4.03.2558

BTS

BTS : Base Transceiver Stations

   BTS จะทําหนาที่ในการติดตอกับโทรศัพทเคลื่อนที่ (Mobile Station; MS) ของผูใชโดยผานทางชองสัญญาณวิทยุ (Radio Channel) มีหนาที่ในการจัดเตรียมชองสัญญาณวิทยุ สําหรับการติดตอสื่อสารระหวางผูใช้กับเครือขาย นอกจากนั้นยังมีหนาที่วัดความแรงและคุณภาพ ของสัญญาณแลวสงขอมูลให BSC เพื่อตัดสินใจในการเปลี่ยนสถานีฐานที่จะรับสงสัญญาณของ ผูใช (Handoff) BTS จะทําหนาที่ในการรับสงสัญญาณเปนหลัก ในสวนของการควบคุมตาง ๆ จะทําเพียงบางส่วน เชน Error Protection Coding เปนต้น ฟงกชันสวนใหญ่ในการควบคุม BTS จะเปนหนาที่ของ BSC ซึ่งจะทําให้ BTS มีขนาดไมใหญ่จนเกินไป

Credit : http://research.rdi.ku.ac.th/world/cache/10/KritsadakornINTAll.pdf

------------------------------

     สถานีฐาน (Base Station or Base Transceiver Station) สิ่งที่ทำงานคู่กับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ภายในโครงข่ายของระบบ cellular คือสถานีฐานซึ่งถูกเรียกว่า base transceiver station (BTS) ,BTS จะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่องโทรศัพท์ GSM ไปโครงข่าย โดยปกติตำแหน่งของ BTS จะอยู่ตรงจุดศูนย์กลางของ cell size ,BTS 1 สถานี จะมี 1 -16 Transceivers แยกกันแต่ละ RF channel ,ความฉลาดบางอย่างที่มีสามารถในการตัดสินใจ ที่มีอยู่ในระบบ analog base stations และ host network ดังเช่น การวัดใน radio channels เพื่อหาจุดสำหรับ handover ,ในสถานีฐาน BTS ของระบบ GSM จะโยนหน้าที่นี้ไปให้ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM จึงทำให้ลดหน้าที่เล็กๆ น้อยๆ ลงไป ทำให้โครงสร้าง GSM ถูกกว่าระบบ analog หลักการนี้มีดังนี้ ในโครงข่ายของ cellular จะทำการวัดสัญญาณความแรงของ cell size ที่ใช้งานอยู่ กับ cell size ข้างเคียง เมื่อสัญญาณจาก cell ที่ใช้งานอยู่อ่อนกว่า cell size ข้างเคียง ก็ทำการโอนไปใช้ยัง cell size ข้างเคียงที่มีสัญญาณแรงกว่า การโอนเปลี่ยน cell size ขณะใช้งานนี้ในระบบ analog เรียกว่า handoff ส่วนในระบบ GSM เรียกว่า handover ซึ่งมีหลักการทำงานที่แตกต่างกันดังนี้
ในระบบ analog สถานีฐานจะทำการวัด power level ของเครื่องโทรศัพท์ระหว่างใช้งาน เมื่อคุณภาพของสัญญาณต่ำลงเนื่องจากระยะทาง สถานีฐานก็ทำการสั่งให้เครื่องโทรศัพท์จับสัญญาณจาก cell size ข้างเคียงแล้วทำการวัด power level จากเครื่องโทรศัพท์รายงานไปยังโครงข่าย ถ้า power level ของcell size ไหนแรงกว่าแสดงว่าเครื่องโทรศัพท์อยู่ใกล้ cell size นั้น โครงข่ายก็จะตัดสินใจให้ไปใช้ channel ความถี่ของ cell size ใหม่ และสั่งให้เครื่องโทรศัพท์ tune ความถี่ไปยังความถี่ของ cell size ใหม่ใช้สนสนาต่อไป จะเห็นได้ว่าเครื่องโทรศัพท์จะเป็นลักษณะในการรับคำสั่งอย่างเดียวในกระบวนการ handoff การวัดและการทำงานกระบวนการตัดสินใจจะทำที่ตัว สถานีฐานและโครงข่ายทั้งสิ้น
ในระบบ GSM การ handover มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันคือ ในระบบ GSM เครื่องโทรศัพท์ GSM จะต้องทำการวัด power level ของ cell size ข้างเคียงอย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้สถานีฐาน (BTS) จะให้เครื่องโทรศัพท์ GSM ทำรายงานผลการวัด power level ของ channel ที่ใช้งานและ power level ของ cell size ข้างเคียงอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการวัดส่งกลับไปให้สถานีฐาน (BTS) ในรูปของรายงานผลการวัด (measurement report) เป็นระยะๆ ,ที่ตัวสถานีฐานเองก็ทำการวัดคุณภาพสัญญาณของ power level ของเครื่องโทรศัพท์ GSM ที่ติดต่อมายังสถานีฐานด้วยอีกทางหนึ่ง ถ้าผลของการวัดแสดงถึงความจำเป็นในการ handover, ดังนั้นก็สามารถปฏิบัติการการได้เลยโดยไม่ชักช้า ความเหมาะสมในการ handover สถานีฐานจะรู้อยู่แล้ว โดยจุด thresholds สำหรับการ handover สามารถปรับให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขการทำงานที่เปลี่ยนไปได้
จากการลดภาระของสถานีฐาน (BTS) ในระบบ analog ที่ต้องสั่งการและประมวลผลให้กับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครื่องในระบบอยู่ฝ่ายเดียวตลอดเวลา ทำให้โครงสร้างของโครงข่าย GSM มีราคาถูกกว่าโครงข่ายของระบบ analog เป็นผลให้ประเทศต่างๆ หันมาติดตั้งระบบ digital cellular แทนระบบ analog เดิมเช่น AMPS, NMT, TACS เพิ่มมากขึ้น
การติดต่อระหว่างตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM กับ สถานีฐาน (BTS) ใช้การเชื่อมต่อแบบผ่านอากาศ หรือ Radio Interface (Um)

Credit : http://channarongs.tripod.com/detail/gsm.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น