลติมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ Transport Network จะอ้างอิงอยู่บนเทคโนโลยีโครงข่าย ATM ทั้งหมดซึ่งรวมถึงโครงข่าย UTRAN Network, CS Domain และ PS Domain
Release 4 เป็น Release ที่ 2 ของมาตรฐาน 3GPP ที่มุ่งเน้นไปในการเตรียมตัวในช่วงเริ่มต้น ของการสร้าง โครงข่ายมัลติมีเดียในอนาคต โดยมีการแยกชั้นระหว่าง Core Network เป็นสองส่วนด้วยกันคือ Connectivity Layer และ Control Layer อย่างไรก็ดี โดยมีอุปกรณ์โครงข่ายใหม่ คือ Media Gateway ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเชื่อมต่อระหว่าง Layer ทั้งสอง และมีอุปกรณ์ MSC Server ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของบริการต่างๆ นอกจากนี้ในส่วนของ Service Layer ได้เริ่มมีการเพิ่มเติม Multimedia Domain ที่เรียกว่า IMS (IP Multimedia Subsystem) ในข้อกำหนดอีกด้วยจากการนำเสนออุปกรณ์ Media Gateway ทำให้เราสามารถ เริ่มต้นให้บริการ VoIP ระหว่าง Media Gateway ด้วยกันได้ ใน Release นี้เทคโนโลยี Transport Network ยังคงอ้างอิงอยู่บนเทคโนโลยีโครงข่าย ATM เช่นเดิมในส่วนของ UTRAN Network และ CS Domain แต่ในส่วนของ CS Domain คือ ในส่วนเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ GSN เริ่มมีการอ้างอิงบนเทคโนโลยี IP
Release 5 เป็น Release ที่มุ่งเน้นไปในการประยุกต์ใช้งาน IP ทดแทนเทคโนโลยีโครงข่าย ATM ในโครงข่ายทั้งหมด ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการก้าวไปสู่ All IP Network เพื่อให้บริการมัลติมีเดียในอนาคต Transport Network จะอ้างอิงอยู่บนเทคโนโลยีโครงข่าย IP ทั้งหมดซึ่งรวมถึงโครงข่าย UTRAN Network, CS Domain และ PS Domain ทำให้เราสามารถให้บริการ VoIP ในรูปแบบเดิมได้
Release 6 เป็น Release ที่มุ่งเน้นไปในการพัฒนาประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลมัลติมีเดียให้มีความเร็ว ในการรับส่งข้อมูลให้สูงขึ้นโดยมีการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี Orthogonal Frequency Division Multiplex (OFDM) ซึ่งจะทำให้สามารถรับส่งข้อมูลสูงสุดได้ถึง 10 Mbps นอกจากนี้ใน Release นี้ เป็นการเริ่มต้น ในการพัฒนาข้อกำหนดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพของบริการ (Quality of Service : QoS) โดยเริ่มมี การใช้มาตรฐาน IPv6 แทนมาตรฐาน IPv4 ที่อยู่ใน Release ก่อนหน้านี้
เทคโนโลยี Operation and Support System (OSS)

เนื่องจากความซับซ้อนของธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและความสัมพันธ์ของผู้ให้บริการต่างๆ ในห่วงโซ่ แห่งคุณค่า ทำให้ผู้ให้บริการมีความจำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการปฏิบัติงาน ให้รองรับสภาพธุรกิจ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการรวมตัวกันของผู้ให้บริการ เพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น หน่วยงานที่เรียกว่า Telecom Management Forum (TM Forum) ได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการต่างๆ และผู้ผลิตเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่ง TM Forum ได้เสนอกระบวนการ ที่ผู้ให้บริการควรจะมีในการบริหารจัดการโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันครอบคลุมไปจนถึงการประยุกต์ใช้งานบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในการบริหารจัดการธุรกิจ และกิจกรรมต่างๆ ในการบริหารโครงข่าย นอกจากนี้การจัดการและประสานงานภายในองค์กร เพื่อดำเนินธุรกิจ บริการโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมต่อองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างอัตโนมัติ แนวคิดดังกล่าวถูกพัฒนาจนกลายเป็นมาตรฐาน eTOM ขึ้นมาใหม่ สร้างขึ้นเป็น Next Generation Operation and Support System (NGOSS) Framework ขึ้นมา โดย NGOSS Framework ได้เพิ่มเติมวัตถุประสงค์อื่นๆ ทำให้ OSS ซึ่งเดิมทำหน้าที่เพียงแค่การบริหารจัดการเฉพาะโครงข่ายเท่านั้น สามารถนำข้อมูลต่างๆ จากโครงข่ายไปสนับสนุนกระบวนการทำธุรกิจต่างๆ ของผู้ให้บริการได้ด้วย ซึ่งเป็น การสร้างมุมมองใหม่ๆ ทั้งสิ้น 4 มุมมอง คือ

System View
Implementation View
Business View
Run-Time View
จากมุมมองทั้ง 4 ของ NGOSS Framework จึงถูกนำไปประยุกต์สร้างเป็น Business Process เพื่อเป็นแนวทาง ในการบริหารงานธุรกิจให้แก่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่างๆ

จากแนวทางของ NGOSS Framework และ eTOM Business Process Framework ทำให้การออกแบบโครงข่าย เทคโนโลยี OSS ของผู้ให้บริการจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการที่จะนำข้อมูลต่างๆ ในองค์กร เพื่อใช้ในการสนับสนุน ในเชิงรุกกับการให้บริการและการทำธุรกิจของผู้ให้บริการเอง ซึ่งจะทำให้เกิดความจำเป็นที่องค์ประกอบต่างๆ ใน OSS Network ต้องมีการ Integrate ร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วองค์ประกอบของ OSS ตามแนวคิดของ eTOM จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ อาทิเช่น

ระบบ Network Management System (NMS) ของ Network Element เพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของ Network Element ต่างๆ
ระบบ Network Performance Management System เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของบริการต่างๆ ที่ได้จากโครงข่าย
ระบบ Service Performance Management System เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของบริการต่างๆ ที่เสนอให้แก่ผู้ให้บริการ
ระบบ Contact Center เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
ระบบ Service and Subscriber Management ในการบริหารจัดการ
Customer Relationship Management (CRM) เพื่อใช้ในการบริหารลูกค้า ตลอดจนให้ข้อมูล เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจของผู้ให้บริการในส่วนงานอื่นๆ เช่น ส่วนงานการตลาด เป็นต้น
ระบบ Billing and Charging System เพื่อใช้ในการทำระบบเรียกเก็บเงินและการแบ่งส่วนกับพันธมิตรทางธุรกิจ
ระบบ Enterprise Application Interface (EAI) เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน

ข่าว : Telecom Journal

Credit : www.oknation.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น