2.20.2558

CS

CS : Circuit Switched


Circuit Switching คือ วิธีการต่อสัญญาณจากผู้ที่เริ่มต้น ผ่านชุมสาย ผ่านสายไฟจริงๆ จนกระทั่ง ถึงที่หมาย  และสัญญาณจะอยู่จนกระทั่งมีการยกเลิกการใช้งาน  หลักการที่สำคัญของการสวิทช์วงจร คือ จะต้องมีการจัดตั้งเชื่อมต่อก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลจริง การจัดตั้งการเชื่อมต่อนี้อาจจะใช้เวลามาก บางครั้ง อาจจะถึง 10 วินาที ขึ้นอยู่กับระยะทาง ยิ่งเป็นการเรียก (call) แบบทางไกล เช่น การเรียกข้ามประเทศก็ อาจจะนานกว่า เวลาที่ใช้นี้เป็นการค้นหาเส้นทางที่สัญญาณจะใช้ติดต่อจะเห็นว่าก่อนที่จะมีการส่งสัญญาณ ออกไปได้ คำสั่งร้องขอ request จะต้องถูกส่งออกจากตั้งแต่ผู้เริ่มต้นจนกระทั่งถึงที่หมาย และรอให้ปลายทาง ตอบรับกลับมายังที่เริ่มต้น 
            เมื่อมีการจัดสร้างเส้นทางเรียบร้อยแล้ว เวลาที่เสียไปจะเป็นเพียงแค่เวลาที่สัญญาณผ่านสายเท่านั้น  ซึ่งโดยปกติจะมีค่าประมาณ 3 msec ต่อระยะทาง 1000 km และหลังจากมีการจัดตั้งทางเดินสัญญาณ แล้วจะไม่มีปัญหาของความหนาแน่นของการใช้ตามมา  นั่นคือหลังจากต่อกันได้แล้วจะไม่มีทางจะได้ยิน สัญญาณไม่ว่าง ถึงแม้ว่าก่อนหน้าที่จะต่อสำเร็จ อาจจะได้ยินบ้างเพราะชุมสายถูกใช้งานจนเต็มในขณะนั้น
หรืออีกนัยหนึ่ง  "การสวิตช์วงจร" (Circuit Switching) เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักพื้นฐานทางด้านการสวิตชิ่งของระบบโทรศัพท์ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้เชื่อต่อกันในวงจรระหว่างจุดไปจุด  จุดอ่อนของการสวิตช์วงจรที่เชื่อมระหว่างสองจุด ทำให้ใช้ข้อมูลข่าวสารในเครือข่าย ไม่เต็มประสิทธิภาพ และมีข้อยุ่งยากหากต้องการสื่อสารกันเป็นจำนวนมาก

Credit : http://www.nuch45.freeservers.com/2.htm
-----------------------------


เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit–Switching Network)

การทำงานของ Circuit Switch เป็นเทคนิคที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลแบบหนึ่งโดยที่เมื่อต้องการส่งข้อมูลจะต้องสร้างเส้นทางเสียก่อน และฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบกลับมาก่อนว่าพร้อมที่จะรับข้อมูลแล้วจึงจะเริ่มรับส่งข้อมูลได้ และเมื่อสร้างเส้นทางในการรับส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและคนอื่นไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ และจากรูปจะเห็นว่าในระหว่างเส้นทางของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จะมีการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรแบบจุดต่อจุด และเมื่อรับส่งข้อมูลเสร็จจะต้องยกเลิกเส้นทางที่ใช้สื่อสาร เพื่อให้ผู้ใช้อื่นสามารถใช้เส้นทางในการสื่อสารได้ ค่าใช้จ่ายของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จึงขึ้นอยู่กับระยะทาง และระยะเวลาที่ใช้เครือข่าย แต่จะไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล ตัวอย่างเครือข่ายที่ทำงานแบบ Circuit Switch เช่นเครือข่ายของโทรศัพท์เป็นต้น

ข้อดีของ Circuit Switch คือความเร็วในการส่งข้อมูลที่คงที่ มี Delay น้อย ซึ่ง Delay ที่เกิดขึ้นมีเพียง Propagation Delay คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งอยู่ในสายสัญญาณ และ Delay ที่ Node ถึงถือว่าน้อยมาก เพราะที่ Node มีการเชื่อมต่อกันแบบ Point-to-Point และถึงแม้จะมีผู้ใช้งานในระบบมากความเร็วในการส่งข้อมูลก็ไม่ลดลง
ข้อเสียของ Circuit Switch คือ ต้องมีการเชื่อมต่อกันทุกๆจุดที่มีการติดต่อกัน ทำให้เสียเวลาบางส่วนในการติดต่อแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าระหว่างเส้นทางมีจุดใดจุดหนึ่งหยุดทำงาน จะไม่สามารถหาเส้นทางที่จะทำงานต่อได้ และถ้ามีผู้ใช้งานพร้อมๆกัน มักจะทำให้เครือข่ายไม่ว่างได้
---------------------------------

ระบบส่งสัญญาณแบบ Circuit Switching Technology
วงจรสวิตช์ (Circuit Switching) เป็นกลไกการสื่อสารข้อมูล ที่สร้างเส้นทางข้อมูลระหว่างสถานีรับและสถานีส่งก่อนที่จะทำการส่งข้อมูล เมื่อเส้นทางดังกล่าวนี้สร้างแล้ว จะใช้ในการส่งข้อมูลได้เฉพาะ 2 สถานีนื้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์ ซึ่งแต่ละเลขหมายจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อจากชุมสายฯมายังโทรศัพท์เครื่องรับ โดยภายในชุมสายฯจะมีสวิตช์ติตตั้งอยู่ (Central Office) ระหว่างชุมสายโทรศัพท์ก็จะมีการเชื่องต่อระหว่างกัน ทำให้เราสามารถติดต่อเรียกไปหายังเบอร์อื่นๆได้ ซึ่งบางทีอาจจะต้องผ่านชุมสายฯหลายๆชุมสายฯ ทุกๆครั้งที่ใช้โทรศัพท์จะมีเส้นทางสัญญาณที่ถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนาแต่ละครั้ง เมื่อเลิกใช้โทรศัพท์ เส้นทางก็จะถูกยกเลิกและพร้อมสำหรับการใช้งานในครั้งต่อไป การสร้างเส้นทางข้อมูลผ่านวงจรสวิตช์เป็นขั้นตอนที่สำคัญในระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตช์ เฟรมข้อมูลที่ส่งแต่ละการเชื่อมต่อจะถูกส่งผ่านเครือข่าย โดยใช้เส้นทางเดียวกันทั้งหมด

ระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตช์ที่ใช้ในเครือข่าย WAN มีดังนี้
- โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)
- สายคู่เช่า (Leased Line)
- ISDN (Integrated Services Digital Network)
- DSL (Digital Subscriber Line)
- เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)

Circuit Switching

ข้อดี
1.มีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ต้องแบ่งช่องทางกับผู้อื่น
2.ถึงแม้มีผู้ใช้งานระบบมาก แต่จะไม่ทำให้ speed ช้าลง
ข้อเสีย
1.ต้องมีการเชื่อมต่อกันทุกๆจุดทีมีการติดต่อกัน
2.เสียเวลาไปบางส่วนในการติดต่อ (connecting)แต่ละครั้ง
3.ถ้าโหนดจุดศูนย์กลางหยุดทำงาน โหนดอื่นในระบบจะไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้
4.คู่สายมักจะว่าง ทำให้ใช้สายอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

Circuit Switching
1.การรับ-ส่งข้อมูล ต่อสายด้วยระบบกายภาพ(วงจร) เช่น สะพานไฟ ปิด-เปิด
2.มีการสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลไว้แบบตายตัว มีการจองช่องทาง ตลอดการสื่อสาร ผู้อื่นจะไม่สามารถใช้เส้นทางเดียวกันได้
3.การรับ-ส่งข้อมูลจะเป็นแบบต่อเนื่อง ในอัตราความเร็วคงที่ ระหว่างผู้ส่ง ถึง ผู้รับ
4.ไม่เกิดการหน่วงเวลา เนื่องจากปริมาณผู้ใช้

Credit : http://www.bloggang.com/PRAKAN Blog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น