2.20.2558

PS

PS : Packet  Switching

เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลอย่างหนึ่ง โดยตัดแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ แล้วส่งข้อมูลนั้นไปให้ผู้รับ โดยที่แต่ละส่วนจะประกอบด้วย หมายเลขของผู้รับ ข้อมูล และส่วนตรวจสอบความผิดพลาด การส่งข้อมูลแบบ Packet Switching นี้จะไม่เป็นแบบ Real-time (คือทันทีทันใดตามเวลาที่เกิดข้อมูลขึ้นจริง) อย่างการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ แต่จะทยอยส่งข้อมูลไปทีละ Packet ทำให้ผู้ใช้หลายๆ คนใช้สายส่งข้อมูลร่วมกันได้ โดยข้อมูลแต่ละคนไม่สลับกัน วิธีนี้เหมาะสำหรับส่งข้อมูลเป็นระยะทางไกลๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลถูกกว่า แต่ไม่เหมาะสำหรับงานรับส่งข้อมูลในแบบ Real-time ระบบ Packet Switching นี้มีมาตรฐานการรับส่งข้อมูล เรียกว่า X.25 ซึ่งกำหนดโดย CCITT หรือ ITU-T

ระหว่าง Circuit  Switching กับ Packet  Switching มีข้อดี ข้อด้อยคือ
       Circuit  Switching      Packet  Switching
1. คู่สายจะต้องยืนยันการส่ง - รับข้อมูลก่อน
    (establishment)
2. คู่สายไม่ว่างขณะมีการส่ง-รับข้อมูลกัน
3. ส่ง-รับข้อมูลด้วยเวลาจริง (real time)
4. ไม่มี store and forward
5. ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งไปในเส้นทางเดียวเท่านั้น
    
6. ค่าบริการขึ้นอยู่กับระยะทางและระยะเวลา 
    ไม่ขึ้นกับปริมาณการสื่อสาร 
7. ป้องกันการสูญหายของข้อมูลได้ดี
8.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสและอัตราเร็วของข้อมูล
1. ไม่มีการยืนยัน

2. สายว่างตลอดเวลา
3. เร็วมากจนดูเหมือนเท่ากับเวลาจริง
4. Store and forward 
5. เส้นทางไม่เจาะจง (dynamic)
    ข้อมูลอาจมีการส่งไปแบบผิดลำดับเกิดขึ้น
6. ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลตามจำนวนไบท์
    หรือแพคเก็ตที่ส่งออก
7. ป้องกันการสูญหายและความผิดพลาดของข้อมูล
8.  เปลี่ยนแปลงรหัสและอัตราความเร็วของข้อมูลได้
* การสื่อสารระบบแบบ Internet เป็นการสื่อสารแบบ Circuit  Switching  หรือ Packet  Switching
 การสื่อสารระบบแบบ Internet เป็นการสื่อสารแบบ Packet Switching เพื่อความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากแนวความคิดนี้ ได้มีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงถึงกัน ก็ จนได้วิธีการรับส่งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบ  กล่าวคือ การนำผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อมาเชื่อมต่อกันได้ จึงมีวิธีการแบ่งระดับการสื่อสารออกมาเป็นชั้น Layer แต่ละชั้นจะมีการวางมาตรฐานกลางเพื่อให้การเชื่อมเครือข่ายที่แตกต่างกันสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ เช่น 25,  TCP/IP,  Frame Relay   เป็นต้น 

* การวิวัฒนาการของระบบสื่อสาร เพื่อการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย มีการพัฒนาไปสู่ IP Network อยากทราบว่า IP Network เป็นการสื่อสารแบบ Circuit Switching หรือ Packet  Switching มีเหตุผลอย่างไร
IP Network เป็นการสื่อสารแบบ Packet Switching เป็นวิธีการที่ให้ผู้ส่งข่าวสารเป็นภาพ เสียง ข้อมูล ไปพร้อมๆ กัน การส่งจะแบ่งแยกข่าวสารเป็นชิ้นเล็กๆ บรรจุเป็น Packet Switching โดยมีการกำหนดแอดเดรสปลายทางที่จะส่งข่าวสาร หลังจากนั้นระบบจะนำแพ็กเก็ตนั้นไปส่งยังปลายทาง ทำให้ข้อมูลข่าวสารนั้นมีรูปแบบที่ต่อเนื่อง รวดเร็ว ไม่มีส่วนใดติดตัดล่าช้า 
IP Network เป็นชื่อเครื่องและหมายเลขเครื่องที่ให้กับเครื่องทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต 

Credit : http://www.nuch45.freeservers.com/2.htm

------------------------------

ระบบส่งสัญญาณแบบ Packet Switching Technology

การสื่อสารแบบแพ็กเก็ตมีการใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว เริ่มจากการสร้างเครือข่ายสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่อง และต่อมามีการพัฒนาจนกลายเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเทคโนโลยีการสื่อสารแบบแพ็กเก็ตมีอยู่หลายมาตรฐาน เริ่มจากมาตรฐาน X.25 ในยุคแรก พัฒนาต่อมาเป็นเทคโนโลยี Frame Relay และเป็นเทคโนโลยี IP (Internet Protocol) ในปัจจุบัน

หัวใจสำคัญของการสื่อสารแบบแพ็กเก็ต คือ การออกแบบให้แพ็กเก็ต มีการบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับและผู้ส่ง รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการลำเลียงข้อมูลไปร่วมกับข้อมูลของผู้ใช้งาน จึงออกแบบอุปกรณ์เครือข่ายให้สามารถทำงานได้ เพียงการตรวจสอบเงื่อนไขการรับส่งที่แฝงไปกับแพ็กเก็ตข้อมูลแต่ละแพ็กเก็ต ปัจจุบันอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เชื่อมต่อและทำหน้าที่ตรวจสอบรวมถึงรับส่งข้อมูลก็คือ เราท์เตอร์ (Router) ซึ่งเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสารขององค์กรเข้ากับเครือข่ายสาธารณะ เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Packet Switching เป็นการรับส่งข้อมูลที่จะถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ ที่เรียกว่า Packet ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแต่ละ Packet จะไม่ยาวมาก ในบางระบบอาจจะยาวเพียง 64 byte(512 bits)ในหนึ่งแพ็กเก็ต จะมีโครงสร้างง่ายๆประกอบด้วยส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา คือ Packet Overhead และส่วนที่เป็นข้อมูลของผู้ใช้งาน (User data) ส่วนที่เรียกว่า Packet Overhead นั้น เป็นส่วนที่ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ Address ของผู้รับที่ปลายทาง


Packet Switching
ข้อดี
1.สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าจะมีการติดต่อกันกี่จุดก็ตาม
2.สามารถรับ-ส่งข้อมูลแต่ละแพ็กเก็ตด้วยเส้นทางที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย
3.ประหยัด –ไม่เปลือง BandWidth และใช้เวลาในการหน่วงแพ็กเก็ตแรกน้อย
4.รับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงและใช้สายหรือช่องทางอย่างมีประสิทธิภาพ,ประหยัด,สะดวก
ข้อเสีย
1.ถ้ามีผู้ใช้งานระบบฯมากๆ จะทำให้ระบบฯช้า ทำให้ไม่สามารถรับประกันเรื่อง speed ได้
2.มีความล่าช้าเกิดขึ้นในโหนดข้อมูลแต่ละแพ็กเก็ตไปถึงที่หมายไม่พร้อมกัน(jitter)ทุกแพ็กเก็ตต้องเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่


Packet Switching
1.การรับ-ส่งข้อมูล ต่อสายด้วยระบบลอจิก(เงื่อนไข) ซึ่งในหนึ่งกายภาพอาจมีหลายๆเงื่อนไข
2.เมื่อทำการส่งข้อมูลแล้ว จะปล่อยเส้นทางนั้น ทำให้ผู้อื่นเข้ามาใช้เส้นทางนั้นได้
3.การรับ-ส่งข้อมูลจะเป็นแบบแยกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ อัตราความเร็วในการรับ-ส่งระหว่างผู้ส่ง ถึงผู้รับปลายทางไม่เท่ากัน
4.เกิดการหน่วงเวลา เนื่องจากมีผู้ใช้งานระบบมาก

แนวโน้มของเทคโนโลยีเครือข่ายในอนาคต

ปัจจุบันมีการสำรวจพบว่า มีประชากรจำนวนมากที่มีความสนใจและใช้โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต และก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่กำลังทดลองใช้เทคโนโลยีนี้ จึงมีกลุ่มธุรกิจชั้นนำได้พยายามรุกตลาดและเปิดให้บริการ Voice over IP เนื่องจาก ความยืดหยุ่นของโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ทำงานบนมาตรฐานเปิด จึงแตกต่างจากเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ที่ต้องถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและเสียค่าใช้จ่ายสูงในการเพิ่มลูกเล่นใหม่ ด้วย Voice over IP สามารถพัฒนาฟังก์ชันใหม่ได้เร็วเท่ากับการเขียนโปรแกรม

ในปัจจุบันการส่งสัญญาณเสียงกับข้อมูล จะถูกส่งผ่านโครงข่ายที่แยกจากกัน แต่แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคมในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นลักษณะการรวมบริการหลายๆ อย่างไว้ในโครงข่ายเดียว ซึ่งสามารถให้บริการได้ทั้งสัญญาณเสียง, ข้อมูล, ภาพ ภายใต้โครงข่าย แบบแพ็คเกจโดยการส่งข้อมูลทั้งสัญญาณภาพ และเสียงเป็นชุดของข้อมูล ที่สัญญาณเสียง จะถูกแปลงเป็นข้อมูล ก่อนที่จะถูกส่ง ในโครงข่าย โดยใช้ไอพีโปรโตคอล (Internetworking Protocol: IP) ซึ่งกำลังเป็นสิ่งทีได้รับ ความสนใจ เป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนขององค์กร ธุรกิจ และผู้ให้บริการโครงข่ายหลายราย


สิ่งสำคัญที่เป็นที่ต้องการทางด้านการตลาด พอที่จะสรุปได้ 8 ประการ คือ

1. โอกาสที่จะติดต่อ สื่อสารระหว่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต โดยมีราคาที่ถูกกว่าโครงข่ายโทรศัพท์ทั่วไป
2. การพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยที่ส่วนหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถใช้งานใน VoIP ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกลมากขึ้น
3. การเป็นที่ยอมรับ และรับเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมทั้งการเพิ่ม จำนวนขึ้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ VoIP ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสาร
4. มีการใช้ประโยชน์จากระบบ Network ที่มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในปัจจุบัน ให้สามารถใช้งาน ได้ทั้งในการส่งข้อมูล และเสียงเข้าด้วยกัน
5. ความก้าวหน้าทางด้านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ช่วยลดต้นทุนในการสร้างเครือข่ายของ VoIP ในขณะที่ ความสามารถ การให้บริการมีมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาร่วมใน VoIP มากขึ้น
6. ความต้องการที่จะมีหมายเลขเดียวในการติดต่อสื่อสารทั่วโลก ทั้งด้านเสียง, แฟกซ์ และข้อมูล ถึงแม้ว่าบุคคลนั้น จะย้ายไปที่ใด ก็ตามก็ยังคงสามารถใช้หมายเลขเดิมได้ เป็นความต้องการของผู้ใช้งานและธุรกิจ
7. การเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของการทำรายการต่างๆ บน e-Commerce ในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างก็ต้องการการ บริการที่มีคุณภาพ และมีการโต้ตอบกันได้ระหว่างที่กำลังใช้ อินเทอร์เน็ตอยู่ ซึ่ง VoIP สามารถเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้
8. การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Wireless Communication ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต้องการ การติดต่อสื่อสาร ที่ราคาถูกลง แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ดังนั้น ตลาดกลุ่มนี้ถือว่า เป็นโอกาสของ VoIP ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานแบบแพ็คเกจสวิตชิ่ง (Packet Switching) มากขึ้น โดยการแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็คเกจย่อยๆ และทำการส่งไปตามเส้นทางต่างๆ กัน อันเป็นการกระจายทราฟฟิก (Traffic) ทั้งหมดในโครงข่ายให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้โครงข่ายมีความยืดหยุ่น
และคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งหลักการของแพ็คเกจ สวิตชิ่งนี้ได้นำมาใช้เป็น Voice Over Packet เนื่องจากมีการปรับปรุง การทำงาน (Performance) บน Packet Switching ทำให้ Performance per Cost ของ Packet Switching ในอนาคตดีกว่า Circuit Switching ทิศทางของการใช้บริการโทรศัพท์แบบเสียง มีแนวโน้มของการเจริญเติบโตค่อนข้างต่ำ ในขณะที่อัตราการเจริญ เพิ่มของการ ใช้โทรศัพท์แบบข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากการใช้งานที่แพร่หลายในทั่วโลก และนับจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้พัฒนามาจนกระทั่งเป็นระบบโทรศัพท์บนอินเทอร์เน็ต (VoIP)

สำหรับในอนาคตนั้น ได้มีการคาดการณ์ถึงแนวโน้มเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในปี 2552 ในภาวะที่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป หรือแม้กระทั่งญิ่ปุ่น และ ประเทศในแถบเอเชียฯ โดยแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นนั้นมีอยู่ 3 แนวโน้มด้วยกันคือ

1 : ความต้องการใช้บริการมัลติมีเดียแบบ High Bandwidth จะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 

ประเทศต่างๆในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่มีความสำคัญมากที่สุดในโลก โดยมีการเดินหน้าขยายความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะยังคงไม่สดใสนัก แต่การเพิ่มการพัฒนาทั้งในด้านการค้าและที่อยู่อาศัยสามารถเห็นได้ทั่วไป จากการที่หลายโครงการดังกล่าวมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มพนักงานมืออาชีพที่มีฐานะและมีความสามารถในด้านไอทีสูง ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จึงไม่รีรอ ที่จะหันมาพัฒนาการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นมัลติมีเดียให้ง่ายยิ่งขึ้นความคึกคักของกิจกรรมการก่อสร้างย่อมหมายถึงการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้เทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) ที่สามารถเชื่อมต่อบ้าน และสำนักงานต่างๆ เพื่อให้บริการมัลติมีเดียแบบอินเตอร์แอคทีฟที่มีแบนด์วิธสูงและสามารถปรับขนาดการใช้งานได้ตามความต้องการ สำหรับเชื่อมต่ออาคาร วิทยาเขต และเมืองต่างๆ การเติบโตดังกล่าวจะยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ต่างแข่งขันกันในการริเริ่มโครงการระดับชาติในการสร้างระบบเครือข่ายเทคโนโลยีการเชื่อมต่อด้วยไฟเบอร์ในแบบต่างๆ (FTTx) เพื่อเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจนอกจากนี้แล้ว จะมีการเปิดแนวรบใหม่ในอุตสาหกรรมผู้ให้บริการ ในขณะที่ผู้จัดการธุรกิจพัฒนาการค้าและที่อยู่อาศัยต่างเริ่มหันมาจัดจำหน่ายแบนด์วิธและคอนเทนท์แบบขายส่ง พร้อมทั้งก่อกระแสสร้างรายได้ใหม่ๆ จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยการเสนอบริการมัลติมีเดียแบบอินเตอร์แอคทีฟเองทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการในการนำเสนอคอนเทนท์มัลติมีเดียแบบอินเตอร์แอคทีฟขนาดใหญ่ทสะดวก คุ้มค่าและวางใจได้ โดยอาศัยระบบเครือข่ายเทคโนโลยี passive optical แบบกระจายสัญญาณ (point-to-multipoint) ที่ทำงานบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต

2: ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นจะเข้ามากระตุ้นความต้องการการใช้โซลูชั่นการสื่อสารแบบ Unified -Communications and Collaboration (UCC) ในปี 2552 ให้เพิ่มสูงขี้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในช่วงสภาวะสุญญากาศที่มีภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจสูงอย่างในปัจจุบัน ประกอบกับความพยายามของแวดวงอุตสาหกรรมในการประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ของโซลูชั่น UCC แก่ภาคธุรกิจ จะส่งผลให้ปี 2009 เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้งานโซลูชั่น UCC อย่างกว้างขวาง ในขณะที่ธุรกิจต่างหันมาลดภาระค่าใช้จ่ายอย่างจริงจัง จากความสามารถในการรวมข้อมูลเสียงและบริการอื่นๆ เข้าไว้เครือข่ายข้อมูลมาตรฐานเดียวกัน โซลูชั่น UCC ช่วยมอบวิธีที่สามารถตอบสนองความต้องการและเป็นส่วนสำคัญแก่ฝ่าย IT ในการลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการลงหลายองค์กรมีการคาดการณ์ว่า ความต้องการโซลูชั่น UCC จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะผ่านพ้นไปก็ตาม ทั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงเพราะองค์กรธุรกิจจะเห็นประโยชน์จากการได้ทดลองใช้ แต่เป็นเพราะเทคโนโลยีนี้ยังได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแวดวงอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบ virtualization หรือ Embedded Software ที่ใช้งานกับแพลตฟอร์มแบบเปิด และโมเดล Software-as-a-service ซึ่งเพิ่มความสำคัญทางด้านการบริการและการต่อยอดแอพพลิเคชั่นบนระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ และทุกวันนี้กฎเกณฑ์ในการเลือกซื้อสินค้าได้เปลี่ยนไปแล้ว จากเดิมที่เคยมุ่งเน้นไปที่ระบบการจัดการและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ แต่กลับกันคือเลือกให้ความสำคัญในการใช้งานที่สะดวกง่ายดาย ปลอดภัยและวางใจได้ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม โซลูชั่น UCC ยังคงเป็นส่วนสำคัญในการธุรกิจมีความราบรื่น ด้วยการลดความยุ่งยากในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันภายในองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายโอนข้อมูลสื่อสารของแต่ละบุคคล ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการให้บริการลูกค้า และเอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจใหม่ๆ สำหรับองค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นความต้องการทางธุรกิจที่สำคัญอยู่ไม่ว่าในยามเศรษฐกิจแบบใดก็ตาม 


Credit : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=prakan&month=08-02-2009&group=2&gblog=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น